++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พุทธสุภาษิต กล่อมเกลาจิต

พุทธสุภาษิตส่วนหนึ่งเป็นหลักธรรม ที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาตนเอง ทำให้เข้าใจสภาวะโลกตามความเป็นจริง และเป็นปัจจัยให้ประพฤติดี ปฎิบัติชอบ มีความสุขกาย สุขใจ เจริญในทางโลก และทางธรรม



นานาทิฏฺฐิเก นานยิสฺสสิ เต
มนุษย์ทั้งหลายต่างความคิด ต่างความเห็นกัน
ท่านจะกำหนดให้คิดให้เหมือนกันหมด เป็นไปไม่ได้

ตเถเวกสฺส กลฺยาณํ
ตเถเวกสฺส ปาปกํ
ตสฺมา สพฺพํ ณ กลฺยาณํ
สพฺพํ วาปิ ณ ปาปกํ
สิ่งเดียวกันนั่นแหละ ดีสำหรับคนหนึ่ง
แต่เสียสำหรับอีกคนหนึ่ง
เพราะฉะนั้นสิ่งใดๆ ไม่ใช่ว่าจะดีไปทั้งหมด
และก็ใช่ว่าจะเสียไปทั้งหมด


สนนฺตา ยนฺติ กุสุพฺภา
ตุณฺหี ยนฺติ มโหทธิ
ห้วยน้ำน้อยไหลดังสนั่น
ห้วนน้ำใหญ่ไหลนิ่งสงบ

ยทูนกํ ตํ สันติ
ยํ ปูรํ สนฺตเมว ตํ
สิ่งใดพร่องสิ่งนั้นดัง
สิ่งใดเต็มสิ่งนั้นเงียบ


ปริภูโต มุทุโหติ
อติตกฺโข จ เวรา
อ่อนไปเขาก็ดูหมิ่น
แข็งไปก็มีเวรภัย

อนุฆชฺฌํ สมาจเร
พึงปฎิบัติให้พอเหมาะพอดี


น ปเรสํ วิโลมานิ
น ปเรสํ กตากตํ
ไม่ควรใส่ใจในคำแสลงหูของผู้อื่น
ไม่ควรแส่ในธุระที่เขาทำ และยังไม่ทำ

อตฺตโน ว อเวกฺเขยฺย
กตานิ อกตานิ จ
ควรตั้งใจตรวจตราหน้าที่ของตนเอง
ทั้งที่ทำแล้วและยังไม่ทำ

สุนกฺขตฺตํ สุมงฺคลํ
สุปภาตํ สุหุฏบิตั
ความประพฤติชอบเวลาใด เวลานั้นชื่อว่าเป็นฤกษ์ดี
มงคลดี เช้าดี รุ่งอรุณก็ดี

น ตํ กุมฺมํ กตํ สาธุ
ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ
ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง
กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี

ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ
ยํ กตฺวา นานุตปฺ ปติ
กรรมใดทำแล้วไม่ร้อนใจภายหลัง
กรรมที่ทำแล้วนั้นแลดี

ยํ กุทฺโธ อุปโรเธติ
สุกกรํ วิย ทุกฺกรํ
คนโกรธจะผลาญสิ่งใด
สิ่งนั้นทำยากก็เหมือนทำง่าย

สุภาสิตา จ ยา วาจา
เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
พูดดีเป็นมงคลสูงสุด

อตฺตตฺถปญฺญา อสุจี มนุสฺสา
มนุษย์ผู้เห็นแก่ประโยชน์ตน
เป็นคนไม่สะอาด

วิหญฺญตี จิตฺตวสานุวตฺตี
ผู้ประพฤติตามอำนาจจิตย่อมลำบาก

ยถา อคารํ ทุจฺฉนฺนํ
วุฏฺฐี สมติวิชฺฌติ
เอวํ อภาวิตํ จิตฺตํ
ราโค สมติวิชฺฌติ
ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีฉันใด
ราคะย่อมรั่วรดจิตที่ไม่ได้อบรมฉันนั้น

มธวา มญฺญตี พาโล
ยาว ปาปํ น ปจฺจติ
ยทา จ ปจฺจตี ปาปํ
อถ พาโล ทุกขํ นิคจฺฉติ
ตลอดระยะเวลาที่บาปยังไม่เห็นผล
คนพาลสำคัญว่าบาปหวานปานน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล
เมื่อนั้นเขาย่อมได้รับทุกข์


อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา
ยถญฺญมนุสสติ
สุทนฺโต วต ทามถ
อตฺตา หิ กริ ทุทฺทโม
สอนคนอื่นอย่างใด
ควรทำตนอย่างนั้น
ฝึกตนแล้วค่อยฝึกคนอื่น
เพราะตัวเราเองฝึกยากยิ่ง


สุชีวํ อหิริเกน
กากสูเรน ธํสินา
ปกฺขนฺทินา ปคพฺเภน
สงฺกิลิฏฺเฐน ชีวิตํ
คนไร้ยางอาย กล้าเหมือนกา
ชอบทำลายผู้อื่นลับหลัง
มีพฤติกรรมสกปรก
คนเช่นนี้เป็นอยู่ง่าย

หิรีมตา จ ทุชฺชีวํ
นิจฺจํ สุจิคเวสินา
อลีเนนปฺปคพฺเภน
สุทธาชีเวน ปสฺสตา
คนที่มีหิริ ใฝ่ความบริสุทธิ์เป็นนิตย์
ไม่เกียจคร้าน อ่อนน้อมถ่อมตน
มีความเป็นอยู่บริสุทธิ์ มีปัญญา
คนเช่นนี้เป็นอยู่ลำบาก

ปรทุกฺบูปชาเนน
โย อตฺตโน สุขมิจฺฉติ
เวรสํ สคฺคี สํสฏฺโฐ
เวรา โส น ปริมุจฺจติ
ผู้ใดปรารถนาสุขเพื่อตน
โดยการก่อทุกข์ให้ผู้อื่น
ผู้นั้นมักเกี่ยวพันด้วยเวรไม่รู้สิ้น
ไม่มีทางพ้นเวรไปได้

อลาโภ ธมฺมิโก เสยฺโย
ยญฺเจ ลาโภ อธมฺมิโก
ถึงไม่ได้แต่ชอบธรรม
ยังดีกว่าได้แต่ไม่ชอบธรรม

__________________________

ที่มา: พุทธสุภาษิต กล่อมเกลาจิต
http://www.baanjomyut.com/10000sword/buddhist_saying/index.html
--

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น