++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

260 ส้วมเหม็น ส้วมเต็ม ส้วมราดไม่ลง ส้วม ส้วม ส้วม ส้วม

ร้อยพันปัญหาในงานก่อสร้าง เล่ม 3
บ้านหลังน้ำท่วม( น้ำท่วมบ้าน จะทำยังไง ซ่อมอะไรก่อน อะไรรอได้)

โดย ยอดเยี่ยม เทพธราน







หลังน้ำท่วม นอกจากปัญหาใกล้ตัวเรื่องระบบไฟฟ้า และวัสดุปูพื้นที่ถูกน้ำท่วมจะเป็นปัญหาที่พบเห็นเสมอ แล้ว เรื่องส้วม ๆ ดูจะเป็นปัญหาที่ใหญ่กว่าและหนักหนากว่ามาก เพราะเราไม่มีที่ จะถ่ายทุกข์ ทุกข์เลยบรรจุ อยู่เต็มตัวเรา พอเราถ่ายทุกข์ออกมาหนอยทุกข์นั้นดันไม่ย่อยสลาย บ้านเรา ก็เลยมีทุกข์ ลอยตุ๊ปป่องตุ๊ปป่อง เต็มไปหมด เฮ้อ

เมื่อน้ำลดแล้ว ส้วมของบางท่านอาจจะยังคงมีปัญหาอยู่ บ้างอาจจะเป็นปัญหาดั้งเดิม บ้างก็เป็นปัญหา เกิดใหม่ บ้างก็จะ สอดประสานกลมเกลียวกัน ทั้งปัญหาเก่าและปัญหาใหม่ ผมใคร่ ขอสรุปรวมความ ปัญหาแห่งส้วม ออกเป็นข้อย่อย ๆ ได้ 8 ประการ (ทั้งปัญหาเก่าและปัญหาใหม่) ดังต่อไปนี้

หากส้วมของท่านเป็นระบบบ่อซึม (หมายถึงเมื่อของเสียย่อยสลายแล้ว จะซึมผ่านสู่พื้นดิน ระบบนี้เป็นระบบ ที่นิยมกันทั่วประเทศ เป็นเวลานาน) แล้ว บ่อซึม ของท่าน วางอยู่ ใน บริเวณที่พื้นดินชุ่มฉ่ำ (อาจจะเพราะน้ำท่วมก็ได้) สิ่งที่เกิด ก็คือบ่อซึม ไม่ยอมซึมน้ำออก (แถมยามน้ำท่วม นอกจากน้ำ จะไม่ไหลออก จากบ่อซึม น้ำที่ท่วม จะไหลย้อนเข้ามาในบ่อ และระบบย่อยสลายอีกด้วย) ปัญหาที่ตามมา ก็คืออาการ "ตุ๊บป่อง" ราดส้วมไม่ลง ใช้ส้วมไม่ได้ ส้วมจะเต็มบ่อยนั่นเอง แก้ไขได้ 2 ประการคือ หากพื้นดินชุ่มฉ่ำ เพราะน้ำท่วม ก็ขอให้รอสักนิด ให้พื้นดินแห้งสักหน่อย แต่หากพื้นดินชุ่มฉ่ำชื้น ตามธรรมชาติของพื้นที่ ก็กรุณาเปลี่ยนระบบ มาใช้เป็นระบบเครื่องกล สำหรับ ย่อยสลาย (ภาษาชาวบ้านเรียกว่า ถังส้วมสำเร็จ) ซึ่งจะทำหน้าที่ ย่อยสลายปฏิกูล ต่าง ๆจนเป็น น้ำสะอาด แล้วก็ปล่อยลง ท่อระบายน้ำสาธารณะ ได้โดย ไม่ผิด กฎหมาย
หากโถส้วมอยู่ระดับต่ำกว่าหรือใกล้เคียงกับ ระดับบ่อเกรอะ หรือถังส้วมสำเร็จรูป ทำให้ระนาบ ของท่อส้วม ไหลไม่สะดวก หรือบางครั้ง อาจจะมีอาการ ไหลย้อนกลับ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยามน้ำท่วม ทำให้ระดับน้ำ ณ ถังส้วม อาจสูงกว่า ระดับโถส้วม) ทำให้เกิดอาการ ราดไม่ลง หรือตอนกดน้ำ ราดน้ำที่โถส้วม ทำให้ในโถส้วม มีแรงดัน สูงมากขึ้น หากน้ำไม่สามารถ ไหลลงไปได้ ก็จะเกิดอาการ แรงดันย้อนกลับ ทุกข์ทั้งหลายของเราจ ะกระฉอกขึ้นเปรอะเปื้อนได้
อาจเกิดเพราะท่อส้วมแตกและอาจไปฝัง (หรือเกือบจะฝังในพื้นดิน) ทำให้เกิดกลิ่นเหม็น และราดส้วมไม่ลง หรือบางครั้ง เกิดอาการ ที่ตัดสินใจยาก เพราะบางครั้งราดลง บางครั้งราดไม่ลง เพราะไปเกี่ยวข้อง กับสภาพแวดล้อม อย่างมาก หากกรณีนี้เกิดขึ้นในขณะน้ำท่วม ยิ่งตัดสินใจยาก เพราะวันไหน ทุกข์ของเรา มีน้ำหนักมาก วันนั้นก็อาจจะราดไล่ลงไปได้ วันไหนทุกข์ของเรา มีมวลน้อย มีน้ำหนักน้อย ทั้งเสือกไสไล่ ราดเท่าไรก็ดื้อ ไม่ยอมลงสักที
บางท่านอาจจะลืมใส่ท่ออากาศให้ส้วมหายใจ เวลาราดน้ำจะราดไม่ลง (เหมือนกับพยายาม กรอกน้ำใส่ขวด โดยไม่มีช่องอากาศ เหลือเลยที่ปากขวด จะกรอกน้ำไม่ลง) บางบ้าน อาจจะมีท่ออากาศ แต่ท่ออากาศอาจอุดตันได้ ไม่ว่าจะเกิดจากความสกปรก หรือเกิดจาก เศษผง เล็กลอยมาอุด ตอนที่น้ำท่วมก็ได้
ขนาดของบ่อเกรอะบ่อซึม หรือถังบำบัดสำเร็จขนาดเล็กเกินไป หลายครั้งพบปัญหา เพราะใช้อาคาร ผิดประเภท เช่นออกแบบไว้ ให้มีคนในบ้าน 5 คน แต่พอใช้จริง ใช้เข้าไปตั้ง 8-9 คน ปริมาณทุกข์ต่าง ๆ จึงมากกว่า ที่เคยคำนวณเอาไว้แต่แรก ถังส้วมจะเต็มบ่อยเต็มเร็ว เพราะมีช่องว่างน้อย ถ้าเป็นระบบบ่อซึม ก็มีพื้นผิวการซึมน้ำออกน้อย น้ำจึงซึมออกไม่ทัน
ท่านอาจใส่สิ่งของที่ไม่น่าจะใส่ลงในโถส้วม หรือสิ่งของบางอย่างอาจจะลอยมากับน้ำท่วม เช่นแผ่นผ้าอนามัย ถุงยางอนามัย ถุงมืออนามัย หรือ แปรงขัดส้วมอนามัย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ จะไม่ย่อยสลาย และเป็นสาเหตุ แห่งการอุดตัน
ถังบำบัดสำเร็จบางรุ่นบางยี่ห้อ ต้องใช้เครื่องมือกลเข้าปั่นอากาศเข้าไปช่วยการย่อยสลาย ซึ่ง อุปกรณ์เหล่านี้ ต้องใช้กระแสไฟฟ้า เป็นตัวหนุนมอเตอร์ ในขณะที่น้ำท่วม ท่านอาจจะปิดไฟฟ้าไว้ ดังนั้น หากจะถ่ายทุกข์ อย่างมีความสุข อย่าลืมเสียบปลั๊กไฟฟ้ากลับเข้าที่เดิมนะขอรับ (เขาเรียกว่าเส้นผมบังส้วม)
ถังบำบัดสำเร็จทุกยี่ห้อ จะต้องมีท่อให้น้ำไหลออกจากถังบำบัดสู่ท่อระบายน้ำในบ้านเรา หรือสู่ท่อสาธารณะ จะต้องตรวจเช็คว่า ระดับของท่อที่ออกจากถังบำบัด ว่าต้องสูงกว่าระดับท่อระบายน้ำเสมอ มิเช่นนั้น จะเกิดอาการ ไหลย้อนกลับอีกแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น