++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

ศิลปะของการดำเนินชีวิต

โดย ท่านอาจารย์ เอส เอน โกเอนก้า

(ต้นฉบับของบทความต่อไปนี้ได้ถูกตีพิมพ์ในนิตยสาร Sayagyi U Ba Khin)







ทุก ๆ คนเสาะแสวงหาความสงบและความปรองดองมีมิตรไมตรีซึ่งกันและกัน เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราขาดไปในชีวิตของเรา ในเวลาเป็นครั้งคราวที่เราจะต้องประสบกับอารมณ์ความปั่นป่วน เร่าร้อน ฉุนเฉียว ความก้าวร้าว ความทุกข์ และเมื่อเรามีความทุกข์เราก็มักไม่เก็บไว้กับตัวเอง แต่จะกระจายความเดือนร้อนใจไปให้กับคนที่อยู่รอบข้างโดยทั่ว ความปั่นป่วนแผ่ซ่านไปทั่วรอบ ๆ นี้ ใคร ๆ ที่เข้ามาข้องแวะกับเขาจะได้รับความเร่าร้อน ฉุนเฉียวไปด้วย และโดยแน่นอนนี่ไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมในการดำเนินชีวิตอยู่



เราจะต้องอยู่ด้วยความสงบทั้งกับตัวเราเองและกับคนอื่น ๆ แม้กระนั้นก็ตามมนุษย์ก็ถือว่าเป็นสัตว์สังคม เราจะต้องอยู่ในสังคมและจะต้องข้องแวะกับคนอื่น ๆ แล้วอะไรล่ะคือวิธีที่เราจะสามารถอยู่ได้อย่างสงบสุข มีวิธีอย่างไรล่ะที่เราจะสามารถอยู่ด้วยความปรองดองมีมิตรไมตรีซึ่งกันและกัน เพื่อความสงบสุขรอบ ๆ ตัวเรา เพื่อที่ว่าคนอื่น ๆ ที่อยู่กับเราจะมีความสงบสันติ



เมื่อเรามีอารมณ์ที่ปั่นป่วนและต้องการที่จะออกมาจากมัน เราจะต้องรู้และเข้าใจเหตุผลพื้นฐานของความปั่นป่วนและเหตุของความทุกข์ที่เกิดขึ้น

ถ้าเราสืบสาวหาสาเหตุของปัญหาในไม่ช้าเราจะพบอย่างชัดแจ้งว่าเมื่อไรก็ตามที่เราเริ่มสร้างความคิดในแง่ร้าย ทางลบ โทสะหรือกิเลสตัณหาในจิตใจ

เราก็จะมีพันธนาการอยู่กับความปั่นป่วน ความคิดในแง่ร้ายในจิตใจ กิเลสตัณหา หรือ ความไม่บริสุทธิ์ของจิตใจไม่สามารถอยู่ร่วมกันกับความสงบสุขและความปรองดองและมีมิตรไมตรี



แล้วอย่างไรล่ะที่เราเริ่มสร้างความคิดในแง่ร้าย ทางลบ โทสะหรือกิเลสตัณหาในจิตใจ เอ้าลองสืบเสาะหาเหตุอีกครั้งและเราจะพบว่า

เราไม่มีความสุขและเป็นทุกข์ก็ต่อเมื่อเราพบว่าคนอื่นๆ ทำตัวไปในทางที่เราไม่ชอบ เมื่อเราพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่เราไม่ชอบ

เมื่อบางอย่างที่เราไม่ชอบได้เกิดขึ้น เราได้สร้างความตึงเครียดขึ้นมาภายในจิตใจของเราเอง

สิ่งที่เราต้องการไม่เกิดขึ้นหรือมีอุปสรรคบางอย่างและก็อีกครั้งที่เราสร้างความตึงเครียดขึ้นมาในจิตใจ

เราเริ่มที่จะพยายามผูกเงื่อนปมในตัวของเราเอง

ตลอดชีวิตของเราสิ่งที่เราไม่ต้องการเกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นอีกซ้ำแล้วซ้ำเล่าหรือสิ่งที่เราต้องการอาจจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิด

และเมื่อขบวนการปรุงแต่งของจิตทำปฏิกิริยากับสิ่งเหล่านี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

เงื่อนปมทั้งหลายจะทำให้สภาพโครงสร้างทางจิตใจและทางกายตึงเครียดอย่างมาก

เต็มไปด้วยความคิดในแง่ร้าย และชีวิตของเราก็กลายเป็นชีวิตที่มีแต่ความทุกข์



ทางหนึ่งในการแก้ปัญหาเหล่านี้ก็คือ การเตรียมการทั้งหลายเพื่อที่ว่าจะให้เราปราศจากสิ่งที่เราไม่ต้องการเกิดขึ้นในชีวิตของเรา

และต้องเตรียมการให้ทุกสิ่งเกิดขึ้นมาตามความต้องการปรารถนาของเรา

เราจะต้องพัฒนาพลังหรือคนอื่นจะต้องมีพลังที่จะต้องมาช่วยเราทุกเมื่อให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่เราต้องการ



แต่วิธีนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ไม่มีใครหรอกในโลกนี้ที่จะได้รับแต่สิ่งที่เขาต้องการ

และที่เรามีแต่ความสมหวังต่อสิ่งที่เราปรารถนาให้เกิดขึ้นโดยไม่มีสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น

สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดนั้นไม่ตรงตามความต้องการของเรา ทั้ง ๆที่มีเหตุการณ์หรือสิ่งที่เราไม่ชอบเกิดขึ้น

ทำอย่างไรล่ะเราจะไม่ตอบโต้มันอย่างลืมหูลืมตา

ทำอย่างไรถึงจะไม่สร้างความตึงเครียดภายในจิตใจ

ทำอย่างไรล่ะที่เราจะสามารถคงอยู่กับความสงบสุขความมีมิตรไมตรี



ในอินเดียและประเทศอื่น ๆ นักบุญทั้งหลายในอดีตได้ศึกษาปัญหาเหล่านี้ เรื่องความทุกข์ของมนุษย์

และพวกเขาก็ได้พบกับทางออก คือ เมื่อมีบางอย่างที่เราไม่ต้องการเกิดขึ้นและเราเริ่มตอบโต้มันโดยการสร้างความโกรธ โทสะ ความกลัว หรืออารมณ์ทางลบอื่นๆ

เราจะต้องเบี่ยงเบนความสนใจไปในสิ่งอื่นให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เช่น ลุกขึ้น ดื่มน้ำสักแก้ว

ดื่มจนกระทั้งความโกรธไม่เพิ่มขึ้นและเราจะเริ่มออกมาจากอารมณ์นั้นได้

หรือเช่น เริ่มนับเลข หนึ่ง สอง สาม สี่ หรือเริ่มกล่าวคำ หรือวลี คำพูด บทสวดซ้ำ ๆ ไปซ้ำมา

มันเป็นการง่ายมากที่เราจะใช้ชื่อของพระผู้เป็นเจ้า หรือนักบุญทั้งหลายที่เรามีความศรัทธาจงรักภักดี จิตใจของเราได้ถูกชักจูงให้หันเห

และในไม่ช้าเราจะสามารถออกจากอารมณ์รุนแรงนั้น ๆ ได้ในระดับหนึ่ง ออกจากอารมณ์โกรธ



วิธีนี้มีประโยชน์ มันใช้งานได้และยังคงใช้งานได้ โดยการฝึกปฏิบัติวิธีนี้ จิตใจรู้สึกว่าเป็นอิสระจากความปั่นป่วน

อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงแล้ว วิธีนี้ใช้ได้เฉพาะในระดับของจิตสำนึกเท่านั้น

โดยการเบี่ยงเบนหันเหความสนใจ ความจริงแล้วเราได้ผลักส่งความปั่นป่วนเข้าไปภายในจิตใจเข้าไปสู่จิตใต้สำนึก

ในจิตใจระดับนี้เราได้สร้างและเพิ่มพูนกิเลสตัณหาอย่างต่อเนื่อง

บนพื้นผิวของจิตใจเรามีความสงบสุขและมิตรไมตรี

แต่ในระดับจิตใต้สำนึกที่ซึ่งเปรียบเสมือนภูเขาไฟซึ่งรอการประทุระเบิดของอารมณ์ร้ายต่าง ๆ เป็นครั้งเป็นคราว



นักบุญนักบวชอื่นๆ สืบเสาะหาความจริงลึกลงไปอีก จากประสบการณ์ที่ได้พบกับความจริงของรูปและนาม(กายและจิต)ภายในตัวเขาเหล่านั้น

พบว่าวิธีการเบี่ยงเบนความสนใจเป็นเพียงแค่การหนีปัญหา การหนีปัญหาไม่ใช่ทางแก้

เราจะต้องยืนหยัดต่อสู้กับปัญหา เมื่อไรก็ตามสิ่งที่ไม่ดีเกิดขึ้นในจิตใจก็ให้แค่สังเกตุดูมัน หันหน้าเข้าหามัน

เมื่อใดก็ตามที่เราเริ่มสังเกตุดูอารมณ์ปรุงแต่งภายในจิตใจ

อารมณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นก็จะเริ่มหมดอำนาจความเข้มแข็ง และจะหายไปและหายไปอย่างถอนรากถอนโคน



นี่คือวิธีการแก้ปัญหาที่ดี โดยการหลีกเลี่ยงวิธีสุดขั้วระหว่างการปิดระงับอารมณ์และการปล่อยไปตามอารมณ์นั้น ๆ

การกักขังอารมณ์ปรุงแต่งในจิตใจภายในจิตใต้สำนึกจะไม่ถอนรากเหง้าของมัน

และการให้แสดงอารมณ์อย่างเปิดเผยนั้นเพียงแต่จะเพิ่มปัญหามากขึ้น

ถ้าเราเพียงแค่สังเกตุดูมัน สิ่งที่ไม่ดีเกิดขึ้นในจิตใจก็จะจากไป เราได้กำจัดมันถึงรากเหง้าและจะเป็นอิสระจากสิ่งเหล่านั้น



วิธีนี้ดูเหมือนว่าจะวิเศษมาก แต่ในทางปฏิบัติล่ะ

เมื่อความโกรธได้เกิดขึ้นมันจะมีอำนาจเหนือจิตใจของเราอย่างรวดเร็วจนเราทันได้สังเกตุ

และด้วยอำนาจของความโกรธเรากระทำประพฤติบางอย่างซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้อื่น และหลังจากที่เราหายโกรธแล้ว

เราก็จะเริ่มร้องไห้และเสียใจภายหลัง ขอร้อง ขอโทษ ขออภัยต่อคนนั้น คนนี้ หรือพระเจ้า โอ้ ผมได้ทำผิดไปแล้ว กรุณาให้อภัยผมด้วย

และเหมือนเดิมในครั้งต่อ ๆ ไป มีเหตุการณ์เกิดขึ้นเหมือนเดิม เราตอบโต้ทำเหมือนอย่างที่เคยทำ และความเสียใจทั้งหมดนี้มันไม่ได้ช่วยอะไรเลย



ความยากก็คือเราไม่ได้ทราบว่าเมื่อใดสิ่งไม่ดีเหล่านี้ได้เริ่มต้นขึ้น มันเริ่มขึ้นจากระดับที่ลึกภายในจิตใต้สำนึก

และเมื่อมันมาถึงระดับของจิตสำนึก มันได้มีพลังอำนาจมากแล้วซึ่งสามารถครอบงำเราได้ง่ายๆ เราไม่สามารถสังเกตุดูมันได้



แล้วเราจะต้องมีเลขาส่วนตัวไว้กับเราเสมอเพื่อว่าเมื่อความโกรธเริ่มขึ้น เขาจะพูดว่า “ดูสิ! เจ้านาย ความโกรธเริ่มขึ้นมาแล้ว”

เพราะว่าเราไม่รู้ว่าเมื่อไรความโกรธจะเกิดขึ้น เราจะต้องมีเลขาสามคนเอาไว้สำหรับสามกะ ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง หรือ สี่คนสำหรับเมื่อมีคนต้องการวันหยุดพักผ่อน



สมมุติว่าเราสามารถมีได้ และเมื่อความโกรธได้เกิดขึ้น เมื่อนั่นเลขาของเราบอกเราว่า “ดูสิ! เจ้านาย ความโกรธเริ่มขึ้นแล้ว” และเมื่อนั้นสิ่งแรกที่เราจะทำคือ โครมคราม ตบ และด่าทอเขาว่า “มึง เจ้าโง่ แกคิดว่าฉันจ้างแกมาเพื่อสอนฉันหรือ” เราถูกความโกรธครอบงำอย่างมากและไม่มีคำแนะนำใด ๆ ที่จะช่วยได้



สมมุติว่าเรามีปัญหาเกิดขึ้นและเราไม่ได้ตบเขา และได้บอกว่า ขอบคุณมาก

และตอนนี้เราจะต้องนั่งและสังเกตุดูความโกรธที่เกิดขึ้น นั่นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้หรือ

เมื่อไรก็ตามเมื่อเราหลับตาและพยายามสังเกตุดูความโกรธ

ทันใดนั้นวัตถุที่ทำให้เกิดความโกรธเข้ามาในจิตใจ บุคคลหรือเหตุการณ์นั้น ๆ

ซึ่งทำให้เราโกรธ แล้วเราก็ไม่ได้สังเกตุดูความโกรธอีกต่อไปแต่เราจะได้แต่สังเกตุเครื่องเร้าอารมณ์นั้นๆ ต่างหาก

และสิ่งนี้จะทำให้ความโกรธเพิ่มมากขึ้น วิธีนี้ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหา

มันยากมาก ๆ ที่จะสามารถสังเกตุสิ่งไม่ดีในจิตอย่างลอย ๆ อารมณ์ต่าง ๆ และตัดขาดจากสิ่งเร้าอารมณ์นั้น ๆ



อย่างไรก็ตาม ก็มีบางคนซึ่งเข้าถึงความจริงสูงสุดถึงอรหัตผลได้

เขาพบวิธีการแก้ปัญหาจริง ๆ เขาได้พบว่าเมื่อไรก็ตามที่สิ่งปรุงแต่งเกิดขึ้นในจิตใจ อย่างต่อเนื่อง

มีสิ่งสองอย่างเริ่มเกิดขึ้นทางกายภาพ หนึ่งคือ ลมหายใจที่สูญเสียจังหวะจากปรกติ

เราจะเริ่มหายใจอย่างแรงตอนที่สิ่งไม่ดีเข้ามาสู่ในจิตใจ นี่คือความเป็นจริงที่ทุกคนสามารถประสบสัมผัสได้

เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่หยาบและเห็นได้ง่าย ในขณะเวลาเดียวกันในระดับที่ละเอียดกว่าปฏิกริยาทางไบโอเคมีบางอย่างได้เกิดขึ้นภายใน

ส่งผลให้มีเวทนาความรู้สึกของร่างกาย เวทนาจะเกิดขึ้นภายในร่าง ๆ กับทุก ๆ การปรุงแต่งในจิตใจ



นี่คือการแก้ปัญหาในทางปฏิบัติ คนปกติทั่วไปไม่สามารถสังเกตุดูสิ่งปรุงแต่งอย่างรูปธรรมของจิตใจได้

ความกลัว ความโกรธ ความลุ่มหลง แต่โดยการฝึกอย่างถูกต้องและปฏิบัติ

เราจะสามารถสังเกตุดูลมหายใจและเวทนา ทั้งสองนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับสิ่งปรุงแต่งที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ



ลมหายใจและเวทนาจะช่วยเราทั้งสองทาง คือ หนึ่ง มันจะเป็นเลขาของเรา และเมื่อใดก็ตามที่จิตปรุงแต่งเกิดขึ้น

ลมหายใจของเราจะสูญเสียความเป็นปรกติ มันจะตะโกนบอกว่า ดูสิ มีบางอย่างได้เกิดขึ้นแล้ว

ฉันไม่สามารถต่อยเจ้าลมหายใจได้ ฉันต้องยอมรับคำเตือนนี้

และในทำนองเดียวกันความรู้สึกหรือเวทนาก็บอกเราว่า บางอย่างได้ดำเนินไปอย่างผิดปรกติ

ฉันจะต้องยอมรับมัน และเมื่อได้รับคำเตือนแล้ว ฉันเริ่มที่จะสังเกตุดูลมหายใจ ความรู้สึก และฉันพบว่าสิ่งปรุงแต่งภายในจิตใจได้หายไปอย่างรวดเร็ว



สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งทางจิตใจและทางกาย เปรียบเสมือนเหรียญที่มีสองด้าน

ด้านหนึ่งคือเมื่อไรก็ตามที่ความคิดหรืออารมณ์เกิดขึ้นภายในจิตใจ

อีกด้านหนึ่งก็คือลมหายใจและเวทนาภายในร่างกาย

ความคิดและอารมณ์ใด ๆ (ทั้งจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก) สิ่งปรุงแต่งใดๆ ภายในจิตใจปรากฏชัดแจ้งได้โดยลมหายใจและเวทนาในขณะนั้น

ฉะนั้นโดยการสังเกตุดูลมหายใจและเวทนา เราจะสามารถสังเกตุอารมณ์ปรุงแต่งได้โดยตรง

แทนที่จะวิ่งหนีไปจากปัญหา เรายืนหยัดต่อสู้กับความจริงอย่างที่มันเป็น

แล้วเราก็จะพบว่าอารมณ์เหล่านั้นได้ลดกำลังลง มันไม่สามารถครอบงำเราได้เหมือนในอดีต

และเมื่อเรามุ่งมั่นอย่างไม่ลดละ ในที่สุดแล้วจิตปรุงแต่ง อารมณ์ไม่ดีต่าง ๆ มันก็จะหายไปและเราก็จะมีความสงบสุข



และด้วยวิธีนี้ เทคนิคการสังเกตุดูตัวเองได้แสดงให้เราเห็นความจริงสองอย่างด้วยกัน คือ ภายนอกและภายใน

แท้จริงแล้วเรามักจะดูมันด้วยตาที่เปิดอยู่เสมอ ๆ โดยปราศจากความจริงภายใน

เรามักจะมองหาสิ่งที่ทำให้เราไม่สบายใจจากภายนอกอยู่เสมอ ๆ

เรามักจะต่อว่าผู้อื่นและพยายามเปลี่ยนแปลงความเป็นจริงภายนอก

โดยไม่รู้ไม่ใส่ใจกับความเป็นจริงข้างใน เราไม่เคยเข้าใจเหตุของความทุกข์ที่อยู่กับการตอบโต้โดยไม่พินิจพิจารณา



มันเป็นการยากที่จะสังเกตุดูจิตปรุงแต่งอย่างรูปธรรมเมื่อมันได้เกิดขึ้น

แต่ขณะนี้โดยการฝึกหัด เราสามารถมองเห็นอีกด้านหนึ่งของเหรียญ เราสามารถสังเกตุลมหายใจและสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นภายในตัวเรา

อะไรก็ตาม ลมหายใจหรือเวทนา เราได้เรียนรู้เพื่อที่จะเพียงแค่สังเกตุมันโดยไม่ทำให้เราสูญเสียความสมดุลของจิตใจ

เราหยุดเพิ่มเติมความทุกข์ แต่เราให้จิตปรุงแต่งเหล่านี้ปรากฏชัดและล่วงไป



ยิ่งเราได้ฝึกปฏิบัติวิธีนี้มากเท่าไร เราจะยิ่งสามารถพบว่าเราสามารถออกมาจากความขุ่นมัวนี้ได้เร็วเท่านั้น ทีละน้อย ๆ

จิตใจของเราจะปราศจากจิตปรุงแต่งต่าง ๆ และกลายเป็นจิตใจที่บริสุทธิ์ จิตใจที่บริสุทธิ์นี้จะเต็มไปด้วยความรัก ความเมตตาต่อผู้อื่น

เต็มไปด้วยความเมตตาต่อผู้ผิดหวังและผู้มีทุกข์ เต็มไปด้วยความสุขต่อความสำเร็จและความสุขของผู้อื่น เต็มไปด้วยความมีอุเบกขาในทุก ๆ เหตุการณ์



เมื่อเราถึงจุดนี้ รูปแบบแผนในการดำเนินชีวิตก็จะเปลี่ยนไป

มันจะเป็นไปไม่ได้อีกต่อไปที่เราจะทำอะไรก็ตามทั้งทางด้านคำพูดและทางกายที่ซึ่งรบกวนความสงบสุขของผู้อื่น

ในทางตรงกันข้ามจิตใจที่เป็นกลางไม่เพียงแต่จะเป็นจิตที่สงบสุขเท่านั้น

มันยังจะช่วยคนอื่น ๆ ให้มีความสงบสุขด้วยเช่นกัน สภาพแวดล้อมรอบ ๆ คน ๆ นั้นจะกลายแผ่ซ่านด้วยความสงบและความมีมิตรไมตรี

และนั้นก็จะเริ่มมีผลต่อผู้อื่นเช่นเดียวกัน



นี่คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน ศิลปะในการดำเนินชีวิต

ท่านไม่เคยก่อตั้งหรือสอนศาสนาใด ๆ ซึ่งมี 'ism' ลงท้าย ท่านไม่เคยสอนผู้ใดเพื่อที่จะทำพิธีกรรมซึ่งไม่มีประโยชน์อะไร

จริง ๆ แล้วท่านสอนเพียงแค่ให้สังเกตุดูธรรมชาติอย่างที่มันเป็น โดยการสังเกตุความจริงภายใน ด้วยความไม่รู้ เพิกเฉย

เราได้ทำการตอบโต้ในลักษณะที่เป็นอันตรายต่อตัวเองและคนอื่น

แล้วเมื่อปัญญาเกิดขึ้น ปัญญาที่จะสังเกตุความเป็นจริงอย่างที่มันเป็น

เราสามารถออกมากจากอารมณ์ตอบโต้นั้น ๆ ได้ เมื่อเราหยุดตอบโต้อย่างไม่ลืมหูลืมตา

เมื่อนั้นเราจะสามารถตอบโต้ปฏิบัติอย่างจริงจังจากจิตใจที่เป็นกลางและมีอุเบกขา

จิตใจซึ่งมองเห็นและเข้าใจกับเป็นจริง การประพฤติปฏิบัตินี้จะเป็นการประพฤติที่ดี มีความสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อตัวเองและผู้อื่น



แล้วอะไรล่ะที่สำคัญ นั่นก็คือการที่รู้ตัวเรานั่นเองอย่างที่ผู้รู้ได้สอน

เราจะต้องรู้ตัวเราไม่เพียงแค่ในระดับสติปัญญา ระดับของความคิดและทฤษฏี

และก็ไม่ได้หมายถึงว่าเราจะรู้ตัวเราเพียงแค่ระดับของความศรัทธาหรือระดับของอารมณ์

การยอมรับเรื่องที่ได้ยินได้อ่านอย่างโดยไม่ได้คิดไตร่ตรองให้ดี ความรู้เหล่านั้นมันไม่เพียงพอหรอก

มากไม่กว่านั้น เราจะต้องรู้ความจริงที่เกิดขึ้นจริง ๆ เราต้องประสบกับมันจริง ๆ ถึงความจริงทางจิตใจและทางกายที่เกิดขึ้น

นี่แหละคือสิ่งเดียวที่จะช่วยเราให้ออกมาจากจิตใจปรุงแต่งและความทุกข์ได้



ด้วยประสบการณ์กับความจริงเหล่านี้โดยตรงด้วยตัวเราเองแล้วนี้ ด้วยเทคนิคการสังเกตุดูตัวเราเองนี้

นี่แหละคือสิ่งที่เรียกว่า วิปัสสนากรรมฐาน ในภาษาที่ใช้ในอินเดียในสมัยพุทธกาลนั้น คำว่า ปัสสนา หมายถึง การดู การเห็นด้วยนัยย์ตาอย่างทั่วๆ ไป

แต่คำว่าวิปัสสนาหมายคือ การสังเกตุดูสิ่งบางอย่างอย่างที่มันเป็นแบบนั้นจริง ๆ

ไม่ใช่ว่าเหมือนกับว่ามันจะเป็นแบบนั้น ความจริงชัดแจ้งนี้จะต้องเจาะลึกลงไปจนถึงความจริงอันสูงสุดของทั้งโครงสร้างทางจิตใจและทางกาย

เมื่อเราประสบกับความจริงแล้ว เราได้เรียนรู้ที่จะหยุดการตอบโต้กับอารมณ์อย่างโง่เขลา ที่จะหยุดการสร้างกิเลสตัณหาต่าง ๆ

และจิตปรุงแต่งเก่า ๆ นิสัยสันดานต่าง ๆ ก็จะค่อย ๆ ถูกกำจัดออกไป เมื่อนั้นเราก็จะออกมาจากความทุกข์ได้และพบกับความสุข



ในการอบรมวิปัสสนานี้จะมีการฝึกอยู่สามขั้นตอน

อย่างแรก คือเราจะต้องละเว้นจากการกระทำใด ๆ ทางกายและทางคำพูดซึ่งรบกวนความสงบสุขและความมีมิตรไมตรีของผู้อื่น

เราจะไม่สามารถที่จะปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้นจากกิเลสตัณหาต่าง ๆ ได้

ถ้าในขณะเวลาเดียวกันเราได้กระทำสิ่งอันใดทั้งทางกายและทางคำพูดซึ่งมีแต่จะเพิ่มพูนกิเลสตัณหาต่าง ๆ

ดังนั้นศีลคือสิ่งที่จำเป็นขั้นแรกในการปฏิบัติ เราจะต้องรักษาศีลโดยการไม่ฆ่า ไม่ลักขโมย ไม่ละเมิดทางเพศ ไม่พูดโกหก ไม่เสพสิ่งเสพติดมีพิษ

โดนการละเว้นสิ่งเหล่านี้จะทำให้จิตใจเรามีความเงียบสงบสุข



ขั้นต่อไป คือการพัฒนาการควบคุมจิตใจที่เหมือนสัตว์ป่า ยุ่งเหยิง รุนแรง

โดยการฝึกมันเพื่อที่จะทำให้จิตใจคงอยู่กับสิ่ง ๆ หนึ่งนั่นก็คือ ลมหายใจ

เราจะพยายามรักษาสติตั้งอยู่กับลมหายใจให้นานเท่านานเท่าที่จะเป็นไปได้ และนี่ก็ไม่ใช่การฝึกหัดการหายใจ

เราจะต้องไม่บังคับหรือกำหนดการหายใจของเรา แต่ในทางกลับกันเราจะสังเกตุดูลมหายใจที่เป็นธรรมชาติอย่างที่มันเป็น อย่างที่มันเข้า อย่างที่มันออก และด้วยวิธีนี้เราสามารถทำให้จิตใจสงบได้มากขึ้นจนกระทั้งเราจะไม่ถูกครอบงำไปด้วยจิตปรุงแต่งในแง่ไม่ดี ๆ ได้อีกต่อไป

ในขณะเดียวกันเราจะมีจิตใจที่จดจ่อมีสมาธิ เรากำลังทำให้จิตมีความแหลมคมเจาะลึกลงไป และสามารถทำงานต่อไปได้ถึงข้างใน



ขั้นตอนทั้งสองนี้ คือการอยู่ในศีลธรรมและการมีสมาธิ มีความจำเป็นเป็นอย่างมากและมีประโยชน์ต่อเราเอง

และนั่นจะนำเราไปสู่การสะกดหรือระงับเราถ้าเราไม่ก้าวต่อไปอีกขั้นนั่นก็คือ การทำให้จิตใจบริสุทธิ์จากกิเลสตัณหาทั้งหลาย

โดยการพัฒนาความเข้าใจที่ลึกซึ้งถึงธรรมชาติของตัวเรา และนี่แหละคือวิปัสสนา

การประสบกับความจริงของตัวเราเองอย่างเป็นระบบและด้วยจิตใจที่สงบ

ความจริงของการมองเห็นจิตใจที่เปลี่ยนแปลงอย่างชัดแจ้งโดยสังเกตเวทนาในตัวเองนั้นเอง และนี่คือจุดสูงสุดของคำสอนของพระพุทธเจ้า

การทำให้จิตใจบริสุทธิ์จากกิเลสตัณหาโทสะโดยการสังเกตตัวเราเอง



นี่คือสิ่งที่เราสามารถฝึกปฏิบัติกันได้ โรคร้ายนี้มันไม่ได้เป็นของลัทธิใดดังนั้นการรักษานี้ก็ไม่ใช่ของลัทธิใดลัทธิหนึ่ง

มันจะต้องเป็นสิ่งที่สากล ทุก ๆ คนที่กำลังประสบกับความทุกข์ทั้งหลาย

เมื่อเรามีทุกข์เพราะความโกรธ มันไม่ใช่ว่าเป็นความโกรธของคนพุทธ ของคนฮินดู ของคนนับถือศาสนาคริสต์ ความโกรธก็คือความโกรธ

และเพราะความโกรธเราจะมีความปั่นป่วน และมันไม่ใช่ความปั่นป่วนของผู้นับถือศาสนาคริสต์ หรือผู้นับถือศาสนาฮินดู หรือผู้นับถือศาสนาพุทธ

โรคร้ายนี้เป็นสากล และวิธีรักษานี้จะต้องเป็นสากลเช่นเดียวกัน



วิปัสสนานี่แหละคือทางรักษา ไม่มีใครที่จะต่อต้านหรือปฏิเสธหลักการดำเนินชีวิตที่เคารพความสงบสุขและความมีมิตรไมตรีของผู้อื่น

ไม่มีใครที่จะต่อต้านหรือปฏิเสธหลักการดำเนินชีวิตในการพัฒนาเพื่อควบคุมจิตใจ

ไม่มีใครที่จะต่อต้านหรือปฏิเสธหลักการดำเนินชีวิตที่พัฒนาปัญญาความเข้าใจในความเป็นจริงของตัวเราเอง

ที่จะทำให้เราเป็นอิสระจากกิเลสตัณหาต่าง ๆ นี่คือทางเดินสากล มันไม่ใช่ศาสนาหรือลัทธิใด ๆ

มันไม่ใช่หลักเกณท์ที่ไม่มีข้อพิสูจน์ มันไม่ใช่ความเชื่ออย่างไม่พินิจพิเคราะห์งมงาย



การสังเกตุดูความเป็นจริงอย่างที่มันเป็นโดยการสังเกตุความจริงภายใน นี่คือการรู้จักตัวเองในทางปฏิบัติที่ประสบเอง

และเมื่อเราฝึกปฏิบัติ เราจะเริ่มออกมาจากความทุกข์และกิเลสตัณหาทั้งหลาย

จากสิ่งที่หยาบความเป็นจริงที่ชัดแจ้งเห็นได้ง่าย เราจะเจาะลึกลงไปถึงความจริงอันสูงสุดของนามและรูป

แล้วเราก็จะประสบกับความจริงที่นอกเหนือจากรูปกับนามที่ไม่สามารถอธิบายได้

นอกเหนือจากมิติของเวลาและสถานที่ นอกเหนือจากสภาวะสัมพันธ์ภาพ

สู่ความจริงอันสูงสุดที่อิสระจากกิเลสตัณหาต่าง ๆ ความไม่บริสุทธิ์และความทุกข์ทั้งหมดทั้งปวง

ไม่ว่าใครจะตั้งชื่อสภาวะนี้ไว้ว่าอย่างไรไม่สำคัญ มันคือจุดหมายปลายทางของทุก ๆ คน



ขอให้เราทุกคนประสบกับความจริงอันสูงสุดอันนี้ ขอให้คนทุก ๆ คนไม่ว่าจะอยู่แห่งหนใดออกมาจากกิเลสตัณหาต่าง ๆ ความทุกข์ของเขา



ขอให้ทุกคนมีความสุขที่แท้จริง ความสงบที่แท้จริง ความมีมิตรไมตรีที่แท้จริง



......................



ศิลปะของการดำเนินชีวิต โดย ท่านอาจารย์ เอส เอน โกเอนก้า

"เอส เอน" ย่อมาจาก "สัตยา นารายัน"







เนื้อหาที่เกี่ยวเนื่องเพิ่มเติม:



-เสียงธรรมบรรยายมหาสติปัฏฐานสูตร โดยท่านอาจารย์ สัตยา นารายัน โกเอนก้า

ที่: http://www.esnips.com/web/SatipatthanaSutra

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น