>ทำ Presentation ให้น่าสนใจได้ง่ายๆ โดยใช้ทฤษฎีเลข 3 “The Rule of Three”
Published by PresentationX
ทฤษฎีเลข 3 เป็นทฤษฎีพื้นฐานที่สามารถใช้กับศาสตร์ได้หลากหลายแขนงไม่ว่าจะเป็นการพูด การเขียน และดนตรี หรือจะนำมาใช้เป็นไอเดีย แนวความคิดในการนำเสนอ Presentation เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินกับผู้ฟังและความน่าสนใจก็ได้เช่นกัน
● การใช้ทฤษฎีเลข 3 ในการเอ่ยถึงประเด็นต่างๆ
ให้แบ่งประเด็นที่จะนำเสนอ ออกเป็น 3 ส่วน เช่น ลองคิดว่า อะไรคือประโยชน์ของการบริการ? อะไรคือสิ่งสำคัญที่คุณต้องการให้ผู้ฟังจดจำมัน? ผู้ฟังส่วนใหญ่มักจะไม่อยากจดจำประเด็นที่มีมากถึง 5-6 ประเด็น ฉะนั้น 3 ประเด็น หรือ 3 keyword เพียงพอแล้วที่ผู้ฟังจะจดจำ
Steve Jobs เป็นบุคคลที่นิยมใช้ทฤษฎีเลข 3 ใน Presentation ของเขาเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นในปี 2011 เขาได้ทำการอธิบายการทำงานของ Ipad 2 ว่า
“เบา บาง และเร็วกว่า”
ซึ่งคำทั้ง 3 คำนี้เป็นประเด็นที่ทรงพลังมาก เพราะเขาพูดทุกอย่างที่ผู้ฟังอยากฟังในแบบสั้นๆ กระชับ แต่ได้ใจความ ซึ่งมันสามารถดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้มากกว่าการพูดว่า “นี่คือ 20 วิธีที่ Ipad2 แตกต่างจากแบบเดิมอย่างไร” ได้อย่างแน่นอน
● นำมาใช้อธิบายการสอน
ถ้าคุณจะต้องเป็นผู้นำเสนอการสอน ให้ลองแบ่งการสอนออกเป็น 3 ขั้นตอน ยกตัวอย่างเช่น กระบวนการ 3 ขั้นตอน สำหรับการรักษาความปลอดภัยบนเครื่องบิน “แสดงบัตรประชาชนและ Boarding Pass / นำของเหลวออก และถอดรองเท้า,เสื้อแจ๊กเก๊ตออก” ขั้นตอนนี้จะทำให้ง่ายต่อการจดจำ และยังสามารถนำไปใช้ในการนำเสนอการสอนได้ดีมากขึ้น
รวมทั้งเทคนิคการสอนอีกแบบหนึ่ง ตามทฤษฎีเลข 3 โดยการบอกให้ผู้ชมรับรู้ว่า
“คุณกำลังจะพูดเรื่องอะไร / อธิบายออกมา / หลังจากนั้นถามเขาอีกรอบว่าคุยพูดเรื่องอะไรไปแล้วบ้าง” เป็นต้น
● นำมาใช้การเล่าเรื่อง
เรื่องเล่าดีๆ หลายเรื่อง แม้ว่าจะเป็นเรื่องตลกต่างๆนั้น ต่างก็มีโครงสร้างของทฤษฎีเลข 3 ทั้งนั้น ลองดูเรื่องอย่างนิทานเรื่องลูกหมู 3 ตัว หรือ เรื่อง 3 ทหารเสือ ซึ่งต่างมีลำดับการเล่าเรื่อง ที่ประกอบไปด้วย
“จุดเริ่มต้น
กลางเรื่อง
และตอนจบ”
ลองนำโครงสร้างนี้ไปใช้ในการนำเสนอ เพื่อแนะนำหัวข้อ อธิบายปัญหา และสุดท้ายเผยให้เห็นถึงสิ่งที่ต้องการให้ผู้ชมรับรู้
●● Tips แต่ทำไมเราต้องใช้การเล่าเรื่องล่ะ?
“นักประสาทวิทยากล่าวไว้ว่า สมองของคนเราจะจดจำเรื่องเล่ามากกว่าไอเดียที่เป็นนามธรรม ฉะนั้นนิทานหรือเรื่องราวเล็กน้อยๆ จะสามารถทำให้คนจดจำได้มากกว่าสไลด์ที่อัดแน่นไปด้วยข้อความเชิงวิเคราะห์ต่างๆ”
เรามาดูตัวอย่างการใช้ทฤษฎีเลข 3 จากสิ่งที่คุ้นเคยรอบๆตัวเรา เช่น
“จน เครียด กินเหล้า” จากแคมเปญเลิกเหล้าของ สสส. หรือว่าจะเป็น
“ใจดี สปอร์ต กทม.” จากข่าวดัง เงียบ..สงสัยไม่ช๊อต ซึ่งทำให้คนส่วนใหญ่ สามารถจดจำและสนใจมาจนถึงปัจจุบัน
♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡
Published by PresentationX
ทฤษฎีเลข 3 เป็นทฤษฎีพื้นฐานที่สามารถใช้กับศาสตร์ได้หลากหลายแขนงไม่ว่าจะเป็นการพูด การเขียน และดนตรี หรือจะนำมาใช้เป็นไอเดีย แนวความคิดในการนำเสนอ Presentation เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินกับผู้ฟังและความน่าสนใจก็ได้เช่นกัน
● การใช้ทฤษฎีเลข 3 ในการเอ่ยถึงประเด็นต่างๆ
ให้แบ่งประเด็นที่จะนำเสนอ ออกเป็น 3 ส่วน เช่น ลองคิดว่า อะไรคือประโยชน์ของการบริการ? อะไรคือสิ่งสำคัญที่คุณต้องการให้ผู้ฟังจดจำมัน? ผู้ฟังส่วนใหญ่มักจะไม่อยากจดจำประเด็นที่มีมากถึง 5-6 ประเด็น ฉะนั้น 3 ประเด็น หรือ 3 keyword เพียงพอแล้วที่ผู้ฟังจะจดจำ
Steve Jobs เป็นบุคคลที่นิยมใช้ทฤษฎีเลข 3 ใน Presentation ของเขาเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นในปี 2011 เขาได้ทำการอธิบายการทำงานของ Ipad 2 ว่า
“เบา บาง และเร็วกว่า”
ซึ่งคำทั้ง 3 คำนี้เป็นประเด็นที่ทรงพลังมาก เพราะเขาพูดทุกอย่างที่ผู้ฟังอยากฟังในแบบสั้นๆ กระชับ แต่ได้ใจความ ซึ่งมันสามารถดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้มากกว่าการพูดว่า “นี่คือ 20 วิธีที่ Ipad2 แตกต่างจากแบบเดิมอย่างไร” ได้อย่างแน่นอน
● นำมาใช้อธิบายการสอน
ถ้าคุณจะต้องเป็นผู้นำเสนอการสอน ให้ลองแบ่งการสอนออกเป็น 3 ขั้นตอน ยกตัวอย่างเช่น กระบวนการ 3 ขั้นตอน สำหรับการรักษาความปลอดภัยบนเครื่องบิน “แสดงบัตรประชาชนและ Boarding Pass / นำของเหลวออก และถอดรองเท้า,เสื้อแจ๊กเก๊ตออก” ขั้นตอนนี้จะทำให้ง่ายต่อการจดจำ และยังสามารถนำไปใช้ในการนำเสนอการสอนได้ดีมากขึ้น
รวมทั้งเทคนิคการสอนอีกแบบหนึ่ง ตามทฤษฎีเลข 3 โดยการบอกให้ผู้ชมรับรู้ว่า
“คุณกำลังจะพูดเรื่องอะไร / อธิบายออกมา / หลังจากนั้นถามเขาอีกรอบว่าคุยพูดเรื่องอะไรไปแล้วบ้าง” เป็นต้น
● นำมาใช้การเล่าเรื่อง
เรื่องเล่าดีๆ หลายเรื่อง แม้ว่าจะเป็นเรื่องตลกต่างๆนั้น ต่างก็มีโครงสร้างของทฤษฎีเลข 3 ทั้งนั้น ลองดูเรื่องอย่างนิทานเรื่องลูกหมู 3 ตัว หรือ เรื่อง 3 ทหารเสือ ซึ่งต่างมีลำดับการเล่าเรื่อง ที่ประกอบไปด้วย
“จุดเริ่มต้น
กลางเรื่อง
และตอนจบ”
ลองนำโครงสร้างนี้ไปใช้ในการนำเสนอ เพื่อแนะนำหัวข้อ อธิบายปัญหา และสุดท้ายเผยให้เห็นถึงสิ่งที่ต้องการให้ผู้ชมรับรู้
●● Tips แต่ทำไมเราต้องใช้การเล่าเรื่องล่ะ?
“นักประสาทวิทยากล่าวไว้ว่า สมองของคนเราจะจดจำเรื่องเล่ามากกว่าไอเดียที่เป็นนามธรรม ฉะนั้นนิทานหรือเรื่องราวเล็กน้อยๆ จะสามารถทำให้คนจดจำได้มากกว่าสไลด์ที่อัดแน่นไปด้วยข้อความเชิงวิเคราะห์ต่างๆ”
เรามาดูตัวอย่างการใช้ทฤษฎีเลข 3 จากสิ่งที่คุ้นเคยรอบๆตัวเรา เช่น
“จน เครียด กินเหล้า” จากแคมเปญเลิกเหล้าของ สสส. หรือว่าจะเป็น
“ใจดี สปอร์ต กทม.” จากข่าวดัง เงียบ..สงสัยไม่ช๊อต ซึ่งทำให้คนส่วนใหญ่ สามารถจดจำและสนใจมาจนถึงปัจจุบัน
♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น