++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เรื่องเรียน เรื่องขำ ๆ ตอน : "ประเทศที่นักเรียนไม่กล้าถามครูผู้สอนมากที่สุด"

เรื่องเรียน เรื่องขำ ๆ ตอน : "ประเทศที่นักเรียนไม่กล้าถามครูผู้สอนมากที่สุด" • เหตุเกิดในห้องเรียน... ระหว่างนั่งเรียน...คุณเคยเป็นแบบนี้หรือไม่ คุณครู : ใครสงสัยอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้บ้างมั้ย? ด.ช. A : ผมสงสัยว่าทำไมเรื่องนี้ถึงกลายมาเป็นอย่างนี้ได้ครับ ทั้งห้อง : ............. ด.ช. B : (กระซิบ) มันจะถามอะไรวะ คนยิ่งหิว ๆ ข้าวอยู่ ด.ช. C : นั่นสิ! ถ้าไม่มีใครถาม พวกเราก็ได้พักกันแล้วเนี่ย หากคุณเป็นดั่ง ด.ช. B กับ C เราขอแสดงความยินดีด้วย คุณเป็นหนึ่งในตัวแทนทีมชาติที่ติดอยู่ในลิสต์ต่อไปนี้... • ประเทศที่นักเรียนไม่กล้าถามครูผู้สอนมากที่สุด หน่วย : เปอร์เซ็นต์ของจำนวนนักเรียน 1. ญี่ปุ่น ... 93% 2. คาซัคสถาน ... 91% 3. จีน ... 90% 4. ฮ่องกง ... 89% 5. โรมาเนีย ... 89% ส่วนอันดับของ "นักเรียนไทย" ตามมาติด ๆ เป็น "อันดับ 6 ของโลก" โดย 86% ของนักเรียนทั้งหมด ไม่กล้าซักถามครูผู้สอน ====== เรื่องเล่าในห้องเรียนเป็นเรื่องฮา แต่เป็นจริงจนถึงปัจจุบัน สำหรับเด็กไทยที่ถามน้อย คุย (กันเอง) เยอะ เราอาจจะวิเคราะห์ได้ว่า "ความไม่กล้าถามครูผู้สอน" อาจจะเกิดจากวัฒนธรรมของของเด็กไทย คือ... - ความอ่อนน้อมถ่อมตนของเด็กที่มีต่อผู้ใหญ่ - การเคารพอาวุโส - ความเป็นสังคมวัฒนธรรมตะวันออกอีกเช่นเดียวกับ ญี่ปุ่น จีน และฮ่องกง ทำให้เมื่อเข้าห้องเรียนไปแล้วก็จะเลือกที่จะ "ฟัง" ไว้ก่อน หาคำตอบกันภายหลัง อีกทั้งเกรงใจครู เผื่อครูจะหิวข้าว (น้านน ดูมีเหตุผลทีเดียว 555) ====== แต่หากมองอีกแง่มุมหนึ่ง "ระบบการศึกษาไทยเรามีปัญหาหรือไม่?" ขนาดที่ว่า เด็กขาดความมั่นใจในสิ่งที่กำลังจะถามออกไป ถามไปก็กลัวครูไม่พอใจ อาจจะหาว่าคำถามนั้นเป็นคำถามดูไม่ฉลาด และโง่ในสายตาเพื่อน คิดเช่นนั้นแล้วก็ไม่ถามจะดีกว่า หรือ วิธีการสอนของครูไม่ได้เอื้อให้เด็กสามารถตั้งคำถามได้ เช่น บรรยายล้วน ๆ, การศึกษาด้วยตนเอง, แจกเอกสารแล้วกลับห้องทำงานอื่น ๆ ต่อ ฯลฯ สารพัดวิธีที่ปิดกั้นไม่ให้เด็กถาม หรือ พื้นฐานความรู้ของเด็กไม่แน่นพอที่จะสามารถตั้งคำถามได้ อันเนื่องมาจากระดับการศึกษามีความรู้กระท่อนกระท่อนมาแต่เริ่ม เช่น เรียนอยู่ชั้นมัธยมปีที่ ๔ สายวิทย์ แต่ตอนเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เรียนตกแล้วอีก เรียนไม่ค่อยรู้เรื่อง ไม่ค่อยเข้าใจอย่างลึกซึ้งจริง ๆ พอจะนำมาใช้ก็เป็นอันว่า ถามอะไรดีหว่า 555 ไม่กล้าถาม แต่ดันกล้าหลับ ป๊าดดดด ====== หากจะให้เล่าตามประสบการณ์จริง ก็เช่นนั้น เมื่อครูสอนจบ แล้วตั้งคำถามว่า "อ้าว ไหนใครไม่เข้าใจ ยกมือถามได้" หากห้องนั้นเป็นห้องที่คนเรียนไม่เก่ง หรือ ไม่ตั้งใจเยอะ คำถามนั้นจะไม่มี ห้องเงียบราวกับป่าช้า เด็ก ๆ พาก้มหน้ากันหาเหรียญตกพื้นกันใหญ่ 555 ผมก็จะตั้งข้อสันนิษฐานบอกเด็กว่า... ๑. ครูสอนดีมาก ๆ เด็ก ๆ เข้าใจกันทุกคน ๒. ที่ครูสอนมาทั้งหมด ไม่มีใครรู้เรื่องสักคน ซึ่งครูขอสันนิษฐานว่า ข้อ ๒ แน่นอน พูดแบบนี้ทีไร เป็นฮาลั่นห้องทุกที วัฒนธรรมการศึกษาของเด็กไทย ??? ====== • บทส่งท้าย "คำตอบช่วยให้เราหายข้องใจ แต่คำถามทำให้เรามีชีวิตอยู่ต่อไป" ... (No More No Less : วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์) คำตอบไม่สำคัญเท่ากับคำถามหรอก อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ยังกล่าวไว้อีกประโยคที่แสนเรียบง่าย และผมเห็นว่ามันเป็นจริงเหลือเกินว่า... "Learn from yesterday; Live for today; Hope to tomorrow; and don't STOP questioning." คำตอบทำให้เราหายข้องใจ แต่สิ่งที่เป็นเหตุผลทำให้เรามีชีวิตอยู่ต่อไปอย่างมีความหมาย คือ การไม่หยุดตั้งคำถามต่อชีวิต "คำถาม" สำคัญขนาดที่ว่าต้องมีหนังสือและวิธีการเรียน เรื่อง "เทคนิคการตั้งคำถาม" ขึ้นมาทันที หากครูตั้งคำถามได้ดี มักจะเป็นวัดประเมินผลคำตอบให้เด็กได้ว่า เด็กมีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด อาจจะดีกว่าที่ครูรอให้เด็กถามก่อนก็เป็นได้ ทุกอย่างเริ่มต้นมาจาก "ครู" วิ่งเข้าสู่ "ตัวผู้เรียน" แล้ว "ตัวผู้เรียน" จะแตกตัวออกไปหาความรู้กันเพื่อต่อยอดต่อไป การศึกษาไทยในปี ๒๐๒๐ อาจจะฝันเพียงเท่านี้ก็ได้นะครับ ใครจะไปรู้.... ====== Credit : อาจารย์ Wasawat Deemarn

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น