จากการไหลบ่าของวัฒนธรรมจากนานาประเทศที่เข้ามาสู่ประเทศไทยส่งผลถึงการเเสดงนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทยโดยเฉพาะการเเสดงโขนซบเซาลงมาก ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจกันน้อยลง จึงมีพระราชดำริให้มีการฟื้นฟูและอนุรักษ์ศิลปะชั้นสูงของไทยไว้ โปรดเกล้าให้กรมศิลปากรจัดการแสดงถวายทอดพระเนตร เมื่อครั้งที่ทรงแปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จ.สกลนคร เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖
การจัดแสดงถวายในครั้งนั้นทำให้ได้ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า กรมศิลปากรได้รับงบประมาณประจำปีน้อยมากในเรื่องการสร้างเครื่องแต่งกายโขนจึงได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน ๓๐๐,๐๐๐ บาทให้กรมศิลปากรนำไปปรับปรุงเครื่องแต่งกายโขนตามพระราชดำริต่อมาจึงได้มีการฟื้นฟูเครื่องเเต่งกายเเละการเเสดงโขนอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
เเละด้วยพระราชปณิธานที่มิได้ทรงต้องการอนุรักษ์ศิลปะเเขนงนี้ไว้เพียงแต่ในตำราหรือในพิพิธภัณฑ์จึงได้มีพระราชเสาวนีย์ในการคัดตัวนักเเสดงโขนในทุกปีให้นักศึกษานาฏศิลป์รุ่นใหม่ได้มีโอกาสเข้าคัดตัวเพื่อเเสดงใน "โขนพระราชทาน" หรือ "โขนสมเด็จฯ" ยังความภาคภูมิใจ,เกียรติประวัติต่อตัวผู้เเสดง และเพื่อสร้างแรงบันดาลใจต่อตัวผู้ที่เลือกเรียนในสายวิชานาฏศิลป์ การเเสดงโขนพระราชทานนี้จัดขึ้นทุกปีที่ศูนย์วัฒนธรรมฯ ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น