Theขี้ฝุ่นริมทาง
วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
ควรเชื่อเรื่องปีชงหรือไม่
คนอย่างแจ่ม แจ่ม ปุจฉา - กราบนมัสการพระคุณเจ้า อยากกราบเรียนถามพระคุณเจ้าในเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับการชงว่าเท็จจริงในศาสนาพุทธมีหลักคำสอนเกี่ยวกับในเรื่องนี้อย่างไร ว่าควรเชื่อในการชงหรือใช้พิจารณญาณในการดำเนินชีวิตคิดตัดสินใจ
พระไพศาล วิสาโล วิสัชนา - พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ฤกษ์ยามนั้นไม่สำคัญเท่ากับกรรมคือการกระทำ หากทำดีด้วยความพากเพียรแล้ว ย่อมได้รับประโยชน์ดังหวัง โดยไม่จำต้องพึ่งฤกษ์ยาม คนที่เอาแต่พึ่งฤกษ์ยาม ไม่รู้จักพึ่งตนเองนั้น ถือว่าเป็นคนโง่ ดังมีพุทธพจน์ว่า “ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนโง่ผู้มัวถือฤกษ์อยู่” อันที่จริงเมื่อใดที่เราทำความดี เมื่อนั้นก็เป็นฤกษ์ดี ยามดีอยู่แล้ว ดังมีพุทธพจน์อีกตอนหนึ่งว่า “สัตว์ทั้งหลายประพฤติชอบในเวลาใด เวลานั้นย่อมชื่อว่าเป็น ฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี”
มาถึงตรงนี้ก็คงจะเห็นแล้วว่าความเชื่อเรื่องชงนั้นไม่มีอยู่ในคำสอนของพุทธศาสนา ที่จริงกลับสวนทางกับคำสอนของพระพุทธองค์ด้วยซ้ำ หากจะทำอะไรก็ตาม ก็ให้มั่นคงในความดี มีความเพียร และใช้สติปัญญา รวมทั้งคำนึงถึงคำสอนของพระพุทธองค์เรื่องสัปปุริสธรรม นั่น คือ จะทำอะไรก็ตาม ควรรู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักกาล รู้จักชุมชน และรู้จักบุคคล หากรู้ทั้ง ๗ ประการนี้แล้ว ก็ย่อมประสบความสำเร็จ มีชีวิตที่เจริญงอกงาม
รูปภาพ : คนอย่างแจ่ม แจ่ม ปุจฉา - กราบนมัสการพระคุณเจ้า อยากกราบเรียนถามพระคุณเจ้าในเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับการชงว่าเท็จจริงในศาสนาพุทธมีหลักคำสอนเกี่ยวกับในเรื่องนี้อย่างไร ว่าควรเชื่อในการชงหรือใช้พิจารณญาณในการดำเนินชีวิตคิดตัดสินใจ พระไพศาล วิสาโล วิสัชนา - พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ฤกษ์ยามนั้นไม่สำคัญเท่ากับกรรมคือการกระทำ หากทำดีด้วยความพากเพียรแล้ว ย่อมได้รับประโยชน์ดังหวัง โดยไม่จำต้องพึ่งฤกษ์ยาม คนที่เอาแต่พึ่งฤกษ์ยาม ไม่รู้จักพึ่งตนเองนั้น ถือว่าเป็นคนโง่ ดังมีพุทธพจน์ว่า “ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนโง่ผู้มัวถือฤกษ์อยู่” อันที่จริงเมื่อใดที่เราทำความดี เมื่อนั้นก็เป็นฤกษ์ดี ยามดีอยู่แล้ว ดังมีพุทธพจน์อีกตอนหนึ่งว่า “สัตว์ทั้งหลายประพฤติชอบในเวลาใด เวลานั้นย่อมชื่อว่าเป็น ฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี” มาถึงตรงนี้ก็คงจะเห็นแล้วว่าความเชื่อเรื่องชงนั้นไม่มีอยู่ในคำสอนของพุทธศาสนา ที่จริงกลับสวนทางกับคำสอนของพระพุทธองค์ด้วยซ้ำ หากจะทำอะไรก็ตาม ก็ให้มั่นคงในความดี มีความเพียร และใช้สติปัญญา รวมทั้งคำนึงถึงคำสอนของพระพุทธองค์เรื่องสัปปุริสธรรม นั่น คือ จะทำอะไรก็ตาม ควรรู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักกาล รู้จักชุมชน และรู้จักบุคคล หากรู้ทั้ง ๗ ประการนี้แล้ว ก็ย่อมประสบความสำเร็จ มีชีวิตที่เจริญงอกงาม
ที่มา พระไพศาล วิสาโล - Phra Paisal Visalo
https://www.facebook.com/visalo?fref=ts
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น