++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ไขข้อพิพาทปราสาทพระวิหารฉบับชาวบ้าน

โดย ชวินทร์ ลีนะบรรจง, สุวินัย ภรณวลัย 21 กรกฎาคม 2553 16:15 น.
ข้อพิพาทเรื่องปราสาทพระวิหารดูจะเป็นเรื่องเดียวผู้ที่มีหน้าที่โดยตรง
ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน ข้าราชการ
หรือแม้แต่สื่อมวลชนส่วนใหญ่ในปัจจุบันไม่ได้ให้ความสนใจเปิดเผยข้อเท็จจริง
กับเจ้าของประเทศอย่างแท้จริงว่ากำลังจะเกิดอะไรขึ้น

ทั้งที่พวกเขาเหล่านั้น ปฏิญาณตนแล้วว่าจะปกป้องรักษาเอาไว้ด้วยชีวิต

วันนี้ต้องขอแทรกบทความต่อเนื่องขนาดยาว
"รำลึกทักษิณและระบอบทักษิณ"
ด้วยเรื่องสำคัญก็คือการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกปราสาทพระวิหารโดยกัมพูชาแต่
ฝ่ายเดียว

25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 จะเป็นเหมือนเมื่อ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505
ที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก)
ได้มีคำพิพากษาตัดสินให้กัมพูชามีอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารหรือไม่
อีกไม่กี่วันชาวไทยทั้งหลายคงได้ทราบเป็นที่ประจักษ์ เพราะเป็น
วันที่ยูเนสโกจะพิจารณาตัดสินคำขอกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดก
โลกแต่เพียงฝ่ายเดียว
ทั้งที่ฝ่ายไทยไม่เคยยอมรับว่าปราสาทดังกล่าวเป็นของกัมพูชาและคัดค้านการ
ขึ้นทะเบียนมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียวของกัมพูชามาโดยตลอด

1. ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชาเมื่อ พ.ศ. 2505
หลังจากที่กัมพูชาได้ยื่น 5 ข้อเรียกร้องต่อศาลโลกให้พิพากษาและชี้ขาดว่า
(1) แผนที่ตอนเขาดงรัก ขนาดมาตราส่วน 1:200000
ที่ได้ถูกจัดทำและเผยแพร่ในนามของคณะกรรมการปักปันเขตแดนผสมตามสนธิสัญญา
ค.ศ. 1904 (2) เส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาในบริเวณปราสาทพระวิหารให้เป็นไปตามเส้นที่
ลากไว้บนแผนที่ตามข้อ (1) (3)
ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในดินแดนที่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา (4)
ถอนทหารในบริเวณตัวปราสาท และ (5) คืนสิ่งของวัตถุโบราณ

2. มีความเข้าใจอยู่เสมอๆ ว่าศาลโลกได้ตัดสินตามข้อเรียกร้องเพียง
3 ข้อคือข้อ(3)-(5)
นั่นคือศาลโลกได้ชี้ขาดให้ตัวปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา
แต่ศาลโลกมิได้ชี้ขาดในเรื่องเขตแดนตามแผนที่มาตราส่วน 1:200000
ตามข้อเรียกร้องใน 2 ข้อแรก

แต่จากคำพิพากษาที่แปลโดยกระทรวงการต่างประเทศและจัดพิมพ์โดยสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อ
30 มิ.ย. 2505 ได้ชี้ให้เห็นว่า
ศาลโลกได้อาศัยการวินิจฉัยเส้นเขตแดนเป็นหลักที่จะกำหนดว่าปราสาทจะตกเป็นของชาติใด
ดังปรากฏในหน้า 16 "เพื่อ ที่จะชี้ขาดว่าปัญหาอธิปไตยเหนือดินแดน
ศาลจำเป็นต้องพิจารณาถึงเส้นเขตแดนระหว่างประเทศทั้งสอง . . ."
หรือในหน้า 19-20
"ศาลจะสามารถวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือบริเวณเขาพระวิหารได้ก็ต่อ
เมื่อได้ตรวจสอบแล้วว่าเส้นเขตแดนคือเส้นใด . . ."

กล่าวอย่างง่ายๆ ก็คือหากชี้ขาดเรื่องเส้นเขตแดนได้แล้ว
ปราสาทตกอยู่ในเขตแดนใครก็เป็นของชาตินั้นไป ดังนั้น การ
ชี้ขาดว่าปราสาทพระวิหารเป็นของชาติใดจึงเป็นผลสืบเนื่องมาจากการวินิจฉัย
เส้นเขตแดน หากใช้ตรรกะนี้เขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชาก็มีการชี้ขาดไปด้วยเช่นกัน!

ดังนั้น ความเข้าใจที่ว่าศาลโลกไม่ได้ชี้เรื่องเขตแดนในแผนที่ตอนเขาดงรักจึงอาจเป็นเรื่องเข้าใจผิดของคนส่วนใหญ่มาเป็นเวลานาน
และอาจเป็นเหตุผลสำคัญต่อการตัดสินใจของกระทรวงการต่างประเทศไทยในปัจจุบัน
เพราะแม้ในคำพิพากษาในตอนท้ายหน้า 50
ที่กล่าวถึงข้อเรียกร้องของกัมพูชาต่อศาลโลก 2 ข้อแรกว่า
"มิใช่เป็นข้อเรียกร้องที่จะต้องกล่าวถึงในบทปฏิบัติการของคำพิพากษา"
แต่ก็เป็นหลักที่ศาลโลกใช้พิจารณาให้อธิปไตยเหนือตัวปราสาทตามข้อเรียกร้อง
(3) ของกัมพูชา

3. อีกประเด็นหนึ่งที่มีการเข้าใจผิดมาโดยต่อเนื่องก็คือ
สันปันน้ำกับเขตแดนเป็นเส้นเดียวกันหรือไม่ แม้สนธิสัญญาปี ค.ศ. 1904
กำหนดให้ใช้หลักสันปันน้ำในการกำหนดเขตแดนก็จริงอยู่
แต่ก็กำหนดด้วยว่า"แนวเขตแดนที่แน่นอนจะถูกกำหนดโดยคณะกรรมการฯ" (หน้า
20) ซึ่งหมายความว่าเส้น
เขตแดนกับสันปันน้ำอาจเป็นคนละเส้นก็ได้หากคณะกรรมฯ
กำหนดไว้ให้ต่างไปจากสันปันน้ำ เส้นเขตแดนจึงเป็นผลงานของคณะกรรมการฯ
และมิได้เป็นไปโดยอัตโนมัติโดยยึดหลักสันปันน้ำแต่เพียงลำพัง และ
ศาลโลกด้วยเสียงส่วนใหญ่ก็เห็นว่าคณะกรรมการฯ สามารถมีดุลพินิจทำได้
ไม่เป็นเรื่องนอกขอบเขตอำนาจของคณะกรรมการฯ
ดังที่ผู้พิพากษาเสียงส่วนน้อยบางท่านมีความเห็นแย้งเอาไว้ (หน้า 193)

4. แม้ข้อเท็จจริงปรากฏว่าคณะกรรมการฯ
มิได้ยอมรับอย่างเป็นทางการในแผนที่ตอนดงรักว่าเป็นผลงาน
แต่แทนที่จะกลับไปใช้หลักสันปันน้ำในการกำหนดเขตแดนตามเจตนารมณ์ที่ภาคีสนธิ
สัญญาตกลงกันเอาไว้ตั้งแต่ต้น ศาลโลกมีความเห็น "เตลิดไปไกล"
ว่าการที่ฝ่ายไทยนิ่งเฉยทั้งที่แผนที่ที่ไม่ได้เป็นผลงานดังกล่าวที่ได้ถูก
จัดทำและส่งให้ฝ่ายไทยด้วยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1908
จนถึงเวลาที่เรื่องขึ้นสู่ศาล (ปี ค.ศ. 1965)
ทำให้เส้นเขตแดนที่ปรากฏบนแผนที่ดังกล่าวถูกยอมรับโดย "พฤตินัย"
จากภาคีสนธิสัญญาทั้ง 2 ฝ่ายแม้จะไม่มีการยอมรับอย่างเป็นทางการก็ตาม
โดยคำพิพากษาตอนหนึ่งกล่าวว่า

"พฤติการณ์
แวดล้อมย่อมจะบังคับให้ต้องมีปฏิกิริยาบางอย่างในระยะเวลาอันสมควรจากเจ้า
หน้าที่ฝ่ายสยาม ถ้าหากมีความประสงค์ที่จะเสนอข้อคัดค้านแผนที่
หรือจะยกปัญหาสำคัญอันใดขึ้นมาเกี่ยวกับเรื่องนี้"
อันเป็นที่มาของกฎหมายปิดปาก (estoppel law) ที่ว่า
"ผู้ที่เงียบเฉยอยู่ย่อมถือว่ายินยอมถ้าเขามีหน้าที่ที่จะพูดและสามารถจะพูดได้"
(หน้า30) แม้จะมีเสียงข้างน้อยไม่เห็นด้วยก็ตาม

ดังนั้น ฝ่ายไทยที่อาศัยเหตุผลทางนิติศาสตร์ที่จะไม่ยอมรับแผนที่ตอนดงรักหรือไม่ก็
ไม่ทำให้ศาลโลกเห็นคล้อยตามไปได้
เนื่องจากข้อเท็จจริงด้านพฤตินัยที่ฝ่ายไทย
(หรือแม้แต่ฝรั่งเศสและกัมพูชา) ไม่เคยคัดค้านแผนที่ดังกล่าวเมื่อมีโอกาส
เป็นประจักษ์พยานที่ชัดเจนกว่า
และมีน้ำหนักอยู่เหนือเหตุผลด้านภูมิศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักพรมแดนตาม
ธรรมชาติ เช่น สันปันน้ำ หรือเหตุผลด้านทางขึ้นทางลงของปราสาท

5. การอ้างบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชาปี พ.ศ. 2543 หรือ
MOU 2543 ว่าเป็นคุณกับฝ่ายไทยเพราะสามารถเลือกใช้แผนที่ที่ถูกรับรองอย่างเป็นทางการ
จากคณะกรรมการฯ ที่มีอยู่หลายฉบับของนายศิริโชคเพื่ออธิบายความชอบธรรมในการไปทำบันทึกความ
เข้าใจฯ ดังกล่าว จึงเป็นเรื่องที่ไร้สาระ เพราะดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น
จะเป็นการทำแผนที่โดยฝรั่งเศสแต่ฝ่ายเดียว
หรือจะอ้างความผิดพลาดของฝ่ายตน (ไทย)
ว่าไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องของแผนที่เพื่อบอกล้างความยินยอม
หรือคณะกรรมการฯ จะให้การรับรองแผนที่หรือไม่
ศาลโลกก็ไม่ได้ให้ความสำคัญแต่อย่างใด แต่ศาลโลกได้ชี้เขตแดนเอาไว้แล้ว
(โดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตามแต่จะคิด)
จากการชี้ขาดให้ปราสาทพระวิหารตกไปเป็นของกัมพูชาต่างหาก

6. หากพิจารณาในภาพกว้างจะเห็นได้ชัดว่า ฝ่าย
กัมพูชาในปัจจุบันสนใจแต่เพียงการ "บังคับคดี"
ที่ศาลโลกได้ตัดสินนำร่องไว้แล้วเมื่อเกือบ 50
ปีก่อนต่างหากที่น่าจะเป็นประเด็นสำคัญโดยอาศัยการขึ้นทะเบียนมรดกโลกของยู
เนสโกเป็นการ "บังคับคดี" ไปโดยปริยาย
เพื่อที่จะได้ดินแดนตามเส้นเขตแดนในแผนที่ที่ฝรั่งเศสเป็นผู้จัดทำแต่ฝ่าย
เดียวเมื่อค.ศ. 1908
เพราะฝ่ายกัมพูชาก็ตระหนักดีว่าขอบเขตการบังคับคดีของศาลโลกมีจำกัด

ความเห็นของชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ที่ปรากฏในจดหมายเรื่องปราสาทพระวิหาร-กรณีศึกษาประวัติศาสตร์การ
เมือง-ลัทธิชาตินิยม ลงวันที่ 20 มิ.ย. 51ที่กล่าวว่า
ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชาทั้งจากทางด้านประวัติศาสตร์
ทางด้านนิติศาสตร์ เนื่องจากข้ออ้างของฝ่ายไทยด้านภูมิศาสตร์ คือ
ทางขึ้นหรือสันปันน้ำ หาได้รับการรับรองจากศาลโลกไม่นั้น
ข้อเท็จจริงที่ปรากฏข้างต้นก็ชี้ให้เห็นว่าไม่เป็นความจริงเช่นกัน

แม้ศาลโลกจะไม่ให้ความสำคัญกับข้ออ้างด้านภูมิศาสตร์ของฝ่ายไทย
แต่ทางขึ้นลงเป็นสิ่งสำคัญต่อปราสาทพระวิหารที่กัมพูชาได้ไว้ในครอบครอง
หา ไม่แล้วทำไมจึงต้องพยายามอ้างแผนที่ 1:200000
ที่ทำโดยฝรั่งเศสในการทำข้อตกลงกับฝ่ายไทยในปัจจุบันอยู่ตลอดเวลาทั้งๆ
ที่ศาลโลกก็ได้ตัดสินตัวปราสาทให้ไปแล้วเมื่อเกือบ 50 ปีก่อน

นอกจากนี้แล้ว เส้นแบ่งเขตแดนตามธรรมชาติ เช่น สันปันน้ำก็ดี
หรือขอบหน้าผาก็ดี หรือแม่น้ำก็ดี ล้วนแต่เป็นข้อต่อสู้เรื่องเขตแดนที่
อาศัยข้อเท็จจริงทางภูมิศาสตร์เป็นมูลฐานที่มองเห็นสังเกตและไม่เปลี่ยนแปลง
ได้โดยง่าย เป็นการใช้อธิปไตยแห่งอาณาเขตโดยฝ่ายที่มีทางเข้าถึงอย่างสะดวกที่ไม่ขัดกับหลักธรรมชาติเหมือนเช่นที่ศาลโลกพิพากษาเอาไว้
โดยอ้างเหตุผลด้านนิติศาสตร์ว่าคณะกรรมการฯ
มีอำนาจในการใช้ดุลพินิจในการกำหนดเขตแดนที่อาจนอกเหนือไปจากหลักธรรมชาติ
(หลักภูมิศาสตร์)
และโดยข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏหลักฐานการวินิจฉัยกำหนดเขตแดนในบริเวณดังกล่าว
แต่อย่างใด

7.ประเทศไทยมาถึงจุดที่กำลังจะเสียดินแดน
หากคณะกรรมการมรดกโลกอนุมัติให้กัมพูชาสามารถขึ้นทะเบียนแต่ฝ่ายเดียวและให้
อาณาบริเวณโดยรอบปราสาทเป็นเขตอนุรักษ์ที่มิใช่บริหารจัดการโดยฝ่ายไทย
ตามอธิปไตยที่มีอยู่ได้อย่างไร?

มิ ใช่เพราะบันทึกความเข้าใจฯ ปีพ.ศ. 2543
ที่มีขึ้นในรัฐบาลประชาธิปัตย์แต่เพียงประการเดียว
หากแต่มีการต่อยอดเรื่อยมาโดยทักษิณ ชินวัตร
และรัฐบาลหุ่นเชิดของเขาที่ตั้งใจจะแลกดินแดนทางบกกับผลประโยชน์จากน้ำมันใน
ทะเล การไม่คัดค้านหรือเสนอตัวร่วมขอมรดกโลกในปราสาทพระวิหารที่เคยทำมาในอดีต
ทั้งๆ ที่รัฐบาลไทยยืนยันสงวนสิทธิ์มาโดยตลอด
หรือการที่นายนพดลอาศัยความเป็นรัฐมนตรีไปทำสัญญากับกัมพูชาโดยไม่ขออนุมัติ
จากรัฐสภา ถูกศาลเพิกถอนความตกลงดังกล่าว ต้องลาออกและถูก
ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด ปรากฏการณ์ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นข้อเท็จจริงเชิง
ประจักษ์ที่ดีถึงความผิด ละเลยหรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ที่ร่วมกระทำอย่างซ้ำซากของรัฐบาลประชาธิปัตย์กับทักษิณในยุคปัจจุบัน

ประเทศไทยยังมีกรณีเช่นปราสาทพระวิหารอยู่อีกหลายๆ
แห่งในบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา นายกฯ
อภิสิทธิ์จะทำอย่างไรหากกัมพูชาเข้ามายึดดินแดนในปราสาทแห่งอื่นๆ
อีกตามรอยปราสาทพระวิหารเพราะกัมพูชาคงไม่จบเรื่องแค่ปราสาทพระวิหารที่
เดียว

8. นายกฯ อภิสิทธิ์กำลังตั้งตนอยู่ในความประมาทอย่างแท้จริง
เพราะกรณีนี้ประเทศไทยมีแต่เสมอตัว (กัมพูชาขึ้นทะเบียนไม่ได้) กับขาดทุน
(กัมพูชาขึ้นทะเบียนได้) ไม่มีกำไรอย่างแน่นอน
แต่ที่เห็นเป็นประจักษ์ชัดเจนก็คือ
ประเทศไทยจะไม่มีวันที่จะได้ปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบกลับคืนมาหากยัง
คงใช้วิธีแค่ยื่นหนังสือประท้วงเช่นที่ทำอยู่ในปัจจุบันโดยไม่เผชิญหน้ากับ
ปัญหาอย่างแท้จริง ในขณะที่ฝ่ายกัมพูชานำเอาทหาร ประชาชน
เข้ามาในดินแดนที่ไทยบอกว่าเป็นของตนเองแต่ไม่สามารถเข้าไปได้โดยอิสระ

นายกฯ อภิสิทธิ์จะทราบหรือไม่ว่า การเอาแต่ใช้โวหาร เล่นลิ้น
ในเรื่องดังกล่าวจะมีประโยชน์อันใดเกิดขึ้นมา
หากไทยต้องเสียดินแดนไปอีกครั้ง เรื่องนี้นายกฯ อภิสิทธิ์
พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคร่วมทั้งหมดรับผิดชอบไม่ไหวดอกจะบอกให้

เพราะเรื่องนี้ท่านอาจถูกประชาชนตัดสิทธิ์ทางการเมืองตลอดชีวิต!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น