โดยสมัย นั้น พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อานาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสารวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีดำริว่า พระผู้มีพระภาค ทรงห้ามการสำเร็จการนั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง พอจะการทำได้กับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่ง จึงสำเร็จการนั่งในที่ลับ กับสาวน้อยคนนั้นแล หนึ่งต่อหนึ่ง เจรจากล่าวธรรมอยู่ ควรแก่เวลา
แม้ครั้ง ที่สองแล นางวิสาขา มิคารมาตา ก็ได้ถูกเชิญไปสู่สกุลนั้น นางได้เห็นท่าน พระอุทายีนั่งในที่ลับ กับสาวน้อยนั้นแล หนึ่งต่อหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระอุทายี ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า การที่พระคุณเจ้านั่งในที่ลับ กับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่งเช่นนี้ ไม่เหมาะ ไม่ควร พระคุณเจ้าแม้ไม่ต้องการ ด้วยธรรมนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น พวกชาวบ้านผู้ที่ไม่เลื่อมใส จะบอกให้เชื่อได้โดยยาก
ท่านพระอุทา ยี แม้ถูกนางวิสาขา มิคารมาตา ว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ก็มิได้เชื่อฟัง
เมื่อนาง วิสาขา มิคารมาตากลับไปแล้ว ได้แจ้งนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย
บรรดา ภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุทายี จึงได้ สำเร็จการนั่งในที่ลับ กับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่งเล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
ประชุม สงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับ นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุทายีว่า ดูกรอุทายี ข่าวว่า เธอสำเร็จการนั่งใน ที่ลับกับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่ง จริงหรือ?
ท่านพระอุทา ยีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มี พระภาคพระพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ดูกรโมฆบุรุษ ไฉน เธอจึงได้สำเร็จ การนั่งในที่ลับกับมาตุคามหนึ่งต่อหนึ่งเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การ กระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็น อย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว
ครั้นพระ ผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระอุทายีโดยอเนก ปริยาย ดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่ง ความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความ มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภ ความเพียร โดยเอนกปริยาย แล้วทรงกระทำธรรมีกถา ที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิด ในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอวัยวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระ บัญญัติ
อนึ่ง สถานหาเป็น อาสนะกำบังไม่เลยทีเดียว หาเป็นที่พอจะทำการ ได้ไม่ แต่เป็นที่พอจะพูดเคาะมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบได้อยู่ แลภิกษุใดรูปเดียว สำเร็จการนั่งในที่ลับกับด้วยมาตุคามผู้เดียว ในอาสนะมีรูปอย่างนั้น อุบาสิกามีวาจา ที่เชื่อได้เห็นภิกษุกับมาตุคาม นั้นนั่นแล้ว พูดขึ้นด้วยธรรม ๒ ประการ อย่างใดอย่าง หนึ่ง คือด้วยสังฆาทิเสสก็ดี ด้วยปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุปฏิญาณซึ่งการนั่ง พึงถูกปรับด้วย ธรรม ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วยสังฆาทิเสสบ้าง ด้วยปาจิตตีย์บ้าง อีก อย่างหนึ่ง อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้นั้นกล่า วด้วยธรรมใด ภิกษุนั้นพึงถูกปรับด้วยธรรม นั้น แม้ธรรมนี้ก็ชื่อ อนิยต.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น