++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ถึงเวลาต้องตัดสินใจ!?!

โดย อุษณีย์ เอกอุษณีษ์


ใช้คอลัมน์ พระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก คุยเรื่องการเมืองบ้าง ข่าวสารบ้าง
เรื่องพันธมิตรฯ บ้างมาได้พอสมควร วันนี้ขอคุยเรื่องใกล้ตัว
เป็นประสบการณ์อันมาจากรายการใหม่
ที่ได้รับโอกาสอันดีจากผู้หลักผู้ใหญ่อย่างคุณสนธิ ลิ้มทองกุล และพี่ๆ
อีกหลายท่านที่อยากให้เพิ่มมิติของข่าวต่างประเทศ
ในผังข่าวเช้าซึ่งแน่นอนว่า อาจจะเป็นรสชาติใหม่สำหรับแฟนเอเอสทีวี
และพันธมิตรฯ ที่ติดตามผลงานของทีมข่าวเอเอสทีวีแบบต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง
ซึ่งคงจะมีทั้งที่ชอบ และไม่ชอบ

สำหรับการออกอากาศเดือนแรกของรายการ "รอบบ้านเรา"
คงจะต้องมีการปรับเปลี่ยนไปอีกหลายอย่างให้มีองค์ประกอบเนื้อสาระที่กลมกลืน
และเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ
และก็เป็นความตั้งใจของทีมงานที่อยากจะให้อาหารจานนี้รับประทานได้ง่ายขึ้น
ถูกปากคนไทย ไม่มีเนยนมมากเกินไป และที่สำคัญให้ประโยชน์กับผู้ชมด้วย

ที่มาของชื่อรายการ "รอบบ้านเรา" ใครได้ฟังจะเชื่อหรือไม่ว่า
มาจากความเมตตาของนายใหญ่แห่งบ้านพระอาทิตย์
จำได้ว่าตอนที่ดิฉันนำโครงสร้างรายการเข้าไปเสนอ
ดิฉันเพียรพยายามประดิษฐ์ถ้อยคำให้ดูอินเตอร์สมเป็นรายการข่าวต่างประเทศ
แต่ท้ายที่สุดกลับได้พบว่า คำไทยๆ และฟังดูง่ายๆ อย่าง "รอบบ้านเรา"
ที่คุณสนธิตั้งให้
สามารถสะท้อนความหมายการเชื่อมโยงข่าวสารการต่างประเทศกับเรื่องไทยๆ
ได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการเมืองแบบไทยๆ นักการเมืองแบบไทยๆ ฮั้วแบบไทยๆ
เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับประสบการณ์ต่างประเทศ

เพราะโลกวันนี้ไร้ซึ่งเขตรั้วกั้น
ล้วนถูกเชื่อมโยงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหมดแล้ว
ดังนั้นจึงไม่แปลกที่หลายครั้งประสบการณ์การเมืองเก่า
และความต้องการการเมืองใหม่เหมือนๆ กัน ทั้งในอินเดีย ญี่ปุ่น
หรือแม้แต่อังกฤษ ประเทศแม่แบบประชาธิปไตย ก็ล้วนเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ
สำหรับประเทศไทย มองเทศแล้วย้อนดูไทยกรณีล่าสุดที่ดิฉันสนใจมาก
ในวาระที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
เตรียมจะขอเสียงเพื่อนพ้องน้องพี่ของเรา
เพื่อหารือว่าถึงเวลาหรือยังที่จะสานต่อการเมืองภาคประชาชนไปสู่การจัดตั้ง
พรรคการเมืองเพื่อไปเคลื่อนไหวในระบบ จนถึงตอนนี้ทุกท่านอาจจะมีคำตอบในใจ
หรือคำตอบในกระดาษที่จะถือมาในวันอาทิตย์นี้

แต่เหนือสิ่งอื่นใด
ประสบการณ์ในกรณีคล้ายกันที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ
น่าจะพอให้ข้อมูลเพิ่มเพื่อจะนำไปสู่การคิดต่อได้ว่า
พลังของภาคประชาชนในแบบที่มีมาทั้งส่วนที่เจตนาจะสานต่อไปสู่การเป็น
"พรรคการเมืองของประชาชน" กับแบบที่คงไว้ซึ่งการเป็น
"ขบวนการภาคประชาชนเหมือนเดิม" มีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร
และนำมาปรับใช้ให้เป็นแบบไทยๆ ได้อย่างไรบ้าง

ในวันศุกร์นี้ ซึ่งตรงกับช่วงเวลาของการตีพิมพ์คอลัมน์นี้เช่นกัน
รายการรอบบ้านเรา เวลา 08.30 - 09.30
น.จะนำเสนอประสบการณ์เคลื่อนไหวของขบวนการโซลิดาริตี้ ในประเทศโปแลนด์
ซึ่งมีจุดเริ่มต้นการเคลื่อนไหวจากการเรียกร้องของสหภาพแรงงานนอกระบบที่ได้
รับความร่วมมือจากประชาชนทุกสาขาอาชีพ
ก่อนที่จะเติบโตไปสู่การเคลื่อนไหวที่สามารถล้มพรรคคอมมิวนิสต์โปแลนด์ลง
และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองให้กลายเป็นประชาธิปไตยได้ในที่สุด

โดยในด้านการเคลื่อนไหวภาคประชาชน
ขบวนการโซลิดาริตี้ได้รับความชื่นชมในฐานะที่สามารถสร้างความแข็งแกร่งให้
กับภาคประชาสังคมได้ ท่ามกลางการปิดกั้นของรัฐบาลคอมมิวนิสต์
จนกระทั่งนายเลช วาเลนซ่า ผู้นำการเคลื่อนไหวได้รับรางวัลโนเบล
สาขาสันติภาพในปี 1983

ดร.ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร
แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้ทัศนะเกี่ยวกับการ Solidarity movement
ไว้ในหนังสือชื่อ 'New Social movements'
ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ อย่างน่าสนใจ โดยมองว่า
ความสำเร็จของขบวนการโซลิดาริตี้ในตอนนั้นมาจากความเข้าใจของผู้เคลื่อนไหว
ที่หมายจะเรียกร้องอย่างเข้าใจขีดจำกัดของตัวเองโดยไม่มุ่งหมายที่จะล้มล้าง
หรือช่วงชิงอำนาจรัฐ กล่าวคือ
เพียงต้องการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนเพิ่มขึ้น
ภายใต้ระบบที่เป็นอยู่ ในรูปของสหภาพแรงงานเสรี
แต่ไม่ได้ต้องการจะให้มีการจัดตั้งพรรคการเมือง และการปกครองแบบรัฐสภา
ซึ่งจะต้องล้มล้างรัฐบาลคอมมิวนิสต์เสียก่อน

ขณะเดียวกับที่ solidarity movement เองก็มีผู้นำที่ชาญฉลาดอย่าง
เลช วาเลนซ่า ในการจะใช้สื่อมาเป็นตัวช่วยในการเคลื่อนไหว
ใช้การเผยแพร่รูปภาพ
และเรื่องราวการต่อสู้ของภาคประชาชนต่อกรกับปืนของรัฐบาลคอมมิวนิสต์

แต่ในขณะเดียวกัน
บทเรียนจากการสูญเสียสถานภาพของขบวนการโซลิดาริตี้
เมื่อเข้าสู่วังวนทางการเมือง ก็น่าจะนำมาศึกษาเช่นกัน โดยเฉพาะบทเรียน
หลังอดีตประธานาธิบดี เลช วาเวนซ่า และผู้นำสหภาพแรงงานเสรีโซลิดาริตี้
ล้มเหลวในการบริหารประเทศ
และเมื่อมีการตั้งพรรคการเมืองของขบวนการแรงงานเสรีโซลิดาริตี้ก็ยังไม่
ปรากฏความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของพรรค
แต่มีพรรคอื่นในแนวสังคมประชาธิปไตยที่ได้รับความนิยมมากกว่า

ขณะที่อีกตัวอย่าง ที่รายการรอบบ้านเรา จงยกมาเปรียบเทียบ คือ
แนวทางการเมืองของพรรคกรีน
ในเยอรมนีที่มีการเคลื่อนไหวบนอุดมการณ์เพื่อสันติภาพ
และสิ่งแวดล้อมที่ผ่านหน้าประวัติศาสตร์การต่อต้าน การประท้วง
การเรียกร้องต่อผู้มีอำนาจ ด้วยวิธีคล้ายๆ กัน
ก่อนจะจัดตั้งเป็นพรรคการเมือง และส่งผู้สมัครลงชิงชัยในการเลือกตั้ง
เหมือนกัน แต่เส้นทางพรรคกรีนของเยอรมนีต้องใช้เวลาทั้งสิ้น 19 ปี
หรือเกือบ 2 ทศวรรษนับแต่ลงสู่สนามเลือกตั้ง
ถึงจะมีโอกาสได้ร่วมจัดตั้งรัฐบาลในสมัย นายกรัฐมนตรีแกร์ฮาร์ด ชโรเดอร์
โดยมีโอกาสอยู่ร่วมรัฐนาวาลำนี้ตั้งแต่ปี 2541 - 2548
และก็ไม่ได้มีโอกาสในฐานะพรรคนำด้วย

แต่อย่างไรก็ดี
แม้การเคลื่อนไหวของพรรคกรีนในเยอรมนีจะไม่หวือหวาเมื่อเทียบกับเส้นทางการ
เคลื่อนไหวของโซลิดาริตี้ แต่ก็มีข้อน่าสนใจคือ
ทุกครั้งที่มีการสำรวจความนิยมในพรรคกรีน
แม้ว่าจะไม่ได้รับการจัดตั้งรัฐบาลแต่ก็พบว่า
ยังคงได้รับเสียงสนับสนุนจากฐานเสียงดั้งเดิมเสมอต้นเสมอปลายตลอดมา
เหตุผลหนึ่งเป็นเพราะ พรรคมีจุดยืน
หรืออุดมการณ์พรรคเหนียวแน่นในการเดินหน้าต่อต้านสงคราม
สร้างความยั่งยืนให้กับสภาพแวดล้อม
แม้จะต้องขัดคอกับกลุ่มทุนเจ้าของอุตสาหกรรมใหญ่ๆ
หรือแม้กระทั่งกลุ่มแรงงาน และคนรากหญ้า
ที่มองว่าตนได้รับผลกระทบจากการเคลื่อนไหวของพรรคกรีน
ที่มีจุดยืนต่อต้านการพัฒนาทุกรูปแบบที่สร้างผลเสียต่อธรรมดา
จนทำให้ตัวเลขว่างงานสูงขึ้น

ไม่ แน่ว่า การตัดสินใจของพันธมิตรฯ ในวันที่ 24 พฤษภาคมนี้
อาจจะไม่เหมือนเสียทีเดียวกับตัวอย่างทั้งสองด้านข้างบน
และก็เป็นไปได้ที่พันธมิตรฯ
อาจจะสร้างตัวอย่างใหม่บนเส้นทางการเมืองขึ้นมาเองได้
ไม่ว่าจะในหรือนอกสภา
แต่ทั้งหมดล้วนต้องขึ้นอยู่กับความตั้งใจของพันธมิตรประชาชนเพื่อ
ประชาธิปไตย ในการจะสร้างการเมืองใหม่ขึ้นมาให้ได้
และสิ่งที่จะต้องยึดให้มั่นก็คือ ไม่ว่าจะมีพรรคหรือไม่มีพรรค
เราล้วนต้องมีความมุ่งหวังสู่การเมืองใหม่ในใจเสมอ .....

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000056999

นี่เป็นการเขียนเสนอความเห็นเป็นครั้งแรกในบทความของคุณเก๋ อุษณี
เอกอุษณี หลังจากเข้าเว็ปผู้จัดการมานับครั้งไม่ถ้วน
วันนี้อยากนั่งหน้าที่คอมนานหน่อยเพื่อจะฟังเพลง193วันรำลึก ไปเรื่อยๆ
เพราะว่าฟังกี่ครั้งก็ยังเพราะอยู่
ก่อน อื่นโดยส่วนผมเห็นว่าควรตั้งพรรคนะ
เพราะการออกมาประท้วงเป็นการแก้ปัญหาหลังมันเกิดแล้ว
เหมือนการตามซ่อมอะไหล่ที่เสียของคอมพิวเตอร์ ถ้าคนผลิตไม่ดี
ไม่ได้เรื่อง คอมก็เสียอีกซ่อมอีก ทำไมเราไม่ไปทำเองเลย
หาคนเก่งๆมาทำเครื่องจะได้ไม่เสียแต่เอง ก็จะได้ไม่มีการประท้วงงัย
เอาหล่ะเข้าเรื่อง อยากให้คุณเก๋ ตั้งกระทู้ถามคนดู ในรายการของคุณเก๋
วันละหัวข้อ ให้ผู้ชมแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ เช่น
ควรตั้งพรรคหรือไม่ จะได้รู้ผลเป็นสัดส่วนเปอร์เซนต์
คนดูจะได้เสนอความเห็นเป็นเรื่องเดียวกัน ไม่กระจัดกระจายมาก
ที่ผ่านมาไม่มีทิศทางเท่าไร แล้วรายงานผลท้ายรายการว่าผลเป็นเท่าไหร่
หรือ ตั้งคำถามว่า ใครควรเป็นหัวหน้าพรรค หรือแม้กระทั่ง พรรคที่จะตั้ง
ควรมีชื่อว่าอะไร ให้เสนอมา
แต่ไม่จำเป็นตั้งแจกเสื้อเหมือนช่องก็ได้นะจะได้ไม่เปลือง
ซึ่งผมเองก็มีความเห็นว่า ควรชื่อ พรรค การเมืองใหม่
ไม่ต้องไปสับสนกับพันธมิตรภาคประชาชน ไม่งั้น ถ้าทำผิดพลาดก็เน่าทั้งคู่
แยกเลยดีว่า พันธมิตร ตรวจสอบ พรรคการเมืองใหม่ ชื่อนี้กลางดี
สีไหนๆก็ต้องการการเมืองใหม่ ก็เอา new politic party
ไปเลยไม่ซำกับประชาภิวัตณ์ที่ห่วงๆกัน
การตั้งพรรคผมเสนอว่าเรายังสามารถมีโมเดลไม่เหมือนใครในการตั้งพรรค
เช่นตั้งพรรคเป็นภาคยังได้ ใต้พรรคนึง เหนือพรรคนึง อีสานพรรคนึง
กลางพรรคนึงยังได้ เพราะ ส.ส.ปาร์ตี้ลิส ไม่ได้รวมทั้งประเทศอยู่แล้ว
แยกเป็นเขตๆ 8 เขต แนะ ทั้ง4 พรรค อยู่ภายใต้ การกำกับของ พันธมิตรอีกที
มี หลายคนถามว่าการเมืองใหม่เป็นงัย จะยกตัวอย่างให้ฟังเช่น หัวหน้าพรรค
(โดยคุณ สนธิ) ไม่รับตำแหน่งรัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรี(ถ้าเสียงมาก)
แต่เชิญ อภิสิทธ์ มาเป็น หรือใครก็ได้ที่มีคุณสมบัติครบ
อาจมาจากพรรคอื่นๆก็ได้ ให้รู้ถึงความใจกว้าง หรือหากเป็นคนของพรรคตัวเอง
หัวหน้าพรรค อาจอภิปรายลูกพรรคตัวเองในสภาก็เป็นได้และเปลี่ยนตัวได้เสมอหากมีข้อสงสัยใน
ตัวรัฐมนตรีท่านนั้น แต่ถ้าแกนนำทั้ง5 เป็นเอง ก็อาจไม่กล้าทักท้วงกัน
แต่ถ้ากล้า คนอื่นก็จะว่าพันธมิตรแตกคอ จะแก้ตัวลำบากอีก
ส่วนหัวหน้า พรรค ที่ผมหมายถึงคุณสนธิ
พรรคพวกเป็นห่วงเรื่องความสง่างามเพราะเคยพูดว่าจะไม่เล่นการเมือง
ผมตอบแทนได้ว่า" คุณสนธิคนนั้นได้ตายไปแล้ว " ตายไปพร้อมกับ
กระสุนปืนร้อยกว่านัด เอ็ม79 อาก้า
คุณสนธิคนนั้นที่เคยพูดว่าจะไม่เล่นการเมือง
เค๊าไม่เคยโดนกระสุนร้อยกว่านัดแบบนี้ ฉะนั้นคุณสนธิที่เห็น คือนิวสนธิ
ที่จะใช้ชีวิตที่เกินนี้รับใช้ชาติ
และพวกเราพร้อมที่จะสนับสนุนไม่ว่าคุณสนธิจะอยู่ในสถานะใดก็ตาม
ผมเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดของพันธมิตรด้วยกันเอง
ทั้งการเรื่องตั้งพรรคและการเสนอตัวหัวหน้าพรรค
จะเป็นบทพิสูจน์ขั้นที่หนึ่งของพันธมิตรด้วยกันเองว่าจะรับฟังเหตุผล
และยอมรับผลของอีกฝ่ายด้วยดีหรือไม่ หากผ่านได้
ผมเชื่อว่าการล่มสลายของพันธมิตรจะไม่เกิดขึ้นแน่นอน
อ.แมน ขอนแก่น พันธมิตรบ้านไผ่
artit@cas.ac.th

--
"สร้างตัวอย่างใหม่บนเส้นทางการเมืองขึ้นมาเองได้ ไม่ว่า
จะในหรือนอกสภา
แต่ทั้งหมดล้วนต้องขึ้นอยู่กับความตั้งใจของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย "

"ปัญหามีอยู่ว่า พันธมิตรเองก็มีความเห็นต่างกันอยู่เป็นลำดับ
ใครเห็นต่างอย่างมากเกิน
เป็นอันแสดงความเห็นไม่ค่อยได้ดังที่บ่นกันเต็มหน้าเวป
เมเนเจ้อร์ (ทั้งที่โดนลบโดนบล๊อค)

ผมเชื่อว่า คงฟูกระแสตั้งเป็นพรรคได้แน่แล้ว ยังไงก็เอาใจกันไปก่อนจนกว่าเสียคน

ขอให้รับฟังคุณ "สนธิ" บ้างเถิด
ผมคิดว่าเขาคือบุรุษผู้จะเป็นปูชณียบุคคลในกาลนี้และกาลต่อไป
ในระหว่างเวลที่หลายคนปลุกกระแส
ผมคล้ายได้ยินเสียงถอนหายใจยาวๆของผู้ที่ผมเคารพรัก
ชื่อ "สนธิ ลิ้มทองกุล"

บัดนี้ภาระช่างตกลงบนบ่าของเขาพร้อมใจที่หนักอึ้ง

กรุณาอย่าตัดสินใจแทนเขา อย่าบังคับให้เขาต้องมาเป็นหัวหน้าพรรค

ให้เขาเป็นสื่อและบุคคลในหัวใจของเรา-ของมโดยบริสุทธิ์เถิด

อย่าทำลาย "สนธิ ลิ้มทองกุล" ด้วยมาตรการการเมืองเรื่องเลือกตั้ง
โดยไม่ฟังกรอบของเขาเลยนะคุณ
เหลืองสดสีมณีสุดสวย
++
ปฏิบัติการสู่การเมืองใหม่ของพันธมิตรจึงไม่ใช่ประเด็นที่ควรวิตกจริตกันจนเกินเหตุ
อาจจะเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยชิน อาจจะมีความกังวลในหลายๆมิติ เพราะเราถูกแยกส่วน
ให้จมปลักอยู่กับความเคยชินเดิมๆจนรู้สึกว่าแก้ไขอะไรไม่ได้
ถึงวันนี้พิสูจน์ให้เห็นกับตา
ตอกย้ำกับความมั่นใจว่าทุกอย่างแก้ไขและเปลี่ยนแปลงมันได้ด้วยพลังและเจตนาร่วมของพวกเรา
และหากเราต่างเชื่อในเจตนาดี ที่จะทำสิ่งดีๆเพื่อสังคมที่ดีงาม
ที่ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อหมู่
เราก็จะก้าวพ้นความกังวลทั้งปวงซึ่งสามารถล้มแล้วลุกขึ้นมาปฏิบัติการใหม่
หลังจากมีการสรุปบทเรียนทั้งสำเร็จและล้มเหลวในแต่ละครั้งของการเคลื่อนไหวต่อๆไปอย่างไม่หยุดนิ่ง
บรรแจ ณ.สงค์
++
ผมว่าภูมิปัญญาของคุณสนธิบวกกับหัวใจ่บริสุทธิ์น่าเชื่อว่า
ไม่มีใครจะบังคับคุณสนธิได้ บุคคลมีค่าเช่นนี้เราจักต้อง
รักษาไว้ให้ดีที่สุด แต่องพรรคหัวหน้าพรรคแกนพรรค
ที่จะต้องรองรับความโสมมไม่สิ้นสุด คุณสนธิเหมาแก่ผู้คุม
กฎ เพราะรู้เท่าทันเล่ห์เพทุบายเหล่าเสือสิงห์กระทิงหมา
จึงออกจะไม่เห็นด้วยที่นำคุณสนธิลงไปสนามโสมม
จริงอยู่ว่าอาจใช้ญญาของคุณสนธิไปเสริมสร้างหน่อ
อ่อนของความใหม่ความงามและความดี
แต่ก่อนจะสร้างอะไรได้สักอย่าง วัชชพืชชั่วร้ายจะ
ปกคลุม
สื่อนั้นเล่า....แม้จนปัจจุบันใครเลยยังจะคมกล้าท้า
อธรรมและชักดาบแห่งธรรมาเข้าต่อกรผู้อาธรรม
เห็นมีก็แค่เชียร์นอก แม้แต่เปลวฯเถอะ ถามจริงๆ
ในสนามสื่อคุณเห็นใครมีคุณูปการเริ่มริต่อสู้คุมทัพได้
อย่างที่คุณสนธิทำมา "ตายเป็นตาย เจ๊งเป็นเจ๊ง"
คุณสนธิต้องล้างบางพวกโสมมวงการสื่อก่อนด้วยซ้ำไป
อย่านำคุณสนธิไปสู่อบายทางการเมืองก่อน
มีบันไดสวรรค์ให้เลือกระหว่างทางเถอะ
รำพันพิราบ
++
++++++++++++++++++++++++++++++++

พันธมิตร(ภาคประชาชน).......ดูแลโดยคุณสนธิ + คุณสมศักดิ์ + คุณพิภพ

พรรคเทียนแห่งธรรม.......ดูแลโดย พล.ตรีจำลอง + อ.สมเกรียติ

ลูกพรรคในระดับภูมิภาค.......ลงพื้นที่เลือกตั้งระดับตำบล + หมู่บ้าน
ยึดพื้นที่เป็นของเรา

+++++++++++++++++++++++++++++++
zz
ชื่นชนคุณเก๋ครับ เป็นคนสวยที่มาพร้อมคุณภาพคับแก้ว
หาได้ยากมากในวงการข่าวบ้านเรา ตั้งแต่บนเวทีพันธมิตร
ไม่ว่าจะจัดคู่กับใครหรือจัดเดี่ยวก็มีเนื้อหาสาระและลีลาที่ลงตัวน่าติดตาม
จนกลับมาจัดรายการในสถานีก็น่าชมทุกรายการ
ส่วนตัวผมชอบข่าวต่างประเทศครับ ได้รู้ได้เห็นโลกกว้างๆ
เราถึงจะเข้าใจว่าเราอยู่ที่ไหน และต้องไปที่ไหน
ดีใจ ที่เอเอสทีวีให้เนื้อที่ข่าวด้านนี้เพิ่มขึ้น
ซึ่งจำเป็นมากในการเข้าใจโลกเข้าใจเรา
เทียบกับประเทศรอบๆบ้านเราแล้วคนไทยส่วนใหญ่เหมือนอยู่ในกะลา คนมาเลย์
คนสิงค์โปร์ รู้ข่าวบ้านเราโคตรละเอียด มาทำมาค้าขายถึงได้เปรียบเราตลอด
เราก็ควรต้องรู้จักเขาให้มากขึ้น เพราะเราคงอยู่แต่ในบ้านไม่ได้แล้ว
ถ้า พันธมิตรจะเอาประเทศไทยของเราคืนมา คงต้องตั้งปณิธานแบบลุงโฮห์
หรือประธานเหมา หรือ ท่านคานธี
จะไปกะเกณฑ์เอาอำนาจรัฐอย่างรวดเร็วมันแค่ฝันระยะสั้น(แล้วจะผิดหวังเปล่าๆ)
หรืออย่างดีก็ได้อำนาจรัฐในระยะสั้นๆแบบพรรคโซลิดาริตี้
เพราะแก่นแท้ปัญหาประเทศไทยคือ คนไทยที่ขลาดกลัวยอมสยบให้คนชั่วครองเมือง
มันต้องปลุกคนทั้งชาติลุกขึ้นสู้
อยากให้เอเอสทีวีทำสารคดีสั้นๆ
ของบรรดานักสู้ระดับโลกที่สู้เพื่ออิสระภาพ
เพราะพันธมิตรหลายๆคนก็ห่างจากชั้นเรียนประวัติศาสตร์ไปนานแล้ว
จะได้เห็นภาพ เกิดจินตนาการ เกิดแรงบันดาลใจ และมีกำลังใจครับ
oldbot
++
ผมอายุจะ 50 แล้ว สนใจการเมืองพอสมควร ตั้งแต่พลังธรรม
ผม เป็นพันธมิตรหน้าจอคอมฯ โดยตลอด
เชื่อว่าพันธมิตรจะตั้งพรรคตั้งนานแล้ว
เคยมีแกนนำ(คุณสนธิ)กล่าวออกรายการในรูปของการปราศัย ตั้งนาน
และคิดว่าตอนนี้ทุกคนก็คิดว่าพรรคพันธมิตรถือกำเนิดแน่ เชื่อเถอะ
แต่แง่ คิดผม ผมว่าปัญหามันไม่ได้อยู่ที่การตั้งพรรค
แต่การหาสมาชิกที่จะเป็นตัวแทนเข้าสภาต่างหาก เหมือนพลังธรรม ตอนแรก
ไม่ว่าคุณสุดารัตน์ คุณทักษิณ และ คนอื่นๆได้เข้าสภาไปร่วมครึ่งร้อย
แล้วสักระยะหนึ่งธาตุแท้ก็ปรากฎ จะหาคนที่เป็นตัวแทนที่ดีได้อย่างไร
สภามีกฎเกณฑ์ของมันที่ไม่ใช่อยากทำอะไรก็ทำได้อย่างใจคิด มีปัจจัยอีกเยอะ
ดูอย่างคุณอภิสิทธิ์ เราทุกคนยอมรับว่าเป็นคนดี
แต่ยังทำอะไรไม่ได้อย่างใจเลย
ไม่ได้ค้าน แต่ให้คิดถึงปัญหาข้างหน้า โดยเอาพลังธรรมเป็นตัวอย่าง
Su K.
su7743@hotmail.com
++ ตอนแรก ๆ ก็ไม่เห็นด้วยเลยที่พันธมิตรจะตั้งพรรค
อยากให้เป็นฝ่ายตรวจสอบรัฐบาลมากกว่า
แต่เมื่อเฝ้าดูการกระทำของพวกนักกินบ้านกินเมืองแล้ว
ที่กระทำอะไรก็มีแต่เห็นแก่ตัวเห็นแก่พวกพ้องโดยไม่คำนึงถึงประเทศชาติเลย
โดยเฉพาะเห็น สส.ที่มาจากพรรคเพื่อไทย
ที่คอยขัดแข้งขัดขาในสภาและตอแหลหน้าจอ
ทำไมนะประเทศไทยจึงได้ผู้แทนไร้คุณสมบัติคุณภาพมาเป็นผู้ออกกฎหมายให้คนทั้ง
ประเทศใช้ อยากให้ธรณีสูบคนพวกนี้จัง
ไม่มีคนรักความเป็นธรรมในสภาก็ยากที่จะมีน้ำหนักไปคานความอยุติธรรม
ตั้งพรรคก็ดี จะเกณฑ์คนในครอบครัวเลือกให้ และค่อย ๆ ขยายแนวร่วม
หากพันธมิตรยังมีอุดมการณ์รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
เห็นแก่ประโยชน์ส่วนร่วม ก็จะเลือกพรรคที่พันธมิตรตั้งตลอดไป
ผู้รักอุดมการณ์พันธมิตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น