560228 เทศน์ทำวัตรเช้างานพุทธาฯครั้งที่ ๓๗
เรื่อง “ธรรมที่เป็นพุทธ” ตอนที่ ๔
โดยพ่อครูสมณะโพธิรักษ์ ประจำวันที่ 28 ก.พ.2556
ธรรมะพระพุทธเจ้าทำให้คนเปลี่ยนไป อย่างพวกเรามีที่มา ๓๐ ปีขึ้นไป ลองยกมือขึ้น....ก็มีไม่น้อย มีชีวิตมาอยู่ในระบบนี้ ถึงขั้น สาธารณโภคี เป็นชีวิตที่เห็นชัดเจนว่า แปลกแยกจากชีวิตมนุษย์ธรรมดา อยู่กันคนละความมุ่งหมาย ตั้งแต่สติ(ความระลึกรู้ตัว) ซึ่งสติของเขา ถ้ามีแต่สติ แต่ไม่มีสัมปัชชัญญะก็จะรู้อย่างสามัญจะมีกิเลสร่วมปรุง แต่ถ้าเป็นผลจากสติความตื่นรู้ทางทวารตื่นมาสัมผัส ขณะสัมผัสแล้วเราก็ไม่มีเจตนามุ่งหมาย ไม่มีการกำหนด สัญญาไม่มีกำหนด เจตนาก็ไม่มี ผัสสะก็ล่องลอย (นามธรรมมี เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ)
ซึ่งในอวิชชาสูตรมีการคบสัตบุรุษ ได้ฟังสัทธรรม มีศรัทธา มีโยนิโสมนสิการ และก็จะมีสติสัมปัชชัญญะบริบูรณ์ แต่ถ้าไม่มีมันก็จะปล่อยว่างปล่อยวาง เขาว่ามีจิตว่างๆสบาย ลอยๆ ที่เขาสอนกันส่วนใหญ่ก็จะให้ปล่อย ให้สบาย แต่ไม่ค่อยตั้งตนบนความลำบาก ไม่มีสัมมาวายามะ ไม่มีสัมมาสติที่จะช่วยกันกับสัมมาวายามะ ที่จะให้เกิดสัมมาสมาธิ ตามมรรคองค์ ๘ เราก็ต้องรู้มีสติสัมปัชชัญญะ มีสัมปชานะ ต่อเนื่องอย่างมีธัมวิจัยสัมโพชฌงค์ มีความเพียรพยายามอยู่เสมอ เป็นความเพียรให้เกิดผลให้รู้ว่าในขณะนี้เรามีการลดละอย่างไร
พ่อครูที่เทศน์ในวันที่ผ่านมาได้ไล่เรียงในปฏิจจสมุปบาทเรื่อง ชาติก็มี ชาติ สัญญาชาติ โอกกันติ นิพพัตติ อภินิพพัตติ
ต่อมาก็ได้ไล่เรียงในเรื่อง ภพ อุปาทาน ตัณหา เวทนา
ในเวทนาก็มี ๖ อย่างที่เกี่ยวข้องตากระทบรูป หูกระทบเสียง จมูกกระทบกลิ่น ลิ้นกระทบรส กายกระทบสัมผัสกาย ใจกระทบธรรมารมณ์ ก็ต้องมีทวารทั้ง ๖ เสมอ เมื่อสัมผัสก็มีอายตนะเกิด
ต้องรู้จักนาม-รูป ซึ่งนามธรรม มี เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ ถ้าเราปล่อยไปไม่กำหนด จะไม่รู้นามธรรมเหล่านี้ชัด เช่นเรื่อง เวทนา ทั่วไปเขาให้ปล่อยลอย สบายๆ เมื่อการนั่งสมาธิ แต่เมื่อจะศึกษาก็เอาตำรามาอ่าน ซึ่งไม่ได้ฝึกฝนให้ระลึกรู้ในทุกอิริยาบท ให้ฝึกสังวรศีล สำรวมอินทรีย์ โภชเตมัตตัญญุตา(รู้ประมาณ และจัดการว่าเรามัวเมาอะไรอยู่)ให้มีชาคริยานุโยคะ เมื่อสัมผัสแล้วมีเวทนาอย่างไร กำหนดรู้ตามที่เรมีเจตนา ซึ่งเจตนาก็คือตัณหา เจตนาในปุตตมังสสูตร เรื่องมโนสัญเจตนาท่านให้กำหนดรู้ ตัณหา ๓(กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา) ขณะที่เราสัมผัส มีเจตนาหรือไม่ มีการอยากคือตัณหาแบบไหน มันไม่ผลักมันก็ดูด หรือไม่ก็เฉยๆ มีสายกาม กับสายพยาบาทนั่นเอง ในสังกัปปะก็มี กามกับพยาบาท ส่วนวิหิงสาเป็นส่วนละเอียดของกาม พยาบาทของแต่ละคน ต้องอ่าน โดยอาการลิงค นิมิต อุเทศ ให้ชัดเจน
เมื่อเรารู้เจตนาชัด หรือความอยากชัด เราก็อย่าให้มันเกิด คืออย่าให้มีชาติ มีภพ อย่าให้มันอยากดูด อยากเสพ ก็จัดการอย่างมีสติสัมปัชชัญญะ มีสัมปชานะ มีวิจัยรู้ว่าอะไรชั่วอะไรดี อะไรเป็นตัวการของมิจฉา ๓ เป็นมิจฉาสังกัปปะ ในขณะสัมผัส นี่คือขบวนการของมนสิการ เรามีเจตนา มีความต้องการละกิเลสหรือไม่
ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาก็จะไม่ได้กำหนดรู้ ซึ่ง ทุจริต ๓ เป็นอาหารของนิวรณ์ ๕ เราต้องรู้กรรม ๓ (กาย วจี มโน) ของเราให้พร้อม รู้ตั้งแต่กายนอก ที่สัมผัสทางทวาร และเรามีกายกรรมอย่างไร อิริยาบทอย่างไร กำลังทำอะไร ทำสิ่งนี้เป็นการงานมีโทษหรือไม่ มีเจตนาไปร่วมปรุงอย่างไร มีผัสสะทางทวาร มีเจตนาไปสู่การพ้นทุกข์หรือไม่ การพูดก็พูด ทำก็ทำ ในจิตเราก็อ่านสังปัปปะ ๗ มันเริ่มดำริอย่างไรขณะทำงาน มีกายสังขารปรุงแต่ง จนเป็นการทำงาน จนเป็นอาชีพที่เป็นกายนอก เป็นสิ่งที่เป็นมิจฉา ๕ ของอาชีวะ เป็นมิจฉา ๓ ของกัมมันตะ เป็นมิจฉา ๔ ของวาจาหรือไม่ เราแยกแยะออก มิจฉาหรือสัมมา แล้วมีการพิจารณาจัดการ เอาอกุศลออก ทำแต่กุศล อันไหนเป็นอกุศลที่กาย หรือวาจา หรือใจ จัดการเอาออกโดยปหาน ๕ จนสำเร็จเป็นนิสสรณะปหานให้ได้ก็จะเกิดผล สัมปชรติ ก็เกิดสภาพลดละจางคลายก็ให้เห็นอนุปัสสี ตามเห็นว่ามันลดละได้ เราจะเห็นว่าจิตเจริญ เป็นจิตจางคลาย มันดับได้จริงๆ เราก็รู้ว่าเราทำวิปัสสนาวิธี ที่มีสมถะช่วย เป็นการสังขาร อย่าง ปุญญาภิสังขาร (อ่าน ปุน-ญา- พิ-สัง-ขาน) พร้อมกับการปฏิบัติการงาน
กายสังขาร จิตสังขารก็มี พร้อมกับวจีสังขารก็มีพร้อมไปด้วยกัน จะเป็นคนจากที่มีอวิชชา มีสังขารปรุงแต่งไปหมดมีกิเลสปนร่วมอย่างไม่รู้ตัว พอมาศึกษาให้รู้สติมีการทำใจในใจ ให้คิดอย่างไรก็ให้รู้ตัว
หลักการพระพุทธเจ้ามีมากมายที่สาธยายเป็นการร้อยมาลัย ที่เกิดจากการสังขาร ในการปฏิบัติก็มีสังขารทั้ง ๓ ถ้ามีสัมมาปฏิบัติก็จะจัดการกับสังขาร ๓ ได้ กำจัดมิจฉา๓ของกัมมันตะ มิจฉา๔ของวาจา มิจฉา๓ ของสังกัปปะ เราก็จะรู้ว่าเรามีกามาวจรภูมิ หรือไม่ เราเป็นกามาภิพูหรือไม่เป็นอนาคามีก็จะรู้ได้ ถ้าสังขารปรุงแต่งก็จะไม่มีกาม
ในวจีสังขาร เราก็จะรู้ สังกัปปะ ๗ เราก็รู้ว่า มีกามาธิกรณะ เป็นกามานุสารี เป็นกามาธิกรณะ มีกามาวจรกิริยา มีกามาวัฏฏะ มีกามาวจรวิบาก เป็นกามาสวะ หรือไม่ แม้จำภาษาไม่ได้แต่ก็ให้ตามสภาวะ จนกว่าจะเป็นกามาภิพู สามารถครอบงำความใคร่ได้ กำจัดกามได้หมด
เมื่อจิตเข้าสู่อนาคามี จิตก็จะมีนิโรธแท้แล้ว ให้ตรวจของแต่ละคน ในกามตั้งแต่อบายภูมิ เราสัมผัสกับกามตอนนี้ มันก็สังขารอย่างอปุญญาภิสังขาร มันผ่านปุญญาภิสังขารแล้ว เป็นกามาภิภูแล้ว เป็นจิตที่ยิ่งใหญ่
เมื่อปฏิบัติเราจะรู้สังขาร ๓ เราจะรู้ว่าเราปฏิบัติได้ กายสังขารเราก็มี องค์ประชุมภายนอกภายในเราก็รู้ ใน มีอัชฌัตตัง อรูปสัญญี เอโก พหิทธารูปานิ ปัสสติ เราก็มีการกำหนดรู้ เรามีการทำใจในใจ รู้มโนปวิจารณ์ ๑๘ ในอนาคามีจะรู้ รูปาวจร อรูปาวจร ซ้อนอยู่ ต้องรู้อาการ และมีนิมิตคือการกำหนดหมายรู้ อย่างอนาคามี ไม่มีกามหยาบภายนอก แล้วไม่ใช่ภูมิโสดาฯสกิทาฯ ไม่มีกามที่ก่อเรื่องแล้ว ไม่มีแรงของกามที่จะมาบังคับเราให้แสดงออก แต่มันอยู่ที่ใจ มันไม่ออกมาหาวจี แต่มันยังมีวจีสังขาร เป็นผีร่วมปรุงอยู่นะ เป็นมโนกรรม เป็นกิริยาของใจอยู่ ถ้าไม่แรงก็เป็นรูปาวจร หรือถ้ามันนานๆทีมี ก็เป็นอรูปาวจร มันเป็นชั้นสูงแล้ว เป็นกามาภิภู เป็นอนาคามีในระดับอรูปาวจร ขั้นอรูปฌาน กำลังใช้ไฟฌานผลาญเผาซึ่งระดับกามาวจรเราผ่านมาแล้ว มันไม่มีแล้ว ระลึกดูอดีตว่าเราสัมผัสมาได้ปฏิบัติมาทุกอิริยาบท มีจรณะอยู่ มีสติปัฏฐาน ๔ อยู่ ตรวจสอบโดยเจโตปริยญาณ ๑๖ มันเลยสังขิตตัง วิขิตตังหรือยัง มันมีมรรคมีผลก็รู้ ตอนนี้เป็นฌานขั้นไหน ในฌาน ๑ ก็ยังวิตกวิจาร ยังตั้งตนบนความลำบาก เป็นเนกขัมมะโทมนัสเวทนา แต่มันก็มีปีติสุขซ้อน แต่ก็ยังไม่สบายนัก ยังไม่ได้โดยไม่ยากไม่ลำบาก ต้องคุมเคร่งระมัดระวังอยู่ จนกว่าจะทำได้อย่างแคล่งคล่องชำนาญ จนกิเลสมันถูกกำจัดทำลาย เรามีการสังวรปธาน มีปหานปธาน เราก็ทำให้ได้ผลภาวนาปธาน แล้วก็รักษาผลอนุรักขณาปธาน ฌาน๑ก็ลดลง มีปีติสุข สบายขึ้น มันไม่ได้ดับปีติ แต่มันเบา ให้เป็นแค่พรรณาปีติ อย่าให้เป็นอุพเพงคาปีติ เหมือนจุนสีในน้ำให้แผ่ซ่านไปทุกซอกมุม อย่าให้แรงอย่างอุพเพงคาปีติ ต้องให้แรงๆ เป็นมาซูคิส หรือซาดิสม์
ถ้าอุเบกขาอย่างไม่เป็นปีติแล้ว แต่มีสุขที่เบาบาง คุณก็ต้องรู้ว่าเราได้สิ่งดีแล้ว ดีที่สุดก็คือ สูญตา คือความว่าง คือนิโรธ มีแต่ความผ่องใส ปภัสสรา การงานก็ทำอยู่ องค์ ๕ ของอุเบกขาคือ ปริสุทธา ปริโยธาตา มุทุ กัมมันยา ปภัสสรา มีอเนญชาภิสังขาร จิตตั้งมั่นแข็งแรงแม้มีการงานอย่างไร เป็นการงานที่ไม่มีโทษอย่างไรก็ตั้งมั่น มีลักษณะ ๕ ของอุเบกขา มีลักษณะ ๖ ของฌาน
ปริสุทธา คือแม้ปรุงแต่งอย่างไรก็ผ่องแผ้ว จิตก็แววไวมุทุภูเต จะปรับเปลี่ยนไว จุดปุ๊ปติดปั๊ป เปิดปิดไว มันมีทั้งอัปปนา(แน่วแน่) พยัปปนา(แนบแน่น) เจตโสอภินิโรปนา(ปักใจมั่น) สั่งสมเป็นจิตที่ตั้งมัน มีอเนญชา
เราจะรู้ ตักกะ วิตักกะ สังกัปปะ อัปปนา พยัปปนา เจตโสอภินิโรปนา วจีสังขารอย่างไร มีจิตมุทุภูเต มันรื่นราบ มันคล่องตัว มีความเร็ว เป็นชะวะนะจิต ทำอะไรได้เร็ว เหมือนเข้าเกียร์อัตโนมัติได้เร็วเลย มันก็อยู่ที่การฝึก เรามีพื้นฐานในการเรียนรู้ปฏิบัติมายาวนาน ถ้าไม่มีพื้นฐานก็เห็นใจ นี่ก็จะเต็มทศวรรษที่สี่แล้ว
การปฏิบัติธรรมพระพุทธเจ้าไม่แยกปฏิบัติในทวารทั้ง ๖ ตั้งแต่กายนอกมันก็เป็นเหตุ อยู่ที่ภูมิธรรมเราที่จะอ่านทันหรือไม่ ตั้งแต่ กามาวจร หรือรูปาวจร หรืออรูปาวจร ในโสดาบันก็ยังไม่หมดกามเลย ก็ยังไม่ต้องไปคิดถึง ภวาสุสัย ให้ทำในกามรส กามวัฏฏะ กามาวจรกิริยา กามาวจรวิบาก กามุปาทาน เรายังมีอยู่เลย เราจะรู้ว่ากามคืออะไร เป็นอัตตา เป็นตัวตนของกิเลส กามกับอัตตาคือสภาวะตัวตนกิเลส ถ้าเราหมดกามานุสัย เป็นอนาคามีก็มีแต่ภวานุสัย ในอนาคามีเบื้องต้นเป็นภวานุสัย แล้วก็มีปฏิฆานุสัย ซึ่งในอนุสัย ๗ จะมี
๑. กามราคะ (ความดึงดูดกำหนัดในกาม) อนาคามีภูมิกามานุสัยจะหมด แต่จะเหลือรูปราคานุสัยเป็นภวาสุสัย และก็ยังมี
๒. ปฏิฆะ (ความผลักไส ขัดเคือง ขึ้งเคียด)
๓. ทิฏฐิ (ความยึดถือความเห็นเป็นตนของเรา) ถ้าอนาคา
๔. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
๕. มานะ (ความถือตัวทั้งหลาย)
๖. ภวราคะ (ความอยากในภพ)
๗. อวิชชา (ความไม่แจ้งในอาริยสัจ)
ก็ให้ตรวจสอบขั้นปลายคืออนุสัย ในตัวละเอียด ในเรื่องสังโยชน์เป็นโครงสร้างอย่างหยาบๆ แต่เรื่องอนุสัยเป็นเรื่องละเอียดลงไป ก็ต้องตรวจในเศษเล็กเศษน้อย โดยใช้อรูปฌานตรวจสอบ ตรวจสอบแล้วตรวจสอบอีก ให้พ้น อากาสานัญจายตนฌาน วิญญานัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เป็นการเผาขั้นละเอียด เปรียบกับการขัดมันขัดเขาในงานปั้นงานเผา นี่คืออรูปฌานของพุทธ
ในสัตตาวาส ๙ เป็นการตรวจขั้นละเอียดคือ
๑. สัตว์บางพวก กายต่างกัน สัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ เทพบางเหล่า พวกวินิปาติกะบางเหล่า คือองค์ประชุมในขั้นอรูปที่ปรุงแต่งกันอยู่ ในวิญญาณระดับพื้นฐานปุถุชน เช่นวิญญาณมนุษย์ ผี เทวดา สัตว์นรก มนุษย์ ที่เป็นธาตุรู้ เราก็จะได้ศึกษา ซึ่งปุถุชนเป็นวิญญาณฐีติข้อนี้หมด คือต่างกันไปหมด แม้แต่แฝดแท้ๆก็มีส่วนต่างกันอยู่บ้าง ถ้าไม่แฝดยิ่งมีความต่าง ตั้งแต่มหาภูตรูปโฉมกายก็ต่างกันแล้ว มนุษย์โลกนี้กับมนุษย์โลกดาวอังคารที่เขาจินตนาการก็ต่างกันไป เรามีการกำหนด(สัญญา)ที่ต่างกัน กำหนดเทวดาก็ต่างกัน ทั้งกายก็ต่างสัญญาก็ต่าง แม้แต่เรียนกันในเจ้าเดียวกัน เช่นพระพุทธเจ้าเขาปั้นก็ต้างกัน ที่สำคัญคือคนปฏิบัติธรรมของพุทธกับของฤาษี จะมีกายต่างกัน สัญญาต่างกัน เช่นฌานของพุทธ กับฤาษีเขาก็จะต่างกัน
๒. สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น เหล่าเทพจำพวกพรหม ผู้เกิดในภูมิ ปฐมฌาน เป็นต้น . เอาแค่รูปนอกก็ต่างกัน คนหนึ่งหลับตา คนหนึ่งหลับตา ของพุทธลืมตามีผัสสะ ซึ่งกายในก็ต่างกัน เช่นความสงบของจิต แบบพุทธ สงบทั้งที่ลืมตา มีกิริยาอยู่ สงบยังพูดอยู่เลย พูดดังด้วย เช่นขณะพ่อครูพูดก็มีจิตสงบ จิตเมตตาอุเบกขาทำงานอยู่เลย เมตตาคือการทำงาน มีกิริยา มีสรรถนะ มีพฤติภาพ เป็นองค์ประชุม แม้จะสัญญาอย่างเดียวกัน อย่างสัญญาเรื่องฌาน ๑ ไม่ว่าฤาษีหรือพุทธก็กำหนดไม่ให้มีนิวรณ์เหมือนกัน แต่องค์ประชุมในกาย วาจา ใจก็ต่างกัน ความรู้สึกก็ต่างกัน ของฤาษีอยู่ในภพ รู้แต่ข้างใน แต่กำหนดว่าไม่มีนิวรณ์เหมือนกัน
๓. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพอาภัสราพรหม (ว่าง..ใส .. สว่าง.. แผ่กว้าง) . อันนี้ไปถึงอรูป ผู้ได้กายว่างๆเหมือนกัน แต่ว่างลืมตากับว่างหลับตา มันก็ต่างกันมาก แม้แต่ว่าไปนั่งหลับตาปั้นแสง ก็ได้ต่างกัน ไม่มีค่าวัดได้ เขาได้แสงสว่างไม่มีที่สิ้นสุด และจะปั้นใสอย่างไรก็ได้ เขากำหนดว่าใสแค่นี้โสดาฯ ใสแค่นี้ สกิทาฯ อนาคาฯ เขากำหนดก็ไม่มีมิเตอร์วัดหรอก แต่ของพุทธก็ว่างก็ใส แต่ก็ใสต่างกัน อรูปฌานแต่ละคนก็ต่างกัน ซึ่งเมื่อปฏิบัติถึงอรูปฌานก็มีลักษณะคุณสมบัติอุเบกขาของแต่ละคนก็ของแต่ละคน แต่มีกายอย่างเดียวกัน คือว่างแล้ว แต่สัญญาแต่ละคนต้องกำหนดความว่างของแต่ละคน จะต่างกันไป ยิ่งของผู้ลืมตายิ่งว่างต่างกันเยอะเพราะคุณต้องปรุงแต่งทำงาน ต้องกำหนดให้ดี อ่านจิตเลยว่าจิตเราว่างไม่มีกิเลสมาปรุงร่วม แต่ต้องกำหนดหมายเอง
๔. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพ..สุภกิณหพรหม (ได้นิโรธมืดเป็นโชค) ขั้นนี้สูง ในองค์ประกอบทั้งกายและจิต แม้แต่ในจิตสังขาร วจีสังขาร มันว่างจริงๆ ถ้าเป็นนิโรธลืมตาก็จะดับกิเลสว่างไปหมด แต่สายฌานฤาษีเขาจะดับมืดหมดเลยในองค์ประชุม เขาถือว่านิโรธเขานั่งหลับตา เขาไม่เรียกว่าเขามีวิญญาณ เขาถือว่าถ้ามีธาตุรู้มันยังไม่ดับ ของพุทธนิโรธอย่างสว่างอย่างรู้ แม้อากิญจัญยายตนะฤาษีเขาก็พยายามดับไม่ไห้รับรู้อะไร แต่ที่จริงจิตมันเป็นธาตุรู้มันก็ต้องฟื้นมารู้ แต่คุณก็จะต้องดับมันอีก เขาก็ทำให้เป็นวันเป็นหลายวันเลยเช่นอาฬารดาบสเป็นอากิญจัญญายตนฌาน แต่อุทกดาบสเก่งกว่าก็ดับต่อเพราะรู้ว่าอากิญจัญยะยังมีแวบเล็กน้อย จะรู้ก็ดับมันอีก เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เป็นสูงสุดของอรูปฌานฤาษี
ของพุทธนั้นที่เราดับเป็นศุภกิณหาก็มีอยู่เป็นรูปฌานอยู่ แต่ลืมตาอยู่มีผัสสะอยู่ ของพุทธก็ต้องตรวจความไม่มีกันต่อ ตั้งแต่อากาสาฯ ความว่างมีไหม แล้วก็ตรวจ วิญญานัญจาฯ ในการเกี่ยงข้องสัมผัสทวาร ๖ ว่ายังสะอาดอยู่ตลอดเวลาหรือไม่ ตรวจว่ามันยังมีอะไรอีกแม้เล็กน้อยหรือไม่เป็นอากิญจัญญาฯ และก็ตรวจไปถึงสัญญา ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ในสัญญากำหนดรู้ทุกอย่างให้พ้นความไม่รู้ ก็เข้าสู่ สัญญาเวทยิตนิโรธ คือใช้สัญญากำหนดเคล้าเคลียอารมณ์ทุกเวทนา ๑๐๘ จนครบสามกาละ อดีต ปัจจุบัน อนาคต ทั้งอารมณ์ ๓ มันมากองที่เนกขัมสิตะอุเบกขาหมดเลย มีองค์คุณอุเบกขา ๕ (ปริสุทธา ปริโยธาตา มุทุ กัมมันยา ปภัสสรา)
๕. สัตว์บางพวก ไม่มีสัญญา ไม่เสวยอารมณ์ เช่น เทพจำพวก “อสัญญีสัตว์” (อุทกดาบสทำนิโรธสมาบัติดับจนไม่รับรู้อะไร)
๖. สัตว์บางพวก เข้าถึง..อากาสานัญจายตนะ (พ้นรูปสัญญา)
๗. สัตว์บางพวก เข้าถึงชั้น..วิญญาณัญจายตนะ (พ้นเสพความว่าง
๘. สัตว์บางพวก เข้าถึงชั้น..อากิญจัญญายตนะ (ดับดิ่งไม่มีอะไร)
๙. สัตว์บางพวก.เข้าถึงชั้น..เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ดับๆ รู้ๆ)
ในเจโตปริยญาณ ๑๘ เราจะรู้จิตของเราว่าเจริญขึ้นหรือไม่ มีอะไรเหลืออยู่ที่เป็นกุศล ตรวจต่อไปว่าเรายังไม่จบ จิตที่ดีกว่านี้ยังมีอีก ไม่ต้องรีบร้อนตัดสินจบ สั่งสมเป็นความตั้งมั่น แล้วยังมีอวิมุติใดเหลืออยู่อีก ก็ตรวจอีก มันวิมุติแล้ว แต่ต้องตรวจอีก ก็ไม่มีภาษาแล้วก็ใช้คำว่า อวิมุติ ในการตรวจอีก
ในกิจญาณก็คือการลดละกิเลส ในทุกอิริยาบททุก
สัมปชัญญะ = ความรู้ต่อจากการมีสติรู้สึกตัว
สัมปชานะ = ความรู้สึกตัวในการปฏิบัติอยู่
สัมปาเทติ = เหตุไปสู่การละเลงเพื่อสัมปัชชติ
สัมปัชชติ = ความรู้จากการแยกแยะขจัด
สัมปาเปติ = การสังเคราะห์กันขึ้นอย่าง อวจร
สัมปฏิสังขา = ญาณรู้จักการทบทวนกระทำซ้ำ .
สัมปัชชลติ = เข้าสู่การโหมไหม้ สว่างเรืองรอง
สัมปัตตะ, สัมปันนะ = การเข้าบรรลุผล .
สัมปฏิเวธ = ความรู้ที่รู้แจ้งแทงตลอด
ในกายสังขารจิตสังขาร เรามีอภิสังขาร อยู่กับสังคมอย่างมีสติสัมปัชชัญญะอย่างผู้รู้ตื่น เบิกบาน แม้แต่ฝันก็ไม่ฝันเลอะเทอะ คนที่มีจริตทางมีรูปมีเรื่องก็ฝันมีรูปเรื่อง คนสายปัญญาจะไม่มีรูปมีร่างเวลาฝัน แม้จะเป็นพยัญชนะก็มีจะบอกเรื่องราวบ้างได้ ในสายดับจิตเขาถือว่าผู้บรรลุธรรมจะไม่มีฝันเลย สายปัญญาที่ปฏิบัติอย่างไม่มีเจโตสมถะมีแต่โลกุตระจะฝึกดับได้บ้างก็ทำได้ ก็จะฝันไม่มากจะไม่ฝันร้าย คำว่าร้ายคือจิตมันปะทะมีความรุนแรง แต่ถ้าไม่รุนแรงก็มีรสอื่น ตามฐานะ โสดาบันก็จะมีรสสุข อร่อยเพลิดเพลิน สกิทาฯก็ลดลง อนาคาฯก็จะน้อย มีแต่นิมิตหรือเป็นสภาพอื่น คนที่ไม่ฝึกก็จะมีรูปเรื่องไปตาม ที่สำคัญเราต้องอ่านอารมณ์เสพ อารมณ์ปรุง แม้แต่ลืมตาก็ฝึกอ่านรู้อารมณ์เสพอารมณ์สุข ปรุงไปตามเจตนาที่เป็น กามตัณหา หรือภวตัณหา แต่เราจะมีเจตนาที่เป็นวิภวตัณหา จะไม่มีสัตว์ร้าย มีแต่จิตเทวดาพาสะอาดพาเจริญปรุง ก็อ่านอีก ว่าเรามีมาเป็นเราเพื่อเรา ของเราหรือเปล่า ถ้าปรุงเพื่อตัวเอง มีความรักมิติที่เท่าไหร่ ให้มีเลยมิติที่ ๗ เพื่อผู้อื่นเพื่อจักรวาล ก็ดีเลย แต่เราช่วยได้เท่าที่เราเอื้อเอื้อเกื้อกว้าง ไม่ได้ทำเพื่อตัวตน เราทำไม่ได้คิดถึงตัวตนเลย เราดูแค่ว่าร่างกายเราควรได้เท่าใด มีมากก็แบ่งแจกไป ไม่มีจน เพราะมันจนที่สุดแล้ว เรามีพอแค่อาศัย แต่ต้องไม่เข้าข้างตน ว่าเอามาแค่อาศัย แต่หอบไว้มากมายเป็นขยะนี่ก็ไม่เอา เรามาพิสูจน์กันไป.............จบ
-----------------------------
กราบนมัสการขอบพระคุณบันทึกธรรมะพ่อครู โดย ท่านปัจฉาสมณะ แสนดิน ภูมิพุทโธ
ที่มา http://www.facebook.com/notes/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B0-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C/560228-%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B9%94/620548801294473
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น