++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

คนเก่าพฤติกรรมใหม่ : คำขวัญฝากให้คิด

คนเก่าพฤติกรรมใหม่ : คำขวัญฝากให้คิด
โดย สามารถ มังสัง 3 มกราคม 2554 15:50 น.
เกือบจะเป็นประเพณีหรือเป็นวัฒนธรรมของคนทำสื่อ ในการที่จะต้องทบทวนเหตุการณ์ที่ผ่านไปในรอบปีเก่า และคาดการณ์สิ่งใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอีกหนึ่งปีที่กำลังจะย่างเข้ามาทั้งใน แง่ลบและบวก พร้อมกับเสนอแนะแนวทางแก้ไขป้องกันสิ่งที่คาดว่าจะให้ผลในทางลบ และสร้างสรรค์แนวคิดในเชิงบวกที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ในรอบปี พ.ศ. 2553 ที่กำลังจะผ่านไปในขณะที่เขียนบทความนี้ (30 ธ.ค.53) และในวันที่ท่านได้อ่านบทความนี้ในวันอังคารที่ 4 ม.ค.2554 ก็เป็นวันเวลาแห่งปีใหม่แล้ว ดังนั้นผู้เขียนจึงถือโอกาสนี้ทบทวนเหตุการณ์ในปีเก่าเพื่อเป็นบทเรียน และในขณะเดียวกันเสนอแนวทางเพื่อการแก้ไขป้องกันสิ่งเก่าซึ่งเป็นสิ่งไม่ดี ไม่งาม ไม่เป็นที่น่าพอใจ และในขณะเดียวกันเสนอแนวทางสร้างสรรค์สิ่งใหม่อันเป็นสิ่งดีงาม

เริ่มด้วยการย้อนไปดูสิ่งเก่าอันเป็นของการกระทำอันเกิดจากปัจเจก บุคคล หรือเป็นพฤติกรรมส่วนบุคคลของคนใดคนหนึ่ง และเกิดจากการกระทำขององค์กรหรือเป็นพฤติกรรมโดยรวมขององค์กร โดยสรุปเฉพาะประเด็นสำคัญและมีผลกระทบต่อสังคมโดยรวม พอจะสรุปได้ดังนี้

1. เหตุการณ์เผาบ้านเผาเมืองอันเกิดจากการกระทำของกลุ่มคนเสื้อแดงโดยรวมที่ ย่านการค้าราชประสงค์ และมีการปะทะกับเจ้าหน้าที่บ้านเมืองเป็นเหตุให้มีคนบาดเจ็บล้มตาย และทรัพย์สินเสียหายเป็นจำนวนมาก อันถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงกว่าทุกครั้งที่คนกลุ่มนี้ชุมนุมกัน

2. ผลจากการก่อความเสียหายตามข้อ 1 เป็นเหตุให้คนกลุ่มนี้ถูกจับกุมดำเนินคดีนับสิบราย และกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมอยู่ในขณะนี้ และจากการที่กลุ่มที่ถูกจับกุมมีผลต่อเนื่องมาถึงการจัดชุมนุมเป็นระยะๆ อยู่ในขณะนี้ โดยอ้างเหตุไม่ได้รับความเป็นธรรมจากฝ่ายรัฐบาล

3. ปัญหาชายแดนเขมรได้คุกรุ่นมาเป็นระยะๆ เนื่องจากปัญหาการรุกล้ำเขตแดนด้านศรีสะเกษ อันเนื่องมาจากการที่เขมรนำปราสาทพระวิหารเสนอขึ้นเป็นมรดกโลกโดยไม่สนใจคำ คัดค้านของประเทศไทย และในการขอขึ้นทะเบียนในครั้งนี้นัยว่าจะทำให้ประเทศไทยเสียดินแดนรอบๆ พื้นที่ปราสาทพระวิหารเพิ่มขึ้น จากที่เคยเสียไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลโลกในปี พ.ศ. 2505

4. จากเหตุการณ์ในข้อ 3 เป็นเหตุให้คนไทยกลุ่มหนึ่งนำโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ออกมาแสดงความเห็นคัดค้านเขมร และในขณะเดียวกันผลักดันให้รัฐบาลยกเลิก MOU 2543 ซึ่งฝ่ายผู้คัดค้านถือว่าเป็นเหตุให้ประเทศไทยเสียดินแดนให้เขมรไม่เพียงแค่ พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรรอบปราสาทพระวิหารเท่านั้น แต่จะมากเกือบ 2 ล้านไร่จากบนบก รวมไปถึงพื้นที่ทางทะเลอันอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่าด้วย

5. แต่อย่างไรก็ตาม ข้อคัดค้านและข้อเสนอแนะของฝ่ายพันธมิตรฯ ไม่ได้รับการตอบสนองจากฝ่ายรัฐบาล โดยที่ฝ่ายรัฐบาลเห็นแย้งกับฝ่ายพันธมิตรฯ ในเรื่อง MOU 2543

จากจุดต่างของความเห็นในเรื่องเดียวกัน คือ MOU 2543 นี้เอง เป็นผลให้ทางฝ่ายพันธมิตรฯ ต้องแสดงพลังด้วยการชุมนุมคัดค้านรัฐบาล และพร้อมกันนี้มีการจัดเสวนาทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ข้อมูล

ทั้ง 5 ประการดังกล่าวข้างต้นเป็นเรื่องใหญ่ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2553 และคาดว่าจะยังคงต่อเนื่องไปในปี พ.ศ. 2554 ต่อไป และอาจรุนแรงขึ้นถ้ารัฐบาลยังคงใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบเดิมๆ แต่อาจเปลี่ยนแปลงถ้ามีการเปลี่ยนท่าทีและวิธีการแก้ปัญหา

แต่หากจะมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่จะทำให้ผลของความขัดแย้งลดลงได้ น่าจะเกิดจากปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. มีการยุบสภาและมีการเลือกตั้งใหม่ โดยที่พรรคประชาธิปัตย์แพ้การเลือกตั้ง และฝ่ายตรงกันข้ามกับพรรคประชาธิปัตย์ได้เข้ามาเป็นรัฐบาล

2. ประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล แต่มีการเปลี่ยนแปลงแนวนโยบายแก้ปัญหาขัดแย้งในเรื่องที่เกิดขึ้นด้วยท่าที เปลี่ยนไปในลักษณะแข็งกร้าว และยืนยันยึดหลักการในการแบ่งเขตแดนตามที่ได้ตกลงโดยใช้สันปันน้ำซึ่งเคย ตกลงไว้กับฝรั่งเศส และยึดคำตัดสินศาลโลก โดยยอมเสียดินแดนเท่าที่เสียแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2505 และปกป้องส่วนอื่นไว้

3. ส่วนในเรื่องความขัดแย้งกับกลุ่มคนเสื้อแดงที่ก่อหวอดมาจากการชุมนุมที่ราช ประสงค์จะยุติลงได้ก็ด้วยรีบเร่งดำเนินคดีทางศาล โดยยึดหลักนิติรัฐอย่างเคร่งครัด ปล่อยคนถูก และลงโทษคนผิด ไม่ต้องกังวลว่าจะกระทบความอยู่รอดทางการเมือง ก็คงจะแก้ได้

ทั้งหมดที่ว่ามานี้ก็ด้วยสมมติฐานที่ว่า พรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำรัฐบาลอีกครั้ง และนายกฯ ยังเป็นคนชื่อ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คนเดิม แต่พฤติกรรมเปลี่ยนไปในทางบวก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น