++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2554

เชอะเมื่อ พธม.คิดVote No โดย สุรวิชช์ วีรวรรณ

บทความในสัปดาห์ที่แล้วของผมนั้น เหมือนจะเป็นการตอบคำถามกลายๆต่อทัศนะของอาจารย์ชวินทร์ ลีนะบรรจง และสุวินัย ภรณวลัย ที่พูดว่าเป็นการตอบคำถามกลายๆก็เพราะไม่ว่าอาจารย์ทั้งสองจะเขียนบทความคัด ค้านข้อเสนอโหวตโนของพันธมิตรฯหรือไม่ ผมก็ต้องเขียนบทความชิ้นนี้อยู่แล้ว

แต่บทความชิ้นนี้ ผมตั้งใจจะเขียนถึงอาจารย์ทั้งสองโดยตรง

ผมอ่านบทความที่เขียนร่วมกันของอาจารย์ทั้งสองแล้ว บอกตรงๆว่า อ่อนใจ น่าเสียดายเมื่อมีการออกมาเคลื่อนไหวทุกครั้งอาจารย์สุวินัยมักจะเข้ามารับ ฟังและแลกเปลี่ยนทัศนคติเพื่อหาเหตุผลในการแสดงจุดยืนแต่ละเรื่องของ พันธมิตรฯ แต่ครั้งนี้อาจารย์กลับไม่เลือกที่จะทำอย่างนั้น ผมพยายามโทรศัพท์ไปหาอาจารย์สุวินัย แต่ติดต่อไม่ได้

และบทความของอาจารย์ถูกขบวนการที่เห็นว่าแคมเปญVote No (หรือการเข้าคูหาไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งโดยไม่ประสงค์จะลงคะแนนให้ใคร)นั้น กำลังกลายเป็นอันตรายต่อสถานะการเมืองของพวกเขาหรือกลุ่มการเมืองที่พวกเขา สนับสนุนใช้เป็นเครื่องมือในการบั่นทอนพันธมิตรฯ

ผมเห็นอดิศักดิ์ ลิมปรุงพัฒนกิจ แห่งเนชั่นซึ่งเขียนบทความทำลายการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯครั้งนี้มาตลอดถึง กับเข้ามาคลิก "ถูกใจ"ในเว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์ และขบวนการสื่อที่บั่นทอนการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯอยู่แล้วก็คงหยิบบทความ นี้ไปอ่านอย่างสนุกสนาน

แม้ว่าฝ่ายต่อต้านพันธมิตรฯจะไม่กลัวเป้าหมายของการชุมนุมที่เริ่ม ต้นด้วยข้อเรียกร้อง 3 ข้อในประเด็นพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ทำให้เสียดินแดนไปแล้วโดยพฤตินัย และพยายามจะใช้กระบวนการทางรัฐสภาเพื่อให้ไทยเสียดินแดนโดยนิตินัย เพราะพวกเขารู้ว่า คนไทยและสื่อส่วนใหญ่ไม่สนใจในสำนึกของชาติและหวงแหนแผ่นดิน และมีทัศนคติแบบที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณเรียกว่า พื้นที่เท่าแมวดิ้นตาย

ปัญญาชนจำนวนมากเมื่อเห็นพันธมิตรฯออกมาเคลื่อนไหวเรื่องแผ่นดิน เขาจึงถูกทัศนคติเรื่อง "คลั่งสงคราม" "คลั่งชาติ"ครอบงำ บางคนแม้จะไม่ได้โจมตีพันธมิตรฯแต่ก็นิ่งเฉย ขณะที่อีกฟากหนึ่งที่คัดค้านพวกเราพยายามให้ค่านิยมผิดๆว่ายุคนี้เป็นโลกไร้ พรมแดน และที่สำคัญการเคลื่อนไหวเรื่องแบบนี้มันดูเชยไม่โก้เก๋เท่ากับการลุกขึ้นมา ต่อสู้กับเผด็จการ

แต่เมื่อพันธมิตรฯชี้ให้เห็นว่า การเมืองในระบบที่ดำรงอยู่นั้น มันไม่สามารถที่จะหาทางออกให้การกับบ้านเมืองได้ เพราะระบอบประชาธิปไตยถูกใช้เป็นเพียงเสื้อคลุมของกลุ่มโจรการเมืองที่จะ เข้ามากอบโกยกัดกินประเทศ ไม่ว่า พรรคการเมืองไหนในปัจจุบันมีอำนาจก็ไม่แตกต่างกัน ดังนั้นเราจึงมองเห็นว่า ปัญหาของบ้านเมืองนั้นมีได้อยู่ที่พฤติกรรมนักการเมืองที่ไม่ดีเพียงอย่าง เดียว แต่มาจากตัวระบบด้วย

ถ้านักการเมืองบอกว่า เขา "รักชาติ" ฟังให้ดีๆจะรู้ว่าจริงๆแล้วพวกเขา "ลักชาติ"

การทำแคมเปญ "Vote No"จึงเป็นทางออกที่จะใช้กลไกใน "ระบบ"เพื่อให้เกิดแรงเหวี่ยงในสังคม และมันได้ส่งผลสะเทือนอย่างแรงต่อขบวนการที่สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ทั้ง ที่เปิดตัวและซ่อนเร้นอยู่ เพราะเขารู้ว่าแพ้แน่

ทำไมผมจึงคิดอย่างนั้น

อย่าลืมว่า ครั้งที่แล้วนั้น พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้น จะมีจำนวนหนึ่งเป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปัตย์ แต่ทั้งหมดเทเสียงเลือกพรรคประชาธิปัตย์อย่างไม่ต้องสงสัย อาจมีบางคนไปหลงเคลิ้มกับพรรคเพื่อแผ่นดิน เพราะเห็น "กงจักรเป็นดอกบัว"แต่ก็คงจะน้อยมาก

ผลการเลือกตั้งครั้งนั้น พรรคประชาธิปัตย์ก็ยังพ่ายแพ้พรรคพลังประชาชน(เพื่อไทย) ก่อนที่พรรคซึ่งเป็นนอมินีของทักษิณจะถูกน็อคด้วยกระบวนการยุติธรรม จึงเกิดขบวนการอุ้มสมอภิสิทธิ์ขึ้นมา แล้วรัฐบาลอภิสิทธิ์ก็ไม่ได้เข้ามาแก้ปัญหาของชาติบ้านเมือง เขาพยายามจะเป็นกลางระหว่างเหลืองกับแดง จนกระทั่งพูดว่าทั้งแดงและเหลืองก็เป็นตัวทำลายบ้านเมือง

แต่ขบวนการอุ้มสมก็ยังคงนิ่งดูดาย ปล่อยให้นักการเมืองย้ำยีชาติ และมองประชาชนที่ออกมาต่อสู้เพื่อชาติและสถาบันของชาติเป็นเพียงเบี้ยทางการ เมือง

แม้อภิสิทธิ์จะเคยมีจุดยืนเรื่องพื้นที่รอบพระวิหารเช่นเดียวกับที่ พันธมิตรฯออกมาเคลื่อนไหวตอนนี้ แต่เมื่อเป็นรัฐบาลแล้ว เขากลับมีจุดยืนไม่ได้แตกต่างกับรัฐบาลพลังประชาชนที่เขาลุกขึ้นอภิปรายใน สภา ตรงนี้ที่ทำให้เห็นว่า พฤติกรรมที่ไม่ดีของนักการเมืองนั้นไม่ได้มาจากระบบอย่างเดียวแต่มาจากตัว "คน"ด้วย

เดิมนั้นพรรคประชาธิปัตย์อาจคิดว่า แม้พันธมิตรฯจะไม่เลือก แต่ความเชื่อที่บอกตัวเองว่า พันธมิตรฯอ่อนแรงแล้วนั้น อาจจะช่วยปลอบโยนพรรคได้ว่า ถ้าพรรคเร่งนโยบายที่หว่านเงินแบบประชานิยมของทักษิณเข้าไปอาจจะช่วยดึงความ นิยมมาให้สู่พรรคได้ แต่เมื่อพันธมิตรฯทำแคมเปญ Vote No และชี้ให้เห็นว่า ไม่ว่าพรรคการเมืองพรรคไหนก็ไม่แตกต่างกัน ตรงนี้ต่างหากที่พรรคประชาธิปัตย์และกองเชียร์กลัวว่าจะเป็นแรงเหวี่ยงของ สังคม

นายเทพเทือกถึงกับออกมาให้สัมภาษณ์ว่า ระวังจะได้ทักษิณกลับมา น้ำเสียงแบบถ้าไม่เลือกเราเขามาแน่เริ่มดังขึ้นในหมู่คนที่นิยมพรรคประชาธิ ปัตย์ แต่การมองว่าไม่ว่า พรรคการเมืองไหนมีอำนาจก็มีพฤติกรรมไม่ต่างกัน ทำให้พันธมิตรฯมองข้ามประเด็นนั้นไปแล้ว

การก่อเกิดของพรรคประชาธิปัตย์แม้จะมีอุดมการณ์ร่วมกับพันธมิตร ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย คือ อุดมการณ์เพื่อรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่พันธมิตรฯนั้นมีอุดมการณ์เพื่อชาติและประชาชนด้วย

แต่วันนี้ของพรรคประชาธิปัตย์คืออะไร พวกเขาเป็นเพียงกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองที่ใช้ปฐมเหตุของการตั้งพรรคเป็น เพียงเครื่องอำพรางตัวตนเท่านั้น การบริหารของพรรคประชาธิปัตย์กับการบริหารโดยระบอบทักษิณนั้นไม่ได้มีอะไร ที่แตกต่างกัน และมีการยืนยันของนักธุรกิจระดับนำอย่างหอการค้าว่ารัฐบาลชุดนี้ทุจริต มากกว่ารัฐบาลทักษิณและบริวาร

เราคาดหวังว่า การรณรงค์ Vote No นั้นจะทำให้สังคมส่วนอื่นที่ไม่ใช่พันธมิตรฯ แต่มีความเบื่อหน่ายพฤติกรรมของนักการเมืองได้ตื่นตัวขึ้นมา และเห็นว่า การ Vote No นั้นเป็นวิถีทางใน "ระบบ"ที่ประชาชนจะแสดงพลังได้ ผมคิดว่า แกนนำพันธมิตรฯคงไม่โง่หรืออ่อนหัดพอที่จะคาดหวังหรือ "ไม่รู้"ว่าเป็นได้ยากว่า ประชาชนจะต้องออกมาใช้สิทธิVote No ถึงครึ่งหนึ่ง(แม้อยากให้ถึง)ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 30 กว่าล้านคนหรอกครับ

ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมานั้น มีผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งคือ No Vote ประมาณ 11 ล้านคน หรือ 25.5 % แต่ Vote No ในระบบเขต1,499,707 คน หรือ 4.58 % Vote No ในระบบสัดส่วน 935,306 คน หรือ 2.85 %

ผมคิดว่า ครั้งนี้ถ้าพันธมิตรทำให้คน Vote No ได้สัก 3 ล้านคน มันก็เพียงพอแล้วที่จะเป็นคำตอบเพียงพอแล้วสำหรับสังคมไทยที่ยังคงมีค่านิยม ซื้อสิทธิ์ขายเสียงและเลือกพรรคการเมืองด้วยระบอบอุปถัมภ์ในบ้านเรา

การคิดเอาเองของอาจารย์ทั้งสองเรื่องว่า พันธมิตรฯต้องการให้ได้ Vote No ถึงครึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์ ทำให้จินตนาการไปว่า ทำไมไม่แปรคะแนนเสียงของพันธมิตรฯไปให้พรรคการเมืองใหม่ ซึ่งเป็นฝันกลางแดด

แต่ที่อดจะแปลกใจไม่ได้คืออาจารย์ทั้งสองมีทัศนคติที่ไม่ได้ แตกต่างกับคนทั่วไปที่หมิ่นแคลนการเมืองภาคประชาชนว่า เป็นการเมืองข้างถนนและคำตอบมีเพียงระบบเลือกตั้งธิปไตยเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น