++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556

พิพากษา ประหารชีวิต เป็นบาปไหม



Nong Chuwongkomol - กราบเรียนถามพระอาจารย์เรื่องการเป็นผู้พิพากษา ๒ เรื่องค่ะ

๑. หากจำเลยกระทำความผิดจริง แล้วพิพากษาจำคุกหรือประหารชีวิต ตามที่กฎหมายบัญญัติโทษไว้ ผู้พิพากษาจะบาปหรือไม่คะ

๒. กรณีที่มีการทำหลักฐานเท็จอย่างแนบเนียน ไม่มีทางที่จะมีผู้ใดทราบได้เลย และผู้พิพากษาก็ได้พิพากษาตามพยานหลักฐานที่ปรากฏด้วยความละเอียด รอบคอบและไม่มีเจตนาร้ายหรืออคติใดๆ ได้พิพากษาจำคุกหรือประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์

๒.๑ ผู้พิพากษาจะมีบาปหรือไม่คะ

๒.๒ ผู้พิพากษาจะต้องรับกรรมหรือผลร้าย เช่น ถูกอาฆาตจากจำเลยหรือไม่คะ

(คำถามข้างต้นจะ ช่วยให้หนูสามารถเลือกเส้นทางประกอบอาชีพในอนาคตค่ะ)

พระไพศาล วิสาโล วิสัชนา - การสั่งฆ่าคนนั้นถือว่ามีส่วนในการทำปาณาติบาต ข้อนี้ย่อมรวมถึงการพิพากษาประหารชีวิตด้วย นี้เป็นคติหรือความเชื่อในพุทธศาสนา สะท้อนให้เห็นในชาดกต่าง ๆ เป็นอันมาก โดยเฉพาะเรื่องพระเตมีย์ กล่าวคือพระเตมีย์อธิษฐานเป็นใบ้ เพื่อจะได้ไม่ต้องขึ้นครองราชย์ เนื่องจากระลึกชาติได้ว่า เมื่อครั้งเป็นพระราชา เคยตัดสินลงโทษประหารชีวิตคนมากมาย เป็นเหตุให้ตกนรกอยู่นาน

พระเจ้าแผ่นดินไทยสมัยก่อนก็มีความเชื่อเช่นนี้ ดังส.ศิวรักษ์ได้เคยเขียนว่า “สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเล่าถวายสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ว่า)....เวลาพระเจ้าแผ่นดินจะสั่งประหารชีวิต กระแสพระราชโองการจะอ้างว่าทรงทำตามความเห็นของลูกขุน ลูกขุนจะอ้างกฎพรบ.อัยการตราพระราชสีห์ที่เสนาบดีมีไปสั่งประหาร จะอ้างพระราชโองการ สัสดีจะอ้างคำสั่งอธิบดี แม้ที่สุดจนเพชฌฆาตก็จะอ้างพระอาทิตย์ เช่น ว่าตะวันบ่ายคล้อย ได้ที่แล้วนะ ฉันต้องทำตามคำสั่ง อย่าถือเป็นเวรเป็นภัยกับตัวฉันต่อไปเลยนะ อะไรทำนองนี้ เป็นต้น”

ข้อความข้างต้นคงตอบคำถามของคุณทั้ง ๒ ข้อได้ ส่วนจะบาปมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับเจตนาว่า ผู้พิพากษามีความบริสุทธิ์ใจเพียงใดในการตัดสินคดีความ หากตัดสินด้วยความลำเอียง หรือด้วยความผิดพลาด ความอาฆาตของจำเลยก็อาจส่งผลเป็นวิบากต่อผู้พิพากษาได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น