++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

“สธ.” ต่ออายุนักทัศนมาตรศาสตร์ 9 ราย สามารถประกอบโรคศิลปะตามกฎหมาย

“สธ.” ต่ออายุนักทัศนมาตรศาสตร์ 9 ราย สามารถประกอบโรคศิลปะตามกฎหมาย
from MOPH-ข่าวเพื่อสื่อมวลชน by สำนักสารนิเทศ

รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงนามในหนังสืออนุญาตต่ออายุให้นักทัศนมาตรศาสตร์ จำนวน 9 ราย สามารถประกอบโรคศิลปะได้ตามกฎหมาย ได้แก่การตรวจวัด วินิจฉัยความผิดปกติสายตา การแก้ไขฟื้นฟูความผิดปกติการมองเห็นด้วยการใช้แว่น คอนแท็คเลนส์ เผยขณะนี้ทั่วประเทศมีผู้ประกอบอาชีสาขานี้เพียง 36 คนเท่านั้น
นายบุณย์ ธีร์ พานิชประไพ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ในปี 2553 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ลงนามในหนังสือต่อใบอนุญาตให้บุคคลทำการ ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์จำนวน 9 ราย เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 2 พ.ศ.2546 เรื่องการอนุญาตให้บุคคลทำการประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ มีกำหนด ให้ต่ออายุหนังสืออนุญาตทุก 2 ปี
นายบุณย์ ธีร์กล่าวว่า วิชาชีพทัศนมาตรศาสตร์ เป็นการประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับการตรวจและทดสอบระบบการมองชัดของสายตา การ ทดสอบระบบการเคลื่อนไหวของดวงตา ตรวจคัดกรองสายตาที่ผิดปกติ ส่งต่อแพทย์ตามความเหมาะสม และแก้ไขฟื้นฟูความผิดปกติของการมองเห็นโดยการ ใช้แว่นตา เลนส์สัมผัสหรือคอนแท็คเลนซ์ และการฝึกการบริหารกล้ามเนื้อตา ซึ่งไม่รวมถึงการแก้ไขความผิดปกติเนื่องจากระบบประสาทตาหรือโรคทางตาที่ไม่ ได้เกิดจากความผิดปกติของการหักเหของแสง การแก้ไขความผิดปกติโดยการใช้ยาหรือการผ่าตัด และการใช้เลเซอร์ชนิดต่าง ๆ
ทั้งนี้ ผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพดังกล่าว จะต้องสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการอุดมศึกษาและ องค์กรวิชาชีพอย่างครบถ้วน โดยจะทำการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบโรคศิลปะครั้งแรกเท่านั้น ก่อนหนังสืออนุญาตหมดอายุสามารถต่ออายุได้ที่ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จจุดเดียว ของสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ขณะนี้ทั่วประเทศมีผู้สอบขึ้นทะเบียนประกอบโรค ศิลปะสาขานี้ เพียง 36 คน
นายบุณย์ธีร์ กล่าวอีกว่า ประเทศไทยได้กำหนดให้สาขาทัศนมาตรศาสตร์ เป็นสาขาหนึ่งของการประกอบโรคศิลปะในพ.ศ. 2546 การเรียนการสอนหลักสูตรสาขาดังกล่าว เป็นสาขาวิชาด้านการแพทย์และสาธารณ สุขที่มีความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน เป็นหลักสูตรเดียวในระดับปริญญาตรี ที่เน้นการตรวจวินิจฉัยปัญหาในด้านสายตาและสุขภาพตาโดยตรง เป็นไปตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะพ.ศ. 2542 แต่ที่ผ่านมามีผู้เรียนน้อยมาก เนื่องจากมักจะมีคนเข้าใจผิดว่า ผู้ที่เรียนหลักสูตรนี้มีหน้าที่หลักในการประกอบแว่นสายตา หรือเปิดร้านตัดแว่นทั่วๆไปเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น