++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554

หนุนคนไทยตักบาตรสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม ลดโรคให้พระสงฆ์

กรมอนามัย ชวนคนไทยใจบุญตักบาตรด้วยเมนูชูสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม สร้างสุขภาพดีให้พระสงฆ์ หวังป้องกันและลดโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนในกลุ่มพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งเป็นแกนนำหลักสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลด้านการส่งเสริมสุขภาพให้กับ ประชาชน


ทำบุญตักบาตร
ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดี กรมอนามัย เปิดเผยถึงการสนับสนุนคนไทยตักบาตรด้วยเมนูชูสุขภาพ ว่า ในช่วงเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ของทุกปี ประชาชนชาวไทยนิยมทำบุญตักบาตรเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว โดยเลือกตักบาตรด้วยอาหารกระป๋องและอาหารปรุงสำเร็จ ซึ่งหากไม่ใส่ใจและคำนึงถึงความปลอดภัยก็จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพพระสงฆ์ตามมา โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากการทำบุญตักบาตรพระภิกษุสงฆ์ด้วยอาหารที่จำเจ ไม่หลากหลาย ซึ่งอาหารปรุงสำเร็จส่วนมากมักเป็นอาหารทีป่ระกอบด้วยแป้ง น้ำตาล และไขมัน รวมทั้งกะทิที่ให้พลังงานสูงมากเกินความต้องการของร่างกาย ก่อให้เกิดการสะสมไขมันส่วนเกิน ส่งผลให้เกิดภาวะเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามมา ซึ่งจากข้อมูลสถิติด้านการเจ็บป่วยของพระสงฆ์จากโรงพยาบาลสงฆ์ในปี 2550 พบว่า พระสงฆ์ที่มารับการตรวจรักษา 17,381 รูป ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ร้อยละ 17.8 โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 17.1 ภาวะไขมันในเลือดสูง ร้อยละ 13.5 แสดงให้เห็นว่าการเจ็บป่วยด้วยโรคส่วนใหญ่มีสาเหตุจากปัญหาการบริโภคไม่ถูก หลักโภชนาการ เนื่องจากไม่สามารถที่จะเลือกฉันอาหารเองได้ ต้องฉันอาหารตามที่ฆราวาสตักบาตรหรือนำอาหารมาถวาย ประกอบกับสถานภาพพระภิกษุสงฆ์ ไม่เอื้อต่อการออกกำลังกาย ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรค

ดร.นพ.สมยศ กล่าวต่อไปว่า เพื่อเป็นการสร้างสุขภาพดีแก่พระภิกษุสงฆ์ ประชาชนผู้ใจบุญทั้งหลายควรทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ด้วยอาหารเมนูชูสุขภาพที่ ประกอบด้วยกลุ่มที่ให้ใยอาหารสูง ประเภทข้าวกล้อง ผักต่าง ๆ เพื่อจะได้มีกากอาหารช่วยในการขับถ่าย กลุ่มที่ให้แคลเซียมสูง ประเภทผักใบเขียวเข้ม ปลาที่กินได้ทั้งตัว นมจืดหรือนมพร่องมันเนย เพื่อช่วยเสริมสร้างกระดูกไม่ให้เปราะบาง แตกหรือหักง่าย กลุ่มที่มีไขมันต่ำ ประเภทเนื้อสัตว์ ไม่ติดมัน ปลา เพื่อลดพลังงานส่วนเกินที่จะไปสะสมในร่างกายซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคอ้วน โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง โดยอาหารที่ปรุงนั้นต้องมีรสที่ไม่หวานจัด มันจัด และเค็มจัด เน้นการต้ม นึ่ง อบ หรือทำเป็นน้ำพริก แต่หากต้องการปรุงอาหารประเภทผัดหรือกะทิก็ต้องใช้น้ำมันและกะทิแต่น้อย ที่สำคัญต้องปรุงด้วยเนื้อสัตว์ที่มี ไขมันต่ำ เช่น ปลาหรือเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน อาทิ เมนูลาบปลา ปลานึ่งผัก แกงส้ม แกงเลียง แกงเหลือง ต้มยำปลา ยำมะม่วง ยำสมุนไพร เป็นต้น ที่สำคัญควรมีผักสดและผลไม้สดด้วยทุกครั้งเพื่อให้ครบคุณค่าทั้ง 5 หมู่ นอกจากนี้พระภิกษุสงฆ์ก็สามารถสร้างสุขอนามัยที่ได้ด้วยการใช้ช้อนกลางขณะ ฉันภัตตาหารทุกครั้ง

“ทั้งนี้ การตักบาตรด้วยเมนูชูสุขภาพจึงเป็นการสร้างสุขภาพดีให้กับพระสงฆ์ ซึ่งปัจจุบันพระสงฆ์ถือเป็นแกนนำสำคัญของกรมอนามัยในการเผยแพร่ข้อมูลด้าน การส่งเสริมสุขภาพร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อสุขภาพที่ดีทุกกลุ่มอายุ และเป็นเครือข่ายในการส่งเสริมสุขภาพที่ยั่งยืน เกิดแนวทางการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวอย่างต่อเนื่อง โดยมีกลยุทธ์ 3 ประการ คือ 1) การชี้นำ 2) การเพิ่มความรู้ ความสามารถ ทักษะ และ 3) การขับเคลื่อนของภาคีเครือข่ายร่วมให้เกิดผลดี และประโยชน์ที่เอื้อต่อกัน โดยพระสงฆ์จะเป็นแกนหลักดำเนินงานร่วมกันกับชุมชนในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ให้ลดเสี่ยง ลดโรค ลดภาวะแทรกซ้อนของโรค และก้าวสู่วิถีชีวิตที่พอเพียง สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน ซึ่งขณะนี้มีแกนนำพระสงฆ์ทั่วประเทศแล้วจำนวน 2,138 รูป อีกทั้งยังมีวัดส่งเสริมสุขภาพกระจายอยู่เกือบทุกอำเภอ จำนวน 2,953” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น