++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

หลายท่านคงจะสังเกตุเห็นว่าพิธีทางพุทธของเราอะไรก็เอา "นะโม" นำก่อน ทำไมถึงต้องนะโม นะโมมีความหมายอย่างไร

หลายท่านคงจะสังเกตุเห็นว่าพิธีทางพุทธของเราอะไรก็เอา "นะโม" นำก่อน ทำไมถึงต้องนะโม นะโมมีความหมายอย่างไร

นะโม แปลว่า "นอบน้อม" ดังคำแปลที่แปลไว้ต้นหมวดพุทธ ว่าขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า... ถ้าดูกันตามความหมายนั้นก็คงจะพอเป็นเหตุเป็นผลอยู่พอสมควร แต่หากความหมายลึกๆ แล้ว หลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถร ท่านได้ชี้แจงไว้ในหนังสือมุตโตทัย ถึงที่มาที่ไปของ "นะโม" สรุปพอสังเขปได้ว่า

นะ คือ ธาตุน้ำ ซึ่งมาจากแม่

โม คือ ธาตุดิน ซึ่งมาจากพ่อ

ทั้งสองธาตุนี้ผสมกันจึงเกิดเป็นตัวเรา โดยมีธาตุไฟ และธาตุลมเข้ามาอาศัยภายหลัง นะโม จึงสำคัญเพราะเป็นธาตุตั้งต้น และเมื่อครั้งหมดธาตุลมและธาตุไฟ ทุกอย่างก็จะสลายคืนธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้จึงเห็นได้ว่า "นะโม" นอกจากจะแปลตรงตัวว่า "นอบน้อม" แล้วยังมีความหมายเชิงลึกเช่นนี้อีกด้วย

ครั้นเราผวน "นะโม" จะได้ว่า "มโน" มโน แปลว่า ใจ ครั้นตรงนี้ก็ต้องยกพุทธพจน์ว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฎฺฐา มโนมยา ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ

ในสมัยเด็กข้าพเจ้าเอง ยังเคยได้อ่านหนังสือซึ่งได้กล่าวไว้ถึงอานิสงฆ์ของ "นะโม" นี้ อยู่เรื่องหนึ่งซึ่งยังจำได้จนทุกวันนี้ อาจจะดูงมงายแต่ก็ขอมากล่าวไว้เพื่อที่จะยก "นะโม" ให้ดูขลังเพิ่มขึ้นในมุมมองของท่านที่ชอบอิทธิปาฏิหารย์ ซึ่งกล่าวไว้ว่า เด็กเล็กยังท่องบทนะโมได้ไม่จบ ท่องได้ นะโมๆ เพียงแค่นี้ครั้นเขาหลับในช่วงกลางคืน ในบริเวณที่มีผีวนเวียนอยู่ แค่เด็กน้อยกล่าว นะโม ผีเหล่านั้นยังมิอาจทำอะไรได้

ที่กล่าวมาข้างต้นพอสังเขปนี้ คงทำให้หลายท่านเข้าใจความหมายและ เหตุผลที่ "นะโม" ถูกสวดนำหน้าบทสวดอื่นๆ และหวังว่าทุกท่านจะได้ระลึกถึง "นะโม" และ ตั้ง "มโน" ทุกครั้งที่กล่าวบทสวดบทนี้
การตั้งนโม3จบก่อนสวดมนต์หรือทำพิธีท่องคาถาต่างๆเพื่อสำรวมจิตใจให้ตั้งมั่นครบองค์3


ให้จิต +ใจ +กายรวมกันเป็นหนึ่งซึ่งจะมีพลังสูงสุด เหมือนยอดปิรามิด เป็นจุดโฟกัสศูนย์รวม เป็นการย้ำความแน่นอนความตั้งใจของคนครับ....

ตั้ง3จบหมายถึงทำให้ครบองค์3ด้วยกาย+วาจา+ใจ....

หากเราทำด้วยกาย วาจาอย่างเดียวหรือสองอย่างยังใช้ไม่ได้ ต้องให้ครบ3อย่างนี้ด้วยครับจึงจะแน่นอนไม่มีผิดพลาดเด็ดขาด.....
ทำไม? ปกติการเปิดสัมมนาต้องกล่าวนโม 3 จบก่อน แล้วจึงกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย แต่ทำไมที่นี่ กล่าวนโม 3 จบทีหลัง.......

ท่าน ก็ตอบไว้น่าฟังดี ว่า ที่กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยก่อน ว่านโมทีหลัง เพราะพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เกิดก่อน พ่อแม่ และเป็นที่พึ่ง เป็นสิ่งที่ควรบูชาอันสูงสุดในชีวิตของคนเรา

ดังนั้นจึงควรกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยก่อน แล้วตามด้วยนโม 3 จบ คือ การบูชาคุณพ่อแม่ ผู้มีพระคุณ อันจะทำให้เรามีมงคลครบถ้วน พร้อมที่จะปฏิบัติธรรม ทำบุญกุศลได้ต่อไปแล้ว.....

ก็หมดความสงสัยไป จริงๆแล้วผมเอง ก็ใช้ในการสวดมนต์อยู่ทุกวันอยู่แล้ว โดยไม่ต้องมีใครบอก กล่าวคือ ขึ้นต้นด้วย"พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ.......

แล้วต่อด้วย นโม 3 จบ.....

หลังจากนั้นก็ว่าเรื่อยไปบทไหนก็ได้ จะสั้นหรือยาวแล้วแต่เราชอบ เราถนัดครับ.......


อีกเหตุผลหนึ่งครับ

ทำไมต้อง นะโม 3 จบ?


บทนมัสการพระพุทธเจ้า

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

บทนมัสการพระพุทธเจ้า หรือบทนอบน้อมพระพุทธเจ้านี้ ยังมีหลายท่านเข้าใจผิดคิดว่าเป็นบทนมัสการพระรัตนตรัย เพราะต้องกล่าว 3 จบ
แต่ตามหลักความเป็นจริงแล้ว เป็นบทนมัสการพระพุทธเจ้าเท่านั้น
การเปล่งวาจาหรือการสวดบทนมัสการพระพุทธเจ้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตามจะต้องกล่าว 3 จบ ที่เป็นเช่นนี้เพราะท่านพระโบราณาจารย์ท่านได้อธิบายไว้ว่า
"เพื่อเป็นการนมัสการพระพุทธเจ้าให้ครบทั้ง 3 ประเภท" ซึ่งพระพุทธเจ้าทั้ง 3 ประเภทคือ

1.พระวิริยาธิกพุทธเจ้า ได้แก่พระพุทธเจ้าที่ทรงบำเพ็ญพระบารมีด้วยทรงใช้พระวิริยะ (ความพากเพียร) อย่างแรงกล้าโดยกำหนดระยะเวลา
ในการบำเพ็ญพระบารมี 16 อสงไขย กับ 100,000 กัป

2.พระสัทธาธิกพุทธเจ้า ได้แก่พระพุทธเจ้าที่ทรงบำเพ็ญพระบารมีด้วยทรงใช้ศรัทธาอย่างแรงกล้า โดยกำหนดระยะเวลา
ในการบำเพ็ญพระบารมี 8 อสงไขย กับ 100,000 กัป

3.พระปัญญาธิกพุทธเจ้า ได้แก่พระพุทธเจ้าที่ทรงบำเพ็ญพระบารมีด้วยทรงใช้ปัญญาอย่างแรงกล้า โดยกำหนดระยะเวลา
ในการบำเพ็ญพระบารมี 4 อสงไขย กับ 100,000 กัป


สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระสมณโคดมของพวกเรา เป็นพระพุทธเจ้าประเภทที่ 3 คือ พระปัญญาธิกพุทธเจ้า การนมัสการพระพุทธเจ้า
หรือการตั้ง นะโม 3 จบนี้ ก็เพื่อที่จะได้นมัสการพระพุทธเจ้าครบทั้ง 3 ประเภทนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น