++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2554

รศ.นายแพทย์ ม.ล.ชาครีย์ กิติยากร : มะเฟือง...พิษมะเฟืองถึงตาย ผู้ป่วยไตกลุ่มเสี่ยง

มะเฟือง...พิษมะเฟืองถึงตาย ผู้ป่วยไตกลุ่มเสี่ยง หลายเสียงเล่าลือกันถึงเรื่องของพิษที่มีอยู่ใน...
"มะเฟือง" ส่งผลทำให้มีอันตรายถึงชีวิตจากภาวะไตวายเฉียบพลัน

เพื่อ ให้คลายสงสัย รศ.นายแพทย์ ม.ล.ชาครีย์ กิติยากร อายุรแพทย์ หน่วยโรคไต
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ให้ความกระจ่างว่า...

มะเฟืองเป็นผลไม้เขตร้อนที่คนไทยรู้จักมา เนิ่นนาน แต่ในจำนวนคนไทย 67 ล้านคน
มีน้อยคนนักที่จะทราบว่า...พิษของมะเฟืองมีผลต่อสุขภาพของไต
และ...อาจทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้

คุณหมอชาครีย์ บอกว่า "ไต"... เป็นอวัยวะหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อระบบในร่าง
กายข องเรา มีรูปร่างคล้ายเม็ดถั่วเหลือง มี 2 ข้างอยู่บริเวณบั้นเอว
ไตเป็น ส่วนหนึ่งของระบบทางเดินปัสสาวะ ส่วนที่ต่อจากท่อไต (URETER) ซึ่งจะ
นำปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ และเข้าสู่ท่อปัสสาวะ (URETHRA) ในเพศชาย
จะมีต่อมลูกหมากอยู่โดยรอบท่อปัสสาวะ

หน้าที่สำคัญของไต

หนึ่ง...ขับถ่ายของเสียที่เกิดจากการแตกตัวของโปรตีน ในอาหารออกจากร่างกาย

สอง...รักษาสมดุลของน้ำ เกลือแร่ กรดและด่างของร่างกายให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

สาม...ควบคุมความดันโลหิต

สี่...สร้างฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงในไขกระดูก

ความ หมายของภาวะไตวาย คือ ภาวะที่มีการสูญเสียการทำงานของไต แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
ชนิดแรก...ไตวายเรื้อรัง คือการสูญเสียการทำงานของไต ที่เป็นไปอย่างช้าๆ และถาวร
ช่วงเวลาอาจตั้งแต่ 1-2 ปี จนถึง 10 ปีขึ้นไป จนในที่สุดเข้าสู่ภาวะสุดท้ายของ
ไตวาย (END STAGE RENAL FAILURE)
ซึ่งหมายถึง ภาวะที่ต้องการการรักษาแบบทดแทน เช่น ฟอกเลือด, เปลี่ยนไตเพื่อให้
ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้

ชนิด ที่สอง...ไตวายเฉียบพลัน ช่วงเวลาที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นชั่วโมง หรือ เป็นวัน ทำให้
เกิดการคั่งของของเสียทำให้เกลือแร่ กรด ด่างและการควบคุมปริมาณน้ำในร่างกายผิดปกติ
"ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ผู้ป่วยเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีปริมาณปัสสาวะ
ต่อวันน้อย กว่า 400 ซีซี"

คุณหมอชาครีย์ บอกอีกว่า สาเหตุของไตวายเฉียบพลัน มีหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่
เกิดจากความผิดปกติของการไหลเวียนโลหิตในร่างกาย...การอุดตัน ผู้ป่วยที่ช็อก
จากการติดเชื้อ, เสียเลือดจำนวนมากหรือขาดน้ำอย่างรุนแรงจากท้องเสีย

การใช้คำว่า "เฉียบพลัน" นอกจากบ่งถึงช่วงเวลาระยะสั้นที่เกิดขึ้นแล้ว ยังบ่ง
ถึงความเป็นไปได้ ที่ไตจะกลับสู่ภาวะปกติได้

คนไทยรู้จักมะเฟืองมานาน นิยมรับประทานเป็นผลไม้สด หรือคั้นเป็นน้ำผลไม้ หรือ
รับประทานผลดิบเป็นผัก เช่น ในอาหารเวียดนาม

"ในบ้านเรามีรายงานเกี่ยวกับคนไข้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันหลังการรับประทาน
ผลสดหรือน้ำมะเฟืองจำนวนมาก...เนื่องจากมะเฟืองเป็นพืชที่มีสารออกซาเลต
สะสมอยู่เป็นจำนวนมาก
ปกติแล้วออกซาเลตสามารถละลายและถูกดูดซึมได้อย่าง อิสระ แล้วถูกขับออกทางไต
โดยสาเหตุของไตวายเฉียบพลันนั้น เพราะไตเป็นแหล่งที่มีสารต่างๆหลายชนิด
เมื่อสารออกซาเลตในมะเฟืองจับตัวกับแคลเซียมที่อยู่ในไต จะกลายเป็น...ผลึกนิ่ว
ออกซาเลต ผลึกนิ่วจำนวนมากตกตะกอน หรืออุดตันในเนื้อไต และท่อไต...ทำให้
ไตวายหรือสูญเสียการทำงานไป"

แต่กระนั้น...การเกิดภาวะไตวายไม่ได้เกิดกับผู้ป่วยทุกราย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
ปริมาณที่รับประทาน และภาวะพร่องหรือขาดน้ำในผู้ป่วย

หน่วย โรคไต โรงพยาบาลรามาธิบดี เคยพบกรณีคนไข้ในประเทศไทยมีอาการไตวายเฉียบ
พลัน จากการได้รับภาวะพิษจากการรับประทานผลมะเฟือง และได้ส่งรายงานไปต่างประเทศ

ผู้ป่วยที่มีภาวะพิษต่อไต...เกิดขึ้นในหลายชั่วโมงถัดมา หลังรับประทานผลมะเฟือง
ผู้ป่วยจะมาด้วยภาวะไตวายเฉียบพลัน กล่าวคืออาจจะมีปัสสาวะออกน้อยลง, บวมน้ำ,
ความดันโลหิตสูงขึ้น, น้ำท่วมปอด, อ่อนเพลีย

หรือ...บางรายอาจมาด้วยอาการสะอึก เนื่องจากของเสียในร่างกายคั่ง จากการที่ไต
ไม่สามารถขับของเสีย และน้ำส่วนเกินออกจากร่างกายได้
และ...อาจจะต้องได้รับการฟอกเลือดล้างไตในที่สุด

พบ ด้วยว่า ถ้ามีภาวะไตวายเฉียบพลันเกิดขึ้น หลังหยุดรับประทานมะเฟืองผู้ป่วย
เดิมที่มีไตปกติ กว่าไตจะกลับมาทำงานได้ตามปกติอาจใช้เวลานาน ประมาณ 3-4
สัปดาห์ แต่หากเป็นผู้ป่วยที่มีโรคไตเดิมอยู่ก่อนแล้ว การทำงานของไต อาจจะดีขึ้นบ้าง
แต่ไม่กลับมาเท่าเดิม และอาจจะต้องฟอกไตถาวร

ผลการ ศึกษาปัจจัยการเกิดโรค พบว่าขึ้นอยู่กับชนิดมะเฟือง...มะเฟืองเปรี้ยวมี
โอกาสเกิดโรคมากกว่ามะเฟือง ชนิดหวาน เนื่องจากมีปริมาณกรดออกซาลิคมากกว่า
"ถ้ารับประทานผลสด หรือผลไม้คั้น จะมีโอกาสเกิดโรคมากกว่า แต่ถ้าผ่านการดอง
หรือแปรรูปหรือเจือจางในน้ำเชื่อม เช่น...ในน้ำมะเฟืองสำเร็จรูปจะทำให้ปริมาณ
ออกซาเลตลดน้อยลง"

ปริมาณที่รับประทาน พบว่าระดับออกซาเลต ที่เป็นพิษต่อร่างกายมีค่าตั้งแต่ 2-30
กรัมของปริมาณออกซาเลต...ผลมะเฟืองเปรี้ยวมีออกซาเลต ประมาณ 0.8 กรัม
ในขณะที่มะเฟืองหวานมีออกซาเลต 0.2 กรัม

สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคไตอยู่เดิมอาจมีไตวายเฉียบพลันจากการรับประทานมะเฟือง
เพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ ระดับความรุนแรงยังขึ้นอยู่กับภาวะพร่องหรือขาดน้ำ
จากการรายงานผู้ป่วยที่มีภาวะไตวาย

หลังรับประทานมะเฟือง พบว่าผู้ป่วยดื่มน้ำมะเฟืองหลังจากการทำงานหนักหรือสูญ
เสียเหงื่อมาก จะยิ่งมีโอกาสเกิดโรคมากขึ้นเนื่องจากผลึกแคลเซียมออกซาเลตจะอิ่มตัว
และตกผลึกง่ายขึ้นในเนื้อไต
ในผู้ที่มีไตเรื้อรังอยู่ก่อนโดยเฉพาะ ผู้ที่ไตวายต้องล้างไตแล้ว มะเฟืองมีผล
ต่อระบบประสาทด้วย มีรายงานในผู้ป่วยกว่า 50รายทั่วโลก...มะเฟืองอาจมีสารที่
เป็นพิษกับระบบประสาท ซึ่งผู้ป่วยอาจมีความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลงไปจากการที ่
สมองบวมจากการที่มีผลึกนิ่วออกซาเลตไปเกาะสมอง หรือการที่มะเฟืองมีสารพิษ
อื่นที่กระตุ้นสมอง
สารพิษต่อสมองนี้จะสะสมในภาวะไตวาย ดังนั้น...การเกิดพิษลักษณะนี้พบได้น้อยมาก
ในคนปกติและผู้ป่วยมักต้องรับประทานผลมะเฟืองเป็นจำนวนมาก"ผู้ป่วยไตวายอาจ
มีอาการทางสมองหลังรับประทานมะเฟืองทั้งชนิดหวานและชนิดเปรี้ยวเพียง...หนึ่งผล
อาการ...มักเริ่มไม่กี่ชั่วโมงหลังรับประทานมะเฟือง โดยผู้ป่วย
จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน สะอึก ตามด้วยภาวะซึมหรือชัก
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะดีขึ้นหลังหยุดรับประทานมะเฟือง หลังการล้างไตเพื่อเอาพิษ
มะเฟืองออก...อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่ามีผู้ป่วยเสียชีวิตหลังรับประทานมะเฟือง"

น่าสนใจที่ว่า ก่อนหน้านี้ไม่ค่อยได้ยินข่าวผู้ป่วยจากพิษมะเฟือง เป็นไปได้ ว่า
ที่ผ่านมามะเฟืองไม่ได้เป็นที่นิยมมากนัก
ผลผลิตมะเฟืองในแต่ละปีก็มีจำนวนไม่มากอย่างผลไม้อื่นๆ คน
ส่วนใหญ่จะรับประทานในปริมาณน้อย และไม่รับประทานมะเฟืองเปรี้ยว

แต่ ในช่วงหลังๆมานี้...ได้มีบทความแพร่ทางสื่อออนไลน์ชวนให้รับประทานมะเฟือง
สด โดยชี้แนะประโยชน์ทางสุขภาพ เช่น ลดน้ำตาลในเลือดหรือช่วยรักษาโรคอื่นๆ
จึงอาจทำให้มีคนเชื่อ หันมาบริโภคมะเฟืองกันมากขึ้น

ปัจจุบันยัง ไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ระบุชัดเจนถึงประโยชน์ของ มะเฟือง
ดังนั้น จึงขอให้ประชาชนระมัดระวังมะเฟืองสดเป็นผลไม้ที่น่าจะเกิดโทษกับผู้ที่รับประทานมากเกินกว่าที่ร่างกาย จะทำลายพิษได้

และ...ขึ้นอยู่กับสุขภาพของผู้บริโภคที่มีความ เสี่ยง ต่อภาวะไตวาย ผู้บริโภคสุขภาพปกติทานได้แต่ในปริมาณไม่มาก...ผู้ป่ วยที่มีนิ่วในไตควรหลีก
เลี่ยง...โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีไตเสื่อม หรือมีความเสี่ยงต่อโรคไต
ห้ามทานมะเฟืองทั้งเปรี้ยวและหวานเด็ดขาด

คุณ หมอชาครีย์ย้ำทิ้งท้ายว่า โรคไตมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และมีค่าใช้จ่าย
ค่อนข้างสูง ผู้รักสุขภาพควรเอาใจใส่ต่อโภชนาการที่เหมาะสม
และตรวจสุขภาพไตเป็นประจำทุกปี.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น