++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

ถอดรหัสเสียงร้องไห้ของลูก

เสียงร้องไห้กับเด็กตัวเล็กๆ เป็นเรื่องปกติที่พบได้ แต่บางครั้ง บางเวลาพ่อแม่ก็ไม่สามารถจัดการกับ
เสียงร้องไห้ของลูกได้ดั่งใจ กลายเป็นปัญหาสุขภาพจิต เรื่องเครียดในเวลาต่อมา ดังนั้น การเรียนรู้
เข้าใจที่มาของเสียงร้อง จะช่วยให้คุณใจเย็นมั่นใจได้มากขึ้น และมีความสุขกับการเลี้ยงดูลูกค่ะ

ลูกร้องไห้ คือการสื่อสาร
ตั้งแต่ แรกเกิดลูกไม่สามารถพูดได้ การร้องไห้จึงเป็นวิธีที่ลูกใช้สื่อสารกับผู้เลี้ยงให้รู้ถึงความต้องการว่า หิว ปวดท้อง เบื่อ เจ็บ ไม่สบายตัว หรือปลดปล่อยความเครียดจากการปรับตัวทั้งวัน เป็นการปรับตัวจากการนอนอย่างสบายในท้องแม่ มาสู่สิ่งแวดล้อม ที่ยังไม่คุ้นเคย เมื่อเลยจากนี้ไป 3 เดือนก็จะดีขึ้น มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า แม่สามารถแยกแยะลักษณะการร้องได้หลังจากคลอด 3 สัปดาห์ และอาจแยกเสียงร้องของลูกตัวเองจากเสียงร้อง ของลูกคนอื่นหลังจากคลอดได้ 3 วัน

ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ เด็กแต่ละคนก็มีลักษณะที่ต่างกัน สามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้
กลุ่มแรก ทําอย่างไรก็ไม่ร้อง กินนมเสร็จก็นอนหลับยาว 4 ชั่วโมง พอหิวก็ตื่น ร้องแอ๊ะๆ เบาๆ กินนมเสร็จก็นอน
กลุ่มที่ 2 ทําอย่างไรก็ร้อง ไม่ว่าจะ อุ้ม เดิน ร้องกล่อม เปลี่ยนผ้าอ้อมหรือให้นม
กลุ่มที่ 3 ร้องแบบปกติ คือเริ่มร้องเมื่ออายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ ร้องมากสุดช่วงประมาณเดือนครึ่ง และเริ่มเข้าที่เข้าทาง ลูกร้องน้อยลงเมื่อเข้าสู่เดือนที่ 3-4


เสียงร้องไห้ของลูกบอกอะไร
ลักษณะเสียงร้องไห้ต่อไปนี้ บางทีอาจเป็นข้อมูลที่ช่วยให้คุณ สังเกต และเข้าใจได้ว่าลูกกําลังบอกอะไร
‘หิว’ : มัก เป็นการร้องเสียงต่ำและสั้น ขึ้นและลงเป็นจังหวะ เสียงคล้ายจะบอกว่า กรุณาให้นมหนูเถอะ และลูกแสดงออก สื่อกับคุณว่าหิว เช่น ดูดนิ้ว ทําเสียงจ๊วบจ๊าบร่วมด้วย
’เจ็บ’ : เป็นการร้องทันทีทันใด เสียงแหลม สูง ดัง หรืออาจนานแล้วก็หยุด เพื่อหายใจสัก 2-3 วินาที แล้วก็ร้องเสียงแหลมสูงอีก เช่น เวลาที่ลูกถูกฉีดยา
‘เบื่อ’ : มัก เริ่มจากเสียงอ้อ แอ้ พยายามหาคนคุยด้วย พอไม่มีใครจะเริ่มหงุดหงิด แล้วก็ระเบิดเสียงร้อง สลับกับการร้อง คล้ายๆ เสียงบ่นพออุ้มก็หยุดร้อง
‘เหนื่อยและไม่สบายตัว’ : อาจเป็นเสียงร้องครางขึ้นจมูก และเสียงค่อยๆ ดังขึ้น ในกรณี เฉอะแฉะ เปียกชื้น
‘เจ็บป่วย’ : เป็นเสียงเบาๆ คล้ายไม่มีแรง เสียงจะต่ำกว่าการร้องแบบเจ็บ มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ไม่กิน มีไข้ ซึม ท้องเดิน จัดเป็นเสียงที่ต้องรีบไปพบคุณหมอโดยด่วน

เสียงร้องไห้ของลูก...ดูแลไม่ยาก
ตอบสนองต่อเสียงร้อง
เป็นวิธีอย่างแรก ที่สื่อให้ลูกรู้ว่า เมื่อร้องจะมีคนสนใจตอบสนองเสียงร้อง ลูกรู้สึกได้ถึงความมั่งคงและปลอดภัย

ประเมินสถานการณ์
ว่า แฉะไหม หิว น่าจะเบื่อ หนาว ร้อน กรณีที่ลูกปวดท้อง อาจเป็นการยากที่จะสรุปว่าลูกร้องมากเพราะปวดท้อง ก็อาจลองทามหาหิงค์ุ เด็กบางคนอาจมีการให้ยา simethicone เช่น แอร์เอ็กซ์ แต่ทางที่ดีวิธีง่ายๆ ไม่มีค่าใช้จ่าย ขอแค่จิตใจแม่สงบ มีพ่ออยู่เป็นกําลังใจ ก็ช่วยได้มากยิ่งอุ้ม ยิ่ง (ไม่) ร้อง

ด้วยสัมผัสที่อ่อนโยน และอบอุ่นจากการอุ้มลูกไว้แนบอก จะทําให้อารมณ์ของลูกมั่นคง ผ่อนคลาย (โดยเฉพาะช่วงเดือนแรก) มีความสอดคล้องกับการศึกษาในปัจจุบันว่า ถ้าอุ้มอย่างน้อย 3 ชั่วโมงต่อวัน ทารกจะร้องน้อยลง

ประเภทร้อง 3 เดือนหรือเรียกว่าโคลิก ตามตําราบอกว่า ร้องอย่างน้อยวันละ 3 ชั่วโมง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และ 3 สัปดาห์เป็นอย่างน้อย การใช้วิธีอุ้มแนบอก เพื่อช่วยสยบเสียงร้องสามารถช่วยได้ แต่ถ้าคุณรู้สึกว่าลูกไม่หยุดร้อง การหาคนช่วยอุ้ม หรือเปลี่ยนบรรยากาศก็เป็นหนึ่งทางเลือกค่ะ

ขอบคุณ : พญ. สุดา เย็นบํารุง กุมารแพทย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น