++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554

ทหารเป็นเหยื่อการเมืองเสมอ

ทหารเป็นกลไกของรัฐตามหลักรัฐศาสตร์ มีหน้าที่ปกป้องอธิปไตยของชาติ ตามรัฐธรรมนูญของไทยแล้วทหารต้องมีหน้าที่เพิ่มอีก 2 ประเด็นคือ การปกป้องและดำรงไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์เจ้า และการพัฒนาประเทศ

ตามหลักการสากลแล้วสถาบันทหารเป็นเครื่องมือของรัฐในการป้องปรามมิให้มีชาติ อื่นใดมาล่วงละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดน ซึ่งแปลตรงๆ ก็คือ การกระทำใดๆ ของรัฐบาลที่แสดงให้ชาติอื่นเห็นว่ากองทัพแห่งตนมีแสนยานุภาพปกป้องรักษา อธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดนอย่างเฉียบขาด ฉับพลัน

แต่เมื่อรัฐบาลไม่ได้ใช้เครื่องมืออย่างถูกทางแล้ว ทหารก็คงไม่สามารถที่จะกระทำการใดๆ ได้ เพราะว่าไม่มีคนรับผิดชอบ ดังนั้น การยิงตอบโต้บริเวณชายแดนของทหารไทยจึงเป็นเพียงการเตือนเพื่อนบ้านเท่านั้น เช่น กับฝ่ายเขมร เหมือนว่า “ยิงเข้ามาในบ้านข้าทำไม” ก็แค่นั้นเอง แต่การที่จะกดดันให้เขมรสำนึกนั้นต้องให้รัฐบาลสั่งการให้ทหารใช้กำลังกดดัน เขมรด้วยวิธีของทหารเอง ให้ยุติการยั่วยุด้วยความฉับไวและรุนแรงพอที่ทำให้ฝ่ายเราเจรจาได้เปรียบ

ในยุคสงครามเวียดนามที่มีการต่อสู้ระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่ง ประเทศไทย ซึ่งหลายครั้ง พคท.ได้รับการช่วยเหลือจากเพื่อนบ้าน ซึ่งในยุค พ.ศ.2517 เป็นต้นมา ทั้งลาวและเขมรเป็นคอมมิวนิสต์ไปหมดแล้ว และมีกองทัพต่างชาติ เช่น อดีตโซเวียต และเวียดนามเข้าช่วยเหลือและบงการ ทำให้รัฐบาลไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งสมัยที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เกรงภัยรุกรานจากคอมมิวนิสต์นอกประเทศ ทำให้รัฐบาล พล.อ.เปรม ออกคำสั่งชัดเจนในการป้องกันประเทศด้วยความเด็ดขาดและรุนแรงตามสถานการณ์ รวมทั้งให้กองทัพสามารถรุกไล่ติดตามลึกเข้าไปในดินแดนข้าศึกได้ในรัศมีไม่ เกิน 10 กิโลเมตร และด้วยเหตุนี้กองทัพไทยในยุคนั้น จึงเป็นกลไกของรัฐในการป้องกันรักษาอธิปไตยเหนือดินแดนที่แท้จริง

ด้วยความเด็ดขาดและกล้ารับผิดชอบของ พล.อ.เปรม ทำให้ทุกเหล่าทัพรักษาแนวเขตแดนได้อย่างแข็งขันและเด็ดขาด มิฉะนั้นแล้วกองทัพประเทศเพื่อนบ้านและกองโจรที่มีคอมมิวนิสต์โซเวียตและ เวียดนามในตอนนั้นหนุนหลัง จะสามารถรุกแทรกซึมเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยล้มระบอบการ ปกครองของไทย และเหตุนี้เองทำให้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยแตกเป็นสองส่วน คือ ส่วนที่เป็นฝ่ายอนุรักษ์แนวคิดเดิม คือ ปฏิวัติด้วยคนไทยเอง กับอีกฝ่ายหนึ่งที่ต้องการปฏิวัติด้วยการนำเข้ากองกำลังต่างชาติเข้ามาช่วย ซึ่งเรื่องนี้ถูกกล่าวไว้ในหนังสือชื่อป่าแตกถึงความแตกแยกทางอุดมการณ์ของ เหมาเจ๋อตุงโดยกลุ่มอนุรักษ์กับกลุ่มใหม่ที่ไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติอย่าง จีน แต่นิยมการปฏิวัติแบบโซเวียตที่มีความรุนแรงสูงสุด

ในยุคนั้นมีการสู้รบขั้นรุนแรง มีการใช้กำลังทางอากาศโจมตีที่หมายทางทหารบริเวณแนวชายแดน ทำให้การแทรกซึมของกองทัพต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขมรแดง ซึ่งมักจะรุกเข้ามาในเขตไทย เพราะหนีกองทัพเวียดนาม

ปัจจุบันสถานการณ์การสู้รบหมดไปและทุกชาติโดยรอบเป็นสมาชิกอาเซียนร่วมมือ กันหลายด้านแต่ปัญหาเส้นเขตแดนไม่ได้หมดไปด้วย หลักการป้องปรามไม่ได้ถูกประยุกต์ใช้จนเกิดความหละหลวมในการรักษาพื้นที่ชาย แดน โดยเฉพาะด้านเขาพระวิหาร การเจรจาของคณะกรรมการชายแดนไม่ได้ผลตามวัตถุประสงค์ เพราะยังหาข้อยุติไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่องความถูกต้องของแผนที่ และหลักการในการกำหนดแนวเขตแดน ซึ่งฝ่ายเขมรก็จะคงใช้แผนที่และการกำหนดแนวเขตแดนตามหลักการและวิธีการเดิม ที่ฝรั่งเศสทำไว้เมื่อครั้ง ร.ศ. 112 เพราะฝ่ายเขาเป็นฝ่ายชนะเราในศาลโลก

ดังนั้น รัฐบาลต้องเด็ดขาดและรับผิดชอบในการใช้กำลังทหาร หรือต้องแสดงเจตนารมณ์ให้กองทัพรับรู้ว่ารัฐบาลรับผิดชอบในขอบเขตการปฏิบัติ ของทหารกับเพื่อนบ้าน และโดยเฉพาะในกรณีการใช้กำลังทหารรักษาความสงบเรียบร้อยในเมือง ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก และทำให้ทหารเป็นจำเลยสังคมเสมอทั้งสองกรณี

การที่นักวิชาการและนักการเมืองออกมาวิจารณ์กองทัพว่าอ่อนแอ โดยเฉพาะการที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ 4 คน นำโดยนายประเสริฐ พงศ์สุวรรณศิริ ส.ส.จังหวัดยะลา ออกมาวิจารณ์ผู้บัญชาการทหารบก ทั้งยังเสนอให้ปลด ผบ.ทบ.ออกจากตำแหน่ง เนื่องจากล้มเหลวในการแก้ปัญหาภาคใต้ ซึ่งเป็นเรื่องไร้สาระอย่างแท้จริง เพราะประการแรกผู้บัญชาการทหารบก เพิ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อ 1 ตุลาคม ในปีที่แล้ว ยังไม่ถึง 6 เดือนด้วยซ้ำไป ประการที่สอง ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เรื้อรังมาหลายปีแล้ว และรุนแรงกว่าในช่วง พ.ศ. 2542 – 2547 หากเทียบกับปัจจุบัน

ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความซับซ้อนมาก และมีมาตั้งแต่ครั้งปลายสมัยของกรุงศรีอยุธยา หมักหมมมาจนปัจจุบันในเนื้อหาเดียวกัน คือ กระบวนการแยกดินแดน แต่ปัจจุบันมีความยุ่งยากซับซ้อนทุกมิติ ทั้งวัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองภายในและภายนอกประเทศ นอกจากนี้แล้วยังมีองค์ประกอบในเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบอาวุธแสวงเครื่องพัฒนาได้สะดวกง่ายดายขึ้นกว่าในอดีต ทำให้ไม่ใช่เรื่องง่ายที่รัฐบาลหรือกองทัพจะแก้ปัญหาได้ง่ายๆ หรือเมื่อแก้ปัญหาหนึ่งได้สำเร็จ ปัญหาใหม่ก็เกิดขึ้น ทำให้ปัญหาภาคใต้เป็นปัญหาที่ต้องใช้เวลา และต้องปฏิบัติตามพระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงให้ไว้ว่า “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา”

อีกด้านหนึ่งของการเมืองที่กำลังจะทำลายขวัญกองทัพ คือ การอภิปรายถอดถอนรัฐมนตรีในรัฐบาลนี้โดยพรรคเพื่อไทย ที่กำหนดหัวข้อหนึ่งเรื่องการสลายคนเสื้อแดงเมื่อพฤษภาคม ปีที่แล้ว ซึ่งในการนี้พรรคฝ่ายค้านมีฐานเป็นคนเสื้อแดงที่หวังก่อการปฏิวัติประชาชน และแกนนำถูกจับในข้อหาก่อการร้าย เพราะเป็นการซ่องสุมผู้คน เผาบ้านเผาเมือง ยึดพื้นที่เมือง ทำให้เขตธุรกิจในเมืองหลวงเป็นอัมพาต

ขณะที่รัฐบาลและกองทัพใช้เวลาในการป้องกันมิให้การยึดพื้นที่เมืองขยายตัว รวมทั้งป้องกันมิให้ฝ่ายเสื้อแดงยึดโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งจะเป็นการยกระดับสร้างตัวประกัน และเมื่อรัฐบาลภายใต้แรงกดดันของคนไทยทั้งประเทศ และสั่งให้กองทัพปฏิบัติการยึดพื้นที่ประกันคืน

ดังนั้น การอภิปรายรองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง เรื่องการสลายคนเสื้อแดงจะเป็นการปรักปรำทหาร เพื่อให้ทหารเสียชื่อและเป็นการปรามทหารไม่ให้ปฏิบัติการต่อต้านการปฏิวัติ ประชาชนในอนาคต ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติเป็นอย่างมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น