++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554

“หุ่นจำลองฝึกใส่สายยางอาหารผู้ป่วย” ผลงานเด่นจาก ว.พยาบาลบรมราชชนนี

อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ สร้างนวัตกรรมอำนวยความสะดวกการเรียนพยาบาล นำเสนอ “หุ่นจำลองยางพาราฝึกการใส่สายยางให้อาหารในผู้ป่วย” คว้ารางวัลวิจัยระดับดี ประจำปี 53

ดร. กานดา ตัณฑพันธ์ และทีมงาน ซึ่งประกอบด้วย ดร. วนิดา วิสุทธิพานิช และ อาจารย์ทิวาวัน คำบันลือ อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ สถาบันสมทบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สร้าง นวัตกรรมการเรียนการสอนโดยพัฒนาหุ่นยางพาราเสมือนจริงพร้อมคู่มือ เพื่อให้นักเรียนพยาบาลได้ใช้ในการเรียนและการฝึกปฏิบัติการใส่สายยางให้ อาหารผ่านทางจมูก ซึ่งเป็นหนึ่งทักษะการพยาบาลสำคัญที่นิสิตต้องฝึกปฏิบัติในห้องทดลองก่อนที่ จะไปให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยจริง โดยมีที่ปรึกษางานวิจัยคือ ดร.ละเอียด แจ่มจันทร์ อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ และ ศ.น.สพ.ดร. อภินันท์ สุประเสริฐ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาหุ่นจำลองยางพารา

ผลงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับรางวัลระดับดี สาขาศึกษาศาสตร์ การประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 48 ประจำปี 2553 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยได้รับการประกาศเกียรติคุณในพิธีเปิดการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 49 ประจำปี 2554 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดย ศ.ดร. กำพล อดุลวิทย์ นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้มอบรางวัล ณ ห้องประชุมกำพล อดุลวิทย์ อาคารสารนิเทศ 50 ปี

การสร้างหุ่นจำลอง (model) จากยางพาราให้เป็นหุ่นใส่สายยางให้อาหารโดยผ่านทางจมูกชิ้นนี้จัดเป็นสื่อ การเรียนการสอนประเภทวัสดุ 3 มิติ ช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนก็สามารถเข้าใจได้ง่าย เนื่องจากได้เห็นภาพและกลไกในการทำงานอย่างชัดเจน โดยการสร้างหุ่นยางพาราแสดงแบบจำลองของมนุษย์ครึ่งตัวครึ่งหน้าและแสดงโพรง จมูก ช่องปาก คอหอย กล่องเสียงและส่วนของทางเดินอาหาร เปิดหน้าท้องให้เห็นกระเพาะอาหารสำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ โดยลักษณะของหุ่น ส่วนศีรษะ จะปิดส่วนกั้นระหว่างช่องจมูก 2 ข้าง (Nasal septum) เพื่อให้คล้ายกับจมูกของคนปกติ และให้ใส่สายยางผ่านเข้าสู่หลอดอาหารได้เช่นเดียวกับการใส่ในผู้ป่วยจริง บริเวณหน้าท้องของหุ่น (Anterior abdominal wall) ถอดออกได้เพื่อให้เห็นการทำงานข้างใน และทำช่องว่างในกระเพาะอาหารเพื่อใส่สารน้ำแทนน้ำในกระเพาะอาหาร ซึ่งจะทำให้สายยางที่สอดผ่านเข้าสู่หลอดอาหารลงไปในกระเพาะเพื่อดูดน้ำย่อย ในกระเพาะได้เหมือนจริง นอกจากนี้ที่ส่วนบนของกระเพาะอาหารยังใส่กล่องเสียงเพื่อเตือนเมื่อสอดสาย ยางผิดและเสียงชมเมื่อสอดสายยางถูก ผนังหน้าท้อง จะใส่ลมเข้ากระเพาะอาหารเพื่อฝึกการเรียนการใช้หูฟังมาสัมผัสแล้วได้ยิน เสียงลมในกระเพาะอาหาร ซึ่งสัญญาณเสียงเตือนแต่ละจุดจะออกมาตามที่บันทึกไว้โดยติดตั้งตัวรับสัญญาณ เสียงไว้ในแต่ละจุด ทุกจุดจะมีสายไฟเชื่อมต่อไปที่ด้านหลังของหุ่นและไปเชื่อมต่อไว้กับตัวส่ง กระแสไฟฟ้า

หุ่นจำลองการเรียนการสอนนี้ได้นำไปทดสอบการใช้งานจริงจากทั้งอาจารย์และนิสิตวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ พบ ว่าได้รับความพอใจในระดับมากไม่ว่าจะเป็นด้านโครงสร้างของหุ่น ซึ่งแสดงกายวิภาคของระบบทางเดินอาหารและทางเดินหายใจอย่างชัดเจน รูปร่างลักษณะของหุ่นเสมือนผู้ป่วยจริงและการทดลองกับหุ่นทำให้เข้าใจขั้น ตอนและวิธีการใส่สายยางเพื่อให้อาหารกับผู้ป่วย นิสิตเกิดทักษะในการใส่สายยาง ด้านคู่มือการใช้มีเนื้อหาครอบคลุมกายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบทางเดินหายใจ และทางเดินอาหารที่เกี่ยวข้องกับการใส่สายยางและเอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตน เอง นิสิตสามารถเตรียมเครื่องใช้สำหรับใส่สายยางเพื่อให้อาหารได้ถูกต้อง ทั้งยังสามารถอธิบายวีธีการให้อาหารทางสายยางและเข้าใจภาวะ แทรกซ้อนที่เกิดจากการให้อาหารทางสายยางได้อย่างชัดเจน

ผลการวิจัยเพื่อสร้างและพัฒนาหุ่นใส่สายยางให้อาหารโดยผ่านทางจมูก พร้อมคู่มือดังกล่าว จึงเป็นการเปิดโอกาสให้นิสิตได้ทดลองฝึกปฏิบัติซ้ำ ๆ กันหลายครั้งเพื่อให้เกิดทักษะปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ป่วย ช่วยลดปัญหาการปฏิบัติกับผู้ป่วยจริง นอกจากนี้เป็นการต่อยอดงานวิจัยให้กับการสร้างหุ่นจำลองยาพาราในรูปแบบอื่นๆ ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยต้องนำเข้าหุ่นจำลองจากต่างประเทศซึ่งมีราคาสูงกว่า วัสดุจากยางพารา ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการจัดหาสื่อการสอนอย่างยิ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น