++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

ข้อเสนอโครงการ การสร้างความรู้ความเข้าใจแก่สาธารณชนเรื่องเขตแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านผ่านสื่อสารคดี และการฝึกอบรม

ข้อเสนอโครงการ การสร้างความรู้ความเข้าใจแก่สาธารณชนเรื่องเขตแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านผ่านสื่อสารคดี และการฝึกอบรม

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 5 มกราคม 2554 10:21 น.
เสนอ กระทรวงการต่างประเทศ
โดย มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์

หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบัน สาธารณชนทั่วไปได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานะ และปัญหาเขตแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายซึ่ง มีความแตกต่างกันอย่างมาก ทั้งในด้านความถูกต้อง และความครบถ้วนของข้อมูล จนทำให้เกิดความสับสน ไม่แน่ใจ ไม่เข้าใจ รวมถึงความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วนรอบด้าน และนำมาซึ่งความวิตกกังวลกับการสูญเสียดินแดนในเขตอธิปไตยของประเทศ รวมไปถึงการเกิดอคติต่อประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้เกิดอุปสรรคต่อความก้าวหน้าในการเจรจา การสำรวจ และการจัดทำหลักเขตแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านที่ดำเนินการอย่างต่อ เนื่องมาโดยตลอด

ปัญหาสำคัญที่ตามมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ครบถ้วน รอบด้านดังกล่าว ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวของภาคประชาชนในหลายส่วนที่พยายามกดดันการทำงานของ ราชการ โดยปราศจากพื้นฐานความเข้าใจ และการยอมรับข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายที่ได้มีการดำเนินการมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน และเมื่อสถานการณ์ดังกล่าวประสมกับความพยายามในการปลุกเร้า กระแสชาตินิยมโดยใช้ความรู้สึกเป็นปัจจัยในการชักนำมากกว่าการใช้เหตุผลข้อ เท็จจริง ก็ยิ่งทำให้ สาธารณชนมีแนวโน้มที่จะเรียกร้อง และ/หรือดำเนินการไปในทิศทางที่อาจนำไปสู่การสร้างปัญหาความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ รวมถึงการสูญเสียผลประโยชน์และภาพลักษณ์ของประเทศในสายตาของนานาอารยะประเทศ ได้ในที่สุด

ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องปรามปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีแนวโน้มจะตามมาจาก ความเคลื่อนไหวของภาคประชาชนที่ขาดความรู้ความเข้าใจในสถานะ และปัญหาเขตแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน กองเขตแดน กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ จึงมีดำริที่จะสร้าง และเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับสถานะ และแนวทางการแก้ไขปัญหาเขตแดนระหว่างประเทศ ให้เกิดขึ้นกับสาธารณชนในวงกว้าง ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย และในมุมมองที่ปราศจากอคติ โดยตั้งอยู่บนข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง ครบถ้วน และรอบด้านทั้งในทางกฎหมาย และประวัติศาสตร์ ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานด้านเขตแดนระหว่างประเทศอย่างต่อ เนื่องเท่านั้น หากแต่ยังจะเป็นการให้การศึกษาที่เหมาะสมแก่ประชาชนทั่วประเทศซึ่งเป็นพื้น ฐานสำคัญที่จะนำไปสู่ความเข้าใจที่ดีระหว่างกัน และสานต่อความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านต่อไปในอนาคต กระทรวงการต่างประเทศจึงเห็นสมควรที่จะมอบหมายให้มูลนิธิโครงการตำราสังคม ศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ในฐานะองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรที่ได้ผลิตหนังสือ สื่อ ตลอดจนกิจกรรมวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกันในกลุ่ม ประเทศเพื่อนบ้านอุษาคเนย์ และอาเซียนอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด เป็นหน่วยงานหลักเพื่อรับผิดชอบในโครงการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่สาธารณชน เรื่องเขตแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในครั้งนี้

วัตถุประสงค์

1.เพื่อผลิตงานวิชาการในรูปแบบที่เข้าใจง่ายที่ตั้งอยู่บนข้อมูลที่ ถูกต้อง และครบถ้วนเกี่ยวกับสถานะและแนวทางการแก้ไขปัญหาเขตแดนระหว่างไทย กับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งกรณีศึกษาที่น่าสนใจของประเทศต่างๆที่มีเขตแดนติดต่อกัน โดยครอบคลุมตัวอย่างทั้งที่ประสบความสำเร็จ และล้มเหลวในการแก้ปัญหา

2.เพื่อนำผลงานวิชาการที่ผลิตขึ้นมาเผยแพร่ผ่านสื่อ และกิจกรรมต่างๆที่สามารถเข้าถึงสาธารณชนในวงกว้างได้อย่างมีประสิทธิผล

3.เพื่อจัดฝึกอบรมในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากผลงานวิชาการที่ ผลิตขึ้นให้กับบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้สามารถไปขยายผลต่อแก่เยาวชนผ่าน สถาบันการศึกษาระดับต่างๆ

4.เพื่อตอกย้ำภาพลักษณ์ที่ดี และสร้างความตื่นตัวถึงบทบาทการดำเนินงานของกระทรวงการต่างประเทศในการสร้าง ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเพื่อนบ้านให้กับสาธารณชนผ่านกิจกรรมต่างๆข้าง ต้น

ขอบเขตการดำเนินงาน

การดำเนินงานในครั้งนี้ ครอบคลุมการผลิตผลงานวิชาการเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านสถานะ และแนวทางการแก้ไขปัญหาเขตแดนระหว่างประเทศ จำนวน 5 เรื่องหลัก คือ

1.ไทย กับ กัมพูชา ลาว พม่า และมาเลเซีย

2.เวียดนาม กับ จีน กัมพูชา และลาว

3.จีน กับ ลาว รัสเซีย และมองโกเลีย

4.กลุ่มประเทศยุโรป

5.การแก้ไขปัญหาโดยใช้กลไกหน่วยงานกลางระหว่างประเทศ

ทั้งนี้ หากไม่สามารถดำเนินงานใน 5 เรื่องได้ทั้งหมด ด้วยเหตุขัดข้องใดๆ ก็ตาม เช่น ไม่สามารถเดินทางไปเก็บข้อมูลในพื้นที่เป้าหมายข้างต้นได้ เป็นต้น กระทรวงการต่างประเทศและคณะทำงานโครงการจะร่วมกันกำหนดพื้นที่เป้าหมาย หรือกรณีศึกษาใหม่ เพื่อให้ได้ผลงานครบ 5 เรื่อง

ขั้นตอนการดำเนินงาน

การดำเนินงานตามโครงการเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ กับมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ โดยมีขั้นตอนหลัก ดังนี้

ลงนามความร่วมมือ - กระทรวงการต่างประเทศ ลงนามในสัญญาความร่วมมือกับ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ โดยอาจจัดการลงนามในรูปแบบการเสวนา หรือสัมนาวิชาการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักคือ สื่อมวลชนทุกแขนง และสาธารณชนทั่วไป

ตั้งคณะประสานงานโครงการ - กระทรวงการต่างประเทศตั้งคณะประสานงานโครงการ จำนวนประมาณ 3 คน เพื่อทำหน้าที่ในการช่วยติดต่อประสานงาน และอำนวยความสะดวกให้คณะทำงานโครงการในเรื่องหลักๆ ต่อไปนี้

- การค้นคว้าข้อมูลต่างๆทั้งที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงการต่างประเทศ หน่วยงานต่างประเทศ และหน่วยงานระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง

- การลงพื้นที่ภาคสนามในต่างประเทศเพื่อจัดเก็บข้อมูล

- การประสานงานด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องตามที่คณะทำงานร้องขอ

กำหนดแนวคิดหลัก - คณะทำงานโครงการประชุมเพื่อกำหนดแนวคิดหลักและแนวทางบริหารโครงการ ตลอดจนกำหนดคณะทำงานย่อยเพื่อรับผิดชอบการจัดทำสารคดี และนิทรรศการ

จัดทำสารคดี - คณะทำงาน และคณะทำงานย่อยดำเนินการศึกษา วิจัย และลงพื้นที่ภาคสนามเพื่อถ่ายทำ และตัดต่อสารคดีตามที่กำหนดไว้ในขอบเขตการดำเนินงาน

จัดทำนิทรรศการ - คณะทำงาน และคณะทำงานย่อยนำเนื้อหาจากสารคดีมาสรุป สังเคราะห์ และดำเนินการให้เกิดการผลิตเป็นนิทรรศการเพื่อการเผยแพร่

จัดงานเปิดตัวผลงาน - คณะทำงาน ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศจัดงานเปิดตัวผลงานตามโครงการให้กับสื่อมวลชน และสาธารณชนทั่วไป โดยจัดเป็นงานสัมมนาใหญ่ที่มีการแสดงนิทรรศการ การฉายสารคดี รวมทั้งการแจกหนังสือชุดจาก โครงการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่สาธารณชนเรื่องเขตแดนไทยกับประเทศเพื่อน บ้านผ่านสื่อสิ่งพิมพ์และการประชุมเชิงปฏิบัติการ

ประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่สารคดี - คณะทำงานดำเนินการให้มีการเผยแพร่สารคดี ผ่านทางสื่อโทรทัศน์ วิทยุ และเว็บไซต์

จัดฝึกอบรม - คณะทำงานจัดการฝึกอบรมเพื่อให้ความ รู้กับบุคลากรทางการศึกษาของสถาบันการศึกษาระดับต่างๆเพื่อให้นำองค์ความรู้ ที่ได้รับไปขยายผลสู่เยาวชนในสถานศึกษาและสู่สาธารณชนในวงกว้างต่อไป

ผลงานที่ส่งมอบ

- นิทรรศการเขตแดนระหว่างประเทศ 1 ชุด

- การฝึกอบรมบุคลากรทางการศึกษาของสถาบันการศึกษาระดับต่างๆประมาณ 600 คน

- สารคดีเขตแดนระหว่างประเทศ ความยาวเรื่องละประมาณ 25-30 นาที จำนวน 6 เรื่อง ได้แก่

- ไทย กับ กัมพูชา ลาว พม่า และมาเลเซีย

- เวียดนาม กับ จีน กัมพูชา และลาว

- จีน กับ ลาว รัสเซีย และมองโกเลีย
- กลุ่มประเทศยุโรป

- การแก้ไขปัญหาโดยใช้กลไกหน่วยงานกลางระหว่างประเทศ

- ภาพรวมกรณีศึกษาเขตแดนระหว่างประเทศ

- การประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่สารคดีจำนวน 6 เรื่อง ผ่านสื่อต่างๆ ดังนี้

- สื่อโทรทัศน์ ผ่านทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง 11)

- ประชาสัมพันธ์สารคดีในรายการสนทนา เพื่อสร้าง กระแสในการติดตามรับชม สารคดีก่อนเริ่มออกอากาศครั้งแรก จำนวน 1 ครั้ง

- ประชาสัมพันธ์เนื้อหารายการล่วงหน้าในรูปแบบสปอตในช่วงเวลาต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมติดตามสารคดีแต่ละตอนก่อนที่จะออกอากาศ จำนวน4 ครั้งต่อตอน รวมทั้งสิ้น 20 ครั้ง

- ประชาสัมพันธ์ด้วยตัววิ่งหน้าจอโทรทัศน์เพื่อสื่อสารข้อมูลในวันที่จะออก อากาศ จำนวน 3 ครั้งต่อตอน รวมทั้งสิ้น 15 ครั้ง

- เผยแพร่สารคดีในช่วงเวลา 20.30 - 22.30 น. จำนวนรวม 5 ครั้ง (ตอน)

- เผยแพร่ซ้ำ (rerun) ในช่วงเวลา 14.30 - 15.00 น. ของวันอาทิตย์ จำนวนรวม 5 ครั้ง (ตอน)

- สื่อวิทยุ ผ่านทาง 3 สถานีวิทยุ

- ประชาสัมพันธ์ในรูปแบบสปอต ผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ช่วงเวลา 07.00 - 07.30 น. (ข่าวทั่วประเทศ) จำนวน 5 ครั้ง

- ประชาสัมพันธ์ในรูปแบบสปอตผ่านสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน 99.5 MHz จำนวน 5 ครั้งต่อตอน รวมทั้งสิ้น 25 ครั้ง

- ประชาสัมพันธ์ในรูปแบบสปอตผ่าน สถานีวิทยุ จส. 100 MHz จำนวน 5 ครั้งต่อตอน รวมทั้งสิ้น 25 ครั้ง

- เผยแพร่สารคดีสั้นที่มีเนื้อหาสรุปจากสารคดีหลัก ตอนละ 1 นาที ผ่านทางสถานีวิทยุ จส. 100 MHz ในระหว่างวันจันทร์ - วันศุกร์ จำนวนรวม 25 ตอน

- สื่ออินเตอร์เน็ต ผ่าน 3 เว็บไซต์หลัก

www.nnt.go.th ของสำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์

www.textbooksproject.com ของมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์

www.mfa.go.th ของกระทรวงต่างประเทศ

นำส่งสคริปต์ที่ใช้ในสารคดีโทรทัศน์ การประชาสัมพันธ์ทางวิทยุ และอินเตอร์เน็ต ให้กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อนำไปใช้เผยแพร่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ

1.ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ประธาน

2.อาจารย์พนัส ทัศนียานนท์

3.ศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ

4.รองศาสตราจารย์ ดร.พิภพ อุดร

5.รองศาสตราจารย์ อาทร ฟุ้งธรรมสาร

6.ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์

7.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์

8.ดร.มรกต เจวจินดา ไมเออร์

9.อาจารย์ อัครพงษ์ ค่ำคูณ

10.นายสมฤทธิ์ ลือชัย

11.นายอดิศักดิ์ ศรีสม

12.นายสุเทพ คุ้มกัน

13.นายเภตรา บรรณานุรักษ์

14.คณะที่ปรึกษาของคณะทำงานโครงการซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความ เชี่ยวชาญในด้านประวัติศาสตร์ กฎหมาย รวมทั้ง ด้านการค้า เศรษฐกิจ สังคม และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ดู งบประมาณ ระระเวลาดำเนินการ http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000000479

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น