++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ม.เกษตรฯศึกษาน้ำเชื้อเต่าทะเลครั้งแรกในประเทศหาสาเหตุเต่าวางไข่น้อย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

ศูนย์ข่าวภูเก็ต - คณะสัตวแพทย์ ม.เกษตรศาสตร์
ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน
ศึกษาน้ำเชื้อของเต่าทะเลครั้งแรกในประเทศไทย หาสาเหตุเต่าทะเลไม่วางไข
เชื่อภายในปีนี้สามารถผสมเทียมเต่าทะเลได้
ช่วยลดภาวะเสี่ยงเต่าทะเลสูญพันธุ์

วันนี้ (4 พ.ค.) ที่บริเวณบ่อเลี้ยงเต่าทะเล กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก
สถาบันสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน ภูเก็ต
รศ.สพญ.ดร.เกษกนก ศิรินฤมิตร อาจารย์ประจำคณะสัตวแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับนักศึกษา และเจ้าหน้าที่
ช่วยกันใช้อุปกรณ์รีดน้ำเชื้อเต่าหญ้าตัวผู้ขนาดใหญ่
เพื่อนำน้ำเชื้อมาศึกษาวิเคราะห์และเก็บรักษาเพื่อแก้ไขปัญหาเต่าทะเลใกล้
สูญพันธ์ และหาสาเหตุของเต่าทะเลไม่ขึ้นมาวางไข
ตามโครงการศึกษาน้ำเชื้อของเต่าทะเล

รศ.สพญ.ดร.เกษกนก กล่าวว่า
โครงการศึกษาน้ำเชื้อของเต่าทะเลเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 3 ปี ที่แล้ว
โดยนักศึกษาที่มาฝึกงานที่สถาบันพบปัญหาเต่าทะเลไม่ขึ้นมาวางไขจึงได้ทำ
โครงการศึกษาน้ำเชื้อของเต่าทะเลขึ้น
ซึ่งการศึกษาน้ำเชื้อของเต่าทะเลนั้นถือว่าเป็นการศึกษาเป็นครั้งแรกใน
ประเทศไทย เพื่อหาสาเหตุของเต่าทะเลไม่ขึ้นมาวางไข
และได้มีการเก็บน้ำเชื้อจากเต่าทะเลที่เลี้ยงไว้ที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายากที่
ภูเก็ตครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4
ซึ่งครั้งแรกนั้นเป็นการศึกษาทางด้านเทคนิคในการรีดน้ำเชื้อว่าจะต้องทำ
อย่างไร

หลังจากนั้น
ก็ได้มีการศึกษาในเรื่องของการใช้สารละลายน้ำเชื้อมาละลายให้สเปิร์มของเต่า
ทะเลละลายออกมาได้
ต่อมาเป็นการศึกษาเรื่องของสีย้อมเพื่อดูรูปร่างของอสุจิซึ่งไม่สามารถใช้สี
ยอมชนิดเดียวกับที่ย่อมอสุจิของสุกร สุนัขได้ จะต้องใช้สีย้อมอย่างอื่น
ซึ่งการศึกษาขั้นตอนในการดำเนินการนั้นทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว

สำหรับการดำเนินการครั้งนี้ก็เป็นขั้นตอนของการเก็บตัวอย่างน้ำเชื้อ
เพื่อนำไปทำน้ำเชื้อแช่เย็นเพื่อดูว่าจะสามารถจัดเก็บได้นานเท่าไหร่
และจะทำควบคู่กันไปคือการทำน้ำเชื้อแช่แข็งเพราะถ้าสามารถทำน้ำเชื้อแช่แข็ง
ได้จะสามารถเก็บได้เป็นปี หลังจากนั้น
จะนำน้ำเชื้อมาศึกษาโครงสร้างของสเปิมส์ในเชิงลึกว่ามีโครงสร้างอย่างไร
ซึ่งการศึกษาน้ำเชื้อของเต่าทะเลนั้นไม่เคยมีใครทำมาก่อนในประเทศไทย
โครงการนี้เป็นโครงการแรกที่ทำ

นอก จากนั้น
จะมีการเจาะเลือดเต่าทะเลชุดทดลองทุกเดือนเพื่อดูเรื่องของฮอร์โมนทั้งตัว
ผู้และตัวเมียเพื่อดูความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนว่าเป็นอย่างไร

"และในอนาคตอันใกล้นี้หลังจากที่เก็บน้ำเชื้อแช่เย็นและแช่แข็งได้
แล้ว และรอวงรอบฮอร์โมนของเต่าตัวเมียว่าเป็นอย่างไรก็จะสามารถทำการผสมเทียมเต่า
ทะเลต่อไปในอนาคต
ซึ่งคาดว่าภายในปีนี้น่าจะเริ่มดำเนินการผสมเทียมเต่าทะเลได้เพราะได้มีการ
ศึกษาควบคู่กันอยู่แล้ว โดยการศึกษานั้นเริ่มที่เต่าหญ้าก่อน
เนื่องจากการศึกษาพบว่าเต่าหญ้าขึ้นมาวางไข่น้อยลงและมีแนวโน้มสูญพันธุ์สูง
เชื่อว่า ถ้าสามารถผสมเทียมเต่าทะเลได้สำเร็จจะทำให้เพิ่มจำนวนเต่าทะเลได้มากขึ้นและ
ลดความเสี่ยงการสูญพันธุ์ไปได้" รศ.สพญ.ดร.เกษกนก กล่าว


http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9520000049915

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น