ต้นเเบบที่ดี..บ่งชี้อนาคตชาติ
หลังจากปรากฏภาพการสอบผ่านสื่อ ระหว่างการสอบภาควิชาอุตสาหกรรมสิ่งทอ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ต่อมา..อาจารย์ผู้สอนชี้แจงว่า ตั้งใจจะแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรม จึงถามนิสิตถึงการป้องกันทุจริตในเรื่องใกล้ตัวที่สุด ซึ่งนิสิตได้เสนอว่าเป็นเรื่องการสอบ มีผู้เสนอหลายรูปแบบอาทิ ทำข้อสอบหลายชุด ใช้กล่องมาครอบ แต่มาได้ข้อสรุปที่การใช้กระดาษเอสี่มาประดิษฐ์เป็นหมวก เพราะเคยเห็นบางประเทศใช้กัน แม้ว่าที่ผ่านมาในคณะไม่มีปัญหาเรื่องการทุจริตในการสอบ และไม่ได้บังคับให้นิสิตใช้วิธีการดังกล่าว
สื่อให้เห็นอะไร?
การแก้ไขปัญหาด้านทุจริตนั้น สามารถทำได้ทั้งที่ต้นเหตุ และปลายเหตุ นั่นคือ การส่งเสริมด้านจริยธรรม และการคิดค้นหาวิธีป้องกันการทุจริตที่ได้ผลในทางปฏิบัติ ซึ่งหากใช้ปัญญาโดยวางระบบให้ถี่ถ้วน ก็สามารถป้องกันปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่สิ้นเปลืองงบประมาณ ที่สำคัญ ทุกคนต้องร่วมมือกันและมีเป้าหมายอย่างเดียวกันเพื่อความโปร่งใส
หากเทียบกับการบริหารงานของรัฐบาลที่ผ่านมา..หลายนโยบายส่อในทางทุจริตมากหมาย เอาแค่โครงการจำนำข้าว..ก็มีช่องโหว่หลายจุด..แต่รัฐบาลไม่สนใจแก้ปัญหามากนัก..สิ่งที่ทำคือ พยายามย้ายคนที่เกี่ยวข้องออก เช่นรัฐมนตรี การอ้างเหตุผลประหลาดด้านการระบายข้าว โดยอ้างว่าเป็นความลับ หรือจะเข้าไปสุ่มตรวจ แต่ประกาศล่วงหน้าเป็นสัปดาห์ซึ่งมีเวลาพอที่จะมีการจัดฉากตบตาเจ้าหน้าที่
หากมองไปที่ประมุขฝ่ายบริหาร อย่างที่อธิบดี DSI ว่า ..มีข่าวให้พบเห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันว่ามาสภาเพียงเพื่อลงชื่อประชุม ..รับประทานอาหาร .. หรืออยู่ในที่ประชุมอีกเล็กน้อย ก่อนออกไปปฏิบัติภารกิจข้างนอก เช่น เปิดป้าย เป็นประธานพิธีมอบรางวัล ประชุมการคัดเลือก Smart Lady Thailand เป็นต้น ..
จึงน่าคิดว่า ควรช่วยกันทำ “หมวกกันลืมสภา” ให้นายกฯ บ้างหรือไม่ เพราะนายกฯชอบอ้างให้คุยในสภา เป็นเรื่องสภา .. แต่นายกฯไม่ค่อยเข้าร่วมประชุมเลย
หรือความหมายที่นายกฯ ต้องการสื่อจริงๆ คือ ... ก็เป็นเรื่องของสภาไง นายกฯ ไม่จำเป็นต้องเกี่ยว? น่าคิดต่อว่า..ถึงเข้าไปเกี่ยว..จะมีอะไรดีกว่าเดิมบ้าง?
หมวกกันลอกข้อสอบ VS หมวกกันลืมสภา
คล้ายม้าแข่ง ห้ามแกว่งตา ดูขวา-ซ้าย
สั่งมองหน้า มุ่งเป้าหมาย ให้แลเห็น
ย่อมสามารถ กันโกงสอบ ได้ชัดเจน
แต่ซ่อนเร้น แก่นปัญหา คาเมืองไทย
(1) จิตสำนึก สุจริต ผิด-ชอบ-ชั่ว
(2) เห็นแก่ตัว มั่วไม่สน กฎเกณฑ์ไหน
(3) เลวส่วนน้อย สร้างภาระ คนส่วนใหญ่
(4) มีแบบอย่าง เคยทำไว้ ไม่ค่อยดี
(5) แก้ปลายเหตุ ยังดีกว่า ไม่แก้ไข
(6) สิ่งรอบตัว ประยุกต์ใช้ ไม่ก่อหนี้
(7) หลักป้องโกง คือระบบ ครบถ้วนถี่
(8) เสมอภาค ยากจน-มี มิลำเอียง
เปรียบเทียบกับ ความโปร่งใส ในรัฐบาล
แย่หย่อนยาน! แฝงคดใน! ไร้ตรงเที่ยง!
ย้ายคนออก! ปิดตัวเลข! ใครติเหวี่ยง!
นายกเลี่ยง! หนีปัญหา! สภาเมิน!
@ Ton Unruan
Cr. Posttoday- Dragon News Network
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น