++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

ท่านธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยน กับโลกแห่งฉือจี้

ด้วยวัยเจ็ดสิบสองปี ศีรษะที่โกนผมออก ตามแบบของภิกษุณีในศาสนาพุทธท่านธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยน ได้บำเพ็ญกิจกุศลมาแล้วกว่าสี่สิบปีท่านมีนำหนักเพียงสี่สิบเอ็ดกิโลกรัม เดินย่างก้าว อย่างนิ่มนวลงดงามดั่งวุบหนึ่งของละอองหมอกแต่รวดเร็วจนสตรีเพศทั่วไปยากที่จะก้าวตามได้ทันดวงตาของท่านสดใสดั่งท้องฟ้าที่ปราศจากเมฆหมอกน้ำเสียงของท่านนุ่มนวลและชัดเจนท่านเรียกตัวท่านเองว่าเป็นเพียงภิกษุณีธรรมดารูปหนึ่งแต่ทำงานในโลกนี้ด้วยจิตวิญญาณและกรุณาดั่งพระโพธิสัตว์ มูลนิธิพุทธฉือจี้ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๙ โดยสมาชิกเพียง ๓๐ คน ใน ปัจจุบันมีอาสาสมัครกว่า ๑๒ ล้านคน ทั่วโลกได้ช่วยเหลือผู้ยากไร้สั่งสอนผู้มั่งมีให้แบ่งปันทรัพย์สินและสิ่งของให้แก่ผู้อื่นที่ยากไร้กว่าอาสาสมัครชาวฉือจี้ มีหน้าที่ปฏิบัติแปดภารกิจเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ คือ การกุศล การรักษาพยาบาล การศึกษา วัฒนธรรม การบรรเทาทุกระหว่างประเทศ การบริจาคไขกระดูก การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อาสาสมัครชุมชน






เนื่องจากท่านธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยนเป็นโรคหัวใจท่านจึงไม่เสี่ยงเดินทางโดยเครื่องบินหรือทางเรือท่านไม่เคยเดินทางออกนอกไต้หวันเลย กิจกรรมด้านการกุศลของมูลนิธิได้แพร่กระจายออกจากเกาะไต้หวันไปยังภูมิภาคอื่นของทวีปเอเชียและแปซิฟิคและแพร่ไปจนถึงยุโรป กระจายออกไปทั่วโลกเพื่อเป็นการปฏิบัติตามหลักการของพุทธศาสนิกชน ที่ว่า “มือข้างเดียวทำงานได้ดั่งมือนับพันตาข้างเดียวมองเห็นได้ดั่งดวงตานับพันพึงเห็น” เหล่าอาสาสมัครของฉือจี้จึงเจริญรอยตามท่านธรรมาจารย์ ประกอบกุศลกิจดั่งมือและตาของเจ้าแม่กวนอิม ซึ่งเป็นเทพแห่งความเมตตาเรื่องราวต่อไปนี้จะแสดงให้เห็นว่าท่านธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยนได้นำมูลนิธิฉือจี้และเหล่าอาสาสมัครประกอบกุศลกิจช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากอย่างไรนอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่าท่านธรรมาจารย์เป็นผู้ทำงานด้านการกุศลได้อย่างน่าอัศจรรย์เพียงใด....



นักพรตวัดฉือหยุน ที่เฟิงหยุนเคยไปศึกษาที่ญี่ปุ่น ท่านมีอุดมคติที่จะเผยแผ่พุทธศาสนาก่อนที่ท่านธรรมาจารย์
จะออกบวช มักไปพบท่านที่วัดเพื่อศึกษาพระธรรมนักพรตท่านนี้เป็นผู้ชักนำท่านธรรมาจารย์เข้าธรรมนิเวศ

ชีวประวัติท่านธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยน

ท่านธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยนกำเนิดเมื่อ วันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ที่ตำบลเล็กๆชื่อชิงสุ่ยของเมืองไทจุงซึ่งอยู่ทางตอนกลางของไต้หวันเดิมท่านมีชื่อว่า“ หวัง จิ่น หยิน”ในวัยเยาว์ท่านถูกยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของคุณอา จึงนับถือคุณอาและอาสะใภ้เป็นดุจดัง“พ่อแม่”ต่อมาได้ย้ายตามพ่อแม่บุญธรรมไปอยู่ที่เมืองฟงหยวนพ่อบุญธรรมของท่านธรรมาจารย์ทำธุรกิจเกี่ยวกับโรงภาพยนตร์หลายแห่ง ท่านธรรมาจารย์จึงต้องช่วยงานธุรกิจนี้เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของพ่อบุญธรรมตั้งแต่ท่านยังมีอายุไม่ครบยี่สิบปีในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ท่านธรรมาจารย์มีอายุ ๑๕ ปีมารดาได้ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหาร จะต้องรักษาด้วยการผ่าตัดการผ่าตัดในสมัยนั่นนับว่าอันตรายมากดังนั้นท่านจึงสวดมนต์ภาวนาและสวดฉายาเจ้าแม่กวนอิมด้วยความศรัทธาเพื่อสะเดาะเคราะห์ให้แก่มารดา และได้ตั้งจิตอธิฐานว่าถ้าหากมารดาหายจากการเจ็บป่วยครั้งนี้ ท่านจะขอลดอายุขัยของตนเองลงสิบสองปีและจะกินอาหารมังสวิรัติเพื่ออุทิศส่วนกุศลนี้เป็นการเพิ่มอายุขัยให้แก่มารดา

ห้าปีต่อมาขณะนั้นบิดาของท่านมีอายุ ๕๑ ปีเป็นโรคความดันโลหิตสูง วันหนึ่งในเดือนมิถุนายนบิดาของท่านรู้สึกปวดศีรษะอย่างเฉียบพลัน แต่ก็ไม่ได้ใส่ใจนัก เพียงแต่พูดว่า “วันนี้เราสองคนพ่อลูกกินอาหารมังสวิรัติด้วยกันนะ”หลังจากกินอาหารเสร็จแล้วบิดาก็ออกจากบ้านไปทำงาน ต่อมาครู่หนึ่งให้หลัง ท่านธรรมจารย์ก็ตามไปเห็นบิดานอนอยู่บนโซฟาปากก็บ่นว่า“ปวดศีรษะจริงๆ”ท่านธรรมาจารย์จึงรีบให้คนไปตามแพทย์ประจำบ้านมาตรวจดูอาการ พบว่าขณะนั้นความดันโลหิตสูงมาก จึงฉีดยาให้และสั่งให้นอนพักความดันโลหิตจะได้ค่อยๆลดลงแต่ท่านธรรมาจารย์เกรงว่าที่ห้องทำงานมีเสียงรบกวนมากคิดจะให้บิดาไปนอนพักที่บ้านจึงสั่งให้คนขี่สามล้อมารับท่านกลับไปบ้าน(ในสมัยนั่นยังไม่มีรถยนต์ส่วนตัวผู้ที่มีฐานะดีจะมีสามล้อไว้ใช้) แต่เมื่อส่งบิดาถึงประตูบ้านบิดาก็เดินและพูดไม่ได้เสียแล้ว ท่านธรรมจารย์จึงรีบตามแพทย์มาตรวจดูอาการอีกครั้งแพทย์บอกว่า“ อาการเช่นนี้ไม่ควรเคลื่อนย้ายคนไข้ เพราะตอนนี้เส้นโลหิตแดงใหญ่แตกเสียแล้วคงจะหมดหนทางเยียวยาเพื่อช่วยชีวิต”เมื่อท่านธรรมาจารย์ได้ยินเช่นนี้รู้สึกเหมือนถูกสายฟ้าฟาดท่านตำหนิตัวเองที่ไม่ควรรีบร้อนนำบิดากลับบ้านโดยพลการเช่นนี้เลยวันรุ่งขึ้นบิดาของท่านก็ถึงแก่กรรมการเสียชีวิตของบิดาทำให้ท่านธรรมาจารย์เศร้าโศกเสียใจอย่างยิ่งทุกวันมีสภาพเหมือนคนไร้จิตวิญญาณ ตลอดทั้งวันคิดคำนึงเพียงเรื่องเดียวว่า ขณะนี้บิดาไปอยู่ ณ ที่ใด

มีเพื่อนคนหนึ่งพูดกับท่านว่าท่านจะปล่อยให้ชีวิตเป็นแบบนี้ไม่ได้ และได้แนะนำให้ไปที่วัดฟงเหยียนท่านธรรมาจารย์ที่วัดฟงเหยียนได้มอบหนังสือให้แก่ท่านเล่มหนึ่งเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องกฎแห่งกรรมและบอกว่า“โยมเอากลับไปอ่านแล้วจะรู้ว่าพ่อของโยมไปอยู่ที่ไหน”อันที่จริงแล้วหนังสือเล่มนั้นไม่ได้บอกอะไรเลย เพียงแต่เขียนว่า “คนเราเมื่อมีเกิดก็ต้องมีตาย”ต่อมามีเพื่อนอีกคนหนึ่งพาท่านไปที่วัดฉือหยิน เพื่ออ่านหนังสือ“เหลียงหวางเป่าซาน” เมื่อได้อ่านแล้ว ท่านจึงมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่า“คนเราเมื่อตายไปแล้วจะเอาอะไรติดตัวไปไม่ได้จะมีแต่กรรมดีหรือกรรมชั่วที่เราทำในชาตินี้ติดตัวไปเท่านั้น”นับตั้งแต่นั้นมา ท่านจะไปวัดทุกวันและคิดที่จะบวชแต่ช่างเป็นการตัดสินในที่ยากเย็นจริงๆเพราะท่านเป็นบุตรสาวคนโตมีมารดาที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง เจ็บออดๆ แอดๆและยังมีภาระต้องดูแลน้องๆที่ยังเล็กอยู่

ต่อมาท่านธรรมาจารย์ได้พบท่านธรรมาจารย์ซิวเต้าที่วัดฉือหยินท่านได้ถามท่านธรรมาจารย์ซิวเต้าว่า“ผู้หญิงประเภทใดที่มีความสุขที่สุด” ท่านธรรมาจารย์ซิวเต้าตอบว่า “ผู้หญิงที่หิ้วตะกร้าซื้อกับข้าวนั้นแหละเป็นผู้ที่มีความสุขที่สุด”ท่านธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยนยังไม่เข้าใจจึงถามต่อไปว่า “ฉันหิ้วตะกร้าซื้อกับข้าวทุกวัน แต่ทำไมยังเป็นทุกข์อยู่เช่นนี้ท่านธรรมาจารย์ซิงเต้าตอบว่า“รอให้โยมกลับไปคิดพิจารณาก่อนแล้วค่อยมาใหม่ก็แล้วกัน”หลังจากกลับจากวัดแล้ว ท่านธรรมาจารย์ยังคงปฏิบัติภารกิจประจำวันตามปกติคือไปจ่ายตลาดทุกเช้า และจัดการเรื่องธุรกิจและงานบ้านแต่ในใจยังคิดวกวนอยู่กับปัญหาเก่าคือ“ผู้หญิงที่หิ้วตะกร้าซื้อกับข้าวมีอำนาจเต็มที่ที่จะจัดการกับเงินในกระเป๋านั่นคือความสุขที่แท้จริงหรือ”คำพูดของท่านธรรมาจารย์ซิวเต้าช่างน่าสงสัยจริงๆท่านคิดว่าที่จริงผู้หญิงไม่เพียงแต่มีสิทธิที่จะบริหารเงินในกระเป๋าของตนเองไม่เพียงแต่ทำงานเพื่อครอบครัวของตนเท่านั้นน่าจะแบกภาระหน้าที่ของสังคมได้เช่นเดียวกับผู้ชายท่านธรรมาจารย์เริ่มขบคิดอย่างจริงจัง สักวันหนึ่งหากตนเองออกบวชจะพยายามกระจายสังคมที่เปี่ยมด้วยจิตเมตตากรุณาไปสู่มวลมนุษยชาติเอาจิตใจที่รักครอบครัวขยายไปสู่การรักสังคม และสรรพสัตว์โลกนี้จะมีความสุขอย่างแท้จริง ด้วยความคิดเช่นนี้ท่านจึงคิดจะจากบ้านไปโดยลำพังไปยังวัดที่อยู่ห่างไกลสุดหล้าฟ้าเขียวยึดเอาสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นร่มโพธิ์ร่มไทร



ท่านธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยนได้เข้าคารวะท่านธรรมาจารย์ยิ่นซุ่น
และขอให้ท่านธรรมาจารย์ยิ่นซุ่นเป็นพระอุปัชฌาย์ให้ โดยมีฉายาว่า “เจิ้งเอี๋ยน”

ออกบวชเป็นภิกษุณี


ต่อมาท่านธรรมาจารย์เจิ้งเหยียนได้รับการชักชวนจากท่านธรรมาจารย์ซิวเต้าร่วมเดินทางเร่รอนไปยังวัดต่างๆทางฝั่งตะวันออกของเกาะไต้หวัน ในปี พ.ศ.๒๕๐๔ ท้องที่เขตนี้ยังล้าหลังและด้อยพัฒนาทั้งสองท่านได้พบศาลเจ้าเล็กๆมีสภาพปรักหักพังแห่งหนึ่งใช้เป็นที่พักอาศัยอย่างสันโดษ ชาวบ้านแถบนั้นมีฐานะยากจนท่านธรรมาจารย์ทั้งสองจึงไม่ได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบของพุทธศาสนา ท่านไม่รับบิณฑบาตจากชาวบ้านและไม่ประกอบพิธีกรรมใช้ชีวิตอย่างง่ายๆและมีความสุขด้วยการเก็บถั่วลิสงและมันเทศที่หลงเหลือจากการเก็บเกี่ยวของชาวบ้านมาประทังชีวิต

ปลายปี พ.ศ.๒๕๐๔ ท่านธรรมาจารย์ทั้งสองได้มาที่ฮวาเหลียนรู้จักกับอุบาสกอาวุโสท่านหนึ่ง คือ สวี ชงหมิน ซึ่งเป็นศิษย์อาจารย์เดียวกับท่านธรรมาจารย์ซิวเต้าทั้งสามจึงมีความสนิทสนมกัน และท่านธรรมาจารย์ทั้งสองก็ได้อาศัยพักอยู่กับอุบาสกสวี ระยะหนึ่ง ในฤดูหนาวของปี พ.ศ.๒๕๐๕ ท่านธรรมาจารย์ได้ปลงผมของท่านเองเป็น “ภิกษุณี” ซึ่งตามหลักในพุทธศาสนาแล้วการปลงผมจะต้องมีพระอุปัชฌาย์เป็นผู้ปลงให้แต่ก็ไม่ได้รีบร้อนที่จะหาพระอุปัชฌาย์ทุกอย่างปล่อยให้เป็นไปตามฟ้าลิขิตในเดือน กุมภาพันธ์พ.ศ.๒๕๐๖ ท่านธรรมาจารย์เจิ้งเหยียนได้เดินทางไปวัดหลินจี้ในเมืองไทเปเพื่อลงทะเบียนเข้าร่วมในพิธีสมาทานศีลเป็นเวลา ๓๒ วันเพื่อเป็นภิกษุณีอย่างเป็นทางการท่านธรรมาจารย์ได้เดินทางไปไทเปก่อนประกอบพิธีหนึ่งวัน พักอยู่ที่ธรรมศาลาโพธิ์จากนั้นได้ไปสมัครที่วัดหลินจี้ ซึ่งตามกฎข้อบังคับผู้ที่ไม่มีพระอุปัชฌาย์ปลงผมให้จะมาสมาทายศีลไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านจึงต้องกลับไปที่ธรรมศาลาโพธิ์ท่านธรรมาจารย์ฮุ้นยินที่ธรรมศาลาโพธิ์รู้สึกเห็นใจท่านธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยนมากที่ต้องวิ่งวุ่นทั้งวัน แต่ผลสุดท้ายก็ไม่สามารถเข้าร่วมพิธีสมาทานศีลจึงพูดด้วยความเห็นใจว่า“แหม น่าเสียดายจริง ทำไมท่านไม่หาพระอุปัชฌาย์สักที่ล่ะ”ท่านธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยนตอบว่า“ค่อยๆหาเอาก็แล้วกัน”แต่ตอนนี้ท่านต้องการหาซื้อหนังสือ “สรรพนิพนธ์ของท่านธรรมาจารย์ไท่ซี”เพื่อนำกลับไปศึกษาท่านธรรมาจารย์ฮุ้นหยินผู้เมตตาจึงไปเป็นเพื่อนหาซื้อหนังสือดังกล่าว



ผู้อาวุโสสองท่านที่สนับสนุนธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยนตั้งแต่เริ่มแรก
คือโยมแม่ หวางเสิ่นเว่กุ้ย และอุบาสิกา จวงซื่อ


เมื่อไปถึงธรรมศาลา “ฮุ้ยยื้อ” ได้เข้าไปคารวะท่านธรรมาจารย์ยิ่นซุ่น ท่านถามว่า “เป็นชีบวชใหม่ใช่ไหม”ท่านธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยนตอบว่า “เนื่องจากไม่มีพระอุปัชฌาย์จึงบวชไม่ได้” เมื่อซื้อหนังสือแล้วขณะที่ห่อเสร็จฝนได้ตกลงมาอย่างหนัก เจ้าอาวาสยิ้นไห่แห่งธรรมาศาลา “ฮุ้ยยื้อ” เตรียมจะเรียกรถเพื่อส่งท่านธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยนกลับ แต่ท่านยังไม่อยากกลับจึงขอร้องท่านธรรมาจารย์ฮุ้ยยินว่า “ได้โปรดเถิดช่วยกราบเรียนท่านธรรมาจารย์ยิ่นซุ่นว่า ฉันขอปวารณาตนเป็นศิษย์ของท่านได้ไหม” ท่านธรรมาจารย์ฮุ้ยยินพูดว่า “ท่านธรรมาจารย์ยิ่นซุ่นไม่รับเป็นพระอุปัชฌาย์ให้ใครตราบเท่าทุกวันนี้ท่านรับศิษย์เพียงสี่คนเท่านั้นนี่เป็นจำนวนสูงสุดแล้วนะแต่ท่านธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยนก็ได้เพียรอ้อนวอนขอร้อง “ได้โปรดลองพูดให้หน่อยเถอะ” ขณะนั้นพอดีท่านธรรมาจารย์ยิ่งซุ่นเดินออกมาจากห้องเจ้าอาวาสท่านธรรมาจารย์ฮุ้นยินจึงรีบเข้าไปเรียนท่านธรรมาจารย์ยิ่นซุ่นว่าเด็กสาวที่ปลงผมตนเองคนนี้จะขอให้ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ให้ท่านธรรมาจารย์ยิ่นซุ่นมองดูท่านธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยนซึ่งยืนอยู่ด้านหลังของท่านธรรมาจารย์ฮุ้ยยินแล้วผงกศีรษะพูดกับท่านท่านธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยน “จะให้อาตมาเป็นพระอุปัชฌาย์ของเจ้าหรือดูแล้วเราคงถูกชะตากันเป็นพิเศษนะเมื่อบวชแล้วต่อไปก็จงทำทุกอย่างเพื่อพุทธศาสนา และสรรพสัตว์ทั้งปวง” ท่านธรรมาจารย์ยิ่นซุ่นได้ตั้งฉายาให้ว่า “เจิ้งเอี๋ยน”



กระท่อมเล็กๆหลังวัดผู่หมิงท่านธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยนใช้เป็นที่พำนัก
สถานที่แห่งนี้ถือเป็นสถานที่กำเนิด "มูลนิธิฉือจี้แห่งพุทธศาสนา"



วันใดไม่ทำงาน วันนั้นจะไม่รับประทานอาหาร

เมื่อท่านธรรมาจารย์เดินทางกลับถึงฮวาเหลียน อุบาสก สวี ซง หมินได้สร้างกระท่อมเล็กๆหลังวัดผู่หมิงให้ท่านธรรมาจารย์เป็นที่พำนักท่านธรรมาจารย์และสานุศิษย์ที่ติดตามท่านทุกคนทำงานอย่างหนัก ต้องต่อสู้กับลมและฝนบางครั้งต้องอดมื้อ กินมื้อแต่ถึงกระนั้นท่านธรรมาจารย์ก็ยังคงยืดมั่นในปณิธานที่จะไม่รับบิณฑบาตโดยมีแนวคิดว่า ทุกคนมีความทุกข์ยากลำบากมากพออยู่แล้วท่านธรรมาจารย์และลูกศิษย์จะไม่รับประกอบพิธีกรรม และตั้งกฎไว้ข้อหนึ่งว่า “วันใดไม่ทำงานวันนั้นจะไม่กิน” ท่านธรรมาจารย์และลูกศิษย์ทุกคนจะช่วยกันปลูกผักกินเอง จะไปที่โรงงานเก็บเอาด้ายที่โรงงานทิ้งแล้วเอามาถักเสื้อกันหนาว เย็บถุงสำหรับใส่อาหารสัตว์และถักรองเท้าเด็ก เพื่อหารายได้ยังชีพ



สาธุชนที่อยู่ประจำในสมณารามดำรงชีพของตนด้วยการปลุกผัก
โม่แป้ง ทำเทียนใขตามหลักการที่ยืดหมั่นว่า "วันใหนไม่ทำวันนั้นไม่กิน"



ลงมือทำเลย

วันหนึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ท่านธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยนกับเหล่าสานุศิษย์ไปเยี่ยมอุบาสกผู้หนึ่งที่เข้ารับการผ่าตัดที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งที่ฟงหลินขณะที่ท่านธรรมาจารย์เดินออกมาจากห้องคนไข้เห็นเลือดกองใหญ่นองอยู่บนพื้นท่านถามขึ้นว่า “ทำไมบนพื้นมีเลือดมากมายเช่นนี้” มีคนตอบว่าหญิงชาวเขาคนหนึ่งแท้งลูก ญาติได้ใช้แคร่ช่วยกันหามมาใช้เวลาเดินทางบนภูเขาเป็นเวลาถึง ๘ ชั่วโมงกว่าจะมาถึงคนไข้ก็หมดสติแพทย์บอกว่าจะต้องจ่ายเงินมัดจำ ๘,๐๐๐เหรียญก่อน (คิดเป็นเงินไทยประมาณ ๔,๐๐๐ บาทสมัยนั้น) จึงจะลงมือผ่าตัดพวกเขาไม่มีเงินจ่ายทางโรงพยาบาลก็ไม่อยากเสี่ยงต่อการต้องรักษาฟรี พวกเขาจึงไม่มีทางเลือกจำต้องหามคนไข้กลับไป ท่านธรรมาจารย์เมื่อได้ฟังเรื่องราวดังกล่าวแล้วรู้สึกเศร้าสลดใจยิ่งนักท่านเป็นห่วงว่าหญิงผู้นั้นเมื่อถูกหามกลับไปโดยไม่ได้รับการรักษาจะเป็นตายร้ายดีอย่างไรก็มิอาจทราบได้นี่เป็นเพราะเงินตัวเดียว ขณะที่ท่านเดินทางกลับท่านตัดสินใจอย่างแน่วแน่ที่จะหาทางช่วยเหลือผู้ยากไร้ขาดที่พึ่ง



ท่านธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยน เยี่ยมอุบาสก ณ โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งที่ฟงหลิน


ต่อมาไม่นาน มีแม่ชีคาทอลิกสามท่านได้มาเยี่ยมท่านธรรมาจารย์แม่ชีทั้งสามรู้ดีว่าท่านธรรมาจารย์มีปณิธานที่ดีแต่มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้นแม่ชีได้ชักชวนให้ท่านธรรมาจารย์มาเป็นแม่ชีคาทอลิกด้วยแม่ชีทั้งสามรู้สึกว่าศาสนาพุทธไม่ได้ใส่ใจและแก้ปัญหาสังคมอย่างเป็นรูปธรรมพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่จะใฝ่หาธรรมะเพื่อพัฒนาตนเองแต่ท่านธรรมาจารย์เชื่อว่าหลักธรรมของพุทธศาสนาไม่เพียงสอนคนให้รักเพื่อนมนุษย์ด้วยกันแต่ยังสอนให้รักสรรพสัตว์ที่มีชีวิต แม่ชีทั้งสามกล่าวว่าชาวคาทอลิกไม่เพียงแต่จะให้ความรักแก่มนุษย์เท่านั้น ยังมีสถานดูแลคนชรา โรงพยาบาลและโรงเรียน แม้ในเขตภูเขาและเกาะที่อยู่ห่างไกลก็ยังสามารถที่จะพบเห็นบาทหลวงและแม่ชีคาทอลิกให้ความช่วยเหลือด้านอาหารและเครื่องนุ่งห่มแก่ผู้ยากไร้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น