++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

3 มหา'ลัยเตรียมจ่อเที่ยวไทยสไตล์บำเพ็ญ "Voluntourism"

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

สืบ เนื่องจากที่ ททท.
ออกแคมเปญชวนนักศึกษานำร่องท่องเที่ยวรูปแบบใหม่สไตล์บำเพ็ญ Voluntourism
หรือ การเดินทางท่องเที่ยวแบบอาสาสมัครโดยคัด4 ชุมชน บ้านถ้ำเต่า
คลองตะเคียน เกาะเตียบ และบ้านนาตาโพเป็นพื้นที่นำร่อง
ซึ่งขณะนี้เหล่านิสิตนักศึกษาต่างก็ให้ความสนอกสนใจกับการท่องเที่ยวรูปแบบ
ใหม่ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก

นายวันเสด็จ ถาวรสุข รองผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
(ททท.) ด้านตลาดในประเทศ เปิดเผยว่า โครงการ
"ท่องเที่ยวเรียนรู้สู่ชุมชน" เป็นการนำเสนอการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่
ที่เรียกกันว่า Voluntourism หรือ การท่องเที่ยวเพื่อบำเพ็ญประโยชน์
ซึ่งริเริ่มโดยภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โดยในระยะแรกได้ตั้งเป้าหมายไปยังกลุ่มนิสิตนักศึกษา
และอาจจะขยายผลไปยังกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ในระยะถัดไป

โครงการดังกล่าวเป็นการเปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาเดินทางไปท่อง
เที่ยวยังแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ
ในขณะเดียวกันก็ได้มีโอกาสเรียนรู้ในสิ่งที่แตกต่างออกไป อาทิ วิถีชีวิต
ศิลปวัฒนธรรม ที่สำคัญ คือ ความแตกต่างในการดำเนินชีวิต
ซึ่งเป็นการเปิดโลกทัศน์ของนิสิตนักศึกษาจากการท่องเที่ยว และสุดท้าย คือ
นิสิตนักศึกษาเหล่านั้นได้แบ่งปันความรู้ ความสามารถ ความคิด
รวมไปถึงหยาดเหงื่อและแรงกายของตนเองในการสร้างสรรค์ประโยชน์
และสิ่งดีงามให้แก่ชุมชนด้วย
ในที่นี้เป็นการเสริมสร้างศักยภาพทางด้านตลาดของชุมชน
ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นความสมบูรณ์แบบของการเดินทางท่องเที่ยว

"ใน สมัยก่อน นิสิตนักศึกษาชาวต่างประเทศนิยมเก็บออมเงิน
โดยมีเป้าหมายเพื่อเดินทางมาท่องเที่ยวยังประเทศต่าง ๆ
ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมายของกลุ่มนิสิตนักศึกษาเหล่านั้น
พวกเขาไม่เพียงแต่จะเดินทางมาท่องเที่ยวเท่านั้น
รูปแบบการท่องเที่ยวของเขายังรวมไปถึงการแบ่งปันความรู้ให้แก่คนในชุมชนต่าง
ๆ ที่เขาเหล่านั้นไปเยือน ด้วยการสอนภาษาอังกฤษให้แก่คนในชุมชน
ซึ่งเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่ทำให้นักท่องเที่ยวรู้สึกอิ่มเอมใจ
นอกไปจากได้ชมทัศนียภาพความงดงามของแหล่งท่องเที่ยว ต่าง ๆ เท่านั้น"
นายวันเสด็จกล่าว

ทั้งนี้ขบวนแรกที่จะยกกันไปชิมลางการท่องเที่ยวสไตล์บำเพ็ญนั้นเป็น
เหล่านศ.จาก รั้วม.ขอนแก่น และ ม.ราชธานี
ออกเดินทางท่องเที่ยวและพัฒนาพื้นที่
บ้านถ้ำเต่าที่มีจุดเด่นเรื่องผ้าย้อมคราม
เพื่อลงพัฒนาชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยว ในวันที่ 14 - 15 พ.ค. 2552
พื้นที่บ้านถ้ำเต่า จ. สกลนคร

ท่ามกลางการรอคอยของชุมชน นางสมคิด พรมจักร์ ผู้ใหญ่บ้านถ้ำเต่า
จ.สกลนคร กล่าวถึงการที่จะจัดกิจกรรมในพื้นที่บ้านถ้ำเต่าโดยมรดกของชุมชนที่ต้องการ
ให้การท่องเที่ยวของนักศึกษาได้มาแบ่งปันความรู้คือส่วนของสินค้าชุมชน
อย่าง " ผ้าย้อมคราม" สินค้าขึ้นชื่อของชุมชน
เนื่องจากได้รับการสืบทอดเป็นมรดกทางภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษ
ด้วยเป็นแหล่งที่ปลูกต้นครามมากที่สุดในประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ 327
ไร่ แต่อย่างไรก็ตาม
กลุ่มชาวบ้านยังต้องการคำแนะนำด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการ
ของตลาด รวมถึงแนวโน้มแฟชั่นของตลาด

"เชื่อ มั่นว่ากลุ่มนักศึกษาสามารถให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะเพื่อนำมาผสมผสานกับ
ภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวบ้าน เพื่อให้สินค้าได้รับความนิยมในสังคม
รวมไปถึงการส่งเสริมการท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นเทศกาลตีคราม
ซึ่งจะจัดขึ้นในปีนี้เป็นปีแรก
ตลอดจนการสร้างความตระหนักด้านศิลปวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ในเรื่องของผ้าย้อม
ครามให้รู้จักอย่างแพร่หลายยิ่งขึ้นอีกด้วย "

ส่วนทริปที่สอง กำลังจะเกิดขึ้นที่พื้นที่บ้านคลองตะเคียน จ.
พระนครศรีอยุธยา ในวันที่ 26 - 27 พ.ค. 2552 พื้นที่
นี้ก๊วนนักศึกษาที่จะลงพื้นที่มาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
เดินทางท่องเที่ยวและพัฒนาพื้นที่
โดยส่วนมากเป็นลักษณะชุมชนมุสลิมที่อยู่ร่วมกับสังคมชาวพุทธอย่างเรียบง่าย
ชุมชนแห่งนี้มีศักยภาพด้านแหล่งท่องเที่ยวอยู่แล้ว
แต่ต้องการพัฒนาเรื่องอาหารปลอดภัยเพราะในพื้นที่มี โรตีกุหลาบ
โรตีมะตะบะ เป็นของอร่อยขึ้นชื่อของชุมชน
โดยทั้งหมดนี้
บรรดานักศึกษาก็จะเข้าไปช่วยพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
อีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่จัดอยู่ในโครงการ คือ ตำบลคลองตะเคียน
จ.พระนครศรีอยุธยา

ทางด้าน " นายคีตะพิชณ์ สิริภูบาล"
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลคลองตะเคียนกล่าวถึงแนวทางการท่องเที่ยวของบ้าน
คลองตะเคียนว่า เดิมทีชาวบ้านคลองตะเคียนยังไม่เห็นคุณค่าและศักยภาพทางด้านแหล่งท่องเที่ยว
ที่แฝงเร้นในชุมชน ทั้งๆที่ชุมชนมีศักยภาพและความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน อาทิ
การที่ชุมชนชาวพุทธและชาวมุสลิมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข อาหาร
การเดินทางท่องเที่ยวที่สะดวกมีคลองตัดผ่าน
และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯมากนักสามารถเดินทางได้สะดวก
สิ่งเหล่านี้เป็นจุดแข็งที่บ้านคลองตะเคียนมี
แต่ชาวบ้านซึ่งอยู่ในพื้นที่มานานเห็นเป็นความเคยชิน

"เรา คงต้องปลุกจิตสำนึกให้ชาวชุมชนเห็นคุณค่าของตนเอง
และพาศึกษาดูงานในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนหลายแห่ง
เพื่อเปิดมุมมองการท่องเที่ยวชุมชนให้กว้างขึ้น
ให้ชาวชุมชนภาคภูมิใจกับชุมชนตนเอง
โดยสิ่งที่ชุมชนต้องการให้นักศึกษาเข้ามาช่วยพัฒนา อาทิ
เรื่องการยืดอายุอาหาร การอบรมภาษาอังกฤษ
รวมถึงการสร้างจิตสำนึกให้ชาวชุมชนภูมิใจ ในท้องถิ่น "

สำหรับความคาดหวังนายวันเสด็จกล่าวต่ออีกว่า "
โครงการดังกล่าวจะทำให้พวกเขาเหล่านั้นมีความเข้าใจทางด้านการท่องเที่ยวมาก
ขึ้น มีมุมมองทางด้านตลาดท่องเที่ยวที่กว้างขวางยิ่งขึ้น
ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศในอนาคต

ทางด้านชุมชนหรือหมู่บ้านในพื้นที่ดังกล่าว
จะได้รับประโยชน์จากการเสริมสร้างศักยภาพทางด้านตลาดของสินค้าท่องเที่ยวของ
ชุมชน ไม่ว่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยว ภูมิทัศน์ สินค้า อาหาร
รวมไปถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ
ชุมชนจะรู้จักตัวเองมากขึ้น เข้าใจตัวเองมากขึ้น
ถึงสินค้าท่องเที่ยวของเขาที่มีศักยภาพ
ซึ่งเมื่อเขารู้จักตัวเองดีขึ้นแล้ว เขาจะสามารถเติบโตได้ถูกทาง
และเป็นการเติบโตที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคตอย่างแน่นอน"

ส่วนบรรยากาศความสนุกจะมันส์แค่ไหน
จากการที่นักศึกษาจะได้สัมผัสการท่องเที่ยวในรูปแบบอาสาพัฒนา หรือ
Voluntourism เดี๋ยวทางผู้สื่อข่าวจะรายงานอีกครั้ง "


http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000049533

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น