++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

"เต้าหู้" ป้องกันสารพัดโรค

ตามตำนานเล่าขานกันว่า กำเนิดของเต้าหู้นั้นมาจากพระประสงค์ของเจ้าชายในราชวงศ์ฮั่น ซึ่งบัญชาให้พ่อครัวบดถั่งเหลืองเป็นผงแล้วนำไปต้มเป็นแกงจืดถวายพระมารดา ซึ่งกำลังประชวร ความที่เกรงว่าน้ำแกงจะจืดจนเสวยไม่อร่อย เจ้าชายจึงมีรับสั่งให้พ่อครัวปรุงรสด้วยเกลือ แต่กว่าจะนำไปถวายแกงจืดถั่วเหลืองถ้วยนั้นก็จับตัวเป็นก้อนสีขาวอ่อนนุ่ม ซึ่งพระมารดาเสวยแล้วโปรดปรานมาก เจ้าชายจึงให้พ่อครัวเสาะหาที่มาจนพบว่า มีเกลือบางชนิดทำให้น้ำถั่วเหลืองเกิดการเกาะตัวเป็นก้อนกลายเป็น "เต้าหู้" อาหารสุดยอดโปรตีนที่เรากินกันมาจนถึงทุกวันนี้



ส่วนที่ญี่ปุ่นนั้น พระญี่ปุ่นซึ่งกลับจากการศึกษาพระพุทธศาสนาในจีน เป็นผู้นำเต้าหู้ไปเผยแพร่ตั้งแต่สมัยนาระ แต่ในเบื้องต้นกินกันเฉพาะในหมู่พระสงฆ์องค์เจ้าแล้วจึงแพร่หลายไปในหมู่ชน ชั้นขุนนางและซามูไร จวบจนถึงสมัยเอโดะ ชาวบ้านร้านตลาดในญี่ปุ่นจึงได้ลิ้มรสชาติอันล้ำเลิศของเต้าหู้

ข้อมูลทางโภชนาการระบุว่า เต้าหู้มีโปรตีน 7.4% ไขมัน 3.1% น้ำตาล 2.7% นอกจากนี้มังมี วิตามิน เกลือแร่ และกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายอีกมากมาย ที่สำคัญที่สุดก็คือ สารอาหารในเต้าหู้ร่างกายสามารถย่อยสลายได้ง่าย จึงเหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่มีระบบย่อยไม่ดี หรือแม้แต่เด็กเล็กที่ฟันยังงอกไม่สมบูรณ์ ก็สามารถกินเต้าหู้ได้

ในเต้าหู้มีแคลเซียมมากกว่าพืชพักผลไม้ หลายๆ ชนิดจึงเหมาะสำหรับสตรีวัยทอง เพราะบริโภคและป้องกันโรคกระดูกพรุนได้

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแข็งตัว และโลหิตจางจากการกินเต้าหู้เป็นประจำจะช่วยบรรเทาโรคได้ เพราะมีแร่ธาตุต่างๆที่ร่างกายดูดซึมได้ง่าย ทั้งยังช่วยปรับภูมิคุ้มกันให้ กลับเข้าสู่ภาวะปกติ

ผลการวิจัยโปรตีนในถั่วเหลือง พบว่าเป็นโปรตีนที่ดีช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไป ทั้งมีเส้นใยสูง ช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้

ที่สำคัญเต้าหู้ยังมีสารป้องกันอันตรายจากมะเร็งและลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคหัวใจได้อีกด้วย

ส่วนทัศนะของแพทย์แผนจีนก็ระบุว่า เต้าหู้มีรสหวาน มีลักษณะเย็นใช้บำรุงกำลังและปรับธาตุให้เป็นกลาง ระงับอาการท้องเสียและชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกายได้

ทั้งอร่อย ทั้งดี มีประโยชน์มากถึงเพียงนี้ เห็นทีจะไม่กินเต้าหู้ไม่ได้แล้ว จะเอาไปนึ่ง ไปทอด ไปต้ม หรือไปทำเป็นของหวานไว้กินก็ตามแต่ใจเถิดจ้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น