++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

การปฐมพยาบาลบาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

การปฐมพยาบาลบาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
โดย เอมอร คชเสนี








เมื่อร่างกายได้รับ อุบัติเหตุที่มาจากความร้อน เช่น น้ำร้อน น้ำมันเดือดๆ หรือเปลวไฟ ส่วนมากจะมีผลกระทบโดยตรงกับผิวหนังที่สัมผัส มีตั้งแต่บาดเจ็บเล็กน้อยไปจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นการเรียนรู้วิธีการปฐมพยาบาลที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ

อาการบาดเจ็บจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แบ่งได้เป็น 3 ระดับ

- ระดับตื้น แผลอยู่ที่ชั้นหนังกำพร้า ผิวหนังจะแดง ปวดแสบปวดร้อนเล็กน้อย สามารถรักษาให้หายได้ในเวลาไม่นาน
- ระดับปานกลาง แผลอยู่ที่ชั้นหนังกำพร้าแต่ลึกกว่าระดับแรก ผิวหนังจะแดง บวมพอง ปวดแสบปวดร้อนมาก ถ้าตุ่มพองไม่ใหญ่ แผลจะหายและแห้งหลุดไปเองภายใน 3-7 วัน
- ระดับรุนแรงมาก ความ ร้อนทำลายไปถึงชั้นหนังแท้ ผิวหนังจะลอกหลุดออกเห็นรอยไหม้สีดำหรือขาวเหมือนเนื้อสุก มักไม่รู้สึกเจ็บปวด เพราะเซลประสาทบริเวณนั้นถูกความร้อนทำลายไปเกือบหมด

นอกจากนี้ อาจแบ่งระดับความร้ายแรงของอาการบาดเจ็บได้จากความเสียหายของร่างกาย ในกรณีที่เป็นผู้ใหญ่หากมีแผลเกินกว่า 15% หรือ 10% ในเด็ก ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ เพื่อให้การรักษาที่ถูกวิธี

หากถูกไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวกบริเวณใบหน้า คอ หน้าอก อวัยวะเพศ จะมีความรุนแรงมากกว่าบริเวณอื่นๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะหากเป็นบริเวณใบหน้า ปาก และคอ ต้องรีบช่วยเหลือทันที เพราะผู้บาดเจ็บอาจหายใจไม่ได้

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

- ระดับตื้น ให้ใช้ความเย็นประคบทันที เช่น ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นจัดวางลงบนแผล ผ้าต้องมีความเย็นตลอดเวลาที่ประคบ หากบาดเจ็บบริเวณแขน ขา มือ เท้า สามารถจุ่มลงในน้ำเย็นจัดประมาณ 10 นาที ไม่ควรใช้น้ำแข็งสัมผัสบริเวณที่บาดเจ็บ เพราะน้ำแข็งจะมีเหลี่ยมคมและไม่สะอาด ที่สำคัญเนื้อเยื่อบริเวณนั้นอาจตายเนื่องจากความเย็นจัด

ไม่ควรใช้ขี้ผึ้ง ครีม น้ำมัน ยาสีฟัน หรือยาหม่อง ทาแผล เพราะจะทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นระบายความร้อนออกมาไม่ได้

หากอาการปวดแสบปวดร้อนทุเลาลงแล้ว ให้ทำความสะอาดบริเวณนั้นด้วยน้ำสะอาด ทายาที่ใช้สำหรับแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แล้วปิดทับด้วยผ้าพันแผล

- ระดับปานกลาง ให้ปฐมพยาบาลเช่นเดียวกับระดับแรก แต่ให้สังเกตว่าผู้ป่วยมีอาการช็อคหรือไม่ โดยสังเกตได้จากชีพจรเต้นเบามากหรือเต้นอ่อนลง ปากซีด ผิวหนังซีด เป็นตะคริว หากมีอาการเหล่านี้ ให้ผู้ป่วยนอนราบ ยกขาสูง ห่มผ้าให้ผู้ป่วย หรือรีบนำส่งโรงพยาบาล หากมีกำไลหรือแหวน ควรถอดออก เพราะนิ้วหรือข้อมืออาจบวมจนถอดออกยาก หากเสื้อผ้าติดแน่นไม่ควรถอดหรือเปลี่ยน

- ระดับรุนแรงมาก ไม่ควรใช้น้ำเย็นราดเพราะจะทำให้ผู้ป่วยช็อก ตรวจดูว่าผู้ป่วยยังมีสัญญาณชีพหรือไม่ หากไม่หายใจและไม่มีชีพจรให้เป่าปากและนวดหัวใจดังที่ได้เคยกล่าวไปแล้ว รีบโทรเรียกรถพยาบาล หรือรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น