++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2555

@..หัดเป็นพระโสดาบัน..@

.....เราจะทำอะไร จะพูดอะไร จะคิดอะไร พยายามอย่าให้ มันมีความรู้สึกลบหลู่ดูหมิ่นครูบาอาจารย์และคนอื่น มานะความถือ ตนถือ

ตัวนี้ ภูมิของอรหัตมรรค เป็นตัวตัดขาด มานะความถือตน ถือตัวมันเป็นกิเลสละเอียด พอสมควร พระอนาคามีก็ละไม่ขาด โน่น! ต้อง

ภูมิอรหัตมรรคจึงจะละได้ขาด

....พยายามหัดเป็นพระโสดาบัน โส-ตะ-ปัน-นะ แปลว่า ผู้ถึงซึ่งการฟัง ใครพูดดีฉันก็ฟังได้ พูดเสียฉันก็ฟังได้ แต่ฉันจะเอาหรือไม่เป็น

หน้าที่ของฉัน จะพิจารณา โดยเหตุผล โส-ตะ แปลว่า ผู้ฟัง บัน-...นะ แปลว่า ถึงแล้ว ซึ่งการฟัง รวมความว่า ผู้รับฟังไปตรงกับมารยาท

ของสังคมว่า เคารพมติของผู้พูด

....ท่านอาจารย์วัน เพื่อนหลวงพ่อ ลูกศิษย์ท่านวิพากษ์วิจารณ์กรรมฐานคณะนั้นกรรมฐานคณะนี้ ท่านนั่นฟังเฉยพอท่านจะพูดท่านก็ว่า

"ทัศนะของเขาเป็นอย่างนั้น ความเห็นของเขาเป็นอย่างนั้น อย่าไปขัดคอเขา" นี่แสดงว่าท่านผู้นี้รู้แจ้งเห็นจริงในธรรม ถ้าใครพูดมาไม่

ถูกหูเรา เราเถียงคอเป็นเอ็น นั่นยังใช้ไม่ได้

คัดมาจาก หนังสือ ฐานิโยนุสรณ์ ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพพระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) วัดป่าสาละวัน

ผมคัดลอกมาจากสหธรรมิกที่ส่งมาทางเมล์ครับ

เห็นว่าน่าจะดีสำหรับกัลยาณมิตรที่นี่เลยเอามาฝากครับ

3 ความคิดเห็น:

  1. แว่นส่องความเป็นพระโสดาบัน
    อานนท์ ! เราจักแสดง ธรรมปริยายอันชื่อว่า
    แว่นธรรม ซึ่งหากอริยสาวกผู้ใด ได้ประกอบพร้อมแล้ว
    เมื่อจำนงจะพยากรณ์ตนเอง ก็พึงทำได้ในข้อที่ตน
    เป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดเดรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัย
    สิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว, ในข้อที่ตนเป็น
    พระโสดาบันผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ต่อ
    พระนิพพาน เป็นผู้มีอันจะตรัสรู้ธรรมได้ในกาลเบื้องหน้า
    ดังนี้.
    อานนท์ ! ก็ธรรมปริยายอันชื่อว่า แว่นธรรม
    ในที่นี้ เป็นอย่างไรเล่า ?
    อานนท์ ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
    ประกอบพร้อมแล้วด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น
    ไม่หวั่นไหวในองค์พระพุทธเจ้า.... ในองค์พระธรรม....
    ในองค์พระสงฆ์....และอริยสาวกในธรรมวินัยนี้
    เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยศีลทั้งหลายชนิดเป็นที่พอใจของ
    เหล่าอริยเจ้า คือเป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
    เป็นศีลที่เป็นไทจากตัณหา เป็นศีลที่ผู้รู้ท่านสรรเสริญ
    เป็นศีลที่ทิฏฐิไม่ลูบคลำ และเป็นศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ.
    อานนท์ ! ธรรมปริยายอันนี้แล ที่ชื่อว่า
    แว่นธรรม ซึ่งหากอริยสาวกผู้ใดได้ประกอบพร้อมแล้ว
    เมื่อจำนงจะพยากรณ์ตนเอง ก็พึงทำได้, ดังนี้แล.

    มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๕๐-๔๕๑/๑๔๗๙-๑๔๘๐.

    ตอบลบ
  2. พระโสดาบันเป็นใคร (นัยที่หนึ่ง)
    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้
    เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วย ธรรม ๔ ประการนี้เอง จึงเป็นพระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน เป็นผู้มีอันจะตรัสรู้ธรรมได้ในกาลเบื้องหน้า.ธรรม ๔ ประการนั้นเป็นอย่างไร ? ๔ ประการนั้น คือ : -

    (๑) ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหวในองค์พระพุทธเจ้า ว่าเพราะเหตุอย่างนี้ ๆพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและข้อปฏิบัติให้ถึงวิชชา เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกคนที่ควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้.

    (๒) ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหว ในองค์พระธรรม ว่าพระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว, เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล, เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด,เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว, เป็นสิ่งที่ผู้รู้ ก็รู้ได้เฉพาะตน
    ดังนี้.

    (๓) ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหว ในพระสงฆ์ ว่าสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติให้รู้ธรรมเครื่องออกจากทุกข์แล้ว เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้วอันได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ. นั่นแหละคือสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นสงฆ์ควรรับทักษิณาทานเป็นสงฆ์ที่บุคคลทั่วไปจะพึงทำอัญชลี เป็นสงฆ์ที่เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.

    (๔) ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยศีลทั้งหลายชนิดเป็นที่พอใจของเหล่าอริยเจ้า : เป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
    เป็นศีลที่เป็นไทจากตัณหา เป็นศีลที่ผู้รู้ท่านสรรเสริญเป็นศีลที่ทิฏฐิไม่ลูบคลำ และเป็นศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ ดังนี้.

    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สาวกของพระอริยเจ้า ผู้ประกอบ
    พร้อมแล้วด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ชื่อว่าเป็นพระโสดาบัน
    ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน
    เป็นผู้มีอันจะตรัสรู้ธรรมได้ในกาลเบื้องหน้า.

    มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๙-๔๓๐/๑๔๑๔-๑๔๑๕.

    ตอบลบ
  3. พระโสดาบันเป็นใคร (นัยที่สอง)
    อย่ากลัวเลย มหานาม ! อย่ากลัวเลย มหานาม ! ความตายของท่านจักไม่ต่ำทราม
    กาลกิริยาของท่านจักไม่ต่ำทราม.
    มหานาม ! อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
    ย่อมเป็นผู้มีปกติน้อมไปในนิพพานโน้มไปสู่นิพพาน เอนไปทางนิพพานโดยแท้.
    ธรรม ๔ประการ อย่างไรเล่า ?
    ธรรม ๔ ประการคือ :-

    มหานาม ! อริยสาวกในกรณีนี้

    (๑) เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า
    ว่า “เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส
    ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและข้อปฏิบัติ
    ให้ถึงวิชชา เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
    เป็นผู้สามารถฝึกคนที่ควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
    เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
    ด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์”
    ดังนี้.

    (๒) เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม
    ว่า “พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและ
    ปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้
    ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด
    เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน”
    ดังนี้.

    (๓) เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์
    ว่า “สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว
    เป็นผู้ปฏิบัติให้รู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว
    อันได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ
    นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชาเป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นสงฆ์ควรรับทักษิณาทาน เป็นสงฆ์ที่บุคคลทั่วไปจะพึงทำอัญชลี
    เป็นสงฆ์ที่เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า” ดังนี้.

    (๔) เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยศีลทั้งหลายชนิดเป็นที่พอใจของเหล่าพระอริยเจ้า
    : เป็นศีลที่ไม่ขาดไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นศีลที่เป็นไทจากตัณหา
    เป็นศีลที่ผู้รู้ท่านสรรเสริญ เป็นศีลที่ทิฏฐิไม่ลูบคลำ และ
    เป็นศีลที่เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ ดังนี้.

    มหานาม ! เปรียบเหมือนต้นไม้น้อมไปในทิศปราจีน โน้มไปสู่ทิศปราจีน เอนไปทางทิศปราจีน.
    ต้นไม้นั้น เมื่อเขาตัดที่โคนแล้ว มันจะล้มไปทางไหน ?
    “มันจะล้มไปทางทิศที่มันน้อมไป โน้มไป เอนไปพระเจ้าข้า !”

    มหานาม ! ฉันใดก็ฉันนั้น : อริยสาวกประกอบแล้วด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้
    ย่อมเป็นผู้มีปกติน้อมไปในนิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน เอนไปทางนิพพานโดยแท้ แล.
    มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๖๕-๔๖๖/๑๕๑๑-๑๕๑๒.

    ตอบลบ