ไข่ฟองกลมๆ เหล่านี้จะช่วยรักษารูปร่างคุณให้ดี หรือส่งผลร้ายต่อสุขภาพของคุณกันแน่
น้อยกว่า 3 ฟองต่อสัปดาห์ ..... ไม่เพียงพอ
การไม่ทานไข่อาจส่งผลเสียต่อเส้นประสาทสมองได้นะ ไข่ฟองเล็กๆ หนึ่งฟอง มีปริมาณวิตามินบี 12 ซึ่งดีต่อร่างกายมากกว่าปริมาณมาตรฐานที่แนะนำ ให้บริโภคต่อวันเสียอีก "วิตามินบี 12 จำเป็นต่อการสร้างเยื่อหุ้มป้องกันเส้นใยประสาท" อะแมนดา เออร์เซลล์ นักโภชนาการและผู้เขียนหนังสือ Complete Guide to Healing Foods กล่าว "ถ้าขาดวิตามิน เส้นใยประสาทอาจถูกทำลายจนฟื้นฟูกลับคืนมาไม่ได้"
นอกจากนี้ไข่ยังดีต่อสายตาคุณโดยเมื่อไม่นานมานี้มีผลการศึกษาจากอเมริกาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Nutrition ได้ค้นพบว่า การทานไข่อย่างน้อย 3 ฟองต่อสัปดาห์จะช่วยป้องกันภาวะสูญเสียสายตาที่มักเกิดขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้นได้ เพราะสารลูทีนและซีแซนทีนซึ่งเป็นสารรงควัตถุในตระกูลแคโรทีนอยด์ ในไข่แดงจะช่วยบำรุงจอประสาทตานั่นเอง
6 ฟองต่อสัปดาห์ ..... ปริมาณที่พอดี
ไข่เจียวถือเป็นยาบำรุงร่างกายได้เลย เพราะนอกจากไข่จะช่วยให้ร่างกายคุณดูดซึมแคลเซียมได้ดีแล้ว ยังช่วยลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน แถมปริมาณสารซีลีเนียมและวิตามินอี ในไข่ยังช่วยป้องกันโรคหัวใจ ทั้งยังช่วยป้องกันไม่ให้คุณมีหุ่นกลมเป็นไข่อีกด้วย ผลวิจัยจากมหาวิทยาลัยหลุยส์เซียนาสเตท พบว่า คนที่ทานมื้อเช้าโดยมีไข่เป็นส่วนประกอบ จะลดน้ำหนักได้มากกว่าคนที่ไม่ทานไข่ในมื้อเช้าได้ถึง 65 เปอร์เซ็นต์ เมื่อบริโภคแคลอรี่ในปริมาณที่เท่ากัน
"โปรตีนในไข่จะทำให้คุณรู้สึกอิ่มขึ้น ถึง 50 เปอร์เซนต์ และยังทำให้คุณลดปริมาณมื้อเที่ยงที่ทานโดยเฉลี่ยได้อีก 164 แคลอรี่" นิคิล ดูเรนดาร์ ผู้เขียนงานวิจัยกล่าว แต่ถ้าคุณอยากสร้างกล้ามเนื้อก็ไม่ต้องกังวล เพราะงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทกซัสเอแอนด์เอ็ม พบว่า การทานไข่วันละ 3 ฟอง เป็นเวลา 2 วัน ต่อสัปดาห์จะช่วยหนุ่มนักเล่นเวตทั้งหลายสร้างกล้ามเนื้อที่ปราศจากไขมันได้เป็น 2 เท่าในช่วงเวลา 12 สัปดาห์ แล้วเรื่องคอเลสเตอรอลที่เล่าลือกันล่ะ "จริงค่ะ ไข่มีคอเรสเตอรอล" พาเมลา ไดสัน นักโภชนาการแห่งสมาคมโภชนาการประจำสหราชอาณาจักร กล่าว
"แต่จัดว่ามีผลน้อยมากต่อการเพิ่มระดับ คอลเรสเตอรอลในเลือด เมื่อเทียบกับปริมาณไขมันอิ่มตัวที่คุณบริโภคอยู่ทุกวัน" นอกจากนี้ผลการวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ ของมหาวิทยาลัยคอนเนติคัตยัง พบว่า การทานไข่ช่วยลดคอเรสเตอรอล LDL (ไม่ดี) เพิ่มคอเรสเตอรอล HDL (ดี) และลดปัจจัย=
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น