++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

มทร.อีสานเปิดป.โท ICTประยุกต์ เน้นความรู้พัฒนาชุมชนสิ่งแวดล้อม

“มหาวิทยาลัย เห็นความสำคัญนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือไอซีที มาเป็นเครื่องมือหลักประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนระดับสูง กระตุ้นผู้เรียนประยุกต์ใช้สื่อเทคโนโลยีครอบคลุมในทุกภาคส่วน” เป็นเป้าหมายสำคัญของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วินิจ โชติสว่าง อธิการบดี มทร.อีสาน จึงได้เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และศิลปะศาสตร์ ขึ้นเพื่อพัฒนานักศึกษาในด้านดังกล่าว

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประยุกต์ เป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ เศรษฐกิจ โดยครอบคลุมการประยุกต์ สาขาวิชา ไอซีทีในหลายด้าน รวมถึง การพัฒนาชุมชน การส่งเสริมการเกษตร การพัฒนาการศึกษา การพัฒนาการสื่อสารมวลชน การพัฒนาธุรกิจ การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม โดยสามารถศึกษาได้ตามความสนใจ

“เรา มุ่งให้นักศึกษาทุกคน มีคุณสมบัติครบถ้วนเมื่อสำเร็จการศึกษา ทั้งในเรื่องความรู้ความสามารถ ทักษะ ประสบการณ์คุณธรรมและจริยธรรม ในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะในเรื่องของความเสียสละ และความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้สังคมก้าวหน้าไปได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน” ดร.วินิจ กล่าว

ด้าน รศ. ดร. สนั่น การค้า รักษา ราชการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา และหัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มทร.อีสาน กล่าวว่า หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประยุกต์ เป็นหลักสูตรครอบคลุมการประยุกต์ สาขาวิชาไอซีทีในหลายๆ ด้าน เพื่อเชื่อมโยงสู่การทำงานของทุกสาขาอาชีพ เกิดการพัฒนาที่ไม่หยุดยั้ง ศึกษาเป็นระบบทวิภาค แบ่งเป็น2 แผน คือ หลักสูตรแผน ก (ก2) ผู้เรียนเลือกทำวิยานิพนธ์ก่อนจบ และหลักสูตรแผน ข การศึกษาค้นคว้าอย่างอิสระ

ในกรณีนักศึกษาต้องปรับพื้นฐานความรู้ก่อนเข้าสู่การศึกษาวิชาบังคับ และกลุ่มวิชาเฉพาะโดยไม่นับหน่วยกิต จำนวน 1-3 รายวิชา เสริมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สถิติเพื่อการวิจัยและเสริมทักษะภาษาอังกฤษควบคู่ไปด้วย กระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้อยู่เสมอ

ปัจจุบันหลักสูตรนี้เปิดสอนเป็นรุ่นที่ 4 มีผู้ให้ความสนใจสมัครเป็นจำนวนมากจากหลายภาคส่วน ผ่านการคัดเลือกจำนวน 24 คน จากบุคลากรประจำในภาคส่วนต่างๆ ที่มีความประสงค์ นำระบบไอซีที ไปประยุกต์ใช้ ในการพัฒนางานในส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งรัฐและเอกชน ทั้งนี้ กลุ่มผู้ที่สอบผ่านการคัดเลือกเป็นผู้มีประสบการณ์และคุณสมบัติที่เหมาะสมใน การเข้าศึกษาในหลักสูตรดังกล่าว ที่ลงลึกทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ

“เมื่อ ใกล้จบหลักสูตรเข้าสู่เทอมที่3 ทุกคนจะมีโอกาสศึกษาดูงานด้านไอซีทีทั้งในและต่างประเทศ บนความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่างๆ เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนเป็นประโยชน์ในวิชาชีพต่อ ไป” รศ. ดร. สนั่น กล่าวทิ้งท้าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น