++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556

รู้อัตตาก่อนจึงทำความพอเหมาะแก่อนัตตา



รู้อัตตาก่อนจึงทำความพอเหมาะแก่อนัตตา
โดย AsokeBoonniyom เมื่อ 5 มีนาคม 2013 เวลา 20:48 น. ·
รายการเรียนอิสระ(ตามสำนึก) 25560304 เรื่อง รู้อัตตาก่อนจึงทำความพอเหมาะแก่อนัตตา โดยพ่อครูและส.เดินดิน.

• ส.เดินดินเปิดรายการที่ห้องกันเกรา สันติฯ ช่วงนี้พวกเราเพิ่งกลับจากงานพุทธาภิเษกฯที่ศาลีอโศก ซึ่งในงานพ่อครูก็ได้อธิบายธรรมะอย่างลึกซึ้ง และมีผู้ที่คอยตรวจสอบว่าความเห็นของเขาเป็นอย่างไรต่างจากพ่อครูอย่างไร พ่อครูก็ได้นำมาอ่านและได้วิเคราะห์วิจัยธรรมได้อย่างลึกซึ้ง

• ที่ผ่านมาได้พบญาติธรรมท่านหนึ่ง ที่เคยคิดว่าเป็นผู้ชายไม่เที่ยวผู้หญิงจะเป็นไปได้อย่างไร แต่พอมาปฏิบัติธรรม ก็มีการเปลี่ยนแปลงลดละได้ ซึ่งคนทั่วไปก็ไม่อาจนึกว่าตัวตนนั้นลดละได้ และพ่อครูยังได้ให้ธรรมะที่ลึกซึ้งไปอีกว่า แม้ตัวตนก็มีหลายระดับ และแม้สิ่งที่เป็นอรูปก็ลดละได้ ทั้งหมดนี้ไม่ใช่แค่นึกคิดเอา ซึ่งมีทั้งตัวตนที่กำจัดได้ง่ายและยาก เป็นเรื่องโลกุตระ เป็นเรื่องลึกซึ้ง อตรรกาวจรา แม้มีผู้ชี้ทางถูก เรายังเดินทางผิดได้ ยิ่งไม่มีผู้รู้คอยชี้ก็ยิ่งหลงทาง เราก็ต้องมาฟังสิ่งที่ให้สัมมาทิฏฐิ ให้เราเข้าใจได้ชัดได้ถูกขึ้น ...

• พ่อครู ก็ให้ฟังสิ่งที่ซ้ำที่วน คือการเช็คดูว่าจะเข้าใจยิ่งขึ้นไหม พ่อครูพยายามอธิบายวนรอบให้พิศดารเพิ่มขึ้นอีก ส่วนผู้ที่ไม่เข้าใจก็ตัดรอบ เขาก็เข้าใจในสิ่งที่เขาเข้าใจ ลึกละเอียดไปตามประสาเขา และก็ต้องให้พวกเราได้ฟังสิ่งที่เขาพูดเขาเขียนด้วย จะได้เปรียบเทียบ เกิดปัญญาในการตัดสินว่าอันไหนถูก พ่อครูไม่นิยมครอบงำทางความคิด ของคุณ 8705 ก็แสดงออกมาอีกว่า

• 0077770888705870588"ธรรมดาว่าคนเรามีอายตนะถึง6ช่องเป็นที่ต่อให้เกิดรูปนามได้ แต่คนทั่วเหมือนกับปลาที่เคยชินกับน้ำ! คือหมายถึงว่าฦคนเรามักจะพอใจคือมีฉันทะกับกามคุณ5 จึงถนัดที่จะใช้อายตนะเพียง5ช่องคือตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย เป็นที่ให้เกิดรูปนาม ต่อเนื่องเป็นอารมณ์โคจรจนเคยชินฦที่เรียกว่ากามาวจร! แต่ก็มีคนส่วนหนึ่งรู้สึกเบื่อหน่ายต่อกามคุณ5 จึงแยกตัวจากสังคมไปเข้าป่า เพื่อฝึกหัดให้ยินดีเฉพาะต่ออารมณ์อันเกิดจากอายตนะที่ชื่อว่าใจ เพียงอย่างเดียว! โดยต้องใช้อุบายวิธีเพื่อให้สามารถยึดติดอยู่กับอารมณ์อันเกิดจากใจให้ได้! เช่นใช้วิธีกสิณดิน,น้ำ,ลม,ไฟ เป็นต้น จนเกิดความชำนาญต่อการยึดอยู่กับอามณ์อันเดียวได้! และเมื่อทำจนเคยชิน ก็เลยกลายเป็นฉันทะต่อโคจรของอารมณ์ที่พ้นจากกามาวจรได้ โดยเรียกอารมณ์อันเดียวนี้ว่าเป็นรูปาวจร!

และเมื่อพัฒนาต่อไปจนอารมณ์ยิ่งละเอียดขึ้นฦจนสามารถพ้นไปจากรูปาวจรที่หยาบกว่าได้ เกิดเป็นฉันทะยินดีเฉพาะต่ออารมณ์ที่ละเอียดยิ่งกว่าที่เรียกว่าฦอรูปาวจรได้! เช่นอาฬารดาบสและอุทกดาบส เป็นต้น แต่เมื่อสมณะโคดมได้มาศึกษากับดาบสทั้ง2นี้แล้ว ก็เห็นว่า แม้อารมณ์อันเดียวที่ละเอียดยิ่งนี้ฦก็ยังเอาเป็นที่พึ่งมิได้!เหตุเพราะว่าฦอารมณ์ก็เป็นของไม่เที่ยงอยู่ดี!ฦฉะนั้นจึงยังคงต้องทุกข์ยากลำบากอยู่!ฦในการที่จะควบคุมให้มันเที่ยง! เมื่อทรงเห็นว่าแม้อรูปฌานสูงสุดนี้ฦก็ยังไม่อาจพ้นทุกข์ถาวรได้!

จึงได้ทรงหลีกไปจากดาบสทั้ง2และที่สุดก็ได้ทรงค้นพบหนทางแห่งการตรัสรู้ฦซึ่งนั่นก็คือสติปัฏฐาน4 หรือโดยวิธีปฏิบัตก็คืออานาปานสติปัฏฐาน(4) นั่นเอง! ซึ่งวิธีอานาปานสติปัฏฐานนี้ ถึงแม้จะยังคงนั่งหลับตาฦแต่ก็ไม่เคยมีในหมู่ฤาษี! เพราะฤาษีไม่เคยรู้จักวิธีนี้เลย อธิบายว่า ฤาษีย่อมปฏิบัตเพื่อยึดติดกับอารมณ์อันเดียว เท่านั้น! ซึ่ง=ว่าเป็นฝึกแต่สมาธิล้วนๆอยู่กับอารมณ์เดียวจึง=ไม่ได้ฝึกสติเพื่อให้ระลึกรู้ทันกับความเป็นจริง ณ.ปัจจุบัน!ที่ทุกอารมณ์จำต้องเปลี่ยนแปลงตลอด! และนี่ก็คือข้อแตกต่างฦระหว่างวิธีนั่งหลับตา(สมาธิล้วนๆ)ของฤาษีที่ไม่ใช่วิธีการฝึกสติผิดกับวิธีนั่งหลับตา(ฝึกอานาปานสติปัฏฐาน)ของพุทธ! ที่เป็นการฝึกสติโดยเฉพาะ เพื่อระลึกรู้ให้ทันกับทุกอารมณ์ ณ.ปัจจุบัน! หรือระลึกรู้รูปนามแบบสดๆตามภาษาของพธร.ไง!

และเมื่อฝึกสติจนแก่กล้า ทันกับทุกอารมณ์แล้ว สมาธิก็ย่อมจักค่อยๆรวมตัวก่อเกิดขึ้นเอง! และเมื่อนั้นฦภาวนามยปัญญาหรือวิปัสนาญาณตัวแรกที่เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็จักบังเกิดขึ้น! ถึงตอนนี้ฦก็ต้องใช้ความเพียรต่อไปเพื่อจะประคองสมาธิ(จิต)ไว้!(ไม่ให้ล้ม) อันเป็นฐานให้เกิดวิปัสนาญาณที่สูงยิ่งขึ้นได้ จนเมื่อเกิดโลกียปัญญาถึงขั้นสูงสุดแล้ว(=สังขารูเปกขาญาณ) เมื่อนั้นฦทั้งสติ สมาธิ ปัญญา ก็จะสมังคีรวมเป็นหนึ่งเดียว! คือหมายความว่า แต่ละตัวฦต่างก็จะทำหน้าที่ของตัวเอง โดยเป็นการกระทำที่พร้อมกันไป และด้วยวิธีที่สติ สมาธิ ปัญญา สมังคีกันนี้ฦถึงเปิดช่องให้มรรคญาณคือญาณเห็นอริยสัจจ์4ฦสามารถบังเกิดขึ้นได้! แต่ก็มียกเว้นบุคคลอยู่2จำพวก คือ

1.ผู้ที่ปราถนาพุทธภูมิ! เพราะถ้าหากบารมียังไม่เต็ม พอที่จะให้ตรัสรู้เป็นพุทธเจ้าได้แล้วฦมรรคญาณก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ แต่จะได้โคตรภูญาณแทน เท่านั้น! 2.ผู้ที่มีกรรมหนักมาตัดรอน(เช่นอนันตริยกรรม) อย่างเช่นพระเจ้าอชาติศัตรู เป็นต้น ซึ่งถ้าไม่ได้ฆ่าพ่อของตนแล้ว คืนวันที่ไปกับหมอชีวกฟังธรรมพุทธเจ้าครั้งแรกนั้นฦจักต้องได้เห็นอริยสัจจ์4 บรรลุเป็นโสดาบันแน่นอน! และถ้าเป็นกรณีอาบัตปาราชิกของภิกษุแล้ว ก็จัดเป็นกรรมหนักที่ตัดรอนฦไม่ให้มรรคญาณเกิดขึ้นได้เหมือนกัน!

จึงขอสรุปเลยว่า ที่เขมรกล่าวหาว่า พื้นที่โดยรอบ4.6 ตร.กม.ก็เป็นของเขมร! เหมือนกับที่ประสาทเขาพระวิหารนั้น ฉันใดฦมหาโพธิรักก็ฉันนั้น! เพราะย่อมถนัดแต่กล่าวหาว่า ถ้าเป็นการนั่งหลับตาปฏิบัตแล้วฦจักต้องเป็นสมาธิหลับตาปี๋(จมอยู่ในภวังค์)ของฤาษี เท่า นั้น! ซึ่งข้อด่วนสรุปของพธร.นี้ฦถ้าเกิดจากอคติของพธร.ที่มีต่อสงฆ์ละก็ฦบาปไม่หนักเท่าไรดอก! แต่คิดว่า น่าจะเกิดจากความโง่เขลาของพธร.เองมากกว่า! ซึ่งบาปย่อมจะหนักกว่ามาก! และหากพธร.ยังจะมีข้อเถียงอันใดฦก็เชิญแถลงไขได้! แต่คิดว่าฦพธร.ควรจะทบทวนคำชี้แนะของเราให้มากๆ! ก็เพเสียที! เพราะมิฉะนั้นฦจะเข้าหลักเอาฝูงคนมาทำเป็นฝูงควาย!

ซึ่งจะน่าที่จะได้เลิกกล่าวหาพล่อยๆ!ฦพร้อมกับเลิกดูถูกวิธีนั่งปฏิบัตหลับตาเสียดายยิ่งนัก! และคิดว่าตลอดชีวิตที่ผ่านมาฦพธร.ก็คงไม่เคยได้พบกับกัลยาณมิตรที่ดีเช่นเดียวกับเรา! ฉะนั้นจึงขอพธร.ศึกษาให้ดีๆว่า คำว่าโดยปรมัตถ์แล้ว ย่อมจะหาอัตตามิได้! หรือหาอัตตาไม่พบ! หรือหาใช่อัตตาไม่! หรือคือไม่ใช่อัตตา นั่นเอง(=อนัตตา!) ซึ่งทั้งหมดดังที่กล่าวมานี้ เพราะพุทธองค์ประสงค์จะแสดงสัจธรรมของอนัตตา!ฦก็เพื่อหวังให้บุคคลได้หลุดพ้นจากอุปาทานของอัตตา(=อัตวาทุปาทาน)ที่ครอบงำจิตของบุคคลอยู่!แต่ถ้าหากว่า บุคคลยังฝังแน่นอยู่ด้วยอุปาทานของอัตตาแล้วละก็ฦแน่นอนว่า บุคคลนั้นแม้จะฟังยังไงฦก็คงไม่อาจเข้าใจอนัตตาได้อยู่ดี! แล้วเผลอๆอาจไปตีความว่าฦอนัตตาก็คือไม่มีตัวตน หรอกมั๊ง!(=มิจฉาทิฐิชั้นที่1)แล้วก็เลยตีความต่อไปว่า อนัตตาต้องหมายถึงนามธรรมแง๋ๆ!(=มิจฉาทิฐิชั้นที่2)

ก็เพราะเหตุที่ไม่มีตัวตนคือไม่มีรูปธรรมให้เห็นได้ นั่นเอง! ซึ่งข้อสรุปที่โง่เขลาเช่นนี้ฦย่อมเป็นเพราะขาดสติปัญญาที่จะพิจรณาให้ลึกซึ้งได้นั่นเอง! จึงหลงผิดไปว่า รูปก็คือตัวตน! หรือตัวตนก็คือรูป!(=มิจฉาทิฐิชั้นที่3) และเหตุนี้ฦจึงหลงผิดต่อไปอีกว่า รูปหมายถึงเฉพาะรูปภาพที่ต้องเห็นได้ด้วยตา เท่านั้น!(=มิจฉาทิฐิชั้นที่4) และสุดท้ายฦพธร.ก็เลยสรุปเหมาเอาว่า ถ้าปฏิบัตนั่งหลับตาแล้วฦย่อมจะไม่เห็นรูปสดๆ! ฉะนั้นจึงไม่ใช่ของพุทธแท้ฦแต่เป็นของฤาษี!(=มิจฉาทิฐิชั้นที่5)

ซึ่งเบื้องต้นของพธร.ย่อมเกิดจากมิจฉาทิฐิชั้นที่1ฦแล้วก็เลยเกิดสืบต่อเนื่องมาจนถึงฦเกิดมิจฉาทิฐิชั้นที่5(สุดท้าย)! ฉะนั้นจึงเห็นชัดว่า ถ้าจะแก้มิจฉาทิฐิให้พธร.แล้วฦจะต้องแก้ที่ฐานพธร.ก่อนคือชั้นที่1เพียงชั้นเดียวฦก็จะ=ว่าแก้ได้ครบ5ชั้นแล้ว! แต่จนแล้วจนรอด ป่านนี้แล้วฦส่งSMSไปเป็นกระบุงโกยฦก็ยังไม่อาจทำให้มหาโพธิรักเข้าใจอนัตตาได้อยู่ดีหนำซ้ำยังกลับมากล่าวหาเราอีกฦหาว่าเราเป็นพวกอุจเฉททิฐิ! ทั้งนี้ก็เพราะว่า ภูมิปัญญาของพธร.จัดว่าฦยังต่ำชั้น(LowClass)อยู่มาก นั่นเองแต่ถึงยังไงฦก็จะให้ปริศนาธรรมแก่พธร.ว่า สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนฦกำลังดิ้นรนฦเพื่อสร้างความเป็นตัวตนให้เกิดขึ้นกับตัวเอง! ซึ่งอาการดิ้นรนนี่แหละฦที่เรียกว่าทุกข์!(เพราะอุปาทาน)

และคำว่า สิ่ง! ในที่นี้ก็หมายถึง รูป-นาม! และต้องขอบอกว่า ความพยายามที่จะสร้างความเป็นตัวตนให้เกิดขึ้นกับตัวเองนั้น ถึงจะพยายามมากสักเท่าไรฦก็ไม่มีวันสำเร็จได้เลย! สาเหตุก็เป็นเพราะว่าฦไม่มีสิ่งใดที่จะสามารถขัดแย้งกับสัจธรรมคืออนัตตานั้นได้! แต่วิสัยของปุถุชน(เช่นพธร.)ย่อมฝังลึกอยู่ด้วยอุปาทานของอัตตา!ฦฉะนั้นจึงต้องดิ้นรน(อยู่เสมอ)เพื่อจะสร้างความเป็นตัวตนให้เกิดขึ้นกับตัวเอง! และเหตุนี้ ปุถุชน(+พธร.)จึงยังต้องทุกข์(คือดิ้นรนโพธิรักจะเข้าใจแบบเถรวาทได้ต้องกลับไปตั้งต้นใหม่เพราะยึดถือผิดมาแต่แรกอยู่)ฦก็เพราะอุปาทานของอัตตานั้นเอง! ฉะนั้นจึงมีคำกล่าวว่า ที่อรหันต์เป็นผู้หลุดพ้นนั้นฦก็เพราะว่าปราศจากอุปาทาน(ของอัตตา)แล้ว นั่นเอง กล่าวคือเป็นเพราะอรหันต์ฦหมดความทุกข์ความดิ้นรนที่จะสร้างอัตตาให้แก่ตนแล้ว นั่นเอง

จึงขอตบท้ายว่าฦถ้าพธร.ยังแยกไม่ออกระหว่าง3คำคืออัตตา,นิรัตตา,อนัตตาแล้วฦย่อมแสดงว่าพธร.ยังถูกหัวตะปูตอกฝาโลงอยู่!คือหลงติดอยู่กับอัตวาทุปาทานโดยไม่รู้ตัว นั่นเอง! สรุปแล้วพธร.สุดยอดปาฏิหารย์! เพราะทั้งดื้อ ทั้งโง่ ทั้งบ้า(3อิน1)เลยทีเดียว! เอวังฯ สิ่งที่เกิดจากสิ่งที่ไม่ดีฦจะเป็นสิ่งที่ดีได้อย่างไรกัน! สิ่งที่เกิดจากโลกียะฦจะเป็นโลกุตระได้อย่างไรกัน! ฉะนั้นเมื่อ อปุญญาภิสังขารเกิดจากอวิชชาแล้วฦอปุญญาภิสังขารนั้นจะเป็นโลกุตระ(ตามที่พธร.ว่า)ได้อย่างไรกัน! สงสัยว่า มหาโพธิรักคงจะสุดยอดปาฏิหารย์3จริงๆ! เพราะว่ามารวมกัน! ทั้งดื้อรั้น!ฦทั้งบ้าระห่ำ!ฦทั้งโง่เง่า! 3อย่างสมังคีกันจำเพฦเป็นสุดยอดของอโศกะปาติกะพอดี! เจริญพร สาธุฯ OK โชคดี เซ็งลี้ฮ้อ

ถามหน่อยว่า ที่ได้มาเกิดในโลกมนุษย์มีรูปร่างเป็นมนุษย์ได้ฦเพราะอะไรปั้นขึ้นมา? มิใช่เพราะกรรมดอกหรือ!ฦที่ปั้นความเป็นมนุษย์ขึ้นมา! ฉันใดก็ฉันนั้นฦผู้มีบุญที่ได้ไปบังเกิดเป็นเทวดาจริงๆ,นางฟ้าจริงๆ มีวิมานทองจริงๆเป็นที่อยู่ในภพสวรรค์จริงๆได้ฦก็เป็นเพราะว่ากรรมดีของเขาเองแหละฦที่ปั้นขึ้นมา! ฉะนั้นจึงไม่เห็นจะแปลกแต่อย่างใดฦใช่ไหมจ๊ะ มหาโพธิรัก? ก็เหมือนกับที่กรรมของพธร.ฦปั้นให้พธร.ยุ่งกับการเมืองไง!

• พ่อครูก็ยังยืนยันว่า คนเราเกิดมาต้องเข้าใจว่า ตนเองมีอัตตาเป็นพื้นฐาน ไม่ใช่ว่าไปเข้าใจว่าตนไม่มีอัตตา ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าเราต้องมีการเข้าถึงอัตตาของตน คืออัตตสัมปทา เป็นแสงเงินแสงทอง จึงจะเดินมรรคได้• ในสุริยเปยยาลมี [๑๒๙] มิตรดี เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค . . • [๑๓๑] สีลสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค • ศีล ๕ ข้อ ๑ มีองค์ ๕ คือ สัตว์มีชีวิต รู้ว่ามีชีวิต เจตนาฆ่า ลงมือฆ่า สัตว์ตายจริง ก็คือสำเร็จองค์ ๕ ของปาณาติบาต ... ข้อ ๒ ก็มีองค์ ๕ คือบ่งว่าศีลต้องปฏิบัติให้เข้าถึงอย่างสมบูรณ์ตามมรรคองค์ ๘

• ต้องมีฉันทะด้วย [๑๓๒] ฉันทสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค . • [๑๓๓] อัตตสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค ต้องรู้ตัวตนที่เป็นเหตุคือตัณหาเป็นเหตุแท้เป็นตัวตนทีเป็นเหตุแท้ แล้วละล้างให้มันจางคลาย จนมันนิโรธ แล้วก็รักษาผล อย่างมีขั้นตอน พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ให้ปฏิบัติไม่ใช่บัญญัติไว้เฉยๆ ถ้าแค่รู้ว่าไม่ใช่ตัวตนก็บรรลุแล้ว พระพุทธเจ้าจะให้ปฏิบัติอย่างไร

• ในงานพุทธาภิเษก พ่อครูได้อธิบายถึงอรูปฌาน ที่พยายามแยกแยะให้รู้ว่าองค์รวมคือกาโย ในสภาพภายนอกมหาภูตรูปก็สัมผัสรู้ แล้วสิ่งที่โยงเข้ามาเป็นกายใน เป็นอุปาทายรูปอย่างต่อเนื่อง สันตติ เป็นรูปภายใน เป็นรูปาวจร ต้องล้างด้วยรูปฌาน จนหมดจบรูปฌาน ในวิโมกข์ ๘ ในสามข้อแรกล้างถึงอรูปอัตตา

• อรูปอัตตา.....ในพยัญชนะวิโมกข์ ๘ รูปี รูปานิ ปัสสติ กาเยนะผุสิตวา วิหารติ คือรู้กายขณะผัสสะอยู่ อย่างเห็นความจริงตามความเป็นจริง ในปัจจุบันนั่นเทียว จนกระทั่งลดละกิเลสได้สิ้นเกลี้ยง รู้ในนามธรรมด้วย เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ ซึ่งจะรู้การสังขาร เป็นปุญญาภิสังขาร จนเป็นอปุญญาภิสังขาร แล้วทำได้อย่างมั่นคงไม่หวั่นไหว เป็นอเนญชาภิสังขาร ซึ่งจะมีญาณสังขารุเปกขาญาณเกิดเพราะได้ปฏิบัติให้เกิดผลอย่างมั่นคงเที่ยงแท้ถาวร

• สุภันเตวะ อธิมุตตโต โหติ คือโน้มใจในสิ่งเจริญ ในในวิมุติ ให้ได้อุเบกขา เป็นฐานนิพพานในฌานที่ ๔ แต่ท่านไม่ให้หยุดอยู่ให้ทำให้เกิดผลอย่าง นิจจัง ทุวัง สัสสตัง อวิปริณาธัมมัง อสังหิรัง อสังกุปปัง

• เมื่อตรวจแล้วว่าไม่มีอะไรในอรูป คือตรวจอรูปอัตตา เมื่อถึงขั้นนี้ต้องตรวจสิ่งทีเหลือเป็นธุลีละออง เรียกลักษะว่าเป็นอากาศ และวิญญาณ และตรวจไปอีกว่าแม้นิดนึงน้อยหนึ่งก็ไม่ให้มี อากิญจัญญาฯ และต้องให้รู้ชัดไม่ใช่รู้ก็ไม่ใช่ไม่รู้ก็ไม่ใช่ จนพ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ จึงจะพ้นอวิชชาสังโยชน์พ้นอวิชชาสวะอย่างแท้จริง

• แม้ในอรูปฌานก็ไม่ได้ปฏิบัติอย่างหลับตา แต่ลืมตาเปิดทวาร อย่างในวิโมกข์ ๘ ข้อ ๔

• ๔. ผู้ล่วงพ้นรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะ(ละ)ไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า... อากาศหาที่สุดมิได้ (สัพพโส รูปสัญญานัง สมติกกัมมะ ปฏิฆสัญญานัง อัตถังคมา นานัตตสัญญานัง อมนสิการา อนันโต อากาโสติ อากาสานัญจายตนัง อุปสัมปัชชะ วิหรติ)คือพ้นทั้งรูปธรรม นามธรรมที่ละเอียด ล่วงพ้นมาแล้ว ดับปฏิฆะหมดแล้ว ในสัญญากำหนดต่างๆก็ไม่ต้องทำทั้งนั้น เข้าถึงขั้นอากาศอันหาที่สุดไม่ได้ ตรวจความว่างว่าจริงหรือไม่ และวิญญาณคือธาตุรู้ เรารู้ตนว่าอาศัยอากาศว่าว่าง

และตรวจเศษเหลืออีกว่ายังเหลืออยู่หรือไม่ แม้จะอยู่กับโลกจะมีอะไรให้เราเกิดเศษธุลีละอองเกิดหรือไม่ จะต้องรู้ให้จริง จะไม่รู้ไม่ได้ หรือรู้บ้างไม่รู้บ้างไม่ได้ ถึงขั้นสัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นสภาพสูงสุด เป็นนิโรธอย่างสัญญากำหนดรู้เคล้าเคลียอารมณ์ อย่างมีผลทั้งในอดีตสั่งสมมาอย่างมากมาย จนสัมผัสในปัจจุบันก็ไม่มี พยากรณ์ได้ว่าอนาคตก็ไม่มี

• เพราะเราดับโลกสมุทัยได้แล้ว เรามีแต่โลกนิโรธ การปฏิเสธว่าอะไรก็ไม่มีนั้นก็เรียนไม่ได้เพราะไม่มีสภาวะสัจจะที่เป็นจริงปรากฏ(ปาตุภาวะ) แม้สุญญตา อนัตตาก็ปรากฏอยู่ อย่างเอโก ตนรู้ตนมีอยู่

• ในกามภพ มันมีทั้ง กามาวจรภูมิ คือชั้นของความรู้ที่มีกาม

• แม้กามรสก็สัมผัสแต่ของเราไม่มีการเสพ แต่เราก็รู้ว่ามี รสตามนั้น เช่นรสเผ็ดก็รู้ แต่เราไม่มีรสว่าชอบ ไม่ชอบ ที่เรียกว่า อัสสาทะ คือรสลวง เรามีแต่รสอนัตตา แต่ก่อนเรามี แต่ตอนนี้เราไม่มี เราต้องอ่านด้วยตาทิพย์หูทิพย์ รสเผ็ด เราอ่านออก รสก็เป็นรูป ทุกคนแตะลิ้นก็รสพริกเผ็ดเหมือนกัน แต่ต่างกันที่คนชอบก็มีรสอย่างหนึ่ง คนไม่ชอบก็รสอีกอย่างหนึ่ง คนรู้ทั้งชอบและไม่ชอบ แต่ไม่มีความชอบและไม่ชอบคนนี้คือคนรู้ทั้งสองฝ่าย เป็นผู้จบ

• กามานุสารีย์ คือ ผู้มีเยื่อใยใฝ่กามอยู่• กามาธิการณะ คือยังมีเหตุของกามให้เกิดเรื่องอยู่ ยังไม่ตัดก็ยังมีนิทานอยู่อีกต่อไป • กามาวจรกิริยา คือกิริยาของกาม เป็นกิริยาของนามธรรม (ทางกายก็รู้ง่าย) • กามาวัฏฏะ คือการวนในกาม ไม่ว่าจะวนเล็กหรือใหญ่ เราต้องถอดถอนให้ความวนน้อยลงเล็กลง• กามาวจรวิบาก • กามาสวะ คือความยึดที่เหลือเล็กน้อย • กามาภิภู คือผู้ชนะกาม คือผู้ครอบงำกามได้เบ็ดเสร็จ สภาวะเหล่านี้คือการล้างตัวตนทั้งสิ้น แต่เขาเลี่ยงเอาภาษามายึดไว้ ตัวตนก็ไม่มีวันจะได้ศึกษาอัตตา ไม่มีอัตตทิฏฐิ

• ภาษานี้คือภาษาที่ใช้เรียกสภาวะทั้งนั้น

• มาถึงขั้นรูป ก็มีสีสันตัวตนก็จะบอกว่าของสดของอนาคามีก็ได้ สดเมื่อตากระทบรูป หูกระทบเสียงอยู่ในปัจจุบัน คุณก็มีอาการของรูปอยู่ในใจ แต่รสหยาบข้างนอกไม่มี ควบคุมได้ง่าย หรือจะไปปั้นเอง เป็นมโนมยอัตตาคืออัตตาที่สำเร็จด้วยจิต แต่อัตตาที่สำเร็จด้วยสัญญาก็มี คือระลึกเอาความจำมาปรุงจะเป็นรูปก็ได้ หรือปรุงไม่ขึ้นเป็นแค่อรูป คุณก็ต้องรู้ด้วยตนเป็นส่วนตน แต่ก็ต้องมีการกระทบสัมผัสครบทุกทวาร

• ต้องมีกาเยนะผุสิตวาวิหารติ แม้จะเป็นทักขิเนยบุคคลในระดับกายสักขีจริตศรัทธากับจริตปัญญา

• สายศรัทธาเริ่มด้วยศรัทธานุสารี เป็นผู้ปฏิบัติเข้าสู่โสดาปัตติมรรค ส่วนสายปัญญาก็เป็นปัญญานุสารีย์จะอบรมอริยมรรค ทำโสดาปัตติผลไปตามลำดับ

• สายปัญญา เริ่มที่ธัมมานุสารี ก็ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอบรมด้วยอริยมรรค มีปัญญาเป็นประธาน • สายศรัทธานุสารี ถ้าได้ผลประมาณหนึ่งเรียกว่า สัทธาวิมุติ ส่วนสายธัมมานุสารี พอได้โสดาปัตติผลขึ้นไปเรียกว่า ทิฏฐิปัตตะ

• ในกายสักขีนั้นคือขั้นปลายของพวกสัทธานุสารีย์ คืออาสวะบางอย่างหมดไปได้ ส่วนสายธัมมานุสารีจะได้ขั้นปลายเป็นปัญญาวิมุติ คือได้อรหันต์เลย คือสำเร็จอิริยาบทอยู่ ก็เห็นอาสวะขาดสูญอยู่ตลอดเวลา อย่างเป็นผู้มี(มรรคผล) อย่างนี้เรียกว่าปัญญวิมุติ เป็นผู้สิ้นอาสวะเพราะเห็นด้วยปัญญา ไม่ต้องสัมผัสด้วยวิโมกข์เพราะเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิตั้งแต่ต้น

• ส่วนสายสัทธานั้นไม่มีสัมมาทิฏฐิแต่ต้น พระพุทธเจ้าจึงไม่รับรองผล ก็ได้แค่กายสักขี แต่ไม่มีกาเยนผุสิตวา วิหารติ อย่างพวกปฏิบัติในสายปัญญา วิญญาณฐีติ สัตตาวาส ๙ จะมีความอย่างเดียวกันหรือต่างกันก็คือมิจฉากับสัมมา ก็ได้ผลต่างกันไป

• สัตตาวาสคือยังเป็นสัตวที่ถูกผูกไว้อยู่ ในอสัญญีสัตว์กับเนวสัญญานาสัญญานายตนสัตว์ คือพวกดับมืด • ๑. สัตว์บางพวก กายต่างกัน สัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ เทพบางเหล่า พวกวินิปาติกะบางเหล่า • ๒. สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น เหล่าเทพจำพวกพรหม ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน เป็นต้น . • ๓. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพอาภัสราพรหม (ว่าง..ใส.. สว่าง.. แผ่กว้าง) . • ๔. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพ..สุภกิณหพรหม (ได้นิโรธมืดเป็นโชค)

• ความมืดของสายปัญญาก็มีได้ เมื่อหลับตาก็มืดแล้วและจะไม่มีมโนมยอัตตา ที่เป็นทั้งวาสนาก็ได้เป็นสิ่งที่ปั้นมาก็ได้ ซึ่งไม่ใช่ของจริง สายปัญญาจะไม่ยึด แต่พวกสายศรัทธาจะยึดว่ามีสวรรค์นางฟ้าเทวดาเป็นตัวตนจริง สายปัญญาจะหลับแต่แล้วมืด • แต่ในพวกหลับตาจะนึกว่าความมืดคือนิโรธ แต่พุทธรู้ว่าความมืดก็คือความมืดรู้นิโรธคือนิโรธ • อากาสานัญจายตนะ กับ วิญญานัญจายตนะคือฝ่ายสว่าง• อากิญจัญญายตนะ กับเนวสัญญายตนะคือฝ่ายมืด• พวกสว่างบางพวกจะเนรมิตวิมานสวรรค์สว่าง

ส่วนพวกมืดเอาความดับมืดเป็นนิโรธก็จะมีพระพรหมเป็นขั้นสูงกว่าพวกสว่าง เป็นสิ่งที่เขายึดความมืดว่าดี คือสุภกิณหะพรหม • นิโรธในพวกสายดับนั้นหลงมืดว่าเป็นนิโรธ และสายสว่างหลงว่าความสว่างเป็นนิโรธ พวกดับจะดับความสว่างแล้วยึดความมืดว่าคือนิโรธ• ในสายสว่างเมื่อได้สว่างมากๆก็เรียกว่าอาภัสราพรหม

มาอธิบายในนัยของพุทธ ต้องปฏิบัติมรรค ๗ องค์ที่มีสัมมาทิฏฐิเป็นประธาน อย่างไร

• เมื่อมีสัมมาทิฏฐิพอเหมาะ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้.............สัมมาสมาธิพอเหมาะสัมมาญาณจึงพอเหมาะได้ และสัมมาวิมุติจึงพอเหมาะได้ • เมื่อมีสัมมาในมรรคแต่ละองค์ก็จะสลัดมิจฉามรรคในแต่ละองค์ไปได้ ย่อมมีสัมมาในมรรคแต่ละองค์เป็นความสมบูรณ์ มีสัมมาสมาธิ เพราะปฏิบัติมรรค ๗ องค์ ซึ่งมีสัมมาทิฏฐิเป็นประธานในการปฏิบัติ ต่อมาจึงมีสัมมาสังกัปปะที่พอเหมาะได้(ปโหติ) และต่อมามรรคแต่ละองค์ก็จะสัมมา มีสติและวายามะเป็นสิ่งห้อมล้อมเป็นผู้ช่วย ให้หยั่งลงถึงเหตุของกุศลและกำจัดเหตุของกุศล ผู้ปฏิบัติจะมีไตรสิกขา เจริญได้เป็นปัญญา มีผลสำเร็จเป็นภาวนา สามารถหยั่งรู้ในสังกัปปะ ๗ ซึ่งเป็นภาคปฏิบัติ เป็นมนสิการตัวจริง

(๗ สภาวะของสังกัปปะคือมนสิการตัวจริง) ตังแต่ ตรรกะ วิตรรกะ สังกัปปะ อัปปนาพยัปปนา เจตโสอภินิโรปนา วจีสังขารา ผู้ปฏิบัติจะรู้วจีสังขาร ได้ด้วยญาณ ด้วยวิชชา ผู้รู้ขั้นนี้จะอ่านวิญญาณ เวทนา ตัณหาอุปาทาน อ่านนิโรธออก เช่นการสัมผัสทางตาก็จะรู้วิญญาณทางตา

• ซึ่งผู้ศึกษาศาสนาพุทธ เมื่อมีสัมมาทิฏฐิจริง อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขารนั้น แต่ผู้ที่ปฏิบัติได้ผลจะสามารถจัดการสังขารให้เป็นบุญได้ (ปุญญาภิสังขาร) คือปรุงแต่งให้ออกจากกิเลส ถึงขั้นอภิสังขารได้ คือปรุงแต่งให้เจริญยิ่งๆขึ้นได้ เพราะอธิปัญญาสิกขาจะอ่านรู้ แยกจับได้ว่ามีกามพยาบาทหรือวิหิงสาหรือไม่ แล้วก็กำจัดกิเลสได้ คือทำลงถึงที่เกิดได้ เป็นการทำใจในใจอย่างแยบคาย และกำจัดอกุศลเจตสิก ด้วยปหาน ๕ ให้บริบูรณ์ไปตามลำดับ

• “อวิชชา” ก็เจริญๆขึ้นเป็น “วิชชา” (ความรู้แบบพุทธ) ไปตามลำดับคือ รู้จักรู้แจ้งรู้จริง “สังขาร” ได้ถึงขั้นวจีสังขาร ที่ยังอยู่ภายในจิต ยังไม่ได้ออกมาเป็น “วจีกรรม”ข้างนอก โดยเฉพาะสามารถรู้แจ้งเห็นจริงในขณะที่กำลังมีโยนิโสมนสิการ(การทำใจในใจอย่างถ่องแท้) อยู่ใน “สัมมาสังกัปปะ ๗” ตามหลักปฏิบัติการทำ “สมาธิ” ที่สัมมาของพุทธ

• เพราะอธิปัญญาสิกขาจะเริ่มพยายาม (สัมมาวายามะ) พัฒนารู้จักรู้แจ้งรู้จริงจิตที่เริ่ม “ดำริ”อันคือ”ตักกะ” ปล้วมี “ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์” พยายามแยกแยะจนจับตัว “มิจฉาสังกัปปะ”ซึ่งได้แก่ กามหรือพยาบาท เป็นต้น จับได้แล้วก็ “กำจัด” อกุศลเจตสิกด้วย “ปหาน ๕” ให้บริบูรณ์ตามลำดับ• นั่นคือผู้ปฏิบัติพยายามีการทำใจในใจให้แยบคาย(โยนิโสมนสิการ) หรือให้ลงไปถึงที่เกิด(โยนิโส)

• แล้วอะไรเกิดเล่า “เกิด” ใน “ที่เกิด” นั้น ก็คือ กิเลสนั่นเองที่เป็นตัวการที่ต้องกำจัด เพราะเป็นเหตุแห่งทุกข์ ให้ได้ด้วยปหาน ๕ เมื่อได้ผลนี่ก็คือ ปโหติ ที่แปลว่า พอเหมาะได้ ที่ตามศัพท์ แปลว่า ดำเนินไป เกิดขึ้นหรือเพียงพอ หรือสามารถ “ด้วย”

• ดังนั้นท่านสรุปไว้ว่า เมื่อมีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้(ปโหติ) และดำเนินไปอย่างพอเหมาะ พัฒนาไปตามลำดับ และนัยในมรรคข้ออื่นก็เช่นกัน ....................• ด้วยนัยะนี้เอง เมื่อมีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้• ข้ออื่นๆของ มรรค เจริญขึ้นเป็นผล ก็นัยเยี่ยงนี้ • เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจรจึงเพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะจึงพอเหมาะได้ ฯลฯ• จนเมื่อถึงสัมมาญาณ สัมมาวิมุติ จึงพอเหมาะได้ ที่สุดก็คือ เมื่อกำจัด อกุศลเจตสิกได้สิ้น ก็ไม่มีเหตุ “สมุทัย” เข้าไปร่วมปรุงแต่งในจิตเจตสิกของเรา เพราะเหตุ คืออกุศลจิตไม่มีแล้วในการปรุงแต่ง(สังขาร)นี้ วจีสังขารของเราก็เป็นอภิสังขารหรือวิสังขาร หากจะออกมาเป็นวจีกรรม ก็เป็น “การพูดจา” อันไม่มีเหตุให้เกิดวจีกรรมเป็นมิจฉาวาจา แต่จะเป็นสัมมาวาจา เพราะใจเป็นประธาน(มโนบุพพังฯ)

• นั่นคือ สัมมาวาจาจึงจะพอเหมาะได้ ซึ่งผู้ที่ไม่รู้การปฏิบัติที่สัมมาปฏิบัติ ดังที่สาธยายมานี้ ก็จะทำได้แค่ การควรคุมวาจา เท่านั้น ไม่ใช่ การทำใจในใจ (มนสิการ)• ดังนั้นผู้ที่อธิบายกันว่า ศีลสามารถควบคุมได้แค่กายกับวาจาเท่านั้น ส่วนใจให้ไปนั่งหลับตาทำสามธิเอานั้น จึงเป็นการปฏิบัติที่แยกคนละอย่างคนละส่วน ไม่เป็นหนึ่งเดียวกัน

• ก็สามารถควบคุมวาจา ให้เป็นวาจาสุจริต ได้ สามัญคนทั่วไปก็มีมารยาทสังคม ทำกันเป็นปกติอยู่แล้ว ตามแต่จะทำได้มากได้น้อยเท่าใดๆของตนๆแต่ละบุคคล หรือแม้จะฝึกฝนกันอย่างตั้งใจทำสมาธิแบบหลับตาสะกดจิตกันนั้น ใจอาจจะมีพลังออกมาบังคับควบคุมกายวาจาได้ ดังที่คนทั้งหลายก็ทำได้ และถ้ายิ่งนั่งสมาธิเก่งก็ทำได้เก่งยิ่งขึ้นเท่าใดก็ได้เท่านั้นๆ

แต่จะไม่รู้จักรู้แจ้งรู้จริง แยบคาย ถ่องแท้ ลงไปถึงที่เกิด (โยนิโส) ในความเป็นจิต เจตสิก รูป นิพพาน ที่มีความละเอียดของจิตเจตสิก รูป ชนิดที่จะให้รู้จักรู้แจ้งรู้จริงเป็นปรมัตถธรรมนั้น ไม่ได้ตามที่สาธยายมาแค่รคร่าวๆนี้เด็ดขาด เพราะไม่เป็นไปตามที่พระพุทธเจ้าสอน ที่สำคัญไม่เป็นไปตามลำดับ เบื้องต้น ท่ามกลาง บั้นปลาย และไม่ทำอย่างสัมมาทิฏฐิ ตาม มหาจัตตารีสกสูตร ก็ไม่สามารถมี สัมมาผล ไปตามลำดับอย่างพอเหมาะได้(ปโหติ) ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้

• เมื่อมีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้ • มันก็ไม่สามาถ “จัดการเป็นลำดับ ตั้งแต่ใจในใจ มาถึงวาจา มาถึง กาย มาถึง กัมมันตะ (ที่สุดแห่งกรรมกิริยาทุกอย่าง) ถึงขั้น อาชีพ ตามสัมมาทิฏฐิ แบบพุทธ เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตจึงพอเหมาะได้ ก็มีนัยะเยี่ยงเดียวกัน เพราะการกระทำทั้งกายวาจาใจ (กัมมันตะ) ไม่มีเหตุคืออกุศลจิตที่จะนำพาให้เกิดกรรมกิริยาเป็น “มิจฉากัมมันตะ” “กัมมันตะ”จึงเป็นสัมมากัมมันตะ

• อาชีพก็นัยเดียวกัน ก็เป็นสัมมาอาชีวะ เมื่อมีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายาะ จึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาญาณ สัมมาวิมิตติจึงพอเหมาะได้

• ซึ่งจะเห็นชัดว่า สังกัปปะ นี่เองที่เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเรียนรู้ให้ถ่องแท้ชัดเจน และต้องทำให้เป็น ทำให้ได้ ทำให้สำเร็จผล นี่คือ การทำใจในใจให้ถ่องแท้แยบคาย ศัพท์ทางวิชาการคือ โยนิโสมนสิการ

• การทำใจในใจให้ถ่องแท้แยบคายชัดเจน หรือ โยนิโสมนสิการ จึงเป็นจุดต้นคือ มนหรือมโน ที่เป็น มโนบุพพังคมาธัมมา หมายความว่า ใจหรือจิตนี่แหละเป็นประธานสิ่งทั้งปวง ดังนั้น สังกัปปะ ในมรรคองค์ ๘ ซึ่งรองลงมาจากทิฏฐิ ที่เป็นประธานแล้ว สังกัปปะ จึงต่อมาเป็นตัวปฏิบัติต้นทางของ กรรมกิริยา ต่างๆในคน นั่นคือ ต้องปฏิบัติตรงนี้ที่เป็นต้นทางก่อให้เกิดพฤติกรรมทั้งปวง อันได้แก่ คำพูด(วาจา) การกระทำต่างๆทั้งกาย วาจา ใจ (กัมมันตะ) และอาชีพ(อาชีวะ)

• เมื่อปฏิบัติ ความดำรินึกคิด(สังกัปปะ) จนเป็นสัมมาสังกัปปะ สำเร็จ วาจาก็เป็นสัมมาวาจา กัมมันตะก็เป็นสัมมากัมมันตะ อาชีวะก็เป็นสัมมาอาชีวะ วายามะก็เป็นสัมมาวายามะ สติก็เป็นสัมมาสติ สมาธิย่อมเป็นสัมมา ที่พอเหมาะได้(ปโหติ) เป็นปัจจัยต่อตามกันมาจึงก่อเกิดสัมมาสมาธิ อันแปลว่า ความตั้งมั่นของจิต หรือจิตที่มีความตั้งมั่น ซึ่งก็คือจิตที่มีสัมมาญาณ และสัมมาวิมุติ ที่บริบูรณ์ เต็มที่เกิดขึ้นในจิต จนสัมบูรณ์ เป็น ความตั้งมั่นของจิต ที่พร้อมไปด้วย ญาณ และวิมุติ

• เมื่อจิตใจ ไม่มีเหตุแห่งทุกข์แล้ว จิตใจก็สงบ สมาธิ ที่เป็นแบบพุทธนั้น ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก ตรัสรู้ตามได้ยาก สงบอย่างพิเศษ สุขุมประณีต จะรู้แจ้งไม่ได้ด้วยการคาดคะเน เพราะละเอียดขั้นนิพพาน

• เพราะไม่ใช่สมาธิ สามัญทั่วไป ที่นั่งสะกดจิตหลับตาเข้าภวังค์ ปฏิบัติมาๆเข้าชำนาญเข้า ก็สงบได้ ซึ่งก็เป็นความสงบ ที่ใครๆก็พอรู้ พอเข้าใจได้ ไม่ยากเลย แต่สมาธิของพระพุทธเจ้านี้ จะเห็นได้ว่า เป็นสัมมาสมาธิ ที่ต่างกันมากกับ สมาธิแบบนั่งหลับตาเข้าไปหลบอยู่ในภวังค์ ที่ไม่รับรู้อะไรจากทวารภายนอกทั้ง ๕ แม้แต่ ความดำรินึกคิด(สังกัปปะ) ก็ไม่ให้มี ปากก็ไม่ให้ พูด (วาจา) กรรมกิริยาต่างๆ ก็ไม่ กระทำกรรมกิริยาใดๆ(กัมมันตะ) ไม่ทำอาชีพอะไรเลย เอาแต่อยู่นิ่งๆ หยุดๆ เป็นหลัก

• ส่วนของพุทธนั้น กรรมทุกกรรม ของผู้มีสัมมาสมาธิหรือผู้สงบอย่างวิเศษ จึงล้วนเจริญ เพราะไม่มี อกุศลจิต ร่วมปรุงแต่งใน อภิสังขาร อย่างแท้ชัดแจ้งจริง

ที่มา http://www.facebook.com/notes/asokeboonniyom/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B2/341404952626340

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น