++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

3 ไอเดียนศ. นำสิ่งที่มีมาต่อยอด

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์


ว่ากันว่าปัจจุบันสิ่งที่มนุษย์คิดค้นขึ้นมามีจำนวนมาก
หากใครรู้จักนำสิ่งที่มีอยู่เหล่านี้มาต่อยอดก็จะได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะเป็น
ประโยชน์มากยิ่งขึ้น ในการแข่งขันเอชเอสบีซี ยอดนักธุรกิจรุ่นใหม่
ครั้งที่ 5 นั้นโจทย์ของการแข่งขันก็คือให้นิสิต นักศึกษา
ผู้เข้าร่วมแข่งขันลองคิดหาผลิตภัณฑ์ หรือบริการใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมี
มาทำเป็นแผนการตลาดของผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นๆ

ในรอบชิงชนะเลิศทั้งมีทีมที่ผ่านเข้ารอบทั้งหมด 6 ทีม
พวกเขาต่างนำเสนอผลิตภัณฑ์ - บริการ จากการประยุกต์สิ่งที่มีอยู่
ลองไปดูความคิดของ 3
ทีมที่ได้รับรางวัลกันว่าสิ่งที่พวกเขาคิดนั้นมีอะไร....


ทีม Varsity
เริ่มที่ผลงานที่ได้รางวัลชนะเลิศ "Port 3.0" ของทีม Varsity
ซึ่งมีสมาชิกประกอบด้วย สุกฤษ ตันติสุวิทย์กุล พรชนก โสภณเกียรติกุล
ศศิรัตน์ กิตติจูงจิต 3 นักศึกษาคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
(หลักสูตรภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผลงานชิ้นดังกล่าวพวกเขาประยุกต์มาจากแฟลชไดร์ฟ และการดาวน์โหลด -
อัพโหลด ไฟล์งานของเครื่องคอมพิวเตอร์
มารวมกันเพื่อความสะดวกในการรับส่งข้อมูลไม่ว่าจะเป็นที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้
ที่มีไวไฟ (WIFI) ก็จะสามารถดาวน์โหลด - อัพโหลดข้อมูลได้แล้ว

"ที่มาที่ไปก็คือ การที่แป็นนักศึกษา
ก็จะต้องมีการใช้งานรับส่งไฟล์ ซึ่งแต่ละครั้งใช้เวลานานมา
กอย่างโหลดบิตนี่กว่าจะเสร็จก็ต้องรอไป
จะเปิดเครื่องคอมทิ้งไว้แล้วไปทำอย่างอื่นก็ไม่ได้
กลัวคนอื่นจะมาล้วงข้อมูลในคอมพิวเตอร์ไปใช้ก็ต้องรอจนเสร็จถึงจะไปทำอย่าง
อื่นต่อได้ เราก็เลยคิดว่าเราอยากจะมีเครื่องมืออะไรก็ได้ที่มันใช้งานในลักษณะนี้ได้
ง่าย ตอบสนองความต้องการของพวกเรา และสามารถที่จะใช้งานได้จริง ทำได้จริง
ลองคิดๆ ดูก็ออกมาเป็นเจ้านี่ล่ะ"

พวกเขายังบอกอีกด้วยว่าพวกเขาลองศึกษาดูแล้วว่าสิ่งที่พวกเขาคิดนั้น
มีความเป็นไปได้ที่จะผลิตขึ้นมาเพื่อจำหน่าย
เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ทำมาจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว
เพียงแต่พวกเขานำมารวมไว้เป็นหนึ่งเดียว

"จะสะดวกขนาดไหนหากเราสามารถที่จะดาวน์โหลด อัพโหลด ไฟล์ข้อมูล
และเปลี่ยนไฟล์ข้อมูลกับใครที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ เรามั่นใจว่า Port 3.0
สามารถผลิตขึ้นมาได้จริง และขายได้จริงทุกอย่างมีอยู่แล้ว
เพียงแต่นำมารวมกันแล้วผลิตขึ้นมาเป็นชิ้นเดียว ให้คนทั่วๆ
ไปสามารถที่จะเอาไปใช้ที่ไหนเวลาไหนก็ได้ขอให้มีไวไฟ (WIFI) ก็แล้วกัน"

ทีม Begin
ส่วนทีม Begin
ซึ่งได้รับรางวัลที่สองนั้นมีผลงานเป็นบริการที่มีชื่อว่า Green Globe
มีสมาชิกเป็นนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีสมาชิกประกอบด้วย พลอย ธรรมาภิรานนท์ พนิตา
อัจฉริยหิรัญชัย เจนวิทย์ เจียมมานิสกุล

พวกเขาบอกว่าผลงานของพวกเขานั้น เป็นงานให้บริการในการจัดการขยะ
โดยเขาตั้งเป็นบริษัทขึ้นมาเป็นตัวกลางในการรับซื้อผลิตภัณฑ์ต่างๆ
ที่ใช้แล้ว ผ่านเครื่องรับคืนบรรจุภัณฑ์
ซึ่งให้ความสะดวกมากกว่าการเก็บไว้ขายให้ซาเล้งรับซื้อของเก่า

"เราคิดขึ้นมาจากการที่เราอยากได้งานที่ให้คุณค่ากับสิ่งแวดล้อม
ก็เลยลองคิดว่าถ้าเราตั้วงเครื่องรับซื้อกระป๋อง
ขวดที่ใช้แล้วแบบอัตโนมัติ คือถ้าคุณเอาสิ่งที่คุณใช้แล้วมาใส่เข้าไป
แล้วเครื่องจะทำการคิดมูลค่าเสร็จก็จะส่งเงินออกมาให้เรา ง่ายๆ
ก็คือเหมือนกับเครื่องขายน้ำอัดลมอัตโนมัตินั่นล่ะ
แต่แทนที่จะหยอดเงินเพื่อได้น้ำบรรจุกระป๋อง
ก็เอากระป๋องหยอดลงไปเพื่อที่จะได้เงินออกมา"

ทีม Creatif
ในขณะที่ทีม Creatif
ที่ได้รับรางวัลที่สามนั้นพวกเขาใช้ชื่อผลงานว่า GPS Social Networking
มี สมาชิกทีมเป็นนิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (หลักสูตรนานาชาติ)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีสมาชิกทีมประกอบด้วยพิชญา ลิขิตสุวรรณ ณิชกานต์
เบญจศิริ ฐชาพันธุ์ ดิษยมณฑล

พวกเขาบอกว่า GPS Social Networking
ที่พวกเขาคิดเป็นแอพพลิเคชั่นเพื่อใช้งานบนโทรศัพท์มือถือการผสมผสานระหว่าง
เทคโนโลยี GPS กับโทรศัพท์มือถือ
เพื่อที่จะได้เจอกันได้ง่ายไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน

"ลองคิดเล่นๆ น่ะค่ะเวลาเราไปไหนมาไหนอย่างถ้าเป็นคนกรุงเทพฯ
แล้วมีโอกาสไปที่จังหวัดอื่นอย่างเช่นไปกาญจนบุรี
แล้วเรามีเพื่อนอยู่ที่นั่น
ถ้าเราอยากเจอเราตามปกติเราก็ต้องโทรถามว่าอยู่ไหม อยู่ที่ไหน
อะไรประมาณนี้ แต่ถ้าเรามีแอพพลิเคชั่นที่เราคิดขึ้นมาเนี่ยเวลาเราไปที่ไหน
เราเกิดอยากรู้ว่ามีเพื่อนเราอยู่ใกล้ๆ หรือเปล่าก็สามารถจะเปิดดูได้เลย
คือมันจะแสดงตำแหน่งที่เพื่อนๆ เราอยู่เลย คือมีGPS ติดตัวอยู่ตลอด

แล้วถ้าทุกคนมีอยู่แล้วเวลาอยากโฆษณาถึงกลุ่มเป้าหมายก็ช่วยให้ส่ง
โฆษณาตรงไปยังกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรงเลยถูกคน แล้วก็กำหนดเวลาได้ด้วย"

แม้ว่าทั้ง 3
ความคิดนี้จะยังไม่มีผลงานใดที่ผลิตขึ้นมาใช้งานจริงในปัจจุบัน
แต่เชื่อว่าหากบริษัทใดที่คิดจะผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
ขึ้นมาคงจะไม่มองข้ามความคิดของพวกเขาเหล่านี้ เพราะทั้ง 3 ผลงานนี้
น้องๆ บอกว่าพวกเขาลองศึกษาแล้วเห็นว่ามีโอกาสที่จะผลิตขึ้นมาใช้ได้จริง
เพราะเป็นการนำสิ่งที่มีอยู่แล้วมารวมเข้าด้วยกัน...

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000051120

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น