++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554

ถอดรหัส 2010 วันสิ้นโลก จ

ที่ส่งมาให้ดู ไม่ได้ต้องการให้ทุกคนตระหนก แต่ต้องการให้ทุกคนเร่งสร้างความดี เพื่อเป็นเกราะคุ้มกันภัยค่ะ แม้ยามประสบเคราะห์กรรมก็จะได้มีสติรับมือกับปัญหาได้ เพราะตอนนี้ภัยธรรมชาติมันอยู่ใกล้แค่เอื้อมจริง ๆ ค่ะ







ไม่เฉพาะในประเทศไทย หากดูข้อมูลย้อนหลัง 2010 ถือว่าเป็นปีแห่งภัยพิบัติของโลกอย่างแท้จริง สิ่งที่หลายคนสงสัยอยู่ที่ว่า ถ้าโลกพูดได้ เขากำลังจะสื่อสารอะไรกับมนุษย์หรือเปล่า…? ถ้าคุณเชื่อเรื่องธรรมชาติมีชีวิต เชื่อเรื่องกฎการคัดสรรของธรรมชาติ เชื่อหนังฮอลีวูดที่ผลิตกรอกหูซ้ำๆ ว่าวันหนึ่งโลกจะแตก และเชื่อว่าวันหนึ่งประเทศไทยจะไม่มีอยู่บนแผนที่โลก ฯลฯ นี่คือสิ่งที่คุณต้องอ่านก่อนตาย... !!

2010 คำพูดจากโลก ถึง มนุษย์ผู้ทำลาย

ไทย รัฐออนไลน์ลองค้นข้อมูลคราวๆ เกี่ยวกับภัยพิบัติที่อันเกิดจากธรรมชาติพิโรธ (มนุษย์โลก) แล้ว พบข้อมูลที่น่าตกใจเพราะที่ผ่านมา โดยเฉพาะปี 2010 เหตุการณ์ที่ว่าได้เกิดขึ้นอย่างมากมาย

*เปิดศักราชใหม่วันที่ 12 มกราคม 2553 เกิดแผ่นดินไหวที่ "เฮติ"​ ขนาด 7.0 ริกเตอร์ สร้างความเสียหายมากมายมหาศาล โดยศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากกรุงปอร์โตแปรงซ์เมืองหลวงของประเทศเฮติ ทั้งนี้ ได้มีการประมาณว่า มีผู้ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวครั้งนี้มากกว่า 3 ล้านคน รัฐบาลเฮติรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตเกือบ 3 แสนคน ผู้บาดเจ็บอีกกว่า 3 แสนคน และอีกกว่า 1 ล้านคนยังไม่มีที่อยู่อาศัย

* เดือนต่อมาในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.8 ริกเตอร์ที่นอกชายฝั่งแคว้นเมาเลประเทศชิลี จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายของทรัพย์สินชนิด "ราบพนาสูญ"​ที่น่าตกใจกว่าความเสียหายซึ่งมากมายมหาศาลแล้ว เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้แกนโลกเอียงไปจากตำแหน่งเดิม 3 นิ้วส่งผลให้ระยะเวลาสั้นลงไป 1.26 ไมโครวินาที (1ไมโครวินาที เท่ากับ 1 ในล้านวินาที) เลยทีเดียว

* วันที่ 8 มีนาคม 2553 เกิดพายุทำให้เกิดฝนตกหนักในนครเมลเบิร์น วัดระดับน้ำฝนได้ 26 มิลลิเมตร พื้นที่อื่นวัดระดับน้ำฝนได้สูงถึง 70 มิลลิเมตร นอกจากนี้ ยังมีลูกเห็บยักษ์ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 4 นิ้ว หรือเท่ากับลูกเทนนิส มีประชาชนแจ้งขอรับความช่วยเหลือมากกว่า 4,000 คน

* วันที่ 20 มีนาคม 2553 เกิดการปะทุของภูเขาไฟชื่อดังในไอซ์แลนด์ จริงๆ แผ่นดินไหวได้เริ่มต้นขึ้นนับตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2552 ในครั้งนี้ ซึ่งมีการจัดดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟอยู่ที่ระดับ 1 การปะทุครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในวันที่ 14 เมษายนที่ผ่านมาและได้รบกวนการจราจรทางอากาศในทวีปยุโรปมหาศาล ส่งผลกระทบต่อผู้โดยสารนับล้านๆ คน

* ทิ้งท้ายกับภัยธรรมชาติในวันที่ 31 มีนาคม 2553 เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในอ่าวเบงกอล วัดขนาดแรงสั่นสะเทือนได้ 6.8 ริคเตอร์ที่หมู่เกาะอันดามันแอนด์ นิโคบาร์ ในอ่าวเบงกอล

* เดือนถัดมาเรียกว่าภัยธรรมชาติหายใจรดต้นคอโลกใบนี้ราวกับโกรธแค้น วันที่ 7 เมษายน 2553 เมื่อเวลา 05.15 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) ขณะที่คนกำลังหลับใหลเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวนอกชายฝั่งของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย มีความรุนแรง 7.8 ริกเตอร์ ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บหลังจากนั้นเกิดคลื่นสึนามิ สูง 1.5 ซม.ใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหว ซึ่งเป็นคลื่นขนาดเล็ก

* อีก 1 อาทิตย์ถัดมา เกิดภูเขาไฟใต้ธารน้ำแข็งตอนใต้ของเกาะไอซ์แลนด์ระเบิดปะทุขึ้นฟ้าสูงถึง 8 กิโลเมตร ฝุ่นขี้เถ้าลอยสูงกว่า 6 พันเมตร และฟุ้งกระจายไปทั่วประเทศ และหลายประเทศในยุโรปตั้งแต่วันที่ 14 เม.ย.เป็นต้นมา กลุ่มควันและเถ้าละอองปลิวฟุ้งขึ้นไปบนท้องฟ้าก่อให้เกิดอันตรายกับเครื่อง ยนต์ไอพ่นของเครื่องบินโดยสารเที่ยวบินในภูมิภาคยุโรปต้องยกเลิกเที่ยวบิน สร้างความโกลาหนอย่างมากมาย

* ในวันเดียวกันที่ประเทศจีนเกิดแผ่นดินไหวซ้ำอีก มีความรุนแรง 6.9 หรือ 7.1 ริกเตอร์ บริเวณเขตปกครองตนเองยูซู มณฑลชิงไห่ สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อเวลา 07.49 น. (ตามเวลาในท้องถิ่น) สำนักข่าวซินหัวของประเทศจีน รายงานว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการ 2,220 ราย สูญหาย 70 ราย และบาดเจ็บ 12,135 ราย ซึ่งในที่นี้บาดเจ็บสาหัสเกือบ 2 พันราย

* เหตุการณ์โลกพิโรธต่อมาเกิดขึ้นวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 พายุทอร์นาโด และพายุลูกเห็บที่เมืองซุ่ยหัว ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองฮาร์บินประมาณ 120 กิโลเมตร ในมณฑลเฮยหลงเจียง ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐประชาชนจีน ทำให้มีผู้เสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บมากมาย

* วันที่ 1 มิถุนายน 2553 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.4 ริกเตอร์ที่นอกหมู่เกาะอันดามันของอินเดียที่ระดับความลึก 127 กิโลเมตร และมีศูนย์กลางแผ่นดินไหวห่างประมาณ 120 กิโลเมตร จากเมืองพอร์ตแบลร์ของหมู่เกาะอันดามัน

* วันที่ 5 มิถุนายน 2553 เกิดพายุทอร์นาโดพัดถล่มทางภาคตะวันตกด้านกลางของสหรัฐอเมริกา

* วันที่ 7 มิถุนายน 2553 ภูเขาไฟระเบิดที่ประเทศคู่แค้นกับอเมริกา "รัสเซีย" และมีรายงานข่าวภูเขาไฟระเบิดอย่างต่อเนื่องมากถึง 3 ครั้งต่อชั่วโมงที่ประเทศเอควาดอร์

* วันที่ 9 มิถุนายน 2553 เกิดแผ่นดินไหวขนาดเกือบ 6 ริกเตอร์ ที่บริเวณประเทศฟิลิปปินส์ นอกจากนั้นยังเกิดแผ่นดินไหวที่เกาะวาเนาตู (Vanautu) ขนาด 6.0 ริกเตอร์อีกต่างหาก

* วันที่ 10 มิถุนายน 2553 เกิดน้ำท่วมขนาดใหญ่ที่รัฐเท็กซัส ของมหาอำนาจสหรัฐอเมริกา

* วันที่ 12 มิถุนายน2553 ราวตี 1 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.5 ริกเตอร์ ที่นอกชายฝั่งประเทศอินเดีย ซึ่งห่างจากซีกตะวันตกของหมู่เกาะนิโคบาร์ไปประมาณ 150 กิโลเมตรที่ความลึก 35 กิโลเมตร

* วันที่ 13 มิถุนายน 2553 เหตุภัยพิบัติพายุฝน และดินถล่มทางตอนใต้ของประเทศจีน ซึ่งได้คร่าชีวิตชาวจีนไปจำนวนหนึ่ง สำหรับมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็นเงินประมาณ 43,000 ล้านหยวน และมีผู้อพยพกว่าเกือบ 3 ล้านคน

* วันที่ 16 มิถุนายน 2553 เกิดเหตุแผ่นดินไหวบริเวณเกาะไบแอ็ก (Biak) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะปาปัว วัดความสั่นสะเทือนได้ 6.2 ริกเตอร์

* วันที่ 18 มิถุนายน 2553 ประเทศจีนเกิดน้ำท่วมและแผ่นดินถล่มฉับพลันในพื้นที่ 74 เมือง ของ 6 มณฑล ประมาณการณ์ว่าประชาชนกว่า 2.56 ล้านคนได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติครั้งนี้

* เดือนกรกฎาคม วันที่ 14 เกิดเหตุน้ำท่วม และดินถล่มจากฝนตกหนักทางภาคใต้ของจีน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 400 คน

* วันเดียวกัน เหตุการแผ่นดินไหวอินโดนีเซียขนาด 5.6 ริกเตอร์

* 2 วันถัดมา หรือ วันที่ 16 กรกฎาคม 2553 เกิดพายุโซนร้อน "โกนเซิน" (Conson) ณ บริเวณทะเลจีนใต้ มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 600 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม

* ปลายเดือนกรกฎาคมจนถึงราวต้นเดือนกันยายน 2553 เกิดไฟป่าในรัสเซียนับหลายร้อยแห่ง เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมาในประวัติศาสตร์รัสเซีย และความแห้งแล้งในภูมิภาค มีการประมาณผู้เสียจริงอาจสูงถึง 8,000 คน

* สิงหาคม เริ่มต้นด้วยความเศร้าอีกครั้งในวันที่ 1 สิงหาคม 2553 ได้เกิดอุทกภัยรุนแรงทางตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถาน จากผลพวงของพายุฤดูร้อน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,000 ราย

* 8 สิงหาคม 2553 เกิดอุทกภัย และแผ่นดินถล่มที่จีน เนื่องมาจากฝนตกหนัก ที่เมืองทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน คร่าชีวิตประชาชนไปแล้วอย่างน้อย 127 คน สูญหายอีก กว่า 1,300 คน

* 7 วันถัดมาเกิดเหตุไฟป่าในโบลิเวียเป็นเหตุการณ์ที่นำไปสู่การประกาศสถานการณ์ ฉุกเฉินเนื่องจากพบว่ามีไฟป่าเกิดขึ้นมากกว่า 25,000 จุดทั่วประเทศ ไฟป่าได้ผลาญทำลายบ้านเรือนไปเกือบ 60 หลังคาเรือน

* 6 กันยายน 2553 โคลนถล่มกัวเตมาลา พบผู้เสียชีวิตและสูญหายพุ่งเกินกว่า 100 ราย

* มาถึงคิวประเทศไทย วันที่ 10-30 ตุลาคม 2553 เกิดอุทกภัยในประเทศไทย เป็นเหตุการณ์การเกิดน้ำท่วมในประเทศไทยหนักที่สุดในรอบหลายสิบปี ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างหนักทั้งชีวิตและทรัพย์สินในหลายพื้นที่แบบที่ หลายคนยังประเมินความเสียหายไม่ได้

* 25 ตุลาคม 2553 แผ่นดินไหวที่อินโดนีเซีย ขนาดความรุนแรง 7.7

* 26 ตุลาคม 2553 ภูเขาไฟเมราปี (Merapi) ระเบิดซ้ำที่ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีรัศมีการกระจายของขี้เถ้าขยายเป็นวงกว้างประมาณ 2-4 กิโลเมตร

* 27 ตุลาคม 2553 สึนามิถล่มซ้ำที่หมู่เกาะ เมนตาไว ประเทศอินโดนีเซีย ความรุนแรงถึง 7.2 ริกเตอร์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 108 คน และสูญหายราว 500 คน

* 1 พฤศจิกายน 2553 เป็นอีกครั้งหนึ่งที่กลายเป็นประวัติศาสตร์ความเสียหายของประเทศไทย กับการเดินทางผ่านของพายุดีเปรสชั่นถล่มภาคใต้ ฯลฯ

อย่างไรก็ดี ภาพช่วงเวลาเหตุการณ์โลกพิโรธส่วนหนึ่งที่กำลังร้อยเรียงอยู่นี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าทำให้เรานึกภาพว่า ภาพยนตร์ดังเกี่ยวกับภัยพิบัติล้างโลกจากฝีมือผู้กำกับฮอลลีวูดที่พวกเขา สร้างขึ้นมาซ้ำๆ มันไม่
ใช่เรื่องที่เกินจินตนาการ หรือเป็นเพียงความสนุกในครัวเรือนซะแล้ว...!!!


ถอดรหัส 2010 วันสิ้นโลก

ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลก แห่งภูมิภาคเอเชีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น