++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555

ผู้ไทย” น. ชนชาติไทยสาขาหนึ่ง แถวสิบสองจุไทย

บนเวทีสัมมนาวิชาการ เรื่อง “ผู้ไทโลก ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร?” ณ โรงละครเมืองเว วัดธาตุเรณู อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2555 ที่ผ่านมา แม้จะไม่สามารถกล่าวได้ว่าเป็น “ฉันทามติ” ของทั้งคณะวิทยากรผู้เสวนา และผู้เข้าฟังการเสวนา แต่น่าจะพอพูดได้ว่า “เสียงส่วนใหญ่” สนับสนุนให้ใช้ คำว่า “ผู้ไท” แทน “ผู้ไทย” และ “ภูไท” ที่สับสนกันมานาน เหตุผลคือ 1. คำว่า “ไทย” เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อ 73 ปีที่ผ่านมา เมื่อจอมพล ป.พิบูลสงคราม เปลี่ยนชื่อดินแดนที่เรียกว่า “สยาม” เป็น “ประเทศไทย” (Thailand) ในปี พ.ศ.2482 และเรียกคนที่อยู่ในประเทศนี้ว่า “คนไทย” (แม้ว่าในทางชาติพันธุ์จะมีเชื้อจีน มอญ ลาว หรือขะแมร์ก็ตาม) 2.มีหลักฐานมากมาย บ่งชี้ว่า มีกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง ตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิมานานเกินกว่า 1 ,000 ปี ซึ่งในทางวิชาการชาติพันธุ์วิทยา เรียกกลุ่มนี้อย่างเป็นทางการว่า “ไท” หรือ “ไต” ( Dai / Tai) ปัจจุบัน กลุ่มชาติพันธุ์นี้กระจายอยู่ในประเทศต่าง ๆ อาทิ ไทลื้อ ไทใต้คง ในจีนตอนใต้ ไทอาหม ไทคำตี่ ไทพ่าเก ในรัฐอัสสัมของอินเดีย ไทใหญ่ ไทขึน ไทมาว ไทเหนือ ในรัฐฉานของพม่า ไทพวนในประเทศลาว ไทดำ ไทขาว ไทแดง ในเวียดนามตอนเหนือ ฯลฯ 3.ในทางวิชาการ จัดกลุ่มชาว “ผู้ไท” ในภาคอีสานของประเทศไทย อยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์ไท หรือไต เช่นเดียวกัน 4. กล่าวเฉพาะชาว “ผู้ไทเรณูนคร” จะนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ภูไทย” ซึ่งเคยเข้าใจกันว่า หมายถึงชาวผู้ไทที่มาตั้งถิ่นฐานใกล้ภูเขา แต่ในความเป็นจริง เรณูนครอยู่ใกล้แม่น้ำโขง ไกลจาก ภูพานน้อย ในเขต อ.นาแก ถึงกว่า 20 ก.ม. ดังนั้น การเขียนว่า “ภูไทย” น่าจะเกิดจากความเข้าใจผิด 5.ในกรณีที่ อนุสาร อสท. เป็นสื่อที่ใช้คำว่า “ภูไทยเรณูนคร” มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2503 ประเด็นนี้ คุณอภินันท์ บัวหภักดี บรรณาการภาพอนุสารอสท.คนปัจจุบัน แจ้งให้เวทีสัมมนาทราบว่า ได้รับจากชี้แจง (ทางวาจา) จากอดีตบรรณาธิการอสท.ปี 2503 ว่าการใช้คำว่า “ภูไทย” มีเหตุผลทางด้านความมั่นคงของชาติ ในยุคที่พรรคคอมมิวนิสต์ (พคท.) ทำสงครามแย่งชิงมวลชนกับรัฐบาลไทย 6.ดังนั้น ในยุคที่สงครามในภูมิภาคอาเซียนสงบลงแล้ว และทั้ง 10 ชาติอาเซียน กำลังจะก้าวสู่การเป็น “ประชาคมอาเซียน” ในปี 2558 ที่จะถึงนี้ จึงสมควรกำหนดใช้คำว่า “ผู้ไท” ให้เกิดความถูกต้องทางวิชาการ และไม่เป็นความสับสนสำหรับอนุชนรุ่นหลังสืบไป ซึ่งในกรณีนี้ ไม่เกี่ยวกับการรักชาติ หรือไม่รักชาติ(ไทย) และไม่ได้เกิดจากการมีอคติกับชื่อประเทศ “ไทย” แต่อย่างใดทั้งสิ้น 7.จึงเรียนมาเพื่อใคร่ขอเสนอให้ ดร.วิทยา อินาลา สมาชิกวุฒิสภา สายเลือดผู้ไท จังหวัดนครพนม ประธานคณะกรรมการจัดงาน “วันผู้ไทโลก” 2555 พิจารณานำประเด็นนี้เสนอต่อ คณะกรรมการชำระพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิจารณาต่อไป # หมายเหตุ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ระบุคำว่า “ผู้ไทย” น. ชนชาติไทยสาขาหนึ่ง แถวสิบสองจุไทย # ภาพ...ฟ้อนผู้ไทเรณูนคร ในงาน "วันผู้ไทโลก" 11 เมษายน 2555 ลานพระธาตุเรณู อ.เรณูนคร นครพนม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น