.......................................
โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ติดต่อกันหลายสิบปี
ล่าสุดในปี พ.ศ.2554 มีผู้เสียชีวิต 61,082 ราย
คิดเป็นอัตราตาย 95.2 ต่อประชากร 100,000 คน
เฉลี่ยชั่วโมงละเกือบ 7 ราย!!!!
เป็นชาย 35,437 ราย และหญิง 25,645 ราย
และในระดับโลกมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของโลกเช่นกัน ในปี พ.ศ. 2551 องค์การอนามัยโลกรายงานทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการตรวจวินิจฉัย 12.7 ล้านราย ในจำนวนนี้เสียชีวิต 7.6 ล้านราย ส่วนในปีพ.ศ. 2573 หรืออีก 17 ปีข้างหน้า คาดการณ์ว่าจะมีผู้ป่วยใหม่ 21.3 ล้านคน และจะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 13 ล้านคน
นอกจากนั้นองค์การอนามัยโลกคาดมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 118,600 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยมะเร็งที่ผู้ชายป่วยมากที่สุด ได้แก่ มะเร็งตับ ปอด ลำไส้และทวารหนัก ต่อมลูกหมากและมะเร็งเม็ดเลือดขาว ส่วนในผู้หญิง ได้แก่ มะเร็งเต้านม ตับ ปากมดลูก ปอดลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
ขณะที่รายงานสุขภาพคนไทย 2556 ระบุว่า คนไทยเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อหรือโรคเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะความดันโลหิตสูง หัวใจ และเบาหวาน ซึ่งมีอัตราผู้ป่วยในสูงถึง 1,187 คน , 936 คน, และ 849 คน ต่อประชากรแสนคนตามลำดับ โรคเหล่านี้มีต้นตอหลักจากพฤติกรรมทางสุขภาพในด้านต่างๆ ที่ไม่เหมาะสม หรือไม่ได้รับการส่งเสริมและป้องกันที่ดีพอ
ขณะเดียวกันโรคมะเร็งและอุบัติเหตุยังถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิต 2 อันดับแรกของคนไทยที่สามารถป้องกันได้ โดยในปี 2554 คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งถึง 95 คนต่อประชากรแสนคน เพิ่มขึ้นจาก 79 คน เมื่อปี 2546
ขอบคุณข้อมูลจาก กระทรวงสาธารณสุข
เครดิต: http://www.hfocus.org/node/4381
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น