++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ใบหม่อน ไม่ใช่แค่พืชที่เอาไว้เลี้ยงดักแด้ของหนอนไหมเท่านั้น

ใบหม่อน ไม่ใช่แค่พืชที่เอาไว้เลี้ยงดักแด้ของหนอนไหมเท่านั้น ปัจจุบันนี้ใบหม่อนมีชื่อเสียงทางด้านนำมาเป็น “ชาใบหม่อน” ซึ่งเป็นชาสมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณมากมาย ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ลดคอเลสเตอรอล ทำให้กระแสเลือดหมุนเวียนดีหลอดเลือดแข็งแรง ยับยั้งการเกิดสารก่อมะเร็งเม็ดเลือด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ ลดอาการแพ้ต่างๆ และยืดอายุเม็ดเลือดขาว

คุณค่าทางด้านสมุนไพรของใบหม่อน
1. สารดีอ็อกซิโนจิริมายซิน (Deoxynojirimycin) ซึ่งสารนี้เองมีผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือด

2. กาบา (GABA) หรือชื่อเต็มๆคือ gamma amino butyric acid ที่มีคุณสมบัติในการลดความดันโลหิต

3. สารฟายโตสเตอรอล (Phytosterol) ที่มีประสิทธิภาพในการลดระดับคอเลสเตอรอล

4. แร่ธาตุ และวิตามิน อื่นๆที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม โปแตสเซียม โซเดียม แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี วิตามินเอ วิตามินบี อีกทั้งยังมี กรดอะมิโนหลายชนิด

5. สารเควอซิติน (quercetin) และ เคมเฟอรอล (kaempferol) ซึ่งเป็นสารกลุ่ม ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ที่มีคุณสมบัติป้องกันการดูดซึมของน้ำตาลในลำไส้เล็ก ทำให้กระแสเลือดหมุนเวียนดี และหลอดเลือดแข็งแรง ยับยั้งการเกิดสารก่อมะเร็งเม็ดเลือด มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่ลดอาการแพ้ต่าง ๆ และยืดอายุเม็ดเลือดขาว

6. สารโพลีฟีนอลโดยรวม (polyphenols) ซึ่งมีฤทธิ์ด้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย

การชงชาใบหม่อนให้ได้คุณค่า
ให้ชงด้วยน้ำร้อน 80 – 90 องศาเซลเซียส คือหลังจากเดือดแล้วทิ้งไว้สักครู่ จะรักษาปริมาณสารออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด แล้วทิ้งไว้นาน อย่างน้อย 6 นาที ก่อนดื่ม จะได้คุณค่าทางโภชนาการและเภสัชวิทยา

ชื่อสมุนไพร หม่อน ภ.อังกฤษ mulberry
ชื่ออื่นๆ มอน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ภาษาจีนแต้จิ๋วเรียก ซิวเอียะ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Morus alba Linn. ชื่อวงศ์ Moraceae
ลักษณะของต้นหม่อน
• ไม้พุ่มขนาดกลาง เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านไม่มากนัก
• ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ หรือรูปไข่กว้าง ขอบเรียบหรือหยักเว้าเป็นพู ขึ้นกับพันธุ์ ผิวใบสาก ปลายเรียวแหลมยาว ฐานใบกลมหรือรูปหัวใจ หรือค่อนข้างตัด ใบอ่อนขอบจักเป็นพูสองข้างไม่เท่ากัน ขอบพูจักเป็นซี่ฟัน
• ดอกช่อ รูปทรงกระบอกออกที่ซอกใบ และปลายยอด แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียอยู่ต่างช่อกัน วงกลีบรวมสีขาวหม่น หรือสีขาวแกมเขียว ช่อดอกเป็นหางกระรอก
• ผลเป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีสีเขียว เมื่อสุกสีม่วงแดงเข้ม เกือบดำ ฉ่ำน้ำ มีรสหวานอมเปรี้ยว

หม่อน นอกจากจะเป็นอาหารตามธรรมชาติ เพียงชนิดเดียวของหนอนไหมแล้ว ยอดอ่อนของหม่อนสามารถนำมากินได้ มักใช้ใส่แกงแทนผงชูรสเพื่อเพิ่มรสชาติอาหาร หรือใช้เป็นอาหารต่างผักทั่วไป

******* *******
เครดิต: เรื่อง ชีวอโรคยา นำมาจาก ไทยสมุนไพร.net อ้างอิง คุณวิโรจน์ แก้วเรือง ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์หม่อนไหม และ ฐานข้อมูลสมุนสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ขอขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต

แบ่งปันความรู้ทั่วไป เพื่อความพอเพียง และสุขภาพที่ดี โปรดใช้วิจารณญาณ และศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

ชีวอโรคยา อยากให้ทุกคนมีสุขภาพดีไม่พึ่งสารเคมี ไม่ต้องรอให้ป่วยไปเสียค่ารักษาพยาบาลแพงๆ

ติดตามข้อมูลข่าวสารการดูแลตัวเองวิถีธรรมชาติ ไม่พึ่งสารเคมีได้ที่ Facebook ชีวอโรคยา
www.facebook.com/pages/ชีวอโรคยา/135957369811772



ใบหม่อน


1 ความคิดเห็น:

  1. นับว่าเป็นพืชที่มีคุณประโยชน์มากมาย ขออนุญาตแชร์นะครับ

    ตอบลบ