++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกที่ถูกต้องเป็นศิลาจารึกอย่างเดียวหรือ

โดย ประทีป ชุมพล 14 กรกฎาคม 2553 14:57 น.

การบันทึกถึงเรื่องราวในประวัติศาสตร์
ไทยนั้นถูกนักวิชาการยุคล่าอาณานิคมขีดเส้นตายไว้ว่า
จะต้องถูกบันทึกด้วยศิลาหรือหินเท่านั้น จึงจะเป็นเรื่องที่น่าเชื่อถือ
สำหรับบันทึกด้วยวัสดุอื่น เช่น กระดาษ ข่อย
ลานหรือจากความจำโดยการบอกเล่านั้น เป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อถือทั้งสิ้น

ดังนั้นประวัติศาสตร์ไทยจึงนับเมื่อแรกเริ่มต้องเป็นอาณาจักรสุโขทัย
ซึ่งมีอายุอยู่ในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 19 เพราะมีศิลาจารึก
มีการใช้ภาษาไทย รวมถึงศิลปกรรมต่างๆ ที่ค้นพบ

ดิน แดนที่ไทยยึดครองอยู่ในปัจจุบัน เคยเป็นดินแดนของเขมร มอญ
และชนเผ่าพื้นเมืองอื่นๆ เช่น
ข่าว้าซึ่งไทยเข้ามายึดครองในปลายพุทธศตวรรษที่ 18-19 สรุปง่ายๆ คือ
ไทยไปแย่งดินแดนจากชาติอื่นมา สอดคล้องกับการล่าอาณานิคมของฝรั่งพอดี
ได้อ้างสิทธิว่าดินแดนของไทยนั้นเป็นของต่างชาติทั้งสิ้น
บางแห่งจึงต้องถูกฝรั่งยึดคืนให้เจ้าของเดิมไป
เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริงในอดีต

จิตร ภูมิศักดิ์ได้เคยตั้งข้อสังเกตว่า
คนไทยในแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยาไม่นิยมอุปกรณ์ทางอักษรศาสตร์ที่เป็นศิลาจารึก
บันทึกเรื่องราว แต่พวกเขาได้เริ่มประดิษฐ์กระดาษชนิดเนื้อเหนียว ทนทาน
หนา เนื้อดี และหน้าเรียบขึ้นใช้โดยเรียกว่า "สมุดไทย"
แตกต่างจากกระดาษสาของล้านนา สมุดโผของจีน หรือสมุดฝรั่งอย่างของตะวันตก

เมื่อ คนไทยนำสมุดไทยมาบันทึกหลักฐาน
ทำให้ฝรั่งหรือนักล่าอาณานิคมเห็นว่าไม่น่าเชื่อถือ
เพราะถูกทำลายหรือแก้ไขได้ง่าย ไม่เข้าใจเลยว่า "หลักฐานที่น่าเชื่อถือ"
ต้องเป็นศิลาเท่านั้นหรือ และยึดมั่นอย่างไรว่า
ถ้าจารึกลงบนศิลาแล้วต้องเป็นของจริงอย่างแน่นอน

ความจริงถ้าต้องการบิดเบือนหรือไม่ใช่ข้อเท็จจริงแล้วจะบันทึกลงศิลา
ไม่ได้หรือ และความสำคัญหรือความถูกต้องนั่นจะต้องถูกบันทึกด้วยวัสดุที่ใช้ทำเท่านั้น

คิดดูแล้วก็ค่อนข้างน่าสมเพชต่อการวิเคราะห์ของนักประวัติศาสตร์ยุคล่าอาณานิคมซึ่งยังมีอิทธิพลอยู่ถึงปัจจุบัน

โดยข้อเท็จจริงแล้วการบันทึกหลักฐานทางประวัติศาสตร์มิใช่ต้องพะวง
ถึงวัสดุที่ใช้บันทึกเพราะ "ข้อเท็จจริง" นั้นบันทึกด้วยอะไรก็ได้
และบันทึกด้วยวัสดุอะไร ถ้าต้องการบิดเบือนก็ย่อมทำได้ทั้งสิ้น

แม้ แต่การบันทึกด้วยการบอกเล่า หรือที่เรียกว่า Oral History
ถ้าลำดับเรื่องราวน่าเชื่อถือ และสามารถตรวจสอบได้ก็น่าจะเป็นข้อเท็จจริง
ถือเป็นข้อมูลหรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ และควรถือเป็น "คำให้การ"
ที่มีคุณค่าอย่างหนึ่ง ดังนั้น การบันทึกด้วยกระดาษหรือสมุดไทย
ก็ย่อมน่าที่จะนำมาศึกษาในฐานะที่เป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์อย่างหนึ่ง
มีความสำคัญเท่าๆ กับการบันทึกด้วยศิลาหรือวัสดุคงทนอย่างอื่น

ดังนั้น ตำนานพงศาวดารในท้องถิ่นที่มาจากหัวเมืองในล้านนา
ล้านช้าง ทักษิณหรือในภาคตะวันออก
ควรจะได้รับความสนใจและนำมาศึกษาในฐานะที่เป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ไทย

อีก ทั้งควรจะสร้างความคิดใหม่ที่ว่าสุโขทัยมิใช่อาณาจักรแรกของไทย
เพราะชนชาติลาว ไทย มีวิวัฒนาการตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์
(Pre-history) มาสู่สมัยการสร้างบ้านแปงเมืองผ่านสังคมก่อนประวัติศาสตร์
สังคมเมือง สังคมนครรัฐ
แล้วไปสู่การรวมตัวเป็นอาณาจักรไทยอย่างสมบูรณ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาในปลาย
พุทธศตวรรษที่ 20

ดังนั้น สุโขทัยยังเป็นสังคมนครรัฐของไทยร่วมสมัยหรือก่อตั้งหลังจากรัฐไทยลาวอื่นๆ
เช่น รัฐล้านนา รัฐนครศรีธรรมราช รัฐหริภุญไชย หรือก่อนหน้านั้น
ซึ่งเป็นสมัยแรกๆ ของรัฐไทย เช่น รัฐไทยเทศของสิงหนวัติกุมาร
รัฐลาวจกของลวจังราช รัฐอโยธาของท้าวอู่ทอง
รัฐตามพรลิงก์ของท้าวศรีธรรมาโศกราช หรือรัฐลังกาสุวะ เป็นต้น รัฐต่างๆ
เหล่านี้เป็นพัฒนาการของสังคมไทยลาวตั้งแต่สมัยหลังพุทธกาลซึ่งเป็นที่
รู้จักในภาพรวม เช่น สุวรรณภูมิ ศรีวิชัย ทวารวดี
อันเป็นดินแดนที่ในปัจจุบันเรียกกันว่า อุษาคเนย์

เรื่อง ราวของรัฐต่างๆ มักปรากฏในรูปของเอกสารที่เรียกว่า ตำนาน
แต่บางนครรัฐสามารถตรวจสอบกับเอกสารอื่นๆ เช่น ในต่างประเทศ
เรื่องราวของรัฐนครศรีธรรมราชนำโดยกษัตริย์ที่ปรากฏชื่อนามจันทรภาณุศรีธร
รมาโศกราชยกทัพข้ามมหาสมุทรไปสืบพุทธศาสนา
และทำสงครามกับลังกาทวีปเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นประมาณพุทธศตวรรษ 16-17
หรือเรื่องราวของพระเจ้าสรรพสิทธิ์แห่งหริภุญไชย เชื้อสายพระนางจามเทวี
พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองปรากฏในตำนานจามเทวีวงศ์
ซึ่งต่อมามีการค้นพบศิลาจารึกในลำพูน มีข้อความตรงกับตำนานทุกประการ

ที่ ยกตัวอย่างมาแสดงให้เห็นว่าตำนานต่างๆ
ที่ปรากฏในตำนานเมืองหรือพระธาตุนครศรีธรรมราชที่ปรากฏเรื่องราวจันทรกาน
หรือเรื่องสรรพสิทธิ์ที่ปรากฏในตำนานจามเทวีวงศ์เป็นเรื่องราวในตำนานจึงไม่
น่าเชื่อถือ และค้นพบศิลาจารึกทำให้มีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
แต่นักวิชาการยังเชื่อว่าพระนามกษัตริย์ที่กล่าวมานั้น มิใช่เป็นคนไทย

ในตำนานของล้านนาอีกเล่มหนึ่งที่ค่อนข้างมหัศจรรย์มากสำหรับนักศึกษา
ตำนาน คือ ตำนานมูลศาสนา
ตำนานเล่มนี้เป็นบันทึกเรื่องราวอันยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนาจากรัฐสุโขทัย
ที่เข้าไปประดิษฐานอย่างมั่นคงในสมัยพญาลิไทยซึ่งตรงกับแผ่นดินพระเจ้ากือนา
ของล้านนา นำโดยพระภิกษุที่มีนามว่า พระสุมนเถระ

เนื้อหา ของตำนานมูลศาสนานอกจากจะกล่าวถึงประวัติพุทธศาสนาโดยตรงแล้ว
ยังมีเรื่องราวของพุทธศาสนาในลำพูน
โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับพระเจ้าสรรพสิทธิ์ เกี่ยวกับการสร้างศาสนสถาน
และเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติของพระองค์
ต่อมาได้มีการค้นพบศิลาจารึกที่เมืองลำพูน กล่าวถึงรัฐหริภุญไชยในระหว่าง
พ.ศ. 1616-1661 ซึ่งมีเนื้อหาตรงกับตำนาน เพียงแต่ในตำนานออกพระนามเป็น
พระยาสรรพสิทธิ์ แต่ในศิลาจารึกออกพระนามว่าพระเจ้าสรรพสิทธิ์
นอกจากนี้เรื่องราวที่ 1
กล่าวถึงพระสุมนเถระซึ่งเป็นระยะเวลาห่างกันประมาณ 300 ปี
ก็มีเนื้อหาตรงกับศิลาจารึกที่ค้นพบที่วัดพระยืน ลำพูน

กล่าวโดยสรุปพอจะเห็นได้ว่าข้อความในตำนานนั้นตรงกับศิลาจารึกชนิด
ที่กล่าวได้ว่าแทบจะลอกกันมา
แล้วนักประวัติศาสตร์ไทยในปัจจุบันไม่หันมาสนใจเนื้อหาในตำนานกันอีกหรือ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น