++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

เอแบคโพลล์ เผยผลสำรวจ เด็ก นร.กทม.ส่วนใหญ่ระบุ ครูสอนให้รู้สึกกลัว และมีทุกข์ในการเรียน

เอแบคโพลล์ เผย ผลสำรวจบทบาทของครู จากเด็ก นร.ใน กทม.ส่วนใหญ่ระบุ ครูมักคาดหวังต่อความสำเร็จของ นร.นอกจากนี้ ร้อยละ50.3 บอกว่า ครูสอนให้รู้สึกกลัว และร้อยละ 29.7 มีความทุกข์ในการเรียน ด้าน นายนพดล แนะควรเปิดโอกาสให้ นร.อย่างเท่าเทียมในการแสดงออกและมีส่วนร่วมในห้องเรียน

นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง บทบาทของ “ครู” กับ ความหวาดกลัว และความทุกข์ของเด็ก กรณีศึกษานักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา (ชั้น ม.1-6) ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,021 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 1-15 มกราคม 2554 พบว่า เด็กนักเรียนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 70.5 คิดว่า คุณครูคาดหวังต่อความสำเร็จของนักเรียนมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 23.6 คาดหวังปานกลาง และร้อยละ 5.9 คาดหวังน้อยถึงน้อยที่สุด

ที่น่าพิจารณา คือ ร้อยละ 39.9 ระบุบทบาทของครูทำให้นักเรียนรู้สึกว่า ความแตกต่างหลากหลายนำไปสู่ความขัดแย้งมากถึงมากที่สุด ใน ขณะที่ร้อยละ 30.1 ระบุน้อยถึงน้อยที่สุด และร้อยละ 30.0 ระบุระดับปานกลาง ที่น่าเป็นห่วงคือ ครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 50 ระบุครูมักจะเรียกนักเรียนคนเดิมๆ ที่เก่งให้มีส่วนร่วมในการแสดงออกในชั้นเรียนมากถึงมากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 32.1 ระบุระดับปานกลาง และร้อยละ 17.9 ระบุน้อยถึงน้อยที่สุด

นอกจากนี้ ร้อยละ 50.3 ยังระบุด้วยว่า คุณครูสอนให้รู้สึกกลัว ในขณะที่ร้อยละ 49.7 ไม่คิดเช่นนั้นและเมื่อถามถึงความทุกข์ของนักเรียนในการเรียน พบว่า ร้อยละ 29.7 ทุกข์ในการเรียนมากถึงมากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 21.3 ทุกข์ระดับปานกลาง และร้อยละ 48.0 ทุกข์ในการเรียนน้อยถึงน้อยที่สุด

นายนพดล กล่าวว่า ความกลัวเป็นอุปสรรคสำคัญของการเรียนรู้และการศึกษาของนักเรียน การทำให้เด็กรู้สึกกลัวจะเป็นเสมือนประตูปิดกั้นระหว่างครูกับนักเรียน ผลที่ตามมาคือ เด็กนักเรียนจะรู้สึกเบื่อหน่ายในการเรียน และก่อให้เกิดอคติต่อคุณครู ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าคุณครูเลือกปฏิบัติโดยเรียกเด็กที่เก่งคนเดิมๆ ให้แสดงออกมีส่วนร่วมเป็นประจำ จะยิ่งเป็นการสร้างกำแพงกั้นระหว่างคุณครูกับเด็กให้มากยิ่งขึ้นไปอีก ดังนั้น กระบวนการเรียนการสอนที่เปิด “โอกาส” ให้เด็กนักเรียนอย่างเท่าเทียมในการแสดงออกมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน และการทำให้เด็กรู้สึกว่า “เป็นเจ้าของ” สิ่งประดิษฐ์ หรือผลผลิตทางการเรียนของพวกเขาน่าจะช่วยนำพาระบบการศึกษาของไทยไปสู่การ ปฏิรูปที่เด็กนักเรียนได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้และฝึกปฏิบัตินำไปใช้ใน ชีวิตประจำวันได้อย่างแท้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น