++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554

โกสัชชะ

โกสัชชะ

โกสัชชะ" หมายถึง ความเกียจคร้าน ความเซื่องซึม ขณะนั้นจิตเป็นอกุศล

และอาจจะมีความง่วงเหงาหาวนอน ความหดหู่ ความซบเซา ร่วมด้วยก็ได้



พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้

อย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือ กุศลธรรมที่เกิดขึ้น

แล้ว ย่อมเสื่อมไป เหมือนความเป็นผู้เกียจคร้าน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคล

เกียจคร้านแล้ว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว

ย่อมเสื่อมไป"

ความเป็นผู้เกียจคร้านในที่นี้ พระผู้มีพระภาคก็ทรงใช้คำว่า โกสัชชะ ซึ่งวิเคราะห์

ศัพท์ได้ว่า กุสีตสฺส ภาโว โกสชฺชํ (ความเป็นแห่งบุคคลผู้เกียจคร้าน ชื่อว่า โกสัชชะ)



โทษในการประกอบเนืองๆ ซึ่งความเกียจคร้าน

๖ ประการเหล่านี้ คือ

มักให้อ้างว่าหนาวนัก แล้วไม่ทำการงาน ๑

มักให้อ้างว่าร้อนนัก แล้วไม่ทำการงาน ๑

มักให้อ้างว่าเวลาเย็นแล้ว แล้วไม่ทำการงาน ๑

มักให้อ้างว่ายังเช้าอยู่ แล้วไม่ทำการงาน ๑

มักให้อ้างว่าหิวนัก แล้วไม่ทำการงาน ๑

มักให้อ้างว่าระหายนัก แล้วไม่ทำการงาน ๑



ปัจจัยแวดล้อมที่ทำให้เกิดความขี้เกียจ

1. ความอ่อนเพลีย

สมองของคนเราต้องการการพักผ่อนอย่างสม่ำเสมอ โจ โรบินสัน ( Joe Robinson ) ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Work to Live: the Guide to Getting a Life บอกไว้ว่า คนเราจำเป็นต้องตัดขาดจากตัวการสร้างความเครียดเสียบ้าง เพื่อให้จิตใจและร่างกายได้พักผ่อน การทำงานสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมงหมายถึงการเพิ่มความเครียดให้สมองมากขึ้นเป็นสองเท่า และเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ นอกจากนี้การลาพักร้อนหรืองีบหลับตอนกลางวันของชาวยุโรปที่ชาวอเมริกันมองว่าเป็นความขี้เกียจนั้น จริงๆ แล้วเป็นเคล็ดลับในการใช้ชีวิตของพวกเขาต่างหาก เพราะจากผลสำรวจพบว่า ชาวยุโรปอย่างน้อยสี่ประเทศใช้เวลาทำงานน้อยกว่าคนอเมริกัน แต่กลับได้งานมากกว่า



โร บินสันยังบอกอีกว่า คนอเมริกันมักมีความเชื่อว่า ต้องมีคนนั่งทำงานตลอดเวลา มิฉะนั้นผลประกอบการจะลดลง ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิดโดยสิ้นเชิง

2. ความต้องการความสุขสบาย

มนุษย์มีสัญชาตญาณรักความสบายอยู่ในตัว อย่างไรก็ดี หากเรามองหาแต่ความสบายในทุกๆ สถานการณ์ เราก็จะรู้สึกว่าการทำอะไรสักอย่างที่เป็นเรื่องที่สมควรจะทำ (แต่อาจทำให้เกิดความไม่สะดวก เล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตของเรา) เช่น การตื่นเช้าขึ้น การจำกัดอาหาร หรือการรับงานที่ยากขึ้น ฯลฯ กลายเป็นเรื่องเหลือวิสัย จนทำให้เราหลีกเลี่ยงไม่ทำสิ่งเหล่านั้น หรือผัดวันประกันพรุ่ง เพียงเพื่อยืดระยะเวลาแห่งความสุขให้ยาวนานออกไป

3. ความกลัวความล้มเหลว

ดร. นานโด เปลูซี อธิบายว่า ก่อนที่ใครสักคนจะประสบความสำเร็จได้นั้น เขาต้องทุ่มเทมากกว่าปกติ และมักมองทางเลือกไว้เพียงสองทาง คือ "ทุ่มสุดตัว" หรือ "ไม่ต้องทำอะไรเลย" ซึ่งการตัดสินใจทุ่มสุดตัวโดยไม่มีสิ่งใดรับประกันผลของการทุ่มเท มักทำให้เกิดความกังวลและความเครียดสะสม ส่วนใหญ่แล้ว ความกลัวว่าสิ่งที่ได้รับอาจไม่คุ้มค่าหรือกลัวว่าจะล้มเหลวเป็นฝ่ายชนะ คนเราจึงมักจะเลือกทางที่ไม่ต้องทำอะไรเลย เพราะรู้สึกว่าทำไปก็ไม่ทำให้อะไรดีขึ้น



4. พันธุกรรมและสารเคมีในสมอง

ปี 2008 ดร. เจ. ธิโมธี ไลท์ฟุต ( J. Timothy Lightfoot ) นักวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวแห่งมหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลนา ได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างยีนกับความกระฉับกระเฉง เพื่อที่จะพัฒนานักกีฬาให้ทำการฝึกซ้อมดีขึ้น ผลการทดลองสรุปว่า การที่คนคนหนึ่งรู้สึกกระฉับกระเฉงหรือเฉื่อยชาขึ้นอยู่กับปัจจัยทางพันธุกรรมด้วย นั่นแสดงว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด และเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถเลือกได้



5. การขาดแรงจูงใจ

คนเรามีเหตุผลมากเกินกว่าจะนับไหว ที่ทำให้รู้สึกหมดไฟไปเสียเฉยๆ ไม่ว่าจะเป็นเบื่องาน เบื่อนาย เบื่อลูกน้อง เบื่อเพื่อนร่วมงานโต๊ะข้างๆ ไม่ชอบบรรยากาศในออฟฟิศ รถติด บ้านไกล หรือทำงานไปแล้วไม่เห็นอนาคต ฯลฯ ซึ่งเหตุผลเพียงข้อเดียวจากที่กล่าวมาก็บั่นทอนกำลังใจอย่างยิ่ง และเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความขี้เกียจได้อย่างง่ายดาย

นิวรณ์ 5 ต้นตอของความขี้เกียจ



ในเชิงพุทธศาสนา ต้นเหตุของความขี้เกียจคือนิวรณ์ 5 ซึ่งหมายถึง สิ่งที่ขวางกั้นจิตไม่ให้มีสมาธิ ทำให้ไม่สามารถทำสิ่งใดให้ประสบความสำเร็จได้ อันได้แก่



1. กามฉันทะ คือ ความยินดี พอใจ เพลิดเพลินในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส

2. พยาบาท คือ ความโกรธ ความพยาบาท ความไม่พอใจ ความขัดเคืองใจ

3. ถีนมิทธะ แยกได้เป็น ถีนะ คือ ความหดหู่ ท้อถอย และ มิทธะ คือ ความง่วงเหงาหาวนอน

4. อุทธัจกุกกุจจะ แยกได้เป็น อุทธัจจะ คือ ความฟุ้งซ่าน และ กุกกุจจะ คือ ความรำคาญใจ

5. วิจิกิจฉา คือ ความลังเล สงสัย ไม่แน่ใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น