++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

มองข้ามช็อต บันได 3 ขั้น ศึกชิงประธานวุฒิสภาคนใหม่ของระบอบทักษิณ

ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
มองข้ามช็อต บันได 3 ขั้น ศึกชิงประธานวุฒิสภาคนใหม่ของระบอบทักษิณ เพื่อสิ้นสุดสุญญากาศทางการเมือง ! แม้จะรู้ว่ายากมากที่การเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งนี้จะสำเร็จ แต่ฝ่ายพรรคเพื่อไทยคงทำทุกวิถีทางเพื่อทำให้ "ไม่ให้เกิดสุญญากาศ" ดังนั้นแม้มวลมหาประชาชนจะคัดค้านการเลือกตั้งครั้งนี้สำเร็จนถึงขั้นที่พรรคเพื่อไทยอาจไม่สามารถกลับเข้าสู่อำนาจ จึงคงเหลือความปรารถนาของระบอบทักษิณในเวลานี้คือ 1. รักษาอำนาจให้นานที่สุด เพื่อทยอยเข้าแก้ไขสถานการณ์ และ 2. ทำให้ระบบไม่เกิดสุญญากาศทางการเมือง ใครจะทวงสิทธิ์จากการไม่ไปเลือกตั้งครั้งนี้ด้วยเพราะคิดว่าจะไปทวงสิทธิ์ด้วยการไปเลือกตั้ง ส.ว. อีกครั้งในวันที่ 30 มีนาคม 2557 อาจจะต้องเข้าใจด้วยว่า ถ้ามีการเลือกตั้งวุฒิสภาสำเร็จด้วยดีได้ในวันที่ 30 มีนาคม 2557 ก็ขอให้ทำใจได้เลยว่าเป้าหมายในการที่จะทำให้เกิดสุญญากาศในฝั่งรัฐบาลรักษาการ เพื่อให้ประธานวุฒิสภาเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีคนกลางจะสิ้นสุดลดลงทันที นี่อาจเป็นเหตุผลสำคัญที่ทั้งนายนิคม ไวรัชพานิช ประธานวุฒิสภา และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี พยายามถ่วงและยื้อเวลาในขั้นตอนการรับทราบข้อกล่าวหา ไต่สวนของ ปปช. เพื่อยื้อเวลาให้อีกสัก 2-3 เดือนหรือไม่? เพื่อให้ถึงเวลาหลังวันที่ 14 มีนาคม 2557 ปปช.1 ท่านจะหมดวาระ(คุณใจเด็ด พรไชยา) จึงทำให้ต้องมีการเลือก ปปช. ท่านใหม่ ดังนั้นการยื้อเวลาฝ่ายรัฐบาลก็อาจหวังเปลี่ยนสัดส่วน ปปช.ให้เป็นฝ่ายระบอบทักษิณมากขึ้น และเมื่อ ปปช.เป็นคนในระบอบทักษิณมากขึ้นแล้ว การที่ ปปช. จะชี้มูลรักษาการนายกรัฐมนตรีหรือรักษาการคณะรัฐมนตรีเพื่อนำไปสู่การทำให้รัฐบาลยุติการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลรักษาการก็จะทำได้ยากขึ้นไปอีก ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งหลายคน เดิมที ปปช. อาจถูกชี้มูลความผิดฐานแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาของ ส.ว. โดยมิชอบหลายคน แต่เมื่อทุกคนรู้ว่าหาก ปปช.ชี้มูล นายนิคม ไวรัชพานิช ประธานวุฒิสภาเมื่อไหร่ ถ้าในระหว่างนั้นเกิดสมมุติให้รัฐบาลรักษาการพ้นจากตำแหน่ง (ถอดใจลาออก, ปปช.ชี้มูล, ศาลฯตัดสิน กองทัพตบเท้าขอให้ออก ฯลฯ) สุญญากาศจึงจะเกิดในฝั่งรัฐบาลรักษาการโดยที่ยังไม่มีสภาผู้แทนราษฎร ตำแหน่งประธานวุฒิสภาจะมีความสำคัญและเป็นจุดเปลี่ยนอย่างยิ่ง ถึงขั้นตอนนั้นการใช้มาตรา 7 ตามรัฐธรรมนูญจะมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยประธานวุฒิสภาจะเป็นผู้มีหน้าที่เสนอความกราบบังคมทูลขอพระราชทานนายกรัฐมนตรีคนกลางได้ ด้วยเหตุผลนี้การรักษาตำแหน่งประธานวุฒิสภาจึงกลายเป็นหลักประกันของฝ่ายระบอบทักษิณที่จะทำให้รัฐบาลรักษาการก็จะเป็นคนในระบอบทักษิณอีกหากเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้รัฐบาลรักษาการพ้นจากตำแหน่ง ดังนั้นตำแหน่งประธานวุฒิสภาจึงเป็นปราการด่านสุดท้ายที่จะรักษาอำนาจของระบอบทักษิณเอาไว้ให้ได้ (ในระบบตามรัฐธรรมนูญ) นี่อาจเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้มองผ่าน นายนิคม ไวรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ยื้อเวลา "ขั้นตอนการรับทราบข้อกล่าวหาและการไต่สวนจาก ปปช." ให้นานที่สุด ก็อาจด้วยเหตุผลสำคัญในบันได 3 ขั้นตอน บันไดขั้นที่ 1 ยื้อเอาไว้หากเกิดสุญญากาศทางการเมือง จะเป็นหลักประกันว่าถ้ารัฐบาลกลางโดยอาศัยมาตรา 7 จะยังคงเป็นคนในระบอบทักษิณอีก เพราะผู้เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานวุฒิสภาคนปัจจุบัน และจะรักษาการไปจนกว่าจะได้ประธานวุฒิสภาคนใหม่ บันไดขั้นที่ 2 จัดการเลือกตั้ง ส.ว.ให้สำเร็จ(วันที่ 30 มีนาคม 2557) ซึ่งเชื่อว่า ส.ว.ส่วนใหญ่ที่เลือกตั้งเข้ามาได้ก็จะเป็นคนในระบอบทักษิณอีก ประธานวุฒิสภาคนใหม่ที่ยังไม่มีมลทินจากคดีความใดๆของระบอบทักษิณก็จะถูกสภาปนาขึ้นอย่างมั่นคง การการถอดถอนนักการเมืองฝ่ายระบอบทักษิณโดยอาศัยวุฒิสภาชุดที่เลือกตั้งเข้ามาใหม่นี้ก็จะไร้ผล ต่อให้สมมุติมีการชี้มูลความผิดต่อรัฐบาลเพื่อให้หยุดปฏิบัติหน้าที่โดย ปปช. แล้วต้องตั้งรัฐบาลรักษาการ ก็จะได้รัฐบาลรักษาการเป็นคนในระบอบทักษิณอีก บันไดขั้น 3 รอวันเปลี่ยนสัดส่วน ปปช. เพื่อทำให้การลงมติชี้มูลคดีใดๆของฝ่ายรัฐบาล เป็นไปด้วยความยุ่งยากมากขึ้น คนที่ไม่ไปใช้สิทธิ์การเลือกตั้งครั้งนี้เพราะหวังทวงสิทธิ์จากการเลือกตั้ง ส.ว.ในครั้งหน้า อาจจะต้องคิดใหม่ เพราะถ้าถึงสันเลือกตั้ง ส.ว. ได้ ก็แปลว่า บริบทสุญญากาศทางการเมืองเพื่อให้เกิดรัฐบาลกลางที่ไม่ใช่คนในระบอบทักษิณกำลังจะสิ้นสุดลงไปในวันที่ 30 มีนาคม 2557 คำถามคือมวลมหาประชาชนจะหยุดยั้ง บันไดขั้นตอนเหล่านี้ได้อย่างไร? รัฐธรรมนูญมาตรา 111 บัญญัติ วรรค 3 และวรรค 4 เอาไว้ว่า: "ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ และยังมิได้มีการเลือกตั้งหรือสรรหาขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง แล้วแต่กรณี ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภาเท่าที่มีอยู่ ในกรณีที่มีเหตุการณ์ใดๆ ทำให้สมาชิกวุฒิสภาไม่ครบจำนวนตามวรรคหนึ่ง แต่มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของจำนวนสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด ให้ถือว่าวุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวนดังกล่าว แต่ต้องมีการเลือกตั้งหรือการสรรหาให้ได้สมาชิกวุฒิสภาครบจำนวนตามวรรคหนึ่งภายใน 180 วันนับแต่วันที่มีเหตุการณ์ดังกล่าว และให้สมาชิกวุฒิสภาที่เข้ามานั้นอยู่ในตำแหน่งเพียงเท่าอายุของวุฒิสภาที่เหลืออยู่" วุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดคือ 77 คนจาก 77 จังหวัด 95 % ขึ้นไปคือ 74 จังหวัดขึ้นไป!! ดังนั้นถ้ามีการเลือกตั้ง ส.ว. แล้ว มีมวลมหาประชาชนคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ว. จำนวนแค่ 4 จังหวัดขึ้นไป จนไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ รับสมัครจากผู้สมัครไม่สำเร็จ หรือนับคะแนนไม่ได้ วุฒิสภาชุดใหม่ก็จะประชุมไม่ได้ และถือว่าไม่ครบองค์ประกอบที่จะมีวุฒิสภาชุดใหม่ได้ แต่สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งชุดปัจจุบันจะหมดวาระวันที่ 2 มีนาคม 2557 แต่หลังวันที่ 2 มีนาคม 2557 สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือดตั้งชุดนี้ก็จะรักษาการต่อไปเรื่อยๆในระหว่างนั้น จนกว่า ปปช.จะชี้มูลความผิด นายนิคม ไวรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ในกรณีความผิดในคดีการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาของ ส.ว. นายนิคม ไวรัชพานิช ก็จะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ และถ้า ปปช.มีการชี้มูล ส.ว.มากกว่า 4 คนขึ้นไป การถอดถอนก็เกิดขึ้นไม่ได้ด้วยเพราะถือว่าวุฒิสภามีไม่ครบ 95% ดังนั้นถ้าเลือกตั้ง ส.ว.ไม่สำเร็จ การหยุดปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ว.ในระบอบทักษิณ ก็จะไม่มีกำหนดเวลาโดยไม่ต้องถอดถอน จนกว่าจะมีการปฏิรูปสำเร็จในช่วงสุญญากาศทางการเมือง แต่ก็ยังไม่จบ เพราะต้องลุ้นให้รัฐบาลรักษาการพ้นสภาพ ไม่ว่าจาก ปชช. ศาลรัฐธรรมนูญ กกต. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทหาร ฯลฯ ถ้าคณะรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นสภาพแล้วเท่านั้น จึงจะเกิดสุญญากาศทางการเมืองในฝั่งรัฐบาลรักษาการ คงเหลือตำแหน่งรองประธานวุฒิสภานายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย (มาจากการสรรหา)ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งก็จะกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญนั้น โดยการอาศัยรัฐธรรมนูญมาตรา 7 ในการหาทางออกตามประเพณีในช่วงเวลาที่ไม่มีรัฐธรรมนูญมาตราใดรองรับ แต่ถ้าการเลือกตั้ง ส.ว.สำเร็จด้วยดี ก็เป็นอันว่าไม่สามารถหยุดยั้งระบอบทักษิณเอาไว้ได้ และถ้าการพ้นสภาพของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง"ไม่เรียงลำดับขั้นตอน"คือ 1. ประธานวุฒิสภาพ้นสภาพจากการชี้มูลของ ปปช. แล้วตามด้วย 2. คณะรัฐมนตรีพ้นสภาพ ก็แปลว่าภารกิจของตุลาการภิวัฒน์จะสิ้นสุดลง ไม่สามารถทำให้เกิดสุญญากาศทางการเมืองในระบบได้ และถ้าไม่มีการรัฐประหารโดยทหารเข้าร่วม ก็ให้ทำใจว่าการชุมนุมของมวลมหาประชาชนจะยืดเยื้อยาวนานมาก และอาจทำลายสถิติ 193 วันอีกด้วย ดังนั้นการเลือกตั้งวุฒิสภาที่จะมาถึงนี้จึงมีนัยยะสำคัญ ไม่แพ้การเลือกตั้ง ส.ส. เลย!!!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น