++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2554

แผ่นดินไหว: สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวทางพุทธศาสตร์

ปัญหาว่าด้วยการทำแผ่นดินใหญ่ให้ไหว
จากนี้ขอให้ทุกท่านตั้งใจ รับฟังการบรรยายเรื่องมิลินทปัญหา ครั้งที่๓๗๒ ประจำวันอังคารที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘ปัญหาว่าด้วยการทำแผ่นดินใหญ่ ให้ไหว บาลีใช้คำว่า มหาภูมิจาลปาตุภาวปัญหา แปลว่า ภาวะคือปัญหา ว่าด้วยจาละคือ ให้มันสั่นให้มันไหว มหาคือใหญ่ ภูมิ คือแผ่นดิน การทำแผ่นดินใหญ่ให้ไหวให้ปรากฎ เรื่องนี้มีมาในพระไตรปิฎก ทีฆนิกายมหาวรรค เล่มที่ ๑๐ ข้อที่ ๑๗๙ หน้าที่ ๙๖-๙๗ แล้วก็มาใน อังคุตรนิกาย อัฏฐกนิบาต เล่มที่ ๒๓ ข้อที่ ๗๐ หน้าที่ ๒๕๙ มาใน พระสุตตันตปิฎก อยู่ในเรื่องที่ ๓ ของทีฆนิกาย คือเรื่อง มหาปรินิพพานสูตรว่าด้วยเหตุปัจจัย ๘ อย่างที่ทำให้แผ่นดินไหว เดี๋ยวจะว่าให้ฟังก่อน เวลาท่านโต้ตอบกันจะไม่ได้ให้รายละเอียดในตัวบาลี ก็จะทำให้เราฟังไม่เข้าใจ แล้วเรื่องแผ่นดินไหวก็จะไปเข้ากับ บรรยากาศ ซึนามิ คลื่นยักษ์ ที่ถล่ม แถบอันดามัน ศรีลังกา อินโดนีเซีย ถึงแอฟริกา ตายเป็นแสนคน ก็เลยมาดูว่าทางพุทธศาสนา พูดอย่างไรในเรื่องนี้
ในมหาปรินิพพานสูตรได้กล่าวเหตุปัจจัย ๘ อย่างที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว เวลาอ่านพระสูตร หรืออ่านคำสอนของพระพุทธเจ้า ต้องมีกรอบอยู่ในใจหลายๆกรอบ ว่าเรื่องที่พระพุทธเจ้าตรัส จะตีความตามตัวอักษร หรือไม่ เช่น แผ่นดินไหวก็คือแผ่นดินไหวจริงๆ ไม่ต้องตีความอย่างอื่น เรียกตีความตามตัวอักษร อย่างต่อมา เป็นอุปมาแบบเปรียบเทียบ เช่น คนเกิดความดีใจร่าเริงพอใจไปทั้งแผ่นดิน ใช้อุปมาว่าแผ่นดินไหว กรอบที่ สาม เรียกว่า ตีความตามการอุปมาน เทียบเคียง ของ ๒สิ่ง เช่นเสือกับแมว บางคนไม่เคยเห็นเสือมาก่อน บอกว่าเสือก็รูปร่างเหมือนแมวแต่ตัวใหญ่กว่ามีเขี้ยว น่ากลัวกว่า วันหนึ่งเดินเข้าไปเห็นเสือในป่า ก็สามารถเทียบเคียงได้ ระหว่างสิ่ง๒สิ่ง แต่มีความคล้ายคลึงกันเรียกว่า การตีความแบบอุปมาน อย่างที่ ๔ การน้อมเอาสิ่งที่เป็นคำสอนมาเป็นเชิงปฏิบัติโดยไม่สนใจรายละเอียดความจริง ในที่นี้ขอให้กรอบไว้ทั้ง ๔ กรอบเวลาเราอ่านพระสูตร เราจะตีความตามตัวอักษรว่าไปตามนั้นจริง หรือ แบบเปรียบเทียบตัวอย่างอุปมา หรือแบบเปรียบเทียบของสิ่ง ๒ สิ่ง หรือเป็นการน้อมนำมาปฏิบัติก็เป็นหน้าที่ของผู้อ่าน
ในมหาปรินิพพานสูตร คือตอนที่พระพุทธเจ้าตัดสินพระทัยจะปลงอายุสังขาร ปริณพาน แผ่นดินก็เกิดการไหว พระอานนท์ก็จึงทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าดูก่อนอานนท์ มีเหตุ ๘ ประการที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว ข้อที่ ๑ คือ ลมกำเริบ คือ พอตีความทางวิทยาศาสตร์ จะเป็นลม น้ำ ดิน ไฟ เป็นเหตุปัจจัยที่ทำเกิดรอยเลื่อน ๒ท่านผู้มีฤทธิดลบันดาล ที่ทำให้โลกสั่นสะท้านได้ ดูอย่างกรณีที่ฮิโรชิมา นางาซากิ ที่ระเบิดปรมาณูมาลง ก็ทำให้เกิดแผ่นดินไหว คนตายเป็นแสน หรือกรณีมหาอำนาจทำการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ แล้วทำให้แผ่นดินไหว แต่ในที่นี้อธิบายว่าผู้ที่ได้ จตุถฌาณ ที่เกิดจาก กษิณ แล้วสามารถบันดาลให้แผ่นดินไหวได้ แล้วตั้งแต่ข้อที่ ๓ ถึง ข้อที่ ๘ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ทั้งนั้น ข้อที่เป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ เรื่องลมกำเริบ ข้อที่ ๒ ผู้มีฤทธิบันดาล แล้วแต่จะตีความ คือ มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์จนสร้างระเบิดปรมาณู ทิ้งระเบิดใส่คู่ต่อสู้จนแผ่นดินไหว โลกแทบแตกก็ได้ หรือ ผู้ที่ได้ฌาณ สมาบัตจากการฝึกกษิณก็ได้ ในข้อที่ ๓ ถึงข้อที่ ๘ เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ข้อที่ ๓ คือพระโพธิสัตว์คือว่าที่พระพุทธเจ้า เสด็จจากชั้นดุสิตเข้าสู่พระ ครรภ์ของมารดา เกิดแผ่นดินไหว ข้อที่ ๔ พระโพธิสัตว์ ประสูติจากพระครรภ์ของมารดา ข้อที่ ๕ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ข้อที่ ๖ พระพุทธเจ้า แสดง พระธรรมจักรกัปปวัตตนสูตรข้อที่ ๗ คือ พระพุทธเจ้าตัดสินพระทัย ปลงพระชนมายุ สังขาร คือตัดสินใจว่าอีก ๓ เดือนจะปรินิพพานคือ ปลงพระชนมายุสังขาร ข้อที่ ๘ คือ พระพุทธเจ้าปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาต คือ หมดลมหายใจ ๘ ประการคือเหตุที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว อย่าลืมว่าเรามีกรอบ ๔ กรอบที่เราใช้ในการอ่านพระสูตร หรือพระคัมภีร์ วิเคราะห์ว่าเป็นเชิงตีความ ตามตัวอักษร หรือ เป็นเชิงเปรียบเทียบอุปมา หรือเป็นการอุปมาน เทียบเคียงของ ๒ สิ่ง แมวกับเสือ หรือ เป็นการน้อมนำมาสู่แนวทางปฏิบัติก็ได้
พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ พระพุทธเจ้าตรัสว่า เหตุเกิดแห่งการไหวของแผ่นดินเกิด จากเหตุ ๘ อย่างตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ถ้าพระพุทธพจน์นี้เป็นความจริง ทำไมเมื่อพระเวสสันดร ถวายทานแผ่นดินจึงไหวตั้ง ๗ ครั้ง ไม่เกี่ยวกับแผ่นดินใหญ่ไหว ๘ ครั้งเลย แสดงว่าถ้อยคำ ๒ ที่มีพิรุธ จะต้องมีที่หนึ่งที่ใดผิด ถ้าอันแรกถูกอันที่สองก็ต้องผิด ถ้าอันที่สองถูกอันแรกก็ต้องผิด เพราะเมื่อพระเวสสันดร ถวาย สัตตสดก คือ ถวายทานอย่างหละ ๗๐๐ เช่น ให้ม้าก็ ๗๐๐ ตัว ให้ช้างก็ ๗๐๐ เชือก ให้คนก็ ๗๐๐ คน ภาษาไทยใช้ว่า สัตตสดก บาลีใช้ สัตตสัตตกะ สัตต คือ ๗ สัตตกะ คือ ๑๐๐ คือ ให้ทานหมวดหละ๗๐๐ แล้ว แผ่นดินไหวตั้ง ๗ ครั้ง เราจะจัด สัตตสดก ของพระเวสสันดร ไปไว้ในข้อไหน เพราะ ใน ๘ข้อนั้นไม่มีเลย ขอพระคุณเจ้า โปรดแก้ไขเรื่องอันลึกซึ่งนี้ด้วยเถิดใครก็ไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ เพราะเป็นผู้มีปัญญาน้อย เว้นจากพระผู้เป็นเจ้าผู้มีความรู้ คนอื่นก็ไม่มีใครที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้
พระนาคเสนจึง ถวายพระพรดูก่อน มหาบพิตร ถูกแล้ว เหตุทีเกิดแผ่นดินไหวมี ๘ ข้อจริง ตามที่พระพุทธเจ้าตรัส แต่กรณีพระเวสสันดร บริจาคทาน แผ่นดินไหว ๗ ครั้งก็เป็นเรื่องจริงอีก แต่ถือว่าเป็นกรณีพิเศษ ท่านจึงไม่นับในเหตุ ๘ ประการ พูดง่าย คือ เหตุแผ่นดินไหว ๘ อย่างก็ถูก พระเวสสันดร บริจาคทานอย่างหละ ๗๐๐ แผ่นดินไหว ๗ ครั้ง ก็ถูกอีก แต่ไม่จัดเอาพระเวสสันดรเข้าไว้ในเหตุ ๘ อย่างเพราะถือว่าเป็นกรณีพิเศษ
ท่านจึงยกตัวอย่าง เมฆมีอยู่ ๓ อย่างฤดูหนาว เมฆฤดูร้อน ถ้านอกจากเมฆ ทั้ง ๓ อย่าง ก็เรียกว่ากรณีพิเศษ ก็มี เช่นเดียวกับ พระเวสสันดรให้ทานแล้วเกิดแผ่นดินไหวก็เป็นกรณีพิเศษเช่นเดียว แล้วท่านก็ยกตัวอย่าง ว่า แม่น้ำจะมาจากกี่สาย แต่ก็มีแม่น้ำ ๑๐ สายเท่านั้นที่ถือว่าเป็นแม่น้ำเอก แล้วก็ยกตัวอย่าง อำมาตย์ของพระราชา มีมากมาย แต่ก็มีอำมาตย์ที่เป็นหลัก ๖ คน คือ เสนาบดี ปุโรหิต ผู้พิพากษา ขุนคลัง อำมาตย์ที่เชิญพระกลด อำมาตย์ที่เชิญพระแสง ก็เหมือนกับพระเวสสันดรทำบุญเหมือนกัน ก็เป็นกรณีพิเศษ ไม่จัดเข้าใน ๘ ประการแต่ถือว่าเป็นเรื่องจริง
แล้วท่านก็ยกตัวอย่าง บุคคลทีทำความดีแล้วเห็นผลทันตา ท่านใช้คำว่า ทิฏฐธรรม มหาบพิตร ได้เคยฟังบ้างหรือไม่ พระราชาก็บอกว่า โยมก็เคยได้ฟังอยู่ในครั้งพุทธการ มีคน ๗ คนที่ทำบุญแล้วได้ผลทันตาเห็น นายมาลาการชื่อสุมนะ ที่นำดอกไม้ที่จะ ถวายพระราชาไปบูชาพระพุทธเจ้า แล้วบอกว่า พระราชาจะตรัสหัวเราก็ตามใจ เพราะเราเลื่อมใสพระพุทธเจ้า และ พราหมณ์ ชื่อ เอกสาฎก เป็นคนที่ยากจนมาก มีผ้าแค่ ๒ ผืน เปลี่ยนกับเมียใส่ เวลาจะออกจากบ้านก็จะยืมของเมีย และ ลูกจ้างชื่อ ปุณณะ ทำบุญแล้วรวยทันตาเห็น และ พระนางมัลลิกาเทวีโคปาลมารดา อุบาสิกา ชื่อว่า สุปปิยา และ นางทาสี ชื่อว่า ปุณณา อันนี้ก็ยกตัวอย่างว่าทำบุญแล้วได้ทันตาเห็น
อีกตัวอย่างที่ท่านยกมา คือ คนที่ไปสู่สวรรค์ทั้งที่ยังมีชิวิตอยู่ หรือ ว่า คนที่ทำบุญแล้วได้รับบุญทันตา เห็น ว่าเป็นข้อยกเว้น ข้อพิเศษ แล้วท่านก็ยกตัวอย่าง ชนทั้งหลายสี่ คือ คนธรรพราชนามว่าคุตติละ กษัตริย์ พระนามว่า สาธีนราช และ พระเจ้านิมิราช และ พระเจ้ามันธาตุราช ไปสวรรค์ทั้งที่ยังไม่ตาย เพราะฉะนั้นจึงสรุปว่า กฏย่อมมีการยกเว้น เหมือนกรณี พระเวสสันดร คำอธิบายของท่านเหมือนวิทยาศาสตร์ ท่านบอกว่าคนที่ทำความดี คุณแห่งการกระทำของคนดี ก็ไม่มีสิ่งใด แผ่นดินใหญ่ก็ไม่สามารถทรงคุณความดีนั้นได้ ย่อมไหว อุปมาเหมือนเกวียนที่บรรทุกหนักเกิน ไป ดุม กง ย่อมแยก และ เพลา ย่อมแตก ฉันใด แผ่นดินใหญ่เต็มไปด้วยภาระ คือของหนัก ได้แก่ คุณความดี ของผู้ทำความดี แผ่นดินใหญ่ย่อมทรงไม่ได้ ย่อมไหว ฉันนั้นนั่นเอง
แล้วท่านก็ยกตัวอย่างว่า อากาศเต็มไปด้วยเรี่ยวแรงแห่งลมและน้ำ เมื่อหนักขึ้นแล้ว น้ำก็หนาขึ้นย่อมบันลือลั่นกระทำเสียง ครืนครัน เพราะความที่อากาศนั้นเป็นของอันลม กล้าฉันใด แผ่นดินใหญ่ก็เต็มไปด้วย ภาระอันหนา และท่านก็แสดงความดีว่า พระเวสสันดร ให้ทานด้วยจิตสะอาด ไม่ได้ให้ทานด้วยอำนาจของ ราคะ โทสะ โมหะ ทิฏฐิ กิเลส วิตก อรติ แต่ท่านตั้งใจไว้ ว่ายาจกทั้งหลายที่ยังไม่มาก็ขอให้มา ยาจกที่มาแล้วทั้งหลายก็ขอให้ได้ตามความปราถนาขอให้มีใจยินดีด้วยปีติ แล้วท่านก็ตั้งใจว่าการให้ทานครั้งนี้ จะให้ด้วยการไม่เบียดเบียนไม่โกรธ จะตั้งอยู่ในสัจจะ ไม่ได้ให้ทานเพื่อแสวงหากาม หรือ ลาภ แต่ต้องการทำเพื่อพรหมจรรย์ อย่างเดียว ด้วยการตั้งจิตปราถนาดีไปในสัตว์ ทั้งหลาย เป้าหมายที่สำคัญคือ มุ่งสู่สัพพัญญุตญาณ ดังที่ท่านได้ทรงภาษิตพระคาถา ตัวเราเมื่อสละบุตรชื่อพระชาลี และ ธิดาชื่อพระกัณหา และภรรยาเทวีชื่อมัทรี ผู้มีความประพฤติดีในภัสดา มิได้เสียดายเลย เราคิดแต่เหตุแห่งปัญญาเพื่อตรัสรู้ถ่ายเดียว พระเวสสันดร ชนะบุคคลผู้โกรธด้วยความไม่โกรธ ชนะบุคคลผู้ไม่ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ด้วยการทำประโยชน์ให้สำเร็จ ชนะบุคคลผู้ตระหนี่ ด้วยการบริจาค ชนะบุคคลกล่าวคำเหลาะแหละ ด้วยคำจริง ชนะอกุศลทั้งปวง ด้วยกุศล และท่านก็ใช้สำนวน เมื่อพระเวสสันดรทำความดีอยู่นั้น ลมใหญ่ทั้งหลายภายใต้แผ่นดินก็เขยื้อนพัดไป ต้นไม้ก็มีใบสลด แล้วล้มลง อันนี้ก็อธิบายถึงแผ่นดินที่สะเทือน
พูดถึงกรณีพระเวสสันดร ท่านทั้งหลายคงนึกออกว่า คนที่จะเป็นพระพุทธเจ้าต้องบริจาค เรียกว่า ปัญจมหาบริจาค จะต้องเป็นผู้ที่ให้มากกว่าผู้ที่รับเพราะว่ามีด่านอยู่ ๕ ด่าน ที่จะเป็นขวากหนามการกั้นสู้ความ เป็นพระพุทธเจ้า เช่น เหมือนกับการลง เขาเสี่ยวลิ้มยี่ จะต้องผ่านด่าน ๑๘ อรหันต์ หนึ่งคือ คนที่เป็นพระพุทธเจ้า จะต้อง บริจาคทรัพย์สมบัติ แต่ พระเวสสันดร ท่านให้หมด แม้กระทั่งช้างปัจจัยนาเคนทร์ เป็น ช้างที่เป็นแก้วตาดวงใจ แก่ชาวเมือง ก็ยังให้ได้ พวกเราบางคนอาจจะให้ของไม่ดี หรือ ของที่ใช้แล้ว ถ้าการให้ของที่ชอบบางที่จะคิดหนัก อันดับที่ ๒ คือ บริจาค อวัยวะ บางคนอาจะบอกว่าไม่ยาก คือ เวลาตายค่อยบริจาค เช่น ดวงตา อวัยวะ เลือด ไต ก็แล้วแต่ คือเราตายไปแล้วก็ไม่รู้ แต่จะเริ่มยากขึ้น จากของไกลตัว เป็นของใกล้ตัว ก็ต้องใช้กำลังใจสูงขึ้น และข้อที่ ๓ คือ การบริจาคลูก
พระเวสสันดร โดนโจมตีมากในเรื่องนี้ กล่าวหาว่า พระเวสสันดร ใช้กัณหา ชาลี เป็นบันได ใช้ทั้ง ๒ คนเป็นเครื่องมือ เป็นพ่อที่ไม่ดี พ่อต้องรักลูกปกป้องลูก จริงท่านก็เต็มใจให้ แต่ท่านก็คงรู้ว่า ชูชก ไม่สามารถ พากัณหา ชาลี ได้ไกล เพราะว่าชูชก ตัวดำ แล้วพาเด็ก ๒ คน ที่ผิวพรรณดีไป เดี๋ยวต้องเข้าหูพระเจ้าปู่ จึงต้องราคาไว้ คนนึง ๑,๐๐๐ ตำลึงทอง และ ๕00 ตำลึงทอง เพราะรู้ว่าชูชกไม่มีปัญญาจะรับของหนักได้ ถือว่าลูกย่อมเป็นที่รัก ถ้ามอบให้ได้ถือว่าเป็นยอดคน ยอดมหาบุรุษ แล้วถ้าใครให้เมีย ย่อมเป็นสุดที่รัก เมียดีก็เหมือนแม่ แต่ถ้าเมียแย่ๆ ผัวก็พัง แล้วก็ข้อที่ ๕ คือ การบริจาคกระทั้ง ชีวิต ชีวิตใครๆก็รัก แต่เพื่อ พระสัพพัญญุตญาณ เพื่อการบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า ต้องสละได้แม้กระทั้งชีวิต ทรัพย์สมบัติ อวัยวะ ลูก เมีย และ ข้อที่ ๕ คือ ชีวิต
นี่คือการแก้ปัญหาว่าด้วยการทำแผ่นดินให้ไหว พระเวสสันดร บริจาค สัตตสดก ทานหมวดหละ ๗๐๐ แผ่นดินไหว ๗ ครั้ง ไม่ได้อยู่ในเหตุทำให้แผ่นดินไหว ๘ อย่างเลย ซึ่งพระนาคเสนกล่าวว่า เป็นกรณีพิเศษ ไม่นับเข้าใน ๘ ประการ นานจะมีสักทีหนึ่ง ในวันพรุ่งนี้จะกล่าวถึงเรื่อง พระเจ้าสีวิราช สละดวงตาให้เป็นทาน แก่ พราหมณ์ผู้มาขอ จะได้รู้ว่ากำลังใจของความเป็นพระพุทธเจ้าเข้มแข็งเพียงไหน แล้วมิได้มอบขณะที่ตายไปแล้ว แต่มอบให้ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่




จาก พุทธนาวี ค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น