++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2555

รู้จัก...โครงการพระพูดได้

ณ วันนี้ น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก พระหนุ่มไฟแรงที่มีความรู้และความชำนาญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาใน ยุคโลกาภิวัตน์ ได้โดด

เด่นเป็นที่ยอมรับของคนทั้งประเทศ ที่ชื่อ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือ “ว.วชิรเมธี” พระนักพูดนักเขียนนักคิดที่ทุ่มเทชีวิตให้กับงาน

เผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่าง เข้มข้น ท่านทำประโยชน์ให้กับสังคมมามากมาย แต่ที่เป็นโครงการยิ่งใหญ่ระดับชาติ ก็คือ “โครงการ

พระพูดได้” (Train the Trainer Project) ซึ่งตั้งอยู่ ณ วัดครึ่งใต้ ต.ครึ่ง อ.เชียงของ จ.เชียงราย
เป้าหมายของโครงการนี้ คือ การสร้างพระภิกษุสามเณรคุณภาพที่มีความรู้ทั้งทางโลกทางธรรมที่มิใช่แค่จบ ได้ใบปริญญา แต่ต้องเป็น

ผู้ที่มีปัญญารู้ลึก รู้กว้าง รู้ไกล ทั้งทางโลก ทางธรรม และสามารถเป็นผู้นำทางปัญญาของสังคมไทยได้ ที่สำคัญโครงการนี้เป็นที่มาของ “

โรงเรียนเตรียมสามเณร” แห่งแรกในเมืองไทยด้วย

รู้จัก...โครงการพระพูดได้
“โครงการพระพูดได้” เป็นโครงการที่พระมหาวุฒิชัย ดำริขึ้นมาจากการที่ท่านได้เล็งเห็นว่าทุกวันนี้จำนวนพระสงฆ์ในปัจจุบันลด ลงทั้ง

ปริมาณและคุณภาพ หลายปีที่ผ่านมามีพระสงฆ์ 3 แสนรูป แต่ตัวเลขจริง ณ เวลานี้มีแค่ 1.5 แสนรูป สะท้อนว่าจำนวนพระสงฆ์ในแง่

ปริมาณได้ลดน้อยถอยลง และเมื่อไม่นานมานี้มีการประกาศผลสอบบาลีสนามหลวง ปรากฏว่ามีผู้สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค 25

รูปเท่านั้น นับว่าต่ำเป็นประวัติการณ์ ซึ่งเหตุนี้ก็สะท้อนว่าปัจจุบันจำนวนพระสงฆ์ทั้งปริมาณและคุณภาพต่ำลงอย่าง น่าใจหาย
ตลอด 21 ปี ในสมณเพศ พระมหาวุฒิชัยได้เห็นมาตลอดว่าพระภิกษุสามเณรมีปัญหาในเรื่องคุณภาพ โดยเฉพาะถ้าจะหาพระสงฆ์ที่

เป็นปัญญาชน ซึ่งมีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และสามารถสื่อสารพุทธธรรมกับคนร่วมสมัยได้นั้นมีน้อยมาก เหตุที่เป็น

เช่นนั้นเพราะการศึกษาของคณะสงฆ์ขาดการปฏิรูป และเกิดการเปลี่ยนแปลงน้อย ระบบการศึกษาของคณะสงฆ์ยังเป็นระบบการศึกษา

แผนเดิม ซึ่งพัฒนามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และยืนยาวมาถึงทุกวันนี้ แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงเลยก็ว่าได้
ประการสำคัญคือ จากการที่ท่านได้เป็นครูใหญ่โรงเรียนวัดครึ่งใต้วิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ ตั้งอยู่ที่วัดครึ่งใต้

ต.ครึ่ง อ.เชียงของ จ.เชียงราย อันเป็นวัดบ้านเกิดของท่าน ระหว่างปี 2542-2545 ก็ได้พิจารณาเห็นว่าโรงเรียนมีปัญหามากจนเป็นเหตุ

ให้คุณภาพทางวิชาการของ โรงเรียนลดลง จำนวนนักเรียนก็ลดน้อยถอยลงไปตามลำดับ จากโรงเรียนขนาดใหญ่กลายเป็นโรงเรียน

ขนาดเล็ก ซ้ำยังมีปัญหาด้านอื่นๆ เช่น อาคารสถานที่ไม่พอกับจำนวนนักเรียน ขาดแคลนบุคลากรคุณภาพ ไม่มีสื่อการเรียนการสอนที่

เพียงพอ และที่สำคัญที่สุดคือ ขาดงบประมาณสนับสนุนจากทางราชการ
ด้วยเหตุที่กล่าวมานี้จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ท่าน ว.วชิรเมธี ซึ่งมีความคิดที่จะหวนกลับมาพัฒนาวัดบ้านเกิดให้เป็นศูนย์กลางทางการ

ศึกษา อยู่แล้ว ได้ริเริ่มโครงการพัฒนาวัดขึ้นมาโครงการหนึ่ง โดยตั้งชื่อว่า “โครงการพระพูดได้” (Train the Trainer Project) มีเป้า

หมายในการพัฒนาวัดครึ่งใต้ให้มีห้องเรียน ห้องสมุด ห้องประชุม ห้องวิปัสสนากรรมฐาน สถาบันภาษาและคอมพิวเตอร์ และพัฒนา

พระธรรมทูต พระนักเผยแผ่ และเยาวชนให้ได้รับการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรมอย่างเข้มข้น

ที่มา...โรงเรียนเตรียมสามเณร
ในปี 2547 ท่าน ว.วชิรเมธี ได้นำโครงการพัฒนาวัดที่ท่านริเริ่มไปปรึกษากับ นันทนา มั่นเศรษฐวิทย์ กัลยาณมิตรทางธรรม ซึ่งก็ได้นำ

แนวคิดในการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางทางการศึกษานั้น ไปขอรับความอุปถัมภ์จาก อุดม อุดมปัญญาวิทย์ ประธานบริหาร บริษัท เอ็น

เอส อีเล็คโทรนิคส์ (๑๙๙๓) (ปัจจุบันคือบริษัท ยูแท็คไทย จำกัด) ซึ่งก็เห็นชอบในหลักการและอนุมัติให้จัดโครงการทอดกฐินเพื่อหา

ทุนในการ พัฒนาวัดและสร้างโรงเรียนเป็นโครงการต่อเนื่อง 3 ปี (2547-2549) ได้เริ่มก่อสร้างอาคารเรียนเมื่อปี 2549-2550 จน

สำเร็จอย่างที่เห็น รวมใช้งบประมาณในการก่อสร้างโรงเรียนและพัฒนาวัดเป็นเงินทั้งสิ้น 23 ล้านบาท
อาคารเรียนหลังนี้ท่าน ว.วชิรเมธี เป็นผู้ออกแบบ ซึ่งมีลักษณะเป็นอาคาร 3 ชั้น มี 3 หน้ามุข ซึ่งลักษณะอาคาร 3 ชั้นนี้หมายถึง “

ไตรสิกขา” (ไตร = 3, สิกขา = การศึกษา) คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่นับเป็นหัวใจสำคัญแห่งการศึกษาพระพุทธศาสนา และตั้งชื่อว่า “

อาคาร 80 พรรษา ธรรมราชาธิราช” เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา

และเพื่อให้งานนี้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ท่าน ว.วชิรเมธี ได้สร้างศูนย์วิปัสสนากรรมฐานขึ้นมาคู่เคียงกับโรงเรียนแห่งนี้ ตั้งชื่อว่า “อาศรมอิสรชน”

ในพื้นที่ 80 ไร่ ซึ่งภิกษุสามเณรที่จบจากโรงเรียนนี้จะต้องผ่านคอร์สวิปัสสนากรรมฐานอย่าง เข้มข้นทุกรูป
“อาตมาต้องการให้โรงเรียนแห่งนี้เชื่อมโยงเอาหัวสมองมาสู่หัวใจ ภิกษุสามเณรทุกรูปซึ่งสำเร็จการศึกษาจากที่นี่จะต้องเป็นพระเณร

คุณภาพใน อนาคต ซึ่งโครงการนี้เมื่อได้เริ่มต้นแล้วก็ตั้งใจว่าจะผลักดันให้ถึงที่สุด แม้จะใช้เวลา 10 ปี 20 ปี 100 ปี กว่าจะเห็นผล ได้

พระเณรที่เป็นเพชรน้ำเอกสักรูปหนึ่ง เราก็ต้องยอมต้องทน” พระมหาวุฒิชัย ย้ำต่อ
พระนักพูดนักคิด กล่าวอีกว่า ในวันที่ 18 ก.พ. ที่ผ่านมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้มีพระมหากรุณาธิคุณ

เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอาคาร 80 พรรษา ธรรมราชาธิราช ซึ่งเป็นที่ตั้งของโครงการพระพูดได้ นับว่าพระองค์ทรงเป็นองค์อุป

ถัมภิกาที่สำคัญของโรงเรียนและของโครงการพระ พูดได้ ทั้งทรงเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์หมายเลข 1 ของห้องสมุดแห่งนี้ด้วย
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ยังมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานแนวคิดในการพัฒนาโรงเรียนแห่งนี้ว่า อยากให้มีโรงเรียนตัวอย่าง

ทางด้านการพัฒนาการศึกษาของพระภิกษุสามเณร และหากเป็นไปได้ควรใช้ชื่อว่า “โรงเรียนเตรียมสามเณร” ซึ่งยังทรงมีพระราช

อารมณ์ขันให้เรียกชื่อย่ออีกว่า “โรงเรียน ต.ส.” อีกด้วย
จากแนวพระราชดำริในวันดังกล่าวนั้นเอง พระมหาวุฒิชัยจึงนำมาพัฒนาให้เกิดเป็นรูปธรรมและเรียกโครงการของท่านในชื่อ ใหม่ว่า “

โรงเรียนเตรียมสามเณร (ต.ส)” และนี่คือโรงเรียนเตรียมสามเณรแห่งแรกในประเทศไทย

เลือกเฟ้นเด็กเก่งบวช
พระมหาวุฒิชัย กล่าวว่า การจะสร้างคนให้เป็นเลิศ ต้องเอาคนเก่งมาสร้างก่อนจึงจะไม่เสียเวลา เพราะที่ผ่านมาใครมาขอบวช ทางวัดรับ

หมด ปรากฏเป็นเด็กพ่อแม่ทิ้ง เด็กมีปัญหา เด็กบางคนจบ ป.6 มาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ต้องเสียเวลาที่ต้องมาฝึกคนเหล่านี้ แทนที่จะ

ได้ยอดคนมาเป็นยอดพระ เลยได้ยอดขยะมาเป็นโขยง ซึ่งนี่เองคือสาเหตุที่ในวงการพระขาดแคลนพระคุณภาพ สาเหตุเพราะตัวป้อน

(input) ด้อยคุณภาพมาแต่เดิมนั่นเอง
ในปีนี้มีเด็กและเยาวชนสมัครกว่า 200 คน แต่กลั่นกรองจนเหลือ 100 คน ตามที่กำหนดไว้ และได้จัดพิธีบรรพชาให้ฟรีในวันคล้ายวัน

พระราชสมภพสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ วันที่ 2 เม.ย. ที่ผ่านมา ขณะนี้มีสามเณรจำนวน 150 รูป รวมสามเณรที่บวชก่อนแล้วเข้า

โครงการภายหลัง ซึ่งทุกรูปจะได้เรียนหนังสือฟรีทั้งทางโลก (ม.1-6, ปริญญาตรี, ทางธรรม นักธรรมและบาลีจากชั้นพื้นฐานจนถึงชั้น

สูงสุด) และวิปัสสนากรรมฐาน
โรงเรียนเตรียมสามเณรแห่งนี้จึงเป็นนิมิตหมาย และก้าวแรกของการหันกลับมาพัฒนาศาสนทายาทให้มีคุณภาพ ให้เป็นภิกษุสามเณร

ระดับปัญญาชนของสังคมไทยที่มากทั้งปริมาณและคุณภาพที่ดี เยี่ยม เพื่อเตรียมรับมือกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทศวรรษ

หน้าที่ขณะนี้ขาดแคลน อย่างมาก

บวชแล้วเรียนอะไรที่ ต.ส.
ณ โรงเรียนเตรียมสามเณรแห่งนี้ ภิกษุสามเณรทุกรูปจะต้องเรียนอย่างน้อย 3 เรื่องคือ 1.ความรู้ทางโลก ตั้งแต่มัธยมไปจนถึงปริญญา

ตรี ถ้ามีภูมิปัญญาสามารถทางโรงเรียนก็จะผลักดันให้เรียนต่อจนถึงระดับดอกเตอร์ ได้ นอกจากนั้น ท่าน ว.วชิรเมธี ยังได้ตั้งสถาบัน

สอนภาษาวีไอพี (v.i.p.) ขึ้นที่โรงเรียนด้วย เพื่อให้ภิกษุสามเณรได้เรียนภาษาทั้ง อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น ล้านนา รวมทั้งคอมพิวเตอร์
“สามเณรที่นี่จะได้เรียนวิชาความรู้ทางโลกที่เขาเรียนกัน ขณะเดียวกันเมื่อจบแล้วยังพูดภาษาที่สอง หรือเชี่ยวชาญภาษาใดภาษาหนึ่ง

อีกด้วย ปัจจุบันที่สถาบันภาษาวีไอพีมีนักเรียนที่สมัครเข้ามาเรียนรุ่นแรกจำนวนมาก ถึง 1,700 คน ทั้งนี้เพราะทางโรงเรียนได้เปิด

โอกาสให้เด็ก เยาวชน และคนทั่วไปได้เรียนด้วย”
2.ความรู้ทางธรรม คือเรียนนักธรรมตรี โท เอก ซึ่งเป็นหลักสูตรภาคบังคับของคณะสงฆ์ จบแล้วถ้าอยากเรียนให้สูงกว่านั้น ทาง

โรงเรียนก็จัดสอนบาลีให้ตั้งแต่ประโยค 1-2 จนถึงประโยค 9 สำคัญจะต้องผ่านคอร์สวิปัสสนากรรมฐานซึ่งเป็นเรื่องสุดท้ายที่ทุกรูปต้อง

เรียน
ท่าน ว.วชิรเมธี กล่าวว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้มีพระราชดำรัสกับท่านว่าภิกษุสามเณรควรจะได้เรียนทั้งทางโลก ทางธรรม

และวิชาชีพ เพราะเมื่ออยู่เป็นพระท่านก็เป็นพระคุณภาพ สักวันหนึ่งหากลาสิกขาออกไปจะได้กลายเป็นพลเมืองคุณภาพของประเทศ

แต่ตลอดเวลาที่ผ่านมามีแต่พระจำนวนมาก เรียนธรรมะบาลีอย่างเดียว ไม่เรียนความรู้ทางโลก ไม่เรียนวิชาชีพประกอบเอาไว้ ตอนอยู่

เป็นพระดูเหมือนจะดำรงชีวิตอย่างไม่ลำบาก แต่พอลาสิกขาออกไปปรากฏว่าทำอะไรไม่เป็น ก็จะกลายเป็นพลเมืองที่ด้อยคุณภาพของ

รัฐ
เพราะฉะนั้น โรงเรียนเตรียมสามเณรแห่งนี้จึงสอดคล้องกับแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ ที่ทรงต้องการเห็นการ

ศึกษาของคณะสงฆ์ไทยมีความก้าวหน้า ก่อให้เกิดพระภิกษุสามเณรชั้นนำขึ้นมากมายในสังคมไทย โดยท่าน ว.วชิรเมธี ย้ำว่า หมดยุค

ปิดกั้นการศึกษาของพระสงฆ์เสียที จากนี้เป็นต้นไป ใครอยากเรียน ต้องได้เรียน ใครอยากรู้ต้องได้รู้ ภิกษุสามเณรคือผู้อยู่ในฐานะที่จะ

สอนคนอื่น หากมีความรู้ด้อยกว่าผู้ที่ตัวเองสอน จะเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ได้รับความเคารพศรัทธาได้อย่างไร ดังนั้น วิธีกระตุ้นให้

คนเข้ามาสู่พระพุทธศาสนาที่ดีที่สุด ก็คือ ต้องพัฒนาระบบการศึกษาของพระสงฆ์ไทยให้ดีที่สุด
การลงทุนสร้างคนถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดในโลก แต่น่าเสียดายที่ว่าสังคมไทยใช้เวลาและงบประมาณกับการลงทุนสร้างคนน้อย

เกิน ไป ยิ่งในวงการพระสงฆ์ด้วยแล้ว พูดได้เลยว่าน้อยเสียยิ่งกว่าน้อย เพราะพระส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการสร้างโบสถ์ วิหาร

สร้างพระอิฐพระปูนกันมากมาย ทั้งๆ ที่พระที่เราต้องการที่สุดไม่ใช่พระอิฐพระปูน แต่คือพระเป็นๆ ที่มีความรู้ มีความดีงาม และมี

ความสามารถในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่างหาก

“เราสร้างพระอิฐพระปูนกันมามากแล้ว บัดนี้ ควรจะถึงเวลาสร้างพระพูดได้เสียที”
ท่าน ว.วชิรเมธี ตั้งปณิธานไว้เช่นนั้น
ผู้เขียน:
วรธาร ทัดแก้ว / ภาพ สถาบันวิมุตตยาลัย
ที่มา:
โพสต์ทูเดย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น