++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

รศ.ดร.ทวิช จิตรสมบูรณ์ ด๊อกเตอร์รากหญ้า มทส. คิด “แพลอยน้ำท่อพีวีซี” น้ำท่วมอีกทีก็ไม่หวั่น

น้ำท่วมทีไร ผู้ประสบภัยก็ร้องหาเรือจากทางการ ส่วนพ่อค้าหัวใสก็รีบซื้อเรือมาโก่งราคาขายต่อให้ชาวบ้าน ในมุมมองของนักวิจัยสาขาวิศวกรรม มทส. ผู้เรียกตนเองว่า "ด๊อกเตอร์รากหญ้า" จึงคิดค้นนวัตกรรมง่ายๆราคาถูกที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ผลจริง แถมยังหาอุปกรณ์ในการประดิษฐ์ได้แสนง่าย นั่นคือ “แพลอยน้ำจากท่อพีวีซี”



รศ.ดร.ทวิช จิตรสมบูรณ์ หัวหน้าโครงการเทคโนโลยีไทยโบราณ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ซึ่งเรียกตนเองว่า ด๊อกเตอร์รากหญ้า โดยมีที่มาจากคุณแม่ เนื่องจากเห็นว่าเพราะเห็นว่าอาจารย์ท่านนี้ ชอบทำอะไรแต่เรื่องรากหญ้า เรื่องหรูหราแบบด๊อกเตอร์ท่านอื่น ไม่เห็นทำเป็นเหมือนเขาเลย

แต่ในความเป็น ด๊อกเตอร์รากหญ้า ก็ทำให้ รศ.ดร.ทวิช คิดค้นสิ่งใกล้ตัวที่นำมาใช้ประโยชน์ได้จริง เป็นรูปธรรม และมีราคาไม่แพง อย่างเช่น “แพลอยน้ำจากท่อพีวีซี” ที่นำมาใช้กับสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นได้อย่างทันเหตุการณ์



“ผมได้เสนอการใช้ขวดน้ำขนาดใหญ่ 20 ลิตรในการสร้างแพลอยน้ำมาแล้ว และได้ทดลองสร้างได้ผลมาแล้ว โดยใช้ขวด 10 ใบ ใช้กิ่งไม้กระถิน โดยแพนี้รับน้ำหนักได้ประมาณ 200 กก. ถ้ารวมน้ำหนักแพด้วย อาจเหลือเพียง 170 กก. ก็สามารถใช้งานได้ดี เมื่อน้ำลดแล้วอาจใช้ในการถ่อไปเกี่ยวข้าวที่น้ำท่วมได้อีกด้วย”

รศ.ดร.ทวิช เผยว่า ถ้าหาขวดน้ำไม่ได้ ก็สามารถใช้ท่อพีวีซีก็ได้ โดยเมื่อได้สำรวจข้อมูลดูแล้ว ลองเลือกท่อขนาด 8 นิ้ว มาตรฐาน มอก. ที่ทนแรงดันขนาด 5 กก. (อย่างบางที่สุดในตลาด ก็พอเพียง และดีที่สุดด้วย ทำให้ไม่หนักเกินไป ทำให้มีแรงลอยตัวสูง) เมื่อลองเอามาคำนวณหาแรงลอยตัว เมื่อหักน้ำหนักท่อแล้ว พบว่าท่อขนาดนี้ และบางขนาดนี้ จะสร้างแรงลอยตัวได้ 34.6 กก. ต่อความยาว 1 เมตร ท่อขนาดอื่น ๆ ก็คำนวณได้ไม่ยาก แต่ต้องทราบความใหญ่ ความหนาของท่อ และความหนาแน่นของเนื้อวัสดุ (ใช้ค่าความถ่วงจำเพาะของเนื้อพีวีซีที่ 1.4)



“โดยทั่วไปแล้ว ท่อใหญ่ท่อเดียวจะดีกว่าท่อเล็ก ๆ หลายท่อมารวมกัน ทั้งในเรื่องของแรงลอยตัวและราคา โดยท่อขนาด 16 นิ้วจะมีแรงลอยตัวมากกว่าท่อ 8 นิ้วประมาณ 4 เท่า ดังนั้นถ้าเราใช้ท่อขนาด 8 นิ้วยาว 2 เมตรจำนวน 4 ท่อมาต่อเป็นแพ เราจะได้แรงลอยตัวถึงประมาณ 280 กก. บรรทุกคนน้ำหนัก 60 กก. จำนวน 4 คนได้ โดยทางที่ดีควรทำเป็นแพสี่เหลี่ยม เอาท่อทั้งสี่มามัดต่อกันเป็นโครงสี่เหลี่ยม มัดด้วยยางในจักรยาน หรือเศษผ้าขาวม้า หรือผ้าปูที่นอนที่ฉีกเป็นเส้นๆ ส่วนช่องตรงกลางก็พาดด้วยไม้เบาๆ เช่น ไม้ไผ่ผ่าซีก” รศ.ดร.ทวิช กล่าว



สำหรับหัวท้ายของท่อต้องอุดกันน้ำรั่วเข้า ถ้าหาได้ควรใช้ยางในรถยนต์ปิด แล้วรัดให้แน่น ถ้าหายางในไม่ได้ ก็อาจใช้ปฏิภาณคิดเอาเอง เช่น

1) ปิดด้วยถุงพลาสติก 3 ชั้นแล้วมัดด้วยยางในจักรยาน (ระวังถุงไปกระทบของมีคมทำให้รั่วได้

2) ใบไม้อัดใส่ถุงพลาสติก แล้วเอาไปอุดไว้ให้แน่น ทดลองดูว่าน้ำไม่รั่ว

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9530000159053

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น