++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2554

อิทธิบาท ๔

ตถาคตสฺส โข อานนฺท จตฺตาโร อิทฺธิปาทา ภาวิตา ฯเปฯ โส อากงฺขมาโน อานนฺท ตถาคโต กปฺปํ วา ติฏฺเฐยฺย กปฺปาวเสสํ วา

ดูก่อน...อานนท์ อิทธิบาท ๔ ตถาคตได้เจริญแล้ว ได้ทำให้มากแล้ว ได้ทำให้เป็นยานแล้วได้ทำให้เป็นที่ตั้งอาศัยแล้ว ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว, ดูก่อน...อานนท์ ตถาคตนั้น เมื่อหวังอยู่ ก็จะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป

หรือตลอดส่วนที่เหลือแห่งกัป.....ดังนี้.....

ชื่อว่า "อิทธิ" โดยความหมายว่า เป็นผลสำเร็จ ชื่อว่า "บาท" โดยความหมายว่า เป็นเหตุเบื้องต้น บาทแห่งอิทธิ คือ เหตุเบื้องต้นแห่งความสำเร็จ.

ชื่อว่า อิทธิบาท มี ๔ อย่าง คือ.....

ฉันทิทธิบาท (อิทธิบาท คือ ฉันทะ - ความพอใจ)

วิริยิทธิบาท (อิทธิบาท คือ วิริยะ - ความเพียร)

จิตติทธิบาท (อิทธิบาท คือ จิต)

วิมังสิทธิบาท (อิทธบาท คือ วิมังสา - ปัญญาตริตรอง)

สภาวธรรม ๔ อย่าง มีฉันทะ เป็นต้น ชื่อว่า เป็น อิทธิบาท

ใน คราวที่เจริญอธิกุศล คือสมถะ หรือวิปัสสนา โดยพระโยคาวจรกระทำธรรม ๔ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งนี้ ให้เป็นธุระ คือให้ออกหน้า เป็นประธาน เป็นใหญ่ หมายความว่า มุ่งเจริญกุศล โดยมีความพอใจใคร่จะทำกิจนั้นเป็นใหญ่ หรือมีความเพียรในการทำกิจนั้นเป็นใหญ่ เป็นต้น.

คำว่า ได้เจริญแล้ว คือ ทำให้เกิดได้แล้ว

คำว่า ได้ทำให้มากแล้ว คือ ได้เพิ่มพูนแล้ว

คำว่า ได้ทำให้เป็นยานแล้ว คือ ได้ทำให้เป็นดุจยานพาหนะแล้ว ความว่า ถึงความชำนาญ มีกำลัง ถึงความแกล้วกล้า ในทุกๆสิ่งที่ต้องการ

คำว่า ได้ทำให้เป็นที่ตั้งอาศัยแล้ว คือได้ทำให้เป็นที่ตั้งมั่นแห่งจิต

คำว่า ตลอดกัป ชื่อว่า กัป ใน ที่นี้ ได้แก่กำหนดอายุกาล คือประมาณอายุของมนุษย์ในครั้งนั้นๆ ประมาณอายุเฉลี่ยของมนุษย์ สูงสุดคือ อสงไขยปี ต่ำสุด คือ ๑๐ ปี ในครั้งกาลแห่งพระศาสดาพระองค์นี้ ประมาณอายุของมนุษย์ คือ ๑๐๐ ปี ผู้ใดอายุเกิน ๑๐๐ ปี ไปบ้างก็เล็กน้อย ไม่ถึง ๒๐๐ ปี เพราะฉะนั้น เพราะอานุภาพแห่งพระอิทธิบาท ที่ได้ทรงเจริญแล้ว เป็นต้น ถ้าหากพระองค์ทรงหวัง ก็ทรงพระชนม์ชีพอยู่ได้ตลอดกัป คือ ๑๐๐ พรรษา.

คำว่า หรือตลอดส่วนที่เหลือแห่งกัป ความ ว่าในเวลานั้น พระองค์ทรงพระชนม์มายุ ๘๐ พรรษา กัปมี ๑๐๐ ปี เพราะฉะนั้น ส่วนที่เหลือแห่งกัป คือ ๒๐ ปี ถ้าหากทรงหวัง ก็จะทรงมีพระชนม์มายุยืนยาวต่อไปอีก ๒๐ พรรษา



บุคคลเมื่อประกอบด้วยคุณธรรม ๔ อย่างนี้แล้ว ย่อมประสบความสำเร็จในสิ่งที่ไม่เหลือวิสัยของมนุษย์ ซึ่งโดยตรงทางหมายถึง ความดับทุกข์โดยสิ้นเชิง ที่เรียกว่า นิพพาน ส่วนเรื่องอื่นนอกนั้นไป ถือว่าเป็นเรื่องพิเศษและไม่มีขอบขีดจำกัด เพราะมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนอกเหนือวิสัยธรรมดาอยู่มาก เช่นเรื่องที่ว่าคนเราอาจมีอายุยืนถึงกัลป์ด้วยอำนาจแห่งอิทธิบาททั้ง ๔ นี้ ซึ่งข้อนี้ มิได้มีความหมายขัดกัน ในข้อที่ว่าอิทธิบาท ๔ นี้ จะเป็นสิ่งที่ทำให้อายุยืนถึงปานนั้นได้หรือไม่ แต่มีปัญหาอยู่ที่ว่า คนเราจะสามารถเจริญอิทธิบาทให้มากถึงเท่านั้น ได้หรือไม่ต่างหาก เพราะฉะนั้น ท่านจึงถือว่าหลักเกี่ยวกับอิทธิบาทนี้ คงมีความหมายไปตามตัวหนังสือ โดยไม่ต้องมีขอบขีดจำกัดว่าอะไรบ้าง สรุปความสั้นๆ ว่าวิสัยของใคร ทำให้เขาเจริญอิทธิบาทได้มากเท่าใด เขาย่อมได้รับผลเต็มกำลัง ของอิทธิบาทนั้น แม้ในสิ่งที่บางคนถือว่าเป็นของเหลือวิสัย โดยเฉพาะเช่น การบรรลุนิพพาน ในที่บางแห่ง ท่านเติมคำว่า อธิปไตย เข้าข้างท้ายคำเหล่านี้ เป็น ฉันทาธิปไตย วิริยาธิปไตย วิมังสาธิปไตย ไปดังนี้ก็มี แปลว่า ความมีฉันทะเป็นใหญ่ เป็นต้น ซึ่งที่แท้ก็ได้แก่ อิทธิบาท อย่างเดียวกัน นั่นเอง แต่ใช้คำว่า ที่มีความหมายที่เห็นได้ชัดยิ่งขึ้นว่าในการทำกิจใดๆ ก็ดีย่อมมีฉันทะ เป็นต้น เหล่านี้เป็นใหญ่ หรือเป็นประธาน ในความสำเร็จ เป็นการชวนให้สนใจ ในสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาทนี้ยิ่งขึ้น มีพระพุทธภาษิตยืนยันอยู่ในที่หลายแห่ง ว่าการตรัสรู้ อนุตรสัมมา สัมโพธิญาณของพระองค์เองสำเร็จได้โดยมี อิทธิบาท๔ นี้ เป็นประธานแห่งการกระทำ ในลำดับนั้นๆ ฉะนั้น จึงถือว่าเป็นอุปกรณ์อันขาดเสียไม่ได้ในความสำเร็จทุกชนิด ผู้ปฏิบัติ เพื่อความ ความดับทุกข์ จึงต้องสนใจเป็นพิเศษ แม้การประกอบประโยชน์ ในทางโลก ก็ใช้หลักเกณฑ์ อันเดียวกันนี้ได้เป็นอย่างดี โดยเท่าเทียมกัน แม้ที่สุด แต่ในกรณีที่เป็น การทำชั่ว ทำบาป ก็ยังอาจนำไปใช้ ให้บรรลุผล ได้ตามที่ ตนประสงค์ ฉะนั้น ท่านจึงจัดเป็นหลักธรรมที่สำคัญหมวดหนึ่ง ในบรรดาโพธิปักขิยธรรมทั้งหลายนี้นับว่า เป็นอุปกรณ์ในฐานะเป็นเครื่องช่วยให้เกิดการปฏิบัติ ดำเนินไปได้โดยปราศจากอุปสรรคตั้งแต่ต้นจนถึงจุดหมายปลายทาง จะเห็นว่าอิทธิบาทสี่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะ การมีอิทธิบาทสี่ก็คือการมีกำลังใจที่จะยิ้มต่อสู้อย่างไม่เห็นความลำบากใดๆ คิดตลอดเวลาว่าสบายมาก
บุคคลเมื่อประกอบด้วย คุณธรรม ๔ อย่างนี้แล้ว ย่อมประสบความสำเร็จ ในสิ่งที่ ไม่เหลือวิสัยของมนุษย์ ซึ่งโดยตรงทางหมายถึงความดับทุกข์โดยสิ้นเชิง ที่เรียกว่า นิพพาน ส่วนเรื่องอื่น นอกนั้นไป ถือว่าเป็น เรื่องพิเศษ และ ไม่มี ขอบขีดจำกัด เพราะมีปัญหาเกี่ยวกับ เรื่องนอกเหนือ วิสัยธรรมดา อยู่มาก เช่นเรื่องที่ว่า คนเราอาจมีอายุยืน ถึงกัลป์ ด้วยอำนาจแห่งอิทธิบาททั้ง ๔ นี้ ซึ่งข้อนี้มิได้มีความหมาย ขัดกัน ในข้อที่ว่า อิทธิบาท ๔ นี้จะเป็นสิ่งที่ทำให้อายุยืนถึงปานนั้นได้หรือไม่ แต่มีปัญหาอยู่ที่ว่า คนเราจะสามารถ เจริญอิทธบาทให้มากถึงเท่านั้นได้หรือไม่ ต่างหาก เพราะฉะนั้น ท่านจึงถือว่า หลักเกี่ยวกับอิทธิบาท นี้ คงมีความหมาย ไปตามตัวหนังสือ โดยไม่ต้องมีขอบขีดจำกัดว่าอะไรบ้าง สรุปความสั้นๆว่าวิสัยของใคร ทำให้เขาเจริญอิทธิบาทได้มากเท่าใด เขาย่อมได้รับผลเต็มกำลังของอิทธิบาทนั้น แม้ในสิ่งที่บางคน ถือว่าเป็นของเหลือวิสัย โดยเฉพาะเช่น การบรรลุนิพพาน

ในที่บางแห่ง ท่านเติมคำว่า อธิปเตยย เข้าข้างท้ายคำเหล่านี้ เป็น ฉันทาธิปไตย วิริยาธิปไตย วิมังสาธิปไตย ไปดังนี้ก็มี แปลว่า ความมีฉันทะเป็นใหญ่ เป็นต้น ซึ่งที่แท้ ก็ได้แก่ อิทธิบาท อย่างเดียวกัน นั่นเอง แต่ใช้คำว่า ที่มีความหมาย ที่เห็นได้ชัด ยิ่งขึ้นว่า ในการทำกิจใดๆ ก็ดี ย่อมมีฉันทะ เป็นต้น เหล่านี้เป็นใหญ่ หรือเป็นประธานในความสำเร็จ เป็นการชวนให้สนใจในสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท นี้ยิ่งขึ้น มีพระพุทธภาษิต ยืนยัน อยู่ในที่ หลายแห่ง ว่า การตรัสรู้ อนุตรสัมมา
สัมโพธิญาณ ของพระองค์เอง สำเร็จได้โดยมี อิทธิบาท๔ นี้ เป็นประธาน แห่งการกระทำ ในลำดับนั้นๆ ฉะนั้น จึงถือว่าเป็น อุปกรณ์อันขาดเสียไม่ได้ในความสำเร็จทุกชนิด ผู้ปฏิบัติ เพื่อความ ความดับทุกข์ จึงต้องสนใจเป็นพิเศษ แม้การประกอบ ประโยชน์ ในทางโลก ก็ใช้หลักเกณฑ์ อันเดียวกันนี้ได้เป็นอย่างดี โดยเท่าเทียมกัน แม้ที่สุด แต่ในกรณีที่เป็น การทำชั่ว ทำบาป ก็ยังอาจนำไปใช้ ให้บรรลุผลได้ตามที่ตนประสงค์ ฉะนั้น ท่านจึงจัดเป็น หลักธรรม ที่สำคัญหมวดหนึ่ง ในบรรดา โพธิปักขิยธรรม ทั้งหลายนี้นับว่า เป็นอุปกรณ์ในฐานะเป็น เครื่องช่วยให้เกิดการปฏิบัติ ดำเนินไปได้ โดยปราศจากอุปสรรค ตั้งแต่ต้น จนถึง จุดหมายปลายทาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น