++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ม.มหานคร แนะวิธีรู้ทัน โรคไข้หวัด “หมู”

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

    ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร แนะวิธีทำความรู้จักกับ "เชื้อไวรัสชนิด H1N1" ใน "โรคไข้หวัดใหญ่" ที่พบระบาดในสุกร พร้อมแนะนำการป้องกันและวิธีดูแลให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร
     
       ตามรายงานข่าวการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ทีระบาดในประเทศแมกซิโกและสหรัฐ อเมริกา โดยพบผู้ป่วยที่เข้าข่ายสงสัยว่า ติดเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ในประเทศแมกซิโกจำนวนกว่าหนึ่งพันราย และเสียชีวิตมากกว่า 160 ราย ซึ่งในจำนวนผู้ป่วยบางส่วนสามารถยืนยันได้ว่ามีการติดเชื้อไวรัสชนิด H1N1 ซึ่งมีลักษณะทางพันธุกรรมคล้ายคลึงกับเชื้อไวรัสโรคไข้หวัดใหญ่ที่พบระบาดใน สุกร จึงมีคำถามตามมาอย่างมากมายจากผู้ที่เลี้ยงสุกร ผู้ที่ต้องสัมผัสตลอดจนผู้ที่บริโภคเนื้อสุกรว่าโรคไข้หวัดสุกรคืออะไร มีการระบาดได้อย่างไร โรคนี้พบได้บ่อยแค่ไหน คนสามารถติดโรคจากสุกรได้หรือไม่และการบริโภคเนื้อสุกรจะปลอดภัย จากโรคแค่ไหน
     
       ด้วยสาเหตุนี้ ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ทำหน้าที่อธิบายถึงโรคไข้หวัดสุกรและเชื้อไวรัสชนิด H1N1 ซึ่งเกิดขึ้นในระบบทางเดินหายใจของสุกร
     
       “โรคนี้มีอัตราการป่วยสูงเกือบถึง 100% มักไม่พบการตาย ถ้าไม่มีการติดเชื้อแทรกซ้อน แต่มีผลกระทบทางเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมการผลิตสุกรเป็นอย่างมาก เนื่องจากทำให้สุกรป่วยไม่เจริญเติบโตต้องใช้ระยะเวลาในการขุนสุกรนานขึ้น และสุกรตั้งท้องอาจเกิดการแท้งลูกได้ สาเหตุของการเกิดโรคไข้หวัดสุกรมาจาก การติดเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ Type A ตระกูลออโธมิกโซไวริดี (Orthomyxoviridae)
     
       ซึ่งที่พบส่วนใหญ่เป็นชนิด H1N1 และ H3N2 ระยะหลังเริ่มมีรายงานการตรวจพบ H1N2 ในประเทศต่างๆ เพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มว่าจะมีการระบาดแทนสายพันธุ์ H1N2 และ H3N2 เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นเชื้อไวรัสที่มีสารพันธุกรรมลักษณะเป็นท่อน จำนวน 8 ท่อน จึงทำให้มีโอกาสเกิดการกลายพันธุ์ และมีการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมระหว่างไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่มาจาก มนุษย์ สัตว์ปีก และสุกรได้ง่าย โดยที่สุกรทำหน้าที่เป็นตัวกลางของการผสมกันระหว่างไวรัสของคนและสัตว์ปีก
     
       เนื่อง จากไวรัสของสุกรมีตัวรับ (receptor) ที่ผิวเซลล์ที่เหมือนกับไวรัสของคนและสัตว์ปีก จึงทำให้สุกรสามารถติดไวรัสไข้หวัดใหญ่ในคนหรือสัตว์ปีกได้ และเพิ่มโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสในขณะที่อยู่ใน ตัวสุกรได้สูง
     
       โดยทั่วไปโรค สามารถติดต่อระหว่างสุกรด้วยกันได้จากน้ำมูกหรือน้ำลายของสุกรที่ติดเชื้อ ปะปนอยู่ในอากาศ หรืออาหารและน้ำ แต่ไม่พบการติดต่อจากสุกรไปยังมนุษย์หรืออาจพบได้บ้างแต่โอกาสที่จะเกิดมี น้อยมากในคนที่อยู่ใกล้ชิดกับสุกร ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่าโรคไข้หวัดสุกรสามารถติดต่อสู่คนได้ทางการบริโภคเนื้อสุกรที่ติดเชื้อ แต่อย่างไรก็ตามการบริโภคเนื้อสุกรปรุงสุกที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียสก็สามารถแน่ใจได้ว่าเนื้อสุกรนั้น
       ปลอดจากเชื้อไวรัส”
     

  
       ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร อธิบายต่อว่า ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์แม็กซิโกที่กำลังระบาดอยู่ในปัจจุบัน เป็นโรคไข้หวัดใหญ่ที่พบอยู่ในประเทศแมกซิโกและสหรัฐอเมริกา มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1เริ่มระบาดครั้งแรกในประเทศแม็กซิโก เป็นโรคที่ระบาดจากคนสู่คน
     
       " แต่เดิมนั้นก็เรียกโรคชนิดนี้ว่า “ไข้หวัดหมู” เนื่องจากเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุเป็นเชื้อที่มีสายพันธุ์ใกล้เคียงกับโรค ไข้หวัดหมู แต่จากสถานการณ์ล่าสุดพบว่าเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่เป็น ไข้หวัดใหญ่ชนิดสายพันธุ์ H1N1 ซึ่งมีลักษณะทางพันธุกรรมที่ไม่เคยพบมาก่อน เป็นสายพันธุ์พิเศษที่มีสารพันธุกรรมในแบบที่พบทั้งในคน นก และหมู ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากการที่เชื้อไวรัสมีการกลายพันธุ์ การระบาดของ เชื้อชนิดนี้ติดต่อได้จากคนสู่คนโดยเชื้อโรคจะอยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย และสามารถแพร่กระจายไปยังผู้อื่นด้วยการไอ หรือจามรดกันในระยะใกล้ชิด และติดต่อได้จากเชื้อปนเปื้อนอยู่ในอากาศ อาหารหรือน้ำดื่ม
     
       โดยเชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูกและตา เช่น การหายใจ การแคะจมูก การขยี้ตาแต่ไม่มีหลักฐานว่ามีการติดต่อจากการรับประทานเนื้อหมูเลย ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและเหมาะสมจึงได้เปลี่ยนมา เรียกว่า “ไข้หวัดใหญ่แม็กซิโก” แต่ล่าสุดประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประกาศให้เรียกโรคไข้หวัดใหญ่จากไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้ว่า “ไข้หวัดใหญ่ 2009 H1N1”
     
       ทั้งนี้ ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ได้ให้คำแนะนำสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรในการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัด สุกร
     
       “เกษตรกร ผู้เลี้ยงสุกรต้องมีการจัดการระบบการเลี้ยงและการสุขาภิบาลให้ถูกสุขลักษณะ เช่นคอกสะอาด ไม่ชื้นแฉะ มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อยู่ในที่อากาศหนาว ร้อน หรือถูกฝนมากเกินไป พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์ปีกในบริเวณเดียวกันกับที่เลี้ยงสุกร เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการรวมพันธุกรรมระหว่างเชื้อไวรัสไข้หวัดนก และไข้หวัดสุกร และหลีกเลี่ยงการเลี้ยงหรือสัมผัสสุกรในฟาร์ม สังเกตอาการสัตว์ป่วยของสุกรหากแสดงอาการมีไข้ ซึม น้ำหนักลด หายใจลำบาก ไอ จาม น้ำมูกไหลหากพบสัตว์ป่วยให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์โดยเร็ว”

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000048873

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น