++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พบ "หนี้บัตรเครดิต" ปัญหาสุดฮิต ปชช.ร้องมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคช่วย

มูลนิธิเพื่อผู้ บริโภค เผย "หนี้บัตรเครดิต" ยังเกาะปัญหาอันดับต้นๆ ที่ได้รับการร้องเรียน พบปชช.ไร้ความรู้จัดการบริหารหนี้ ถูกทวงหนี้โหด ขณะที่ธุรกิจไฟแนนซ์รถยนต์ เจอบริษัทผลักภาระ คิดค่าบริการโอนรถในอัตราสูง วอนรัฐออกกฎหมายหนุนทุกด้าน

วันนี้ (19 ธ.ค.) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดแถลงสถานการณ์การรับเรื่องเรียนของศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดย น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ปีที่ผ่านมามูลนิธิ ฯ ได้ฟ้องคดีกระทรวงคมนาคม กรณีดอนเมืองโทลเวย์ เป็นคดีสาธารณะ สนับสนุนการฟ้องคดีให้ผู้บริโภคจำนวน 386 คดี เป็นคดีที่ใช้กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค จำนวน 178 คดี รวมทุนทรัพย์ทั้งสิ้น 212,576,590.07 บาท และมีคดีที่สิ้นสุดแล้วจนถึงปัจจุบันเป็นเงินจำนวน 27,244,803.39 ล้านบาท ซึ่งได้รับเรื่องร้องเรียนและดำเนินการให้การช่วยเหลือจำนวนทั้งสิ้น 798 คดี อย่างไรก็ตามพบว่าส่วน ใหญ่ ยังเป็นปัญหาเรื่องหนี้บัตรเครดิตถึง 94% คือ เป็นหนี้หลายบัตร เพิ่มเป็นหนี้หลายทาง ไม่มีความรู้ในการจัดการบริหารหนี้สิน ถูกติดตามทวงถามหนี้ที่ไม่เป็นธรรม ถูกฟ้องศาล ถูกบังคับคดี นอกจากนี้ยังพบอีกว่า ในกลุ่มธุรกิจประกันภัย ได้มีนโยบายบังคับให้ผู้บริโภคทำประกันภัย โดยคิดอัตราการทำประกันในอัตราเดียวกัน และกำหนดความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคลดลง ขณะที่ธุรกิจไฟแนนซ์รถยนต์ พบมีการที่ผลักภาระให้กับผู้บริโภคในการโอนรถยนต์โดยไม่รับผิดชอบในการ ดำเนินหากต้องการโอนรถยนต์ด้วยตนเอง และคิดค่าบริการโอนรถยนต์ให้กับผู้บริโภคในอัตราที่สูง

น.ส.สารี กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ในส่วนงานนโยบายผู้บริโภค ถึงแม้เครือข่ายผู้ป่วย เครือข่ายผู้บริโภคและองค์กรพัฒนาเอกชน ยังจะไม่สามารถผลักดันพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข พ.ศ....ได้สำเร็จ แต่ก็หวังจะมีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในต้นปี 2554 โดยเรียกร้องให้รัฐควบคุมกิจการที่ผูกขาด และสนับสนุนความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหาร มีมาตรการอาหารที่ดีปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค การปรับปรุงคุณภาพบริการสาธารณะโดยเฉพาะคุณภาพรถโดยสารประจำทาง ที่พบยอดผู้ประสบเหตุจากรถโดยสารมากกว่า 2,000 คน และในจำนวนนี้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตมากกว่าครึ่ง โดยมีสาเหตุมาจากระบบการบริการที่ขาดมาตรฐาน พร้อมเรียกร้องให้ภาคธุรกิจรับผิดชอบต่อผู้บริโภคให้เทียบเท่ากับความรับผิด ชอบต่อผู้บริโภคในต่างประเทศ

"ทางมูลนิธิฯ ขอเสนอให้รัฐออกกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคด้านต่างๆ อย่างเหมาะสม เช่น กฎหมายติดตามทวงถามหนี้ที่เป็นธรรม กฎหมายบัตรเครดิตที่มีการกำกับดูแลค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยที่เป็นธรรม กฎหมายการแข่งขันด้านการเงิน หรือ การมีแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำโดยรัฐกำกับดูแล เป็นต้น ขณะเดียวกันรัฐจะต้องยกเลิกการอุดหนุนราคาน้ำมัน ณ โรงกลั่น ในประเทศที่มีลักษณะของการประกันกำไรเกินควร ให้มีการควบคุมแยกแยะต้นทุนวัตถุดิบในการกลั่นในประเทศและต่างประเทศให้ ชัดเจน ไม่ให้คิดรวมเป็นต้นทุนวัตถุดิบการกลั่นจากต่างประเทศทั้งหมด ให้พิจารณายกเลิกการควบรวมกิจการโรงกลั่นของ บมจ.ปตท. เพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรี ยกเลิกกฎหมายที่อนุญาตให้พนักงานของรัฐระดับสูงเข้าเป็นกรรมการในธุรกิจ พลังงานเอกชนให้ทยอยลดการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันและให้ยกเลิกในท้ายที่ สุด" เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าว

น.ส.สารี กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตามในปีที่ผ่านมาภาครัฐก็ให้การสนับสนุนหลายๆ ด้านในทิศทางที่ดีขึ้น อย่างเรื่องกระเช้าของขวัญในเทศกาลสำคัญที่ทางมูลนิธิฯ ได้ทำงานด้านนี้มาหลายปี ซึ่งปีนี้ก็มีหน่วยงานของรัฐที่ออกมาตรการให้ของในกระเช้ามีอายุอย่างน้อย 6 เดือน หรือที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดไม่ให้นำเหล้าใส่ในกระเช้าซึ่งเป็นไปตาม กฎหมาย และสิ่งนี้คือความก้าวหน้าระดับหนึ่ง นอกจากนี้ในรอบปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ชัดว่าผู้บริโภคมีความตื่นตัวเพิ่มมาก ขึ้นซึ่งเป็นเรื่องที่ดี ในขณะเดียวกันก็อยากเห็นความตื่นตัวของผู้ประกอบการ ผู้ผลิตด้วยเช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น