เภสัชฯ จุฬา คิดค้น“ฟ้าหอม-นาโนไบโอเซลลูโลส” นวัตกรรมผลงานวิจัยใช้บำรุงผิวพรรณ ลดริ้วรอย เพิ่มมูลค่าที่เหลือใช้ทางการเกษตร
รศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ ภาควิชาเภสัชกรรมปฎิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 รางวัลการออกแบบเชิงนวัตกรรม Design Innovation Contest 2010” (DIC 2010) สาขา green design จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2553 ในงานวันนวัตกรรม กับงานวิจัยดังกล่าวมีชื่อว่า “ฟ้าหอม-นาโนไบโอเซลลูโลส”
ซึ่ง รศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ บริษัท พีไอพี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้สร้างสรรค์นวัตกรรมจากน้ำมะพร้าวแก่ซึ่งจัดเป็นผลผลิตเหลือใช้ทางการเกษตรที่ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะแก่สิ่งแวดล้อมหากทิ้งไปในธรรมชาติ
"การนำมาพัฒนาเป็นฟ้าหอม-นาโนไบโอเซลลูโลสเพื่อใช้เป็นแผ่นมาร์สบำรุงผิวหน้าดวงตาและลำคอ จากประสิทธิภาพและคุณค่าที่โดดเด่นของสารอาหารในมะพร้าวที่มีต่อผิวพรรณในการเพิ่มความชุ่มชื้นและลดริ้วรอยได้ถูกนำมาผสมกับเชื้อจุลินทรีย์ Acetobacter xylinum เพื่อพัฒนาเป็นแผ่นนาโนไบโอเซลลูโลส ที่มีลักษณะบางเบา แนบสนิทกับผิวหนังได้ดีเสมือนผิวหนังชั้นที่ 2 เส้นใยของแผ่นฟ้าหอม-นาโนไบโอเซลลูโลสยังมีความละเอียดมากกว่าแผ่นมาร์สที่ผลิตจากผ้าหรือกระดาษไม่ต่ำกว่า 200 เท่า จึงไม่ก่อให้เกิดความระเคืองต่อผิว ฟ้าหอม-นาโนไบโอเซลลูโลสยังถูกพัฒนาคุณสมบัติเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถปลดปล่อยสารบำรุงผิวออกมาได้อย่างต่อเนื่องและเนิ่นนาน ไม่ติดผิว"
นอกจากนี้ รศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ได้พัฒนาคุณสมบัติในการบำรุงผิวของฟ้าหอม-นาโนไบโอ
เซลลูโลสโดยเพิ่มสารบำรุงผิว ได้แก่ โปรตีนกาวไหม ที่มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนให้แก่ผิวหนังและคงคุณค่าของผลผลิตทางการเกษตรของไทยที่สร้างชื่อเสียงไปทั่วโลก มาร์สฟ้าหอม-นาโนไบโอเซลลูโลสผสมโปรตีนกาวไหมนอกจากจะมีคุณสมบัติดีเยี่ยมในการบำรุงผิวที่ลึกล้ำโดยไม่ก่อให้เกิดความระคายเคืองแล้ว ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเนื่องจากสามารถย่อยสลายได้ 100% ในธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ที่เหลือใช้ทางการเกษตรของไทยให้เกิดประโยชน์และเป็นที่ยอมรับระดับสากล
ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่นของมาร์สฟ้าหอม-นาโนไบโอเซลลูโลส ทำให้ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับรางวัลจาก
การประกวด “Innovated Enterprise of Functional & Fermented Food” โดยกระทรวง
พาณิชย์ อุตสาหกรรมและพลังงานของสาธารณรัฐเกาหลีใต้ รวมถึงได้รับการขึ้นทะเบียนวัสดุในฐานข้อมูลของห้องสมุดวัสดุเพื่อการออกแบบ (Material ConneXion Library) แหล่งรวบรวมข้อมูลวัสดุที่น่าสนใจและนวัตกรรม ระดับโลกที่มีสาขาในประเทศต่างๆ ทั่วโลก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น