++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พิธีการถวายผ้ากฐินในครั้งพุทธกาล

“ใกล้”งานถวายผ้ากฐินที่วัดนาป่าพง

พิธีการถวายผ้ากฐินในครั้งพุทธกาล

๑. พระพุทธเจ้าตรัสให้เวลาตั้งแต่ออกพรรษาไปแล้ว ๑ เดือน เป็นช่วงเวลาของการถวายจีวรและทำจีวร

๒. ในเขตสีมาใดมีภิกษุอยู่จำพรรษาจำนวนตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ทรงอนุญาตการทำสังฆกรรม

ประเภทกฐินได้ถ้ามีฆราวาสมาแสดงเจตนาถวายผ้าจีวร โดยภิกษุมิได้พูดเลียบเคียงเพื่อให้ได้ผ้านั้นมา ซึ่งมิได้ระบุจำกัดจำนวนผู้แสดงเจตนาถวาย แต่ระบุจำนวนภิกษุผู้รับผ้านั้นได้เพียง ๑ รูป(จากการยินยอมของคณะสงฆ์ในเขตสีมานั้น) ซึ่งต้องมีคุณสมบัติ คือ เป็นผู้มีจีวรเก่าคร่ำคร่า เป็นต้น

๓. ในวันที่ภิกษุได้รับการถวายผ้าจากฆราวาส (ตามเหตุผลและช่วงเวลาดังกล่าว) แล้ว ให้คณะสงฆ์ในอาวาสนั้น ช่วยกันตัดเย็บย้อมผ้าให้แก่ภิกษุรูปนั้น (ผู้มีคุณสมบัติพร้อมตามธรรมวินัย) ให้สำเร็จภายในวันวันนั้นก่อนอรุณของวันใหม่ขึ้น

๔. เมื่อตัดเย็บย้อมเสร็จ ก็ให้คณะสงฆ์ส่งมอบผ้าผืนดังกล่าวแก่ภิกษุรูปนั้น และภิกษุรูปนั้นก็ทำการอธิษฐานใช้ผ้ากฐินนั้นนุ่งห่มแทนผ้าผืนเก่า เรียกว่า กรานกฐิน

ในขั้นตอนดังกล่าว มีพระวินัยที่ระบุถึง พอจะกล่าวอ้างถึง ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ ดังนี้

ก. พระวินัยปิฎก เล่ม ๒ มหาวิภังค์ ทุติภาค

ข. พระวินัยปิฎก เล่ม ๕ มหาวรรคภาค ๒

ลำดับพิธี งานถวายผ้ากฐิน วัดนาป่าพง

วันอาทิตย์ที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๒

๐๗.๐๐ น. ประเคนอาหาร

๐๘.๓๐ น. แสดงพระธรรมเทศนา

๐๙.๐๐ น. กล่าวถวายผ้ากฐิน

๐๙.๓๐ น. - ภิกษุฉันอาหาร (ญาติโยมรับประทานอาหาร)

- ภิกษุตัดเย็บย้อมผ้า (ดูหมายเหตุข้อที่ ๑)

- ภิกษุกรานกฐิน (ดูหมายเหตุข้อที่ ๒)

หมายเหตุ

๑. หลังฉันแล้ว ภิกษุนำผ้ากฐินที่ได้รับการถวายจากคฤหัสถ์ทั้งหลาย ไปทำการตัดเย็บย้อมตามลำดับดังนี้ คือ ขีดประมาณผ้า, ซักผ้า, กะผ้า, ตัดผ้า, เย็บเนา, เย็บ, ทำลูกดุม, ทำรังดุม, ติดอนุวาต, ดามผ้า และย้อมด้วยน้ำฝาด(ใช้เวลาประมาณ ๖ – ๑๐ ชั่วโมง ขึ้นกับเหตุปัจจัย เช่น ภูมิอากาศ, จำนวนภิกษุร่วมทำ ฯลฯ)

๒. กรานกฐิน คือ การที่ภิกษุรูปหนึ่ง (ผู้ได้รับความยินยอมจากคณะสงฆ์ให้รับผ้ากฐิน เพราะเป็นผู้มีจีวรเก่าคร่ำคร่า)นำจีวรเก่าของตนมาสละออก แล้วนำผ้ากฐินที่คณะสงฆ์ช่วยกันทำให้นั้น มานุ่งห่มแทนผืนเก่า

๓. น้ำย้อมที่ใช้ย้อมผ้านั้น เป็นน้ำย้อมที่ได้จากเปลือกมังคุดหรือการต้มแก่นขนุน ซึ่งได้เตรียมให้เสร็จสิ้น

ก่อนถึงวันงาน และพระวินัยได้อนุญาตน้ำ ย้อมไว้ ๖ ชนิด คือ (๑) จากน้ำ ย้อมเกิดแต่รากหรือเง่า

(๒) น้ำย้อมเกิดแต่ต้นไม้ (๓) น้ำย้อมเกิดแต่เปลือกไม้ (๔) น้ำย้อมเกิดแต่ใบไม้ (๕) น้ำย้อมเกิดแต่ดอกไม้

(๖) น้ำย้อมเกิดแต่ผลไม้ (มหา. วิ. (๒) ๕/๒๐๐ /๑๔๗.)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น