++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

พระโสดาบันไม่ทำบาป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 40
พระโสดาบันไม่ทำบาป
พวกภิกษุสนทนากันว่า " ได้ยินว่า ภริยาของนายพรานกุกกุฏมิตร
บรรลุโสดาปัตติผลในกาลที่ยังเป็นเด็กหญิงนั่นแล แล้วไปสู่เรือนของนาย-
พรานนั้น ได้บุตร ๗ คน. นางอันสามีสั่งตลอดกาลเท่านี้ว่า ' หล่อนจง
นำธนูมา นำลูกศรมา นำหอกมา นำหลาวมา นำข่ายมา.' ได้ให้สิ่ง
เหล่านั้นแล้ว, นายพรานนั้นถือเครื่องประหารที่นางให้ไปทำปาณาติบาต;
แม้พระโสดาบันทั้งหลายยังทำปาณาติบาตอยู่หรือหนอ ? "
พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอ
นั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? " เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า
" ด้วยเรื่องชื่อนี้." ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย พระโสดาบันย่อมไม่ทำ
ปาณาติบาต. แต่นางได้ทำอย่างนั้น ด้วยคิดว่า 'เราจักทำตามคำสามี.'
จิตของนางไม่มีเลยว่า สามีนั้นจงถือเอาเครื่องประหารนี้ไปทำปาณาติบาต;
จริงอยู่ เมื่อแผลในฝ่ามือไม่มี ยาพิษนั้นก็ไม่อาจจะให้โทษแก่ผู้ถือยาพิษได้
ฉันใด. ชื่อว่าบาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำบาป แม้นำเครื่องประหารทั้งหลาย
มีธนูเป็นต้นออกให้เพราะไม่มีอกุศลเจตนา ฉันนั้นเหมือนกัน, ดังนี้แล้ว
เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
๘. ปาณิมฺหิ เจ วโณ นาสฺส หเรยฺย ปาณินา วิส
นาพฺพณ วิสมเนฺวติ นตฺถิ ปาป อกุพฺพโต.
" ถ้าแผลไม่พึงมีในฝ่ามือไซร้, บุคคลพึงนำยา
พิษไปด้วยฝ่ามือได้, เพราะยาพิษย่อมไม่ซึมเข้าสู่ฝ่า
มือที่ไม่มีแผล ฉันใด, บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำอยู่
ฉันนั้น."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 41
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาสฺส แปลว่า ไม่พึงมี.
บทว่า หเรยฺย แปลว่า พึงอาจนำไปได้.
ถามว่า " เพราะเหตุไร ? "
แก้ว่า " เพราะยาพิษไม่ซึมไปสู่ฝ่ามือที่ไม่มีแผล " จริงอยู่ ยาพิษ
ย่อมไม่อาจซึมซาบเข้าสู่ฝ่ามือที่ไม่มีแผล ฉันใด; ชื่อว่าบาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่
ทำบาป แม้นำเครื่องประหารทั้งหลายมีธนูเป็นต้นออกให้ เพราะไม่มี
อกุศลเจตนา ฉันนั้นเหมือนกัน, แท้จริง บาปย่อมไม่ติดตามจิตของบุคคล
นั้น เหมือนยาพิษไม่ซึมเข้าไปสู่ฝ่ามือที่ไม่มีแผลฉะนั้น ดังนี้แล.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลายมีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้นแล้ว.
บุรพกรรมของกุกกุฏมิตรพร้อมด้วยบุตรและสะใภ้
โดยสมัยอื่น พวกภิกษุสนทนากันว่า " อะไรหนอเเล เป็นอุปนิสัย
แห่งโสดาปัตติมรรค ของนายพรานกุกกุฏมิตร ทั้งบุตร และสะใภ้ ?
นายพรานกุกกุฏมิตรนี้ เกิดในตระกูลของพรานเนื้อเพราะเหตุอะไร ? "
พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวก
เธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ ? " เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า
" ด้วยเรื่องชื่อนี้. " ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล หมู่ชนจัดสร้าง
เจดีย์บรรจุพระธาตุของพระกัสสปทสพล กล่าวกันอย่างนี้ว่า " อะไรหนอ
จักเป็นดินเหนียว ? อะไรหนอ จักเป็นน้ำเชื้อ แห่งเจดีย์นี้ ? ่ ่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 42
การสร้างเจดีย์ในสมัยก่อน
ทีนั้น พวกเขาได้มีปริวิตกนี้ว่า " หรดาลและมโนสิลาจักเป็นดิน-
เหนียว. น้ำมันงาจักเป็นน้ำเชื้อ. " พวกเขาตำหรดาลและมโนสิลาแล้ว
ผสมกับน้ำมันงา ก่อด้วยอิฐ ปิดด้วยทองคำ แล้วเขียนลวดลายข้างใน.
แต่ที่มุขภายนอกมีอิฐเป็นทองทั้งแท่งเทียว. อิฐแผ่นหนึ่ง ๆ ได้มีค่าแสน
หนึ่ง. พวกเขาเมื่อเจดีย์สำเร็จแล้ว จนถึงกาลจะบรรจุพระธาตุ คิดกัน
ว่า " ในกาลบรรจุพระธาตุ ต้องการทรัพย์มาก. พวกเราจักทำใครหนอ
แล ให้เป็นหัวหน้า ? "
แย่งกันเป็นหัวหน้าในการบรรจุพระธาตุ
ขณะนั้น เศรษฐีบ้านนอกคนหนึ่ง กล่าวว่า " ข้าพเจ้า จักเป็น
หัวหน้า " ได้ใส่เงิน ๑ โกฏิ ในที่บรรจุพระธาตุ. ชาวแว่นแคว้นเห็นกิริยา
นั้น ติเตียนว่า " เศรษฐีในกรุงนี้ ย่อมรวบรวมทรัพย์ไว้ถ่ายเดียว, ไม่
อาจเป็นหัวหน้าในเจดีย์เห็นปานนี้ได้. ส่วนเศรษฐีบ้านนอก ใส่ทรัพย์
๑ โกฏิ เป็นหัวหน้าทีเดียว."
เศรษฐีในกรุงนั้น ได้ยินถ้อยคำของชนเหล่านั้นแล้ว กล่าวว่า
" เราจักให้ทรัพย์ ๒ โกฏิแล้วเป็นหัวหน้า " ได้ให้ทรัพย์ ๒ โกฏิแล้ว.
เศรษฐีบ้านนอกคิดว่า " เราเองจักเป็นหัวหน้า " ได้ให้ทรัพย์ ๓
โกฎิ. ครั้นเศรษฐีทั้ง ๒ เพิ่มทรัพย์กันด้วยอาการอย่างนั้น. เศรษฐีในกรุง
ได้ให้ทรัพย์ ๘ โกฏิแล้ว.
ส่วนเศรษฐีบ้านนอก มีทรัพย์ ๙ โกฏิเท่านั้นในเรือน. เศรษฐีใน
กรุงมีทรัพย์ ๔๐ โกฏิ. เพราะฉะนั้น เศรษฐีบ้านนอก จึงคิดว่า " ถ้า
เราให้ทรัพย์ ๙ โกฏิไซร้. เศรษฐีนี้จักกล่าวว่า " เราจักให้๑๐ โกฏิ."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 43
เมื่อเป็นเช่นนั้น ความหมดทรัพย์ของเราจักปรากฏ " เธอจึงกล่าวอย่างนั้น
ว่า " เราจักให้ทรัพย์ประมาณเท่านี้, และเราทั้งลูกและเมียจักเป็นทาสของ
เจดีย์ ดังนี้แล้ว พาบุตรทั้ง ๗ คน สะใภ้ทั้ง ๗ คนและภริยา มอบ
แก่เจดีย์พร้อมกับตน.
เศรษฐีบ้านนอกได้เป็นหัวหน้า
ชาวแว่นแคว้นทำเศรษฐีบ้านนอกนั้นให้เป็นหัวหน้า ด้วยอ้างว่า
"ชื่อว่าทรัพย์ใคร ๆ ก็อาจให้เกิดขึ้นได้, แต่เศรษฐีบ้านนอกนี้พร้อมทั้ง
บุตรและภริยา มอบตัว (เฉพาะเจดีย์). เศรษฐีนี้แหละจงเป็นหัวหน้า."
ชนทั้ง ๑๖ คนนั้น ได้เป็นทาสของเจดีย์ด้วยประการฉะนี้. แต่ชาวแว่น-
แคว้นได้ทำพวกเขาให้เป็นไท. แต่เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเขาก็ปฏิบัติเจดีย์
นั้นแล ดำรงอยู่ตลอดอายุ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว บังเกิดในเทวโลก.
เมื่อชนเหล่านั้น อยู่ในเทวโลกตลอด ๑ พุทธันดร ในพุทธุปบาทนี้ ภริยา
จุติจากเทวโลกนั้น บังเกิดเป็นธิดาเศรษฐีในกรุงราชคฤห์.
คติของผู้ไม่เห็นสัจจะไม่แน่นอน
นางยังเป็นเด็กหญิงเทียว บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว. ก็ชื่อว่าปฏิสนธิ
ของสัตว์ผู้ยังไม่เห็นสัจจะ เป็นภาระหนัก เพราะฉะนั้น สามีของนาง
จึงเวียนกลับไปเกิดในสกุลพรานเนื้อ. ความสิเนหาในก่อนได้ครอบงำ
ธิดาของเศรษฐี พร้อมกับการเห็นนายพรานกุกกุฏมิตรนั้นแล. จริงอยู่
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ตรัสคำนี้ไว้ว่า
" ความรักนั้น ย่อมเกิด เพราะอาศัยเหตุ ๒
ประการ อย่างนี้ คือ เพราะการอยู่ร่วมกันในกาล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 44
ก่อน ๑ เพราะการเกื้อกูลกันในปัจจุบัน ๑ ดุจดอกบัว
เกิดในน้ำ (เพราะอาศัยเปือกตมและน้ำ) ฉะนั้น."
ธิดาของเศรษฐีนั้น ได้ไปสู่ตระกูลของพรานเนื้อเพราะความสิเนหา
ในปางก่อน, แม้พวกบุตรของนางก็จุติจากเทวโลก ถือปฏิสนธิในท้อง
ของนางนั้นแล.
แม้เหล่าสะใภ้ของนาง บังเกิดในที่นั้น ๆ เจริญวัยแล้ว ได้ไป
สู่เรือนของชนเหล่านั้นนั่นแหละ. ชนเหล่านั้นทั้งหมด ปฏิบัติเจดีย์ในกาล
นั้น ด้วยประการฉะนี้แล้ว จึงได้บรรลุโสดาปัตติผล ด้วยอานุภาพแห่ง
กรรมนั้น ดังนี้แล.
เรื่องนายพรานกุกกุฏมิตร จบ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น